3. บันทึกความทรงจำจากรัฐ ทมิฬ นาดู อินเดียใต้ (ตอน 1)


คนผิวคล้ำ แต่ใจดี

 ไปเจนไน เมืองหลวงของรัฐทมิฬนาดู อินเดียใต้

ฉันมีเหตุให้ต้องไปอินเดียเป็นครั้งที่ 3 เพื่อไปเสนอผลงานวิชาการในการประชุมวิชาการนานาชาติ

เรื่อง Austroasiatic Linguistic Conference III จัดโดย Department of Linguistics, Deccan

College ที่เมืองPune รัฐมหารัชตะระหว่างวันที่ 26-28 พฤศจิกายน 2550 สาเหตุที่ต้องไปเพราะ

มิใช่เพียงแต่ไปเสนอผลงานวิชาการซึ่งฉันทำภาษาเวียดนามที่สังกัดยู่ในตระกูลภาษานี้เท่านั้น

แต่สถาบันฯ ของฉันมีฉันทานุมัติให้ฉันไปรับการประชุมนี้มาจัดต่อในปี 2009 ราวอีกปีครึ่ง เพราะ

เนื่องจากสถาบันฯ ได้ผลิตวารสาร Mon-Khmer Studies Journal มาเป็นเวลานานมาก สาขานี้

พูดมากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งบุคลากรและนักศึกษาสถาบันฯ หลายคนทำ

วิจัยเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมของคนกลุ่มนี้ทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้านมากที่สุด

ในประเทศไทย ในโลกก็ว่าได้ สถาบันฯ จึงน่าจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งต่อไป

            ด้วยเหตุนี้เพื่อไม่ให้เป็นการเสียโอกาสที่จะได้เรียนรู้วัฒนธรรมอินเดีย เพื่อนชาวอินเดียที่ได้

ร่วมมือช่วยเหลือทางวิชาการกับสถาบันฯ เป็นอย่างดี คือ Dr. Amarjiva Lochan จากมหาวิทยาลัย

 Delhi ได้ช่วยคิดเส้นทางการเดินทางให้ โดยให้เดินทางไปเมืองเชนไน (Chennai) หรือ

มัดราส (Madras) เมืองหลวงของรัฐทมิฬ นาดู (Tamil Nadu) ซึ่งเป็นรัฐที่อยู่ชายฝั่งทะเล ทางภาคใต้

ฝั่งตะวันออก พวกเราคงได้ยินชื่อรัฐนี้มาตอนเรียนภูมิศาสตร์ตั้งแต่สมัยชั้นมัธยมศึกษาแล้ว และ

ตอกย้ำความทรงจำพวกเรามากยิ่งขึ้นเมื่อรัฐนี้ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากคลื่นสึนามิด้วย ฉั

ไม่มีความรู้เรื่องรัฐนี้มาก่อน คุ้นชื่อสองสามชื่อข้างต้นเท่านั้น เมื่อเพื่อนบอกว่าดีและจะช่วยประสานงาน

ให้ฉันก็ตกลงว่าจะเดินทางไปล่วงหน้าก่อนการประชุมสัก 5 วัน หลังจากนั้นจึงเดินทางจากเชนไน

ด้วยเครื่องบินต้นทุนต่ำของอินเดียไปเมืองปูเนเพื่อไปประชุมต่อไป

            ฉันเดินทางด้วยสายการบินอินเดียน แอร์ไลนส์เจ้าเก่าที่ได้อาศัยบริการทุกครั้งที่เดินทางไป

อินเดียเพราะราคาถูกที่สุด เนื่องจากไม่มีเที่ยวบินไปเชนไนทุกวัน ดังนั้นจึงควรเตรียมการจองตั๋ว

เครื่องบินล่วงหน้าเพราะอาจจะไม่มีที่นั่งในวันที่ท่านจะเดินทางก็ได้ เครื่องบินออกเช้า ฉันก็ไป

ถึงเช้า เคาน์เตอร์ของสายการบินอยู่ที่อักษรภาษาอังกฤษเกือบสุดท้าย ดังนั้นจึงเดินไปจากประตู 4

ค่อนข้างไกลทีเดียว

            เมื่อเช็คอินเรียบร้อยก็เดินไปรอที่ gate ก็ไกลอีกเหมือนกัน อากาศค่อนข้างเย็นเพราะกรุงเทพฯ

ในช่วงเดือนพฤศจิกายน อากาศเริ่มหนาวเล็กน้อยสำหรับคนกรุงเทพฯ ฉันใส่แจ็กเก็ตไปจึงไม่มีปัญหา

การเดินทางครั้งนี้คาดเดาอากาศไม่ถูกเลย ทราบแต่ว่าปูเนหนาวเพราะน้องนักศึกษาไทยที่อยู่ที่นั่นซึ่งเป็น

ลูกศิษย์ Prof. Nagaraja ผู้จัดการประชุมนานาชาติเมล์มาบอกให้เตรียมเสื้อกันหนาวไปด้วย ฉันก็ไม่แน่

ใจว่าแจ็กเก็ตตัวเดียวจะเอาอยู่ไหมเพราะเคยไปหนาวสั่นฟันกระทบที่คุนหมิงเมื่อ 6 ปีก่อนทำให้เข็ดที

เดียว อย่ากระนั้นเลยฉันเตรียมแจ็กเก็ตไปสองตัว เสื้อยืด 3-4 ตัว เสื้อใส่หน้าร้อน 4-5 ตัว เผื่อไปทั้งสอง

ฤดูดีกว่า นอกจากนี้ ของฝากก็เตรียมไปพอสมควรทั้งชาย หญิง ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก รวมทั้งซื้อยาหม่อง

ตราลิงขวดใหญ่ไปหนึ่งโหลไว้แจก และแบก Journal of South and Southeast Asian Association

 for the Culture and Religion 10 เล่มตามที่ท่านประธานสมาคม Dr. Amarjiva บอกให้เตรียมไปแจก

ผู้ที่ฉันจะไปพบด้วย อ้อ! ฉันเป็นเลขาฯ สมาคมจึงต้องทำหน้าที่เผยแพร่งานของสมาคมด้วย เพราะ

ฉะนั้นกระเป๋าสองใบย่อมๆ จึงอุดมไปด้วยสรรพสิ่งที่มีครบทุกอย่าง ลืมอยู่อย่างเดียวคือผ้าเช็ดตัว!

            ก่อนหน้านี้ประมาณ 10 วันฉันวุ่นวายอยู่กับการเตรียมบทความวิชาการที่จะไปเสนอ แทบไม่ได้

ทำอะไรเลย เพราะฉะนั้นทุกอย่างดูฉุกละหุกมาก ครั้งจะเลื่อนการเดินทางออกไปก็ไม่มีตั๋วแล้ว อย่า

กระนั้นเลยต้องปั่นงานให้เสร็จให้ทันให้ได้ เสร็จตอนเย็นก่อนวันเดินทางพอดี เหนื่อยมากเพราะฉะนั้นจึง

ไม่มีเวลาเตรียมตัวมากนัก

            กลับมาที่สนามบินสุวรรณภูมิ ฉันดูไปดูมาไม่ค่อยมีผู้โดยสารที่เป็นหญิงเลย มีแต่ชายผิวคล้ำมี

หนวดทั้งนั้น บางคนเห็นฉันนั่งอ่านหนังสือนำเที่ยวอินเดียก็สะกิดให้เพื่อนดู ฉันก็ยิ้มๆ ให้ ไม่ถือสาอะไร

พอขึ้นเครื่องได้นั่งกับชายไทยอีกสองคน แกเป็นช่างของ Ford เราเลยมีเพื่อนคุยแลกเปลี่ยนความรู้

เขาเป็นช่างที่ไปช่วยสอนการประกอบรถ Ford ซึ่งอินเดียซื้อโครงรถจากโรงงานที่อยุธยาไป เขาตาม

ปสอนและแก้ปัญหาให้ บินไปมาเมืองเชนไนราวสิบปีก็ยังไม่ชินกับอาหารอินเดีย ต้องกินอาหารกระป๋อง

เราแลกชื่อ นามบัตรกัน ฉันน่ะเผื่อว่าไม่มีคนมารับหรือเกิดเหตุอันใดจะได้ติดต่อพี่คนนี้ได้ การเดินทางใช้

เวลาประมาณ 3.30 ชั่วโมง อากาศดี เครื่องบินบินเรียบ และเงียบดี อาหารบนเครื่องฉันกิน non-veg จึง

มีขนมปัง ออมเล็ตที่น้ำมันเยิ้ม และไก่ทอดซึ่งไม่หอมเลย กินไม่หมด หลังอาหาร ฉันงีบไปนานทีเดียว

เพราะเมื่อคืนเตรียมกระเป๋าวุ่นวายจนดึก เมื่อเครื่องบินใกล้ถึงสนามบิน แอร์โฮสเตสฉีดสเปรย์ฆ่าเชื้อหรือดับกลิ่นเนื้อไก่ทอด (อาหารมื้อเช้า) ไม่ทราบ ทำเอาผู้โดยสารเกือบสลบกับกลิ่นสเปรย์ไปด้วย ต้องปิดจมูกกันสักพัก ในที่สุดก็มาถึงสนามบินที่เชนไน
หมายเลขบันทึก: 160105เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2008 10:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีค่ะ

 ดิฉันชื่อบุญรุ่งค่ะ กำลังจะไปเป็นอาสาสมัคร ที่วัดไทยกุสินาราคลินิกค่ะ ดีใจที่เห็นบทความเกี่ยวกับอินเดีย ไม่เคยไปเลยค่ะ และคาดว่า ต้องเดินทางคนเดียว เมื่อวานก็ไปฝึกกินอาการอินเดีย ที่โรบินสัน จ.ชลบุรีมาค่ะ แป้งแผ่นนิดเดียว อิ่มจนถึงเย็น คงไม่ชินกับรสและกลิ่นน่ะค่ะ

 คงต้องติดตามอ่าน เพื่อเตรียมตัวที่จะไปเร็วๆนี้ค่ะ

ขอบพระคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณหมอบุญรุ่ง

     ดิฉันเป็นแฟนพันธุ์แท้ของคุณหมอ ได้ร่วมทำบุญซื้อหนังสือที่คุณหมอร่วมทำกับคุณพลเดช เพราะชื่นชมในความสามารถในการแต่งกลอน และโดยเฉพาะอย่างจิตกุศลและความเสียสละของคุณหมอ ขออนุโมทนาอย่างจริงใจ

     วิธีทานอาหารอินเดียไม่ยากค่ะ "ทำใจ" และ "เปิดใจกว้าง" พร้อมที่จะเรียนรู้ผู้อื่น "สบาย" ค่ะ

     ขอเอาใจช่วยคุณหมอด้วย คิดว่าเมื่อคุณหมอไปอยู่ที่อินเดียแล้วคงได้อ่านงานของคุณหมอจากประสบการณ์ที่นั่นมากขึ้นนะคะ (ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องอินเทอร์เน็ต)

โสภนา

 ขอเข้ามาขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ

    การไปอินเดียนี้ ด้วยใจจริงๆค่ะ เพราะต้องแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับภาษา ที่คงใช้ภาษาใจสื่อเอานะคะ เรื่องอาหารก็คงมืเวลาฝึก เหมือนคุณโสภนากล่าวไว้ ถ้าเรามีใจ กับสิ่งใด เราคงยอมรับได้ไม่ยากนะคะ ส่วนภารกิจ คือการไปเรียนรู้ ยังไม่มีรูปแบบที่แน่นอน มันเหมือนการไปที่ไหนสักแห่ง ที่เหนือจินตนาการนะคะ คิดแต่ไม่ออก แต่ก็อยากไป

 เห็นบันทึกก่อน จะมีการสัมมนา เกี่ยวกับอินเดียหรือคะ คนนอกไปได้ไหมคะ อยากไปแอบฟังจังเลยค่ะ

 ขอให้อาจารย์มีความสำเร็จในกิจที่ทำโดยเฉพาะชอบอินเดียศึกษาเหมือนกันนะคะ

 

เรียนคุณหมอบุญรุ่ง ขอเรียนเชิญมาร่วมฟังสัมมนาในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ฟรีค่ะ ชวนพรรคพวกมาฟังเยอะๆ ได้ค่ะ กรุณาแจ้งให้ทราบล่วงหน้าว่าไปกี่ท่าน จะได้เตรียมการได้ถูกค่ะ "ฝันให้ไกล ไปให้ถึง" แน่นอนค่ะ ไม่มีอะไรที่เหนือความตั้งใจไปได้นะคะ โสภนา
  ขอบคุณมากๆค่ะ แล้วจะแจ้งให้ทราบอีกครั้งค่ะ

สวัสดีครับ

น่าอ่านมากครับ จะติดตามต่อไปนะครับ

หากมีภาพ รบกวนนำมาประกอบด้วยนะครับ เพราะผมเองก็ยังไม่เคยไปเลย จะได้ขอไปผ่านบล๊อคของอาจารย์ครับ

ขอบคุณครับ

เรียน คุณพลเดช ที่เคารพ

     ขอบพระคุณมากค่ะ ดิฉันกำลังเรียนรู้วิธีการสร้างบล็อกจึงยังไม่เชี่ยวนัก จะพยายามเอารูปลงประกอบด้วยค่ะ  ดิฉันไม่ได้มีประสบการณ์ที่อินเดียมาก แต่อยากนำบันทึกที่ได้ทำระหว่างไปอินเดียราว 10 วันมาแบ่งปันกัน ดิฉันเห็นว่า weblog นี้เผยแพร่ได้ในวงกว้างกว่า weblog เดิมที่ดิฉันเคยทำไว้ จึงขยายสาขามาที่นี่ด้วยค่ะ

โสภนา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท