STSP
การแสดงละครเวทีและภาพยนตร์ Stage and Screen Performance, MSU.

300


ความพ่ายแพ้ อันหมายถึง ชัยชนะ

หากตัวละครเอกในบทละครประเภท แทรจีดี (Tragedy) หรือ ละครโศกนาฏกรรม หมายถึง ตัวละครที่มีความยิ่งใหญ่(Tragic greatness)โดยเฉพาะในแง่ลักษณะนิสัยเหนือมนุษย์ทั่วไป อันเป็นนิสัยที่น่ายกย่อง อาทิ ความกล้าหาญยอมรับและเผชิญความจริงในชีวิต ไม่ว่าความจริงนั้นจะทำให้ต้องทนทุกข์ทรมานแค่ไหน หรือ ความไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ต่อสู้จนสุดกำลังแม้ว่าจะต้องพ่ายแพ้ในที่สุด แต่ในความยิ่งใหญ่นั้นอาจจะมีความผิดพลาดบกพร่องในลักษณะนิสัยบางประการที่เป็นปัจจัยสร้างความหายนะของตัวละครในที่สุด

ความทนทุกข์ของตัวละครนั้นทำให้คนดูเกิดความเห็นอกเห็นใจในชะตากรรมของตัวละครเอก เกิดความสงสาร มีอารมณ์ร่วมไปกับสถานการณ์ความขัดแย้ง ปัญหา หรือ หายนะของตัวละคร จนทำให้ไปถึงจุดที่เริ่มหันกลับมาพิจารณาความจริงในชีวิตของตนบ้าง และความเป็นจริงเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ และหากความจริงนั้นช่วยกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมในทางบวกกับผู้ชม ตัวละครเอกในเรื่อง 300 ก็น่าจะมีคุณสมบัติเข้าข่าย เปรียบได้กับตัวละครของบทละครประเภทแทรจีดี (ละครโศกนาฏกรรม)

1.

 ตัวละครหลักในเรื่อง 300 คือ เหล่านักรบสปาร์ตัน  300 คน ซึ่งเป็นพลเมืองของเมืองสปาร์ตา อันเป็นส่วนหนึ่งของกรีซ จะหลีกเลี่ยงการเล่าเรื่องย่อเช่นเคยเพราะแม้จะเป็นเรื่องราวในประวัติศาสตร์ (ซึ่งตัดทอน ดัดแปลง จนเป็นวรรณกรรมการ์ตูนกราฟฟิค และใช้วรรณกรรมนี้เป็นจุดเริ่มต้นจนพัฒนามาเป็นภาพยนตร์)  แต่การได้ชมเองย่อมได้อรรถรสกว่ามาก  การดำเนินเรื่องเน้นขยายภาพชีวิตของนักรบสปาร์ตัน แรงจูงใจที่ต้องใช้กำลังคน 300 คนต่อสู้กับกองทัพจากตะวันออกที่เพียงตั้งกำลังพลก็ทำให้แผ่นดินสะเทือน(ก็คงต้องสะเทือน เพราะแค่สัตว์ที่พกมาทำศึกก็มีทั้งโขลงช้าง ฝูงม้า จนไปถึงแรดยักษ์ และไพร่พลยำใหญ่นานาชาติเอเชีย-ตะวันออกกลาง)

ตัวละครเอกในเรื่องนี้ทราบจุดจบตั้งแต่เริ่มต้น แต่ก็ได้เลือก และต่อสู้กับชะตากรรมของตนจนถึงที่สุด มีแรงจูงใจในการกระทำชัดเจน มีมิติมากกว่าการต่อสู้เพื่ออุดมการนามธรรม เลือกที่จะเชื่อความจริงในทรรศนะและการพิจารณาของตนเองมากกว่าคำพยากรณ์จากทวยเทพ ความเด็ดเดี่ยว กล้าหาญและมีเมตตาเป็นทั้งลักษณะนิสัยที่น่ายกย่องและกลายเป็นความผิดพลาดบกพร่องที่นำตัวละครไปสู่หายนะในขณะเดียวกัน 

บทพูด หรือ dialogue ใช้ลักษณะภาษาที่ให้ภาพ ฟังแล้วเกิดจินตนาการต่อเนื่อง ช่วยให้เห็นภาพความคิดของตัวละคร แต่ไม่ได้บรรยายแบบฟุ้งเฟ้อ เพราะสั้น กระชับ คล้องจอง สื่อสาร เข้าใจได้

ภาพ เป็นลักษณะเกินจริงที่ให้ความรู้สึกจริง(เวอร์แต่สวย กลมกลืน และพยามเสริฟสิ่งที่ผู้ชมต้องการเห็น สมควรจะติดเรทด้านความรุนแรง มากกว่าจะถูกเบลอภาพอวัยวะมนุษย์) หากคิดมากก็จะเห็นว่าภาพของThe God King ผู้นำทัพเอเชีย-ตะวันออกนานาชาติ ถูกตีความให้ดูร้ายกาจ กระหายสงคราม บ้าอำนาจ และเลือดเย็น การเสนอภาพฝ่ายนี้คล้ายเสนอภาพกองทัพอมนุษย์ ตัวละครจึงดูเหมือนสมาชิกละครสัตว์ แต่ก็เป็นไปได้ว่าอาจจะเสนอภาพตัวละครฝ่ายตรงข้ามจากมุมมอง ความจริงส่วนบุคคล ภาพในความคิดของกลุ่มตัวละครเอก หรือมิเช่นนั้นก็เพื่อเสนอภาพที่ผู้ชมอยากเห็น หรือ เน้นการกระทำของฝั่งตัวละครเอกให้ดูยิ่งใหญ่ น่าร่วมใจหายใจคว่ำ ยิ่งขึ้น

บทบรรยาย เลือกที่จะเล่า ช่วงเวลา ซึ่งเป็นชั่วขณะสำคัญในชีวิตตัวละคร ดึงส่วนที่เหมือนไฮไลท์สำคัญของวงจรชีวิตของตัวละครเอกออกมา 

ตัวละครเอกไม่ได้ถูกนำเสนอแบบพ่อพระ-แม่พระ มีเหตุผลเบื้องหลังการกระทำของตน มีวิธีการที่จะเข้าถึงสิ่งที่ต้องการในลักษณะและระดับที่หลากหลาย

 

                                                                             M.UTAIRAT

   300

An Adaptation of Frank Miller's Epic Graphic Novel

เรื่องราวของนักรบสปาร์ตันเคยสร้างเป็นภาพยนตร์มาแล้ว แต่เวอร์ชั่นนี้เป็นภาพยนตร์ที่สร้างจากต้นฉบับวรรณกรรมซึ่งเป็นการ์ตูน

โดยในภาพยนตร์เวอร์ชั่นเก่า ก็นำเสนอในลักษณะที่ต่างออกไป เรียบง่าย แต่การผูกเรื่อง และ ตีความชีวิตของชนกลุ่มนี้ได้น่าประทับใจ

 

หมายเลขบันทึก: 158735เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2008 15:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 00:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท