ครูศิลป์ขอเขียน


แนวคิดของการเรียนการสอนศิลปะ

แนวคิดของการเรียนการสอนศิลปะ

                ศิลปะ  เป็นของคนทั่วไป  ไม่เลือกเพศ  วัย  ชั้นวรรณะ  คนทุกคนมีสิทธิสร้างสรรค์ศิลปะขึ้นได้  ในทำนองเดียวกันศิลปะก็เป็นสมบัติของเด็กทุกคน  ไม่ว่าเด็กโง่  ฉลาด  หรือทุพพลภาพย่อมมีความสามารถที่จะแสดงออกทางการสร้างสรรค์  หากเราเปิดโอกาสให้เขาแสดงความคิดความชื่นชมอย่างอิสระ  ศิลปะส่งเสริมให้เด็กทุกคนเจริญงอกงามตามกำลังความสามารถของแต่ละคน  ศิลปะจึงไม่ใช่เป็นของผู้ที่มีพรสวรรค์ซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อยเท่านั้น  นักการศึกษาและนักจิตวิทยารุ่นใหม่  เชื่อว่าเด็กทุกคนสามารถเรียนศิลปะได้

                ครูสังคม     ทองมี  ครูสอนศิลปะโรงเรียนศรีสงครามวิทยา  ผอ.ศูนย์ศิลป์สิรินธร  อ.วังสะพุง  จ.เลย  กล่าวว่า  มนุษย์ประกอบขึ้นได้ต้องมีทั้งร่างกายและจิตใจและศิลปะชัดเจนมาก  ในเรื่องของการพัฒนาจิตใจ  ศิลปะกับชีวิตของมนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้  ทั้งหมดเป็นคำกล่าวที่แสดงให้เห็นว่าศิลปะสามารถขัดเกลาจิตใจ  ขัดเกลากิเลสในคนให้สะอาดขึ้นได้  การจะสร้างสรรค์งานศิลปะแขนงใดก็ตามต้องอาศัยความมีสมาธิ  ผู้ใฝ่ในความสวยงามของศิลปะ  ใฝ่ในความไพเราะของเสียงดนตรี  ใฝ่ในลีลาการเคลื่อนไหวที่งดงาม  ย่อมเป็นผู้ใฝ่สมาธิและรักสงบ

                ครูผู้สอนต้องคำนึงเสมอว่า  จุดมุ่งหมายของการสอนศิลปะคืออะไร  สอนศิลปะเพื่อผลิตศิลปิน  หรือสอนศิลปะเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพของเด็ก  และควรตระหนักอย่างยิ่งว่า  ศิลปะ  ไม่ใช่รายวิชาที่เป็นพิเศษ  เฉพาะสำหรับการฝึกทักษะ  หากมีความสำคัญเช่นเดียวกันกับรายวิชาคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  ภาษาอังกฤษ  สังคมศึกษาฯ  คุณค่าของการเรียนศิลปะไม่ได้อยู่ที่ผลงานที่ดีเด่น  สวย ๆ งาม ๆ  เพียงอย่างเดียว  ประโยชน์ที่แท้จริง  ย่อมอยู่ที่การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในตัวเด็ก                ครูศิลป์  ช่างกลฯ  บางตอนจากเกาะติดหลักสูตร  โดย  ธำรงศักดิ์  ธำรงเลิศฤทธิ์  วารสารวิชาการ
คำสำคัญ (Tags): #ศิลปะ
หมายเลขบันทึก: 159347เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2008 13:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท