แอบอ้างสรรพากรเพื่อหลอกลวงผู้เสียภาษี


ที่มา : Forwarded Mail

รู้ไว้ใช่ว่า รู้ทัน เลี่ยงภัยที่อาจจะมาโดยไม่ตั้งตัว สละเวลาอ่านสักนิดนะคะ
**********************************************************************************************

การแอบอ้างกรมสรรพากรเพื่อหลอกลวงบุคคล และผู้เสียภาษี การแอบอ้างกรณีที่ 1
แอบอ้างชื่อกรมสรรพากร ผู้บริหารกรม ข้าราชการกรม  เพื่อให้ช่วยบริจาค ซื้อสินค้าเพื่อการกุศลรูปแบบ  :  
1.  ออกหนังสือแจ้งโดยใช้หัวกระดาษตรากรมสรรพากร 
2.  แจ้งว่ากรมฯ มีโครงการให้ทุนการศึกษา ไถ่ชีวิตโค-กระบือ สนับสนุนสินค้าเพื่อการกุศล
3.  ติดต่อผู้ประกอบการทางโทรศัพท์ 
4.  เร่งรัด และกดดันผู้ประกอบการให้พิจารณา  หลายกรณีข่มขู่ให้ช่วย
5.  ให้โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นบัญชีบุคคล  ซึ่งมักเป็นบุคคลที่ต้องโทษจำคุก หรือเป็นคนตาย
6.  คนร้ายมักจะกดเงินทาง ATM ทันทีที่ได้รับเงินโอน หรือมีการแจ้งจากผู้เสียหายว่าโอนเงินแล้ว
ผลการดำเนินการที่ผ่านมา     กรมฯ ได้สืบสวน และแจ้งตำรวจจับกุมได้ 1 กลุ่ม  ที่จังหวัดเชียงใหม่  โดยดำเนินคดีทางศาลมีผลเป็นที่สุดแล้วจำคุก 3 คน 
สถานการณ์ในปัจจุบัน       ยังคงมีผู้ดำเนินการอยู่  โดยให้ระวังการติดต่อ หรือการมีส่วนเกี่ยวข้องของบุคคลรายชื่อเหล่านี้เป็นพิเศษ และให้ทราบว่าเป็นการหลอกลวง อย่าได้หลงเชื่อเป็นอันขาด1.     นายธีรยุทธ์2.     นายกฤต   พลเส....3.     กมลวรรณ4.     ศ.ดร.นคร ร่วมค....5.     ชีวนัย  ฉา..บุญครอ......6.     ศ.ดร. ต้อย  บัวสว่า...7.     อำพร8.     อาจารย์ศักดิ์   กาญ..นทรัพ.......9.     ธรรมนูญ   เปี่..มประยู... (บางครั้ง อ้างว่าเป็น พ.ต.ท.)  

การแอบอ้างกรณีที่ 2 แอบอ้างการแจ้งคืนภาษีผ่านบัญชีธนาคาร และโอนเงินเข้าบัญชีทาง ATMรูปแบบ   :    1.  โทรศัพท์ถึงบุคคล  (ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่)   โดยมีรายละเอียดชื่อที่อยู่ของบุคคลที่ติดต่อ
2.   แจ้งหลักการและเหตุผลที่กรมฯ จะดำเนินการคืนภาษีที่ตรวจพบว่ายื่นผิดพลาดเข้าบัญชีธนาคาร
3.  หากผู้เสียหายไม่เชื่อ หรือต้องการพิสูจน์  จะมีการทำระบบให้โทรศัพท์โชว์เบอร์เป็นเบอร์กลางกระทรวงการคลัง หรือหน่วยงานของกรมสรรพากร (ระบบตอบรับอัตโนมัติ)  เพื่อให้ตรวจสอบย้อนกลับได้ 
4.  มีการให้ผู้เสียหายแจ้งเบอร์บัญชี  และมักจะสอบถามถึงยอดคงเหลือในบัญชี
5.  ให้ผู้เสียหาย ทำกระบวนการรับเงินคืนภาษีผ่านบัญชีธนาคารทางระบบ ATM โดยให้ดำเนินการผ่าน Menu ภาษาอังกฤษ และให้ตามขั้นตอนที่บอกกล่าว
6.  ให้กดตัวเลขยอดบัญชีที่เหลืออยู่  โดยอ้างว่าเป็นการรับรองตัวเลขเงินฝากในบัญชี และจะได้ทราบถึงยอดภาษี            ที่จะทำการโอนเงินให้
7.  แจ้งยอดบัญชีที่ต้องการให้โอน โดยอ้างว่าเป็นบัญชีคืนภาษีที่กรมสรรพากรจะตัดโอนเงินให้
8.  ให้ดำเนินการกด Confirm ตัวเลข และรอรับเงินโอน  แต่กระบวนการดังกล่าวในทางปฏิบัติจริงคือ  การโอนเงินในบัญชีทั้งจำนวนให้ผู้แอบอ้าง 
ผลการดำเนินการที่ผ่านมา    
1.     กรมฯ  ตรวจสอบย้อนกลับไปยังหมายเลขโทรศัพท์ พบเป็นการ Set ระบบและติดต่อผ่านเครือข่าย Internet ไม่ใช่เบอร์ระบบโทรศัพท์ปกติ ในหลายครั้งพบเป็นการโทรจากต่างประเทศ (จีน) ในลักษณะเก็บเงินปลายทาง
2.     ประสานงานกับ DSI และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อดำเนินการในเรื่องดังกล่าวแล้ว  ซึ่งจับกุมและเข้าสู่การดำเนินคดีแล้ว 2 กลุ่ม พบเป็นชาวต่างด้าว (ชาวจีน) ถึง 6 คนใน 10 คนที่จับได้  และขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการสอบสวนขยายผล   
สถานการณ์ในปัจจุบัน       ยังคงมีมิจฉาชีพดำเนินการอยู่  และมีการพัฒนารูปแบบซับซ้อนขึ้นหลังจากเครือข่ายบางส่วนถูกจับไปแล้ว   

การแอบอ้างกรณีที่ 3แอบอ้างชื่อกรมสรรพากร ผู้บริหารกรม ข้าราชการกรม  เพื่อให้ช่วยบริจาค ซื้อสินค้าเพื่อการกุศลจากองค์กรสาธารณกุศลจริง และองค์กรเถื่อนที่ไม่ทราบว่าการบริจาคนั้นจะเป็นการกุศลหรือสาธารณประโยชน์จริงหรือไม่ รูปแบบ   :   
1.  โทรศัพท์ถึงผู้บริหารนิติบุคคล  (ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่)  
2.   แจ้งโครงการขององค์กรสาธารณกุศล/สาธารณประโยชน์ พร้อมสื่อที่จะให้บริจาคหรือกิจกรรมที่จะขอสนับสนุน
3.  มีบุคคลที่มีน้ำเสียงดูเหมือนผู้ใหญ่ในวงราชการ อ้างตนเองว่าเป็นรองอธิบดีกรมสรรพากร สรรพากรภาค เลขานุการกรม หรือหัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป
4.  พูดจาขอร้องแกมบังคับให้ช่วยสนับสนุน พร้อมเร่งรัดให้ดำเนินการ
5.  หากตกลงจะมีเจ้าหน้าที่ประสานงานเพื่อขอรับเงินสนับสนุน เช็คธนาคาร หรือการจ่ายชำระในลักษณะอื่น
6.  เมื่อได้รับไม่มีการออกหลักฐานใดๆ ตามที่กล่าวอ้าง  หากเป็นเช็คธนาคารหรือตราสารทางการเงินอื่น จะรีบนำไปขึ้นเงินทันทีโดยไม่ผ่านเข้าบัญชีของผู้หนึ่งผู้ใด 
ผลการดำเนินการที่ผ่านมา    ยังไม่ได้ดำเนินการใดๆ ทั้งสิ้น เนื่องจากเพิ่งตรวจพบความเคลื่อนไหวในลักษณะนี้ ดังนั้น  หากท่านได้รับการติดต่อจาก มูลนิธิ หน่วยงานการศึกษาพิเศษ หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับชาวเขา  และมีชื่อที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน  ใคร่ขอให้ท่าน 
(1)     ขอให้ตรวจสอบองค์กรที่ติดต่อท่านโดยด่วนก่อนให้การสนับสนุน  
(2)     โปรดรับทราบว่ากรมสรรพากรและผู้บริหารของกรมสรรพากรไม่เคยมีการติดต่อหรือช่วยสนับสนุนองค์กรใดๆ เป็นพิเศษลักษณะนี้  อย่างแน่นอน 

ข้อสังเกต
1.     ทั้ง 3 กลุ่ม  จะให้จ่ายเงินเข้าบัญชี โอนเงิน หรือให้ระบุผู้รับเงินตามเช็ค  เป็นชื่อบุคคล  ซึ่งผิดวิสัยที่หน่วยราชการเช่นกรมสรรพากรจะดำเนินการจริง
2.     มักจะใช้ระบบข่มขู่  โดยอาศัยความกลัวหรือเกรงใจของท่านทำงานให้ได้ผล  ซึ่งทำให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรเกิดความเสียหาย 
3.     การโทรศัพท์มักจะติดต่อผ่านเป็นเบอร์มือถือ  ทั้ง ๆ ที่สำนักงานของกรมฯ มีโทรศัพท์สำนักงานอย่างเหลือเฟือ ให้สงสัยไว้ว่าคงไม่มีใครทำงานทุ่มเทถึงขั้นใช้มือถือติดต่องานในหน้าที่ลักษณะนั้นแน่
4.     การใช้โทรศัพท์สำนักงานกรมสรรพากร  (อาจเรียกตามเอกชนว่าสำนักงานใหญ่ก็ได้)  จะใช้เบอร์ที่ขึ้นต้นว่า 617...... หรือ 272.......   ดังนั้น หากเป็นโทรศัพท์ในลักษณะดังกล่าวที่ผู้พูดกล่าวอ้างตนเองว่าเป็นผู้บริหารจะไม่ขึ้นต้นด้วยเบอร์เหล่านี้
5.     เบอร์กลางกรมสรรพากร  โทร. 02 617 3000  ได้ระงับการใช้ไปหลายปีแล้ว  หากยังมีเบอร์ติดต่อนี้อยู่แล้วโทรไปเป็นระบบตอบรับอัตโนมัติ ขอให้ท่านเชื่อได้เลยว่ากำลังจะถูกหลอก
6.     หากพลาดไปแล้ว ให้แจ้งความ ณ สถานีตำรวจใกล้บ้านท่าน โดยนำหลักฐานการโอนเงิน ต้นขั้วเช็ค ข้อมูลการติดต่อโทรศัพท์มือถือ หรือ Slip ตู้ ATM  ติดตัวไปด้วย   ภายหลังจากแจ้งความแล้วอาจประสานไปยัง RD Call Center โทร. 02 272 8000  หรือติดต่อฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทร. 02 272 8317  พร้อมส่งบันทึกการแจ้งความทางโทรสารไปที่ 02 617 3324  ได้ทันที   กรมสรรพากรจะได้ช่วยประสานงานกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือ DSI ให้ดำเนินการได้
7.     ขอย้ำ กรมสรรพากร มิใช่ผู้เสียหาย จึงไม่สามารถดำเนินการได้เอง  ท่านที่เป็นผู้เสียหายจะต้องแจ้งความต่อเจ้าพนักงานเองเท่านั้นจึงจะเริ่มกระบวนการนำคนชั่วมาลงโทษได้    ดังนั้น โปรดให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ และช่วยกันกำจัดภัยร้ายออกไปจากสังคมไทยด้วย

                                                                                                               นายเกียรติศักดิ์  ว่องพานิช
                                                                                           หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์  สำนักงานเลขานุการกรม

                                                                                                                    กรมสรรพากร
 ************************************************************************************************

                                                                                                                               

หมายเลขบันทึก: 159447เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2008 22:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 14:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท