ขายฝัน ไม่ได้ขายโครงการ


<div>เมื่อห้าปีกว่าๆ ที่เเล้ว เป็นรูปหายากเพราะไม่ว่าจะทำงานอะไร ก็จะต้องเงยหน้ามาจิกหน้าให้กล้อง นับว่าคนถ่าย ซึ่งเป็นอาจารย์อบรมข้าพเจ้าเอง มือไวมาก เพราะถ้าจำไม่ผิด ชอทต่อไปข้าพเจ้าก็จะกลับมาจิกเหมือนเดิม รูปไม่จิกหายไปเสียเเล้ว ต้องไปก็อปมาจากงานวิจัย   ล่ามที่นั่งข้างๆ ข้าพเจ้านั้น ก็ยังเป็นเพื่อกันมาจนทุกวันนี้ และมักโหลดชาหรือของฝากตามสั่งมาให้เสมอเมื่อมากรุงเทพฯ  </div><div>
</div><div>
</div><div>ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ว่า เวลาวิจัย ถ้าทำงานออกมาทื่อๆ มันก็จะทื่่อ และน่าเบื่อ ปกติเเล้ว งานวิจัย ก็เหมือนกับการสร้างอะไรสักอย่าง ต้องใช้จินตนาการสูง โดยเฉพาะถ้าวิจัยเพื่อสร้างข้อเสนอนั้น นอกจากจะต้องเสนอสถานการณ์แล้ว ยังต้อง&quot;ฝัน&quot;ต่อจากสถานการณ์อันหดหู่ ไปสู่สถานการณ์ที่ดีขึ้นอีกด้วย หรือพยายามหาเเสงสว่างของ Best Practice จากจุดสว่างเล็กๆ ให้ขยายออกไปได้มากขึ้น (อาจารย์ที่สอนวิธีวิทยาสตรีนิยมคงตีข้าพเจ้าตาย หากตีความว่าเป็นการ generalisatiนื) </div><div>
</div><div>ถ้าไม่งั้นจะวิจัยไปทำไม ทั้งๆที่รู้อยู่เเล้วว่าสถานการณ์ไม่ดีนัก</div><div>
</div><div>อีกหน้าที่หนึ่งของนักวิจัยคือนักเล่าเรื่่อง ไม่ใช่เล่าตอนวิจัยจบเเล้ว แต่เล่าให้คนที่เราจะวิจัย แหล่งข้อมูล ผู้ร่วม Focus Group ให้รู้เรื่องที่เราฝัน เรื่องที่เรารู้ เรื่องที่สร้างเเรงบันดาลใจ (หาได้จาก การทบทวนวรรณกรรม) ช่วยเราประเมินความฝัน และเล่าเรื่องของเขาให้เราฟัง เพื่อเราจะไปเล่าต่อ ดังนั้นหวังว่าบล็อกนี้คงทำหน้าที่เล่าเรื่องงานวิจัย ให้คนที่ข้าพเจ้าไม่ได้ไปเก็บข้อมูลด้วย ได้ร่วมกันแบ่งปันประสบการณ์และความฝันไปกับข้าพเจ้า </div><div>ขอลาไปอ่านหนังสือสักวัน เก็บข้้้อมูลอีกสักวัน แล้วจะมาเล่าเรื่องความฝันที่อยากขาย ในการวิจัยสุขภาพทางเลือก </div><div>
</div><div>ความฝันของข้าพเจ้าเริ่มต้นที่ …. </div><div>เป็นครั้งแรกที่ข้าพเจ้าหวดกลัว สยองกับงานวิจัยที่กำลังทำทั้งๆ ที่เมื่อก่อน ถ้าทำอะไรลงไปแล้วได้ผลดีต่อการวิิจัย จะให้ข้าพเจ้าทะเลาะกับเพื่อน ขัดใจเจ้านาย n>หรือจะเป็นจะตายกับเเหล่งข้อมูล ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่การกลัวขึ้นมก็ดีกว่าทำงานไปวันๆ โดยไม่รู้สึกรู้สา  เป็นเเค่หุ่นให้เขาชักเชิดไปตามทำนองของการวิจัยในตำรา ไม่รู้ว่าคนที่เป็นกรรมการควบคุมคุณภาพจะฝันอย่างเดียวกับข้าพเจ้าหรือไม่ จึงขอใช้เวลาที่ได้ทบทวนวรรณกรรม ศึกษาสถานที่ลงพื้นที่ ทบทวนความฝันเเละองค์ความรู้ในการวิจัยครั้งนี้  </div><div>
</div><div>1. ในการวิจัยคนที่สำคัญที่สุดคือแหล่งข้อมูล การให้ความสำคัญกับเเหล่งข้อมูลกลุ่มต่างๆ ในพื้นที่ ได้แก่คนไร้รัฐ คนไทยพลัดถิ่น แรงงานข้ามชาติ ทั้งในฐานะหุ้นส่วนในการสร้างความรู้ และหุ้นส่วนในการกำหนด ใช้ และดำเนินนโยบาย เป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าเห็นว่าสำคัญที่สุด การลงพื้นที่จึงมิใช่เพียงการรับฟังปัญหา นำมาเขียนแล้ววิเคราะห์ เเต่ต้องทำการบ้าน ให้เจ้าของปัญหาวิเคราะห์ และมีส่วนร่วมกับการกำหนดอนาคตตนเองให้มากที่สุด ตั้งเเต่ในชั้นการวิจัย เพราะเท่าที่ข้าพเจ้าสังเกตมา ยิ่งกระบวนการสร้างนโยบาย ยุทธศาสตร์ ก้าวสู่ความเป็นจริงเท่าไหร่ ผู้ที่มาร่วมวงไพบูลย์ในเวทีสาธารณะก็ใหญ่ตาม นโยบายจากงานวิจัยถูกปรับเปลี่ยนเป็นยุทธศาสตร์ ที่กว่าจะเข้าถึงผู้มีส่วนได้เสีย ก็เมื่อเขาเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ บทบาทสำคัญของนักิจัยระดับล่างๆ คือสะท้อนประเด็น ปัญหา และความต้องการให้ปรากฏในงานวิจัยมากที่สุด และภาวนาให้เกิดการผลักดันให้ประเด็นเหล่านั้นบรรจุเป็นยุทธศาสตร์ แปลความหวังความฝันของชุมชนที่เข้าไปวิจัย เป็นภาษานโยบาย เเละกลับมาทบทวน สอบถามกับเจ้าของปัญหาเป็นระยะๆ<</div><div>
</div><div>2. แหล่งข้อมูลคือศักยภาพ เราจะช่วยให้เขาตระหนักถึงศักยภาพในการแก้ไขปัญหาของตนเอง หรือมีส่วนร่วมในการผลักดันให้ปัญหาได้รับการแก้ไข เมื่อข้าพเจ้าเห็นข่าวว่าประเทศไทยอาจต้องใช้งบ 1300 ล้านบาท ข้าพเจ้าอยากเอาจำนวนคนไม่มีสัญชาติในประเทศไทยไปหาร ว่าเฉลี่ยออกมาเเล้วจะได้วันละเท่าไหร่ หากรัฐจะสนับสนุนค่าบริหารจัดการ ให้คนไม่มีหลักประกันสุขภาพได้จ่ายเฉพาะค่าใช้จ่ายรายหัว เเละมีโครงการที่ไม่จำกัดการเข้าถึงด้วยบัตร อย่างเช่นที่เกิดขึ้นในฝรั่งเศส ก็คงจะดี ถ้ามีโครงการร่วมจ่าย ก็คงจะดี เพราะการไม่จ่าย ไม่ได้เป็นเหตุให้การเข้าถึงบริการสุขภาพ เเละระบบสาธารณสุขโดยรวมดีขึ้น นอกจากนั้นประเด็นปัญหาเเต่ละท้องที่ยังมีคนทำงานระดับล่างๆ เช่น พสต. อสม. ซึ่งจะเป็นเเขนขาในการประชาสัมพันธ์ สร้างความรู้เรื่องสิทธิ เเละ ส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลให้มากขึ้น เขาจะทำอย่างไรเพื่อให้เกิดระบบประกันสุขภาพที่ยั่งยืน ที่เขาดูเเลกันเองได้บางส่วน และรัฐสนับสนุนบางส่วน </div><div>
</div><div>เมื่อเรามองเห็นเเหล่งข้อมูลไม่ได้เป็นภาระ เราบอกให้เขาคิดระบบประกันสุขภาพที่เขาต้องการ มาร่วมแบ่งปันกับนักวิจัยได้ ข้าพเจ้าอยากรู้ว่า้าอยากให้เขาซื้อประกันสุขภาพ เขาอยากจะจ่ายเท่าไหร่ อยากให้ครอบคลุมสมาชิกกี่คน อยากให้คุ้มครองอะไรบ้าง ถ้าเขาไม่มีคำตอบ ข้าพเจ้าก็คิดว่านั่นเป็นตัวชี้วัดอย่างหนึ่งว่าเขาอาจไม่สามรถเข้าถึงข้อมูลเรื่องหลักประกันสุขภาพ และสิทธิพื้นฐาน ข้าพเจ้าอาจจะได้ข้อเสนองานวิจัยอีกหนึ่งข้อ </div><div>
</div><div>3.   การที่มีผู้เข้าร่วมระบบน้อย อาจสาเหตุที่ทำให้ไม่เกิดความคุ้มทุนเพราะการกระจาความเสี่ยงตามหลัก  economy of scale คือยิ่งมีคนมาก ก็จะได้ค่าใช้จ่ายรายหัวมาก อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่ที่ประชากรส่วนใหญ่ไม่มีสัญชาติไทย การจ่ายค่าใช้จ่ายรายหัว ย่อมไม่สะท้อนจำนวนประชากรโดยข้อเท็จจริง ที่เข้ามาใช้บริการในโรงพยาบาล แน่นอนว่าประชากรโดยข้อเท็จจริงเเม้ไม่มีบัตร ก็ต้องประสบกับการเข้าโรงพยาบาล เพราะการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยไม่สนใจว่าคนๆนั้นจะมีบัตรทองหรือไม่ (มีต่อ)</div>

หมายเลขบันทึก: 160375เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2008 05:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อย่าเชื่อว่า คนชายขอบจะเป็นภาระของประเทศไทยเสมอไปนะคะ

เขาอาจจะเป็นโอกาสในการพัฒนาประเทศไทยก็ได้นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท