คุณธรรม 8 ประการ ของการจัดการความรู้


คุณธรรม 8 ประการ ของการจัดการความรู้

คุณธรรม  8  ประการ  ของการจัดการความรู้ 

ศาสคราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์ประเวศ   วะสี

           คำว่า  การจัดการ  อาจทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ค่อยดีนักในสังคมไทย  เพราะเหมือนจะไปใช้อำนาจจัดการอะไรๆ          แต่คำว่า  จัดการความรู้  (Know  ledge  Management)  มีความหมายจำเพาะ  ว่าหมายถึงการจัดการให้มีการค้นพบความรู้ความชำนาญที่แฝงเร้นในตัวคน หาทางนำออกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ตกแต่งให้ง่ายต่อการใช้สอยและมีประโยชน์เพิ่มขึ้น  มีการต่อยอดให้งดงามและใช้ได้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงและกาลเทศะยิ่งขึ้น  มีความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมเกิดขึ้นจากการเอาความรู้ที่ไม่เหมือนกันมาเจอกัน          ข้อสำคีญก่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันของคนทั้งหมดที่ร่วในกระบวนการก่อให้เกิดปัญญาร่วม  (Collective wisdom)  ทำให้แก้ปัญหาหรือพัฒนาในเรื่องยากๆ ได้สำเร็จ            แนวคิดและวิธีการในเรื่องการจัดการความรู้มีการตีพิมพ์ค่อนข้างแพร่หลายทั้งในภาษาต่างประเทศและภาษาไทย  สคส.  (สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม)  กำลังทำงานอย่างเข้มแข็งตามชื่อของสถาบัน  ได้ผลิตข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแนวคิด วิธีการและประสบการณ์ไว้มากมายพอสมควรและมากขึ้นเรื่อยๆๆ  โดยเฉพาะเครือข่ายและกิจกรรมในตัวเอง  เป็นข่าวสารและการสื่อสารที่ยิ่งกว่าสื่อในกระดาษ          เทคนิคและวิธีการในเรือ่งการจัดการความรู้เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเรียนรู้เพื่อใช้ในการปฏิบัติ แต่อย่าไปติดอยู่เฉพาะเทคนิคและคิดแบบกลไกเท่านั้น          ในเรื่องการจัดการความรู้มีมิติทางนามธรรมที่ไม่ใช่เทคนิค  (non-technical dimension)  อยู่ด้วย เรื่องทางนามธรรมนี้เป็นเรื่องของความหมายในทางลึก  ที่ถ้าเข้าใจ  ระลึกถึง และบ่มเพาะให้งอกงามยิ่งขึ้นและพูนพลังให้กับการจัดการความรู้อย่างวิจิตรและมโหฬารขึ้นเรื่อยๆ 1.  เป็นศิลธรรมพื้นฐาน          ศิลธรรมพื้นฐานของสังคมคือการเคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นคนของทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน          ศิลธรรมพื้นฐานนี้จะนำไปสู่การอยู่ร่วมกันด้วยสันติ          สังคมส่วนใหญ่ขาดศิลธรมพื้นฐานนี้  จึงนำไปสู่การพัฒนาที่บิดเบี้ยวและไม่สามารถสร้างสังคมสันติสุขได้          การจัดการความรู้มีพื้นฐานอยู่ที่การให้คุณค่าแก่ความรู้ที่อยู่ในตัวทุกคน  จึงเป็นรูปธรรมแห่งการปฏิบัติที่เคารพศักศรีและคุณค่าความเป็นคนของทุกคน          ถ้าสำนึกถึงคุณค่าที่ลึกที่สุดนี้อยู่เสมอ ๆ และจะเกิดการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานให้ตัวเราเองในการมองเพื่อนมนุษย์            2.  การไม่ใช้อำนาจ          มนุษย์ตามปกติจะให้อำนาจกระทำต่อกัน  แม้ในสังคมที่เรียกตัวเองว่าประชาธิปไตย  เพราะอำนาจเป็นกิเลสที่ลึกที่สุดอย่างหนึ่งของมนุษย์          การใช้อำนาจอาจใช้โดยไม่รู้ตัวหรือทั้ง ๆ ที่มีความรักก็ได้  เช่น พ่อแม่ใช้กับลูก  แพทย์ใช้กับคนไข้  พระใช้กับชาวบ้าน  นายจ้างใช้กับลูกจ้าง  มิใยต้องเอ่ยถึงในองค์กรต่าง ๆ           การใช้อำนาจจะไปปิดกั้นกระบวนการตามธรรมชาติ กระบวนการตามถักทอเครือข่าย เมื่อใช้อำนาจจะทำให้กระบวนการตามธรรมชาติบิดเบี้ยวเบี่ยงเบนไปจากที่ควรจะเป็น          การใช้อำนาจจะไม่ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน  ตามที่จะกล่าวถึงในข้อ  6  การจัดการความรู้สร้างความสัมพันธ์ใหม่ทุกคนมีความสำคัญ  ประสบการณ์ของทุกคนมีความสำคัญ  ความเสมอภาคมีเสรีภาพที่จะนำเอาศักยภาพในตนเองมาแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้          ถ้าเราตระหนักถึงการไม่ใช้อำนาจอยู่เนือง ๆ ความเสมอภาคที่แท้จริงจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งให้เกิดความสุข และพลังของความสร้าง          3.  การฟังอย่างลึก  (Deep Listening)            การนำความรู้ที่แฝงเร้นในตัวออกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน  ต้องมีการคุยที่เน้นการฟังอย่างลึก  ไม่ใช้โต้เถียงกันโดยฟังเอาชนะคะคานหรือพ่นให้ผู้อื้นฟังข้างเดียว          คนบางคนไม่ฟังคนอื่น  เอาแต่พูดหรือฟังก็ไม่ได้ยิน  อย่างนี้ปัญญาไม่เกิดแต่เป็นอาการของคนที่มีตัวตนจัด (ego)  ถ้าหมอถือตัวว่าสูงกว่าคนไข้ก็จะไม่ฟังคนไข้  ถ้ามีความเป็นคนเสมอกันก็ต้องมการฟัง          การจะมีความตั้งใจฟังอย่างลึกก็ตอ้งมีศิลธรรมพื้นฐานคือเคารพตามความเป็นคนของคู่สนทนาอย่างแท้จริง          การฟังอย่างลึกทำให้เกิดปัญญา          โบราณใช้คำว่า  พหูสูต  สำหรับผู้มีปัญญา  (สุตะ = ฟัง)          เมื่ออีกฝ่ายตั้งใจฟัง  ผู้เล่าจะมีความรู้สึกที่ดี  มีความเชื่อใจ  ย่อมอยากจะบอกอะไรที่เกี่ยวกับเขา  ซึ่งตามปกติจะไม่บอกใคร          การฟังอย่างลึกและเงียบ  จิตใจสงบ  มีสติจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ได้ยิน  จะทำให้เกิดปัญญา          Otto  Scharmer  ได้เสนอทฤษฎีรูปตัวยู  (U)  โดยย่อ ดังรูป

(ก)  รับรู้

พูดเปรี้ยงทำปร้าง
กิเลส
พูดและทำด้วยปัญญา

(ข)  แขวนไว้ก่อน

ปัญญา
พิจารณาอย่างสงบมีสติ
Presencingอดีต-ปัจจุบัน-อนาคต
           
          ทฤษฎีรูปตัวยูของ Otto Scharmer  ดังแปลงให้ง่าย          (ก)  ถ้ารับรู้อะไรมาแล้วมีปฏิกิริยาออกไปทันที แบบพูดเปรี้ยง  ทำเปรี้ยงจะตื้น  แยกส่วนไม่ประกอบด้วยปัญญา  ตกเป็นเหยื่อของกิเลส          (ข)  ถ้ารับรู้อะไรมาแขวนไว้ก่อนจะสงบมาก  ไปสัมผัสอย่างเงียบๆ มีสติ  จิตจะสงบมาก  ไปสัมผัสจริง ไปสัมผัสความจริงทั้งหมดที่เขาใช้คำว่า  Presencing    ที่นั้น  อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต  จะเชื่อมกัน  เกิดปัญญาว่างไสว  เมื่อพูดหรือทำอะไรออกไปก็เป็นจากการเกิดปัญญา          ทฤษฎีของ  Otto Scharmer  ตรงกบพระพุทธเข้าสอนไว้ว่าเมื่อใครพูดอะไรเธออย่าเพิ่งรับหรือปฏิเสธ  (ฟังอย่างลึก)  นำมาพิจารณาอย่างแยบคาย  (โยนิโสมนสิการ)  มีสติ และจะเกิดปัญญา  ฉะนั้นนักจัดการความรู้พึงสำนึกว่าการฟังอย่างลึกเป็นศิลธรรมพื้นฐานแห่งการเคารพผู้อื่น  พึงเจริญสติให้มากในการฟัง  สิ่งดีงามจะผุดบังเกิดขึ้นอย่างอัศจรรย์            4.  มีวิธีการทางบวก          กล่าวคือ เอาความสำเร็จ  ความภาคภูมิใจของสิ่งที่เคยทำด้วยดีเป็นตัวตั้ง  นำมาเห็นคุณค่าและชื่นชม  แลกเปลี่ยนเรียนรู้  ต่อยอดให้งดงาม   และมีประโยชน์ยิ่งขึ้น          วิธีการทางลบคือ  เอาความล้มเหลาวหรือปัญหาขึ้นมาเป็นตัวตั้งวิพากษ์วิจารณ์แล้วทะเลาะกันเป็ฯการทอนกำลัง          วิธีการทางบวก  ทำให้มีความปีตีมีกำลังใจ  มีความสามัคคี และมีพลังสร้างสรรค์ที่จะเคลื่อนตัวต่อไปในอนาคต          5. การเจริญธรรมะ  4  ประการที่เกื้อหนุนการเรียนรู้ร่วมกัน          การจัดการความรู้เน้นที่การส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกัน ปกติมนุษย์เรียนรู้ร่วมกันยากเพราะกิเลส  เช่น  ความโกรธ  ความเกลียด  อหังการ  มมังการ  การเรียนรู้ร่วมกันควรเจริญธรรมมะ  4 ประการ  คือ·       ความเอื้ออาทร  (Compassion)·       ความเปิดเผย (Openness)·       ความจริงใจ  (Sincerity)·       ความเชื่อถือไว้วางใจกัน  (Trust)เมื่อเกิดความเชื่อถือไว้วางใจกันจะมีค่ามาก  ทำอะไรก็ง่ายและมีความสุขอย่างยิ่ง  ถ้าขาดความเชื่อถือไว้วางใจกัน จะไม่อยากคุยกันอย่างลึก ๆ           เมื่อไม่คุยกันอย่างลึก ๆ ความรู้แผงเร้นก็สำแดงออกมาไม่ได้  ฉะนั้นประชาคมจัดการความรู้พึงเจริญให้มาก            6.  การเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ  (Interactive  Learning  through action)  เป็นอิทธิปัญญา          การเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติเป็นอิทธิปัญญา          การเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติมีความสำคัญที่สุดในการทำให้อะไรยากๆ ให้สำเร็จ          การไม่เรียนรู้  การเรียนรู้โดยท่องตำราอย่างเดียว  การเรียนรู้เฉพาะบางคนโดยไม่ใช่การเรียนรู้ของคนทั้งหมดร่วมกัน  ไม่เกิดปัญญาร่วมที่สอดคล้องกับความเป็นจริง  ไม่เป็นไปเพื่อความสำเร็จในขณะที่ความรู้ในตำราอาจไม่ได้มาด้วยการปฏิบัติรหรืออยู่ห่างไกลจากการปฏิบัติ  ความรู้ในตัวคนเป็นความรู้ที่เนื่องด้วยการปฏิบัติและการจัดการความรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อให้การปฏิบัติบางสิ่งบางอย่างเป็นผลสำเร็จ          การจัดการความรู้จึงเป้ฯการส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติอันจะทำให้เกิดอิทธิปัญญาหรือเพื่อความสำเร็จ  (อิทธิ  =  ความสำเร็จ)              7.  การถักทอไปสู่โครงสร้างใหม่ขององค์กรและของสังคม          โครงสร้างที่สุดโต่ง  2  อย่างคือ          (1)  โครงสร้างทางดิ่ง          (2)โครงสร้างปัจเจกชนนิยมแบบตัวใครตัวมัน  ไม่มีพลังเพียงพอในการแก้ปัญญาที่ยากและซับซ้อนของสังคมปัจจุบัน          การจัดการความรู้ก่อให้เกิดโครงสร้างใหม่แบบเครือข่าย          ตามรูป  การส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน  ทำให้บุคคลทั้งโดยตัวบุคคลหรือภายในองค์กรเดียวกัน  หรือข้ามองค์กรเข้ามาเชื่อมโยงกันโดยความสมัครใจ  ไม่ใช่โดยการบังคับ  แต่เชื่อมโยงด้วยการเรียนรู้และทำกิจกรรมร่วมกัน  เกิดเป็นเครือข่ายทั้งภายในองค์กรและข้ามองค์กร          โครงสร้างเครือข่ายนี้จะคล้ายโครงสร้างของสมอง  สมองมีเซลล์โยงตัวตัวอื่น ๆ อีกประมาณ  70,000  ตัว เป็นเครือข่ายเซลล์สมอง  (neuronal network) เป็นโครางสร้างที่วิจิตรที่สุด          มนุษย์ก็มีจำนวนมาก เมื่อเชื่อมโยงกับเครือข่ายมนุษย์   (human  network)  จึงเป็นโครงสร้างที่วิจิตรและสมรรถนะในการเรียนรู้สูงสุด         

(ค)  เครือข่าย

(ข)  ตัวใครตัวมัน

(ก)  โครงสร้างทางดิ่งแบบใช้อำนาจ

         
          จากรูปการจัดการความรู้คือกระบวนการความรู้คือกระบวนการปรับเปลี่ยนคางสร้างความ สัมพันธ์จากโครงสร้างทางดิ่ง  (ก)    และโครางสร้างปัจเจกชนนิยมสุดต่างแบบตัวใครตัวมัน  (ข)  ไปเป็นโครงสร้างแบบเครือข่าย  (ค)          ในขณะที่โครงสร้างทางดิ่งมีการเรียนรู้น้อยมาก  และโครงสร้างปัจเจกนิยมสุดต่างแบบตัวใครตัวมันขาดพลังร่วมและปัญญาร่วม ไม่สามารถนำไปสู่ความสำเร็จทางสังคม          การที่การจัดการความรู้นำไปสู่การถักทอโครงสร้างใหม่  จากโครงสร้างทางดิ่งและโครงสร้างแบบตัวใครตัวมันไปสู่การเป็นเครือข่ายมนุษย์  มีความสำคัญยิ่งนัก  เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน  (transformation)  ที่ไม่เคยทำได้สำเร็จด้วยวิธีใช้ความรุนแรง  แต่สำเร็จได้ด้วยการจัดการความรู้อันประณีต ที่ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้กันในการปฏิบัติ          โครงสร้างใหม่จะปลดปล่อยมนุษย์ไปสู่ศักยภาพ  เสรีภาพ  และความสุข            8.  การเจริญสติในการกระทำ          การจดการความรู้ที่ดีเป็นการเจริญสติไปในตัว          การเจริญสติคือ การรู้ตัวการ รู้ตัวทำให้มีปัญญาและทำได้ถูกต้อง          ในกระบวนการจัดการความรู้ที่ดี ทุกคนต้องพยายามมีติระลึกรู้  เมื่อทุกคนมีสติในกิจกรรมร่วมจะเกิดความสติของกลุ่ม หรือสติขององค์กร  หรือสติของสังคม อันเป็นเรื่องใหม่ซึ่งดียิ่งนัก  เพราะสังคมที่ไม่มีสติเป็นอย่างไรเราพอนึกออกและเห็นอยู่ทั่วไป          การเจริญสติทำให้จิตใจทำให้จิตใจสงบ  มีอิสรภาพเพราะหลุดจากความบีบคั้นสัมผัสความจริงได้  ควบคุมความคิด การพูด  และการกระทำได้          การมีสติจึงเป็นความงาม ความดี  และความสุข  ทุกคนควรทำความเข้าใจเรื่องสติและพยายามเจริญให้มากจะประสบความสุขและความเจริญทั้งปวง          การจัดการความรู้คงจะมีคุณลักษณะอื่น ๆ อีก  ที่นำมากล่าวไว้  8  ประการก็คงพอเพียงที่จะเป็นกำลังใจให้ฮึกเหิมในธรรม  เห็นภาพรวมของการจัดการความรู้ในเชิงลึก ซึ่งถ้าตระหนักรู้และพยายามเจริญคุณธรรม  8  ประการให้ประณีตยิ่ง ๆ ขึ้น  การทั้งปวงจะงดงามและทรงพลังมากขึ้นเรื่อยๆ             ..................................................................................
หมายเลขบันทึก: 159679เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2008 23:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท