การทำหัวโขน


การที่จะทำหัวโขนเราต้องเรียนรู้ลำดับระเบียบวิธีและกระบวนการทำที่ถูกต้อง แล้วอยากรู้ไหมว่าเขากันอย่างไร

 

 

 

การเตรียมวัสดุ

               

รักตีลายใช้สำหรับตัวลวดลายต่าง    ประดับตกแต่งหัวโขนแต่ละแบบ  ประกอบด้วยรักน้ำ  เกลี้ยงชัน  ผสมเข้าด้วยกันเอาข้นตั้งไฟอ่อน    เคี่ยวจนงวดพอที่จะกดลงในแม่พิมพ์ลวดลาย

               

วิธีทำ

               

1.  ต้นแบบที่จะเป็นหุ่นใช้กระดาษปิดทับให้ทั่วแล้วถอดเป็นหัวโขน  แต่เดิมทำด้วยดินปั้นเผาไฟกับทำด้วยไม้กลึง  ปัจจุบันทำด้วยปูนซีเมนต์หรือปูนปลาสเตอร์  หุ่นหัวโขนชนิดครอบศีรษะและปิดหน้าอย่าง  รูปโกลน  มีเทารอยตา  จมูก  ปาก  หมวดผม  เป็นต้น

               

2.  หุ่นหัวชฎา-มงกุฎ  ทำเป็นรูปทรงกระบอก  ส่วนบนกลึงรัดเป็นชิ้น    ขึ้นไปเป็นจอม  ซึ่งเป็นที่สวมยอดแบบต่าง    การปิดหุ่นเป็นการปิดกระดาษทับลาบนหุ่น  เรียกว่า  การพอกหุ่นหรือปิดหุ่น  โดยจะปิดกระดาษทับหลาย    ชิ้น  ให้หนาพออยู่ได้หลังจากถอดศีรษะออดจาก

3.  การถอดหุ่น  คือ  การเอาศีรษะกระดาษออกจากหุ่น  โดยใช้มีดปลายแหลมกรีดศีรษะกระดาษให้ขาดแล้วจึงถอดออกจากต้นแบบ  หลังจากนั้นต้องเย็บประสานให้สนิทแล้วปิดกระดาษทับให้เรียบร้อย  ศีรษะกระดาษนี้จะเรียกว่า  กะโหลก

               

4.  การปั้นหน้าหรือกระแหนะ  คือ  การใช้รักตีลายมาปั้นเพิ่มเติมลงบนกะโหลกที่ส่วนคิ้ว  ตา  จมูก  ปาก  ฯลฯ  ให้ได้รูปชัดเจนและแสดงอารมณ์ของใบหน้ากับการประดับลวดลาย  ตกแต่งบนตำแหน่งที่เป็น  เครื่องศิราภรณ์  เช่น  ประดับส่วนเกี้ยวรักร้อย  ฯลฯ  และ  จัดทำส่วนหู  สำหรับเศียรยักษ์  ลิง  พระและนางที่ปิดหน้า

               

5.  การปั้นตีลาย  ใช้รักตีลายพิมพ์เป็นลวดลายละเอียดประดับตามตำแหน่งบนกะโหลกที่ได้ปั้นหน้า  ติดลวดลายประดับไว้พร้อมแล้ว  การลงรักปิดทอง  คือ  การใช้รักน้ำเกลี้ยงทาทับส่วนที่ทำเป็นลวดลายต่าง    ซึ่งต้องการจะทำเป็น  สีทองคำโดยทารักทิ้งไว้ให้แห้งสนิทแล้ว  จึงนำทองคำเปลวมาติดทับให้ทั่ว  การประดับกระจก  หรือพลอยกระจก  เป็นการตกแต่งส่วนละเอียดโดยเฉพาะลวดลายที่ไส้ตัวกระจิง  ไส้กระหนก  ไส้ใบเทศ  เป็นต้น  เพื่อให้เกิดประกายแวววาม  กระจกที่ใช้เรียกว่า  กระจกเกรียง  ปัจจุบันหาไม่ง่ายนัก  ช่างทำหัวโขนจึงใช้พลอยกระจก

6.  การระบายสีและเขียนส่วนละเอียด  เป็นกระบวนการขั้นสุดท้ายของการทำหัวโขน  สีที่ใช้มักใช้สีฝุ่นผสมกาวกระทินหรือยางมะขวิด  สีชนิดนี้มีคุณลักษณะสดใส  และนุ่มนวล  การระบายสีและเขียนรูปลักษณ์บนใบหน้าของหัวโขนต้องดำเนินการตามแบบแผนอันเนื่องจากชาติพงศ์ของหัวโขนนั้น   

หมายเลขบันทึก: 160531เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2008 17:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 19:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เป็นการนำเสนอที่ดีทำให้ได้รับความรู้และสามารถนำมาประดิษฐ์เราน่าจะลองทำดู_

ดีอ่ะแต่ก็งงอยู่อ่ะ หน้าจะมีตัวอย่างให้ดูด้วยก็ดีอ่ะ

อยากเรียนทำหัวโขนครับไม่รู้ว่าที่ไหนรับสอนบ้าง..เพราะชอบงานหัตถกรรมแบบนี้อ่ะครับ

สอนทำหัวโขนฟรี!ครับ..สนใจเรียนสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 082-0139120 พี่ไปธ์ ครับ

ทรงฤทธิ์ เจริญวรชัย

ชอบมากในการทำและคิดที่จะทำเป็นเสมอ

อยากเรียนทำหัวโขนจังเลยครับที่ไหนสอนบ้างบอกทีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท