กำเนิดโขน


มารู้จักกับการแสดงโขนกันดีกว่า

              

               โขนได้มีวิวัฒนาการและการพัฒนามาจากการแสดง  3  ประเภท  คือ  การแสดงกระบี่กระบอง  การแสดงหนังใหญ่  การแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์  ดังจะกล่าวดังต่อไปนี้            1.  การแสดงกระบี่กระบอง  คนไทยแต่โบราณ  ก็เช่นเดียวกับชาติอื่น    ทั้งหลายคือ  จำเป็นต้องฝึกหัดวิชาการใช้อาวุธคู้มือไว้ให้ต่อสู้ข้าศึกศัตรูและป้องกันตัว  อาวุธที่ใช้เป็นคู่มือในการต่อสู่ก็มีหลายชนิด  มีทั้งอาวุธยาวและอาวุธสั้น  เช่น  กระบอง  ไม้พลอง  ดาบ  กระบี่  ทวน  หอก  และ  ง้าว  เป็นต้น  เครื่องรับเครื่องป้องกันตัวก็มีหลายชนิด  เช่น  โล่  เขน  ดั้ง  เป็นต้น  ศิลปะแห่งการใช้อาวุธคู่มือและเครื่องป้องกันกำบังตัวเหล่านี้เรียกเป็นคำรวมเป็นท่หมายรู้กันว่า  วิชากระบี่กระบอง  วิชากระบี่กระบองเป็นวิชาที่ต้องฝึกหัดให้ชำนาญในการใช้ทั้งบนพื้นดินและอยู่บนพาหนะ  จึงปรากฏว่าวีรบุรุษของไทยผู้มีชื่อเสียงอยู่ในประวัติศาสตร์ของชาติ  ล้วนแต่เป็นผู้ชำนาญในการใช้อาวุธเหล่านั้นเป็นอย่างดียิ่ง  ซึ่งกล่าวถึงพ่อขุนรามคำแหงมหาราชองค์หนึ่งของไทย  เมื่อครั้งเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธออยู่ในรัชกาลของสมเด็จพระราชบิดา  คือ  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์  ได้ชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดและสมเด็จพระนเรศวรมหาราชอีกองค์หนึ่งของไทย  เมื่อทำสงครามยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา  ทายาทแห่งราชบัลลังค์ของพม่าก็ทรงใช้พระแสงของ้าวจ้วงฟันพระมหาอุปราชาทิวงคตในกลางสมรภูมิเมื่อ  ..  ๒๑๓๕  เพราะปรากฏตามพระราชพงศาวดารว่า  สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถราชอนุชาทรงชำนิชำนาญในการใช้อาวุธคู่พระหัตถ์เหล่านั้นได้แคล่วคล่องว่องไวเป็นอย่างดียิ่ง  ทั้งนี้ย่อมแสดงว่าชาวไทยได้ฝึกหัดการใช้อาวุธและเครื่องป้องกันกำบังเพื่อต่อสู้ข้าศึกศัตรู  และป้องกันตัวโดยมีระเบียบอันดีมาแต่โบราณ  จนมีแบบแผนแห่งการใช้อาวุธเหล่านั้นแต่ละอย่างแต่ละชนิดเรียกกันว่า  เพลง  เช่น  เพลงกระบี่  เพลงทวน  และเรียกกระบวนการรบว่าเท่านั้นเท่านี้เพลง  ในสมัยโบราณนิยมเล่นกระบี่  กระบอง  เป็นการแสดงประกวดอวดฝีมือกันอยู่เป็นเนือง    จนถึงการนำไปแสดงเป็นมหรสพ  เพื่อความบันเทิงใจของประชาชนในงานเทศการต่าง    ทั้งในงานหลวงและในงานราษฎร์  ผู้แสดงฝีมือกระบี่กระบองอวด  บางทีในครั้งโบราณจะเรียกว่า  นักคุน  และแสดงร่วมกันไปกับมหรสพอย่างอื่น  โดยเหตุที่คนไทยเป็นนักรบมาแต่สมัยโบราณกาล  ศิลปะแห่งการรำเพลงอาวุธดังกล่าวนี้  จึงเป็นสมบัติประจำตัวของคนไทยแต่ดั่งเดิมมาและนับถือว่าเป็นต้นเดิมแห่งแบบระบำชนิดที่เรียกว่า  วีรชัย  ซึ่งเห็นว่านำมาใช้ในการแสดงโขนหลายตอน  เช่น  ตอนตรวจพลยกทัพและตอนแสดงการรบ  เป็นต้น

           

              2.  การแสดงหนังใหญ่  มหรสพที่ขึ้นหน้าขึ้นตาของชาวไทยในสมัยโบราณอีกอย่างหนึ่ง  ก็คือ  หนัง  หรือที่เรียกกันภายหลังว่า  หนังใหญ่  เพราะมีหนังตะลุง  ตัวหนังเขาใช้แผ่นหนังงัว  ฉลุสลักเป็นรูปตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์  ด้วยลวดลายงดงามวิจิตร  มีไม้ผูกทาบตัวหนังไว้ทั้งสองข้างเพื่อให้ตัวหนังตั้งตรงไม่คดหรืองอและไม้ที่ผูกทาบนั้นก็ทำให้มีคันยื่นยาวพ้นลงมาใต้ตัวหนังเป็นสองข้างเพื่อใช้มือทั้งสองจับถือและยกได้ถนัด  สถานที่เล่น  เขาปลูกโรงขึงจอโดยใช้ไม้ไผ่  ถ้าไม่มีไม้ไผ่  จะใช้ไม้อื่นถากเหลาขนาดเท่าลำไม้ไผ่ก็ได้ปักเป็นเสา    ต้น  และใช้ผ้าขาวคาดเป็นจอ  ยาวราว    วา  สูงราว    วา  ส่วนด้านหลังของจอ  เขาจุดไต้และก่อไฟขึ้นไว้  เพื่อให้เห็นเงาตัวหนังซึ่งมีลวดลายวิจิตรนั้นมาติดอยู่ที่จอผ้าขาว  ตนเล่นหนังก็จับไม้ทาบตัวหนังนั้น    คนหนึ่งต่อตัวหนังหนึ่งตัวชูตัวหนังขึ้นพ้นศีรษะของตนแล้วเต้นออกไปตามเพลงดนตรีและบทพากย์  บทเจรจาตามที่กำหนดไว้ในท้องเรื่อง  คนเล่นหนังนี้เรียกว่า  คนเชิด  คนเชิดหนังจะต้องเชิดให้เงาของตัวหนังไปติดอยู่ที่จอผ้าขาว  เพื่อคนดูจะได้เห็นรูปและลวดลายอันงดงามของตัวหนังได้เด่นชัด  แต่คนเชิดไม่ต้องพูดหรือร้อง  เพราะมีคนพูดแทน  เรียกว่า  คนพากย์  คนพากย์จะต้องเป็นคนที่รอบรู้เรื่องราวที่จะเล่นหนังตอนนั้น    ดี  และเป็นกวีอยู่ในตัวด้วย  ส่วนเรื่องที่เล่นหนังของเราแต่โบราณมาปรากฏว่าเล่นเรื่องรามเกียรติ์เป็นพื้น  การเล่นหนังดูจะเป็นมหรสพที่เชิดหน้าชูตาอย่างหนึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา  ศิลปะของการเล่นหนังหลายอย่างในชั้นหลังมานี้  ได้ตกมาเป็นสมบัติของการเล่นโขน            3.  การแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์  การเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์  มีกล่าวไว้ในกฎมณเฑียรบาลสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนพระราชพิธีอินทราภิเษก  ว่าให้ตั้งภูเขาพระสุเมรุ  และภูเขาอื่น    กลางสนามและใช้ตำรวจเล็กแต่งตัวเป็นอสูร  มหาดเล็กแต่งตัวเป็นเทวดา  วานรอย่างละร้อย  และแต่งสุครีพ  พาลี  อีกอย่างละตัวเข้ากระบวนแห่  ทำพิธีชักนาคโดยพวกอสูรชักทางหัว  เทวดาและวานรชักทางหาง  พร้อมด้วยพิธีต่าง    ด้วยเหตุนี้โขนจึงได้ลักษณะการแต่งกายมาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ 
หมายเลขบันทึก: 160509เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2008 16:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 20:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ทำให้ดิฉันมีความรู้มากยิ่งขึ้นในเรื่องวิวัฒนาการของโขนค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท