การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Concept Map หรือ ผังมโนทัศน์


การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Concept Map หรือ ผังมโนทัศน์ ที่สร้างขึ้นเพื่อทำความเข้าใจ หรือสื่อความหมาย แสดงให้เห็นสิ่งที่เป็นตัวอย่างของความหมายนั้นเรียงตามลำดับชั้น จากสิ่งที่กินความกว้างกว่าไปสู่สิ่งที่กินความแคบกว่า หรือจากสิ่งที่กินความแคบกว่าไปสู่สิ่งที่กินความกว้างกว่า จากกว้างไปแคบเช่น สิ่งมีชีวิต แยกเป็นพืช และสัตว์ ทั้งแขนงที่เป็นพืชและแขนงที่เป็นสัตว์ก็แยกย่อยออกไปได้อีกเป็น ลำดับชั้น เป็นต้น

Concept Map เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแทนโครงสร้างทางความคิดของเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ในรูปแบบที่มีสองมิติ ที่เปรียบได้กับ แผนที่ถนน (Road Map) ทั้งนี้ Novak ได้ในคำนิยาม คำว่า Concept ว่า หมายถึง กฏเกณฑ์ที่วัตถุ หรือเหตุการณ์ จะได้รับการมอบหมายให้ใช้ฉลากที่มีความเฉพาะเจาะจง ดังนั้น Concept Map คือแผนภาพแทนความคิดที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่มีความหมายระหว่างความคิดรวบยอดต่าง ๆ โดยอยู่ในรูปของข้อความ ทั้งนี้ข้อความอาจเป็นฉลากความคิดรวบยอดสองอัน หรือมากกว่านั้น ซึ่งมาเชื่อมโยงกันด้วยถ้อยคำที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ หรือความเกี่ยวข้องระหว่าง ความคิดรวบยอดนั้น ๆ

Concept Map สามารถอยู่ในรูปแบบ ของแผนภูมิใยแมงมุม (Spider chart) แผนภูมิองค์กร (Organization chart) หรือ แผนผังสาย (flow diagram) ทั้งนี้รูปแบบของ Concept Map ที่มีประโยชน์มากสำหรับการเรียนการสอนมักจะเป็นรูปแบบที่เรียงลำดับตามความสำคัญ (Hierarchical organization) ที่วางความคิดรวบยอดทั่วไปและกว้างๆ กว่าอันอื่น ไว้ด้านบน แล้วจึงค่อยวางความคิดรวบยอดที่มีความชัดเจนและชี้เฉพาะมากขึ้น เป็นลำดับลงมาที่ด้านล่าง

ข้อดีที่สำคัญ ของ การใช้ Concept Map คือ ทำให้สามารถเห็นภาพความคิดรวบยอด ในรูปแบบที่จับต้องได้ ทำให้สามารถให้ความสำคัญได้ง่ายดาย จึงสะดวกในการนำไปทบทวนทุกครั้งที่ต้องการ นอกจากนี้ในการรวบรวมความคิดรวบยอดต้องใช้ความเข้าใจที่ชัดเจนและแม่นยำทั้งในเรื่องความหมาย และความเชื่อมโยงของความคิดรวบยอดจึงทำให้การเรียนรู้ กลายเป็นกระบวนการที่มีปฏิสัมพันธ์กัน ทั้งนี้ในการนำเสนอความคิดรวบยอดให้แก่นักเรียน ครูไม่ควรให้นักเรียนจำ Concept Map ที่เตรียมไว้แล้ว เพราะนั่นก็เป็นเพียงแค่การเรียนแบบท่องจำอีกรูปแบบหนึ่งเท่านั้น ที่ไม่ช่วยให้เกิดการกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีความหมายและยั่งยืน

การใช้ Concept Map ในการสอน 1. ในการสร้าง Concept Map จะต้องมีการอธิบายความคิดรวบยอดที่ยากให้ชัดเจน และจะต้องมีการเรียงลำดับอย่างเป็นระบบ ดังนั้นในการใช้ Concept Map ในการสอนจะช่วยให้ครูมีความเข้าใจในความคิดรวบยอดหลักต่าง ๆ และความสัมพันธ์ระหว่างความคิดรวบยอดเหล่านั้นมากขึ้น จากนั้น Concept Map ช่วยให้ครูสามารถอธิบายให้นักเรียนได้เห็นภาพตามนั้นได้อย่างชัดเจนด้วย ซึ่งจะทำให้มีโอกาสน้อยที่จะไม่เข้าใจ หรือตีความความคิดรวบยอดสำคัญผิด 2. การใช้ Concept Map จะช่วยเสริมความเข้าใจ และการเรียนรู้ให้กับนักเรียน เพราะสามารถเห็นภาพ ความคิดรวบยอดที่สำคัญ ไปพร้อม ๆ กับสรุปความสัมพันธ์ระหว่างความคิดเหล่านั้น 3. การใช้ Concept Map ยังเป็นช่วยครูในการตรวจประเมินกระบวนการสอนด้วย โดยจะทราบจากการที่นักเรียนไม่เข้าใจ หรือตีความความคิดรวบยอดสำคัญอันไหนผิดบ้าง 4. สามารถใช้ การทำ Concept Map ในการประเมินความสามารถในการเรียนรู้ของนักเรียนได้

ขั้นตอนในการสร้าง Concept Map 1. เลือก ให้ความสนใจกับหัวเรื่องก่อน แล้วจึงหา Key Word หรือ วลี ที่เกี่ยวข้อง 2. จัดลำดับความสำคัญ วางตำแหน่งความคิดรวบยอด หรือ Key Word จากสิ่งที่เป็นนามธรรม และทั่วๆ ไป ที่สุด ไว้ด้านบน แล้ววางสิ่งที่ชี้เฉพาะ และชัดเจนมากขึ้นไล่ลงมาเรื่อย ๆ 3. จัดกลุ่ม จัดกลุ่มความคิดรวบยอดที่อยู่ในระดับเดียวกัน และเกี่ยวข้องกันไว้ด้วยกัน 4. เรียบเรียง จัดความคิดรวบยอดในรูปของแผนภูมิแสดงความคิดที่เป็นระบบ 5. เชื่อมโยงและเพิ่มข้อความ เชื่อมโยงความคิดรวบยอดเข้าด้วยกันโดยใช้เส้น และใช้ข้อความในการบรรยายแต่ละเส้นด้วย สรุปแนวการสอนแบบ Concept Map ว่ามีประโยชน์มากสำหรับการเรียนการสอนมักจะเป็นรูปแบบที่เรียงลำดับตามความสำคัญ (Hierarchical organization) ที่วางความคิดรวบยอดทั่วไปและกว้างๆ กว่าอันอื่น ไว้ด้านบน แล้วจึงค่อยวางความคิดรวบยอดที่มีความชัดเจนและชี้เฉพาะมากขึ้น เป็นลำดับลงมาที่ด้านล่าง

ข้อดีที่สำคัญ ของ การใช้ Concept Map คือ ทำให้สามารถเห็นภาพความคิดรวบยอด ในรูปแบบที่จับต้องได้ ทำให้สามารถให้ความสำคัญได้ง่ายดาย จึงสะดวกในการนำไปทบทวนทุกครั้งที่ต้องการ นอกจากนี้ในการรวบรวมความคิดรวบยอดต้องใช้ความเข้าใจที่ชัดเจนและแม่นยำทั้งในเรื่องความหมาย และความเชื่อมโยงของความคิดรวบยอดจึงทำให้การเรียนรู้ กลายเป็นกระบวนการที่มีปฏิสัมพันธ์กัน ทั้งนี้ในการนำเสนอความคิดรวบยอดให้แก่นักเรียน ครูไม่ควรให้นักเรียนจำ Concept Map ที่เตรียมไว้แล้ว เพราะนั่นก็เป็นเพียงแค่การเรียนแบบท่องจำอีกรูปแบบหนึ่งเท่านั้น ที่ไม่ช่วยให้เกิดการกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีความหมายและยั่งยืน

หมายเลขบันทึก: 160577เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2008 22:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ ผังมโนทัศน์ ส่งอาจารย์อยู่คะ ขอบคุณมากนะคะ

ขอบคุณมากเลยค่ะ

หายข้องใจแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท