ชาวHACC
นางสาว แสงทอง ปุระสุวรรณ์

ทำอย่างไรคนจะเข้าร่วมโครงการประชุมวิชาการที่จัดมากๆ


บทเรียนจากประสบการณ์ตรง

ทำอย่างไรคนจะเข้าร่วมโครงการประชุมวิชาการที่จัดมากๆ                

                ผู้เขียนอยู่ในหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการจัดโครงการประชุมวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลตามมาตรฐาน  HA  ซึ่งดำเนินการในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การฝึกอบรม  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในรูปเครือข่าย  การประชุมเชิงปฏิบัติการ       เป็นต้น    แต่ละครั้งที่จัดโครงการก็จะมีปัญหาที่เกี่ยวกับผู้เข้าร่วมโครงการอยู่เนืองๆ อาทิ   ไม่มีผู้ส่งรายชื่อเข้าร่วม   ส่งรายชื่อมาแล้วไม่สามารถมาเข้าร่วมได้  จัดให้เข้าร่วมฟรีไม่ต้องเสียค่าลงทะเบียนอาจทำให้ไม่เห็นคุณค่าเลยไม่เข้าร่วม     เข้าร่วมแต่อยู่ในการประชุมด้วยชั่วพักชั่วครู่แล้วก็ขอกลับไป  เป็นต้น  ผลกระทบที่เกิดตามมาจากปัญหาดังกล่าว  คือ  อาจทำให้เราไม่สามารถจัดโครงการได้เนื่องจากมีจำนวนคนน้อย    หรือจัดได้แต่อาจไม่บรรลุวัตถุประสงค์  เนื่องจากผู้เข้าร่วมไม่สามารถอยู่กับเราได้จนครบเวลาที่เราจัด   ผู้เขียนจึงคิดว่าทำอย่างไรคนถึงจะเข้าร่วมประชุมวิชาการโครงการที่เราจัดมากๆ  และสามารถอยู่กับเราจนโครงการสิ้นสุดตามระยะเวลาได้               

                  จากประสบการณ์ที่เคยจัดโครงการประชุมวิชาการ  ปรากฏว่าผู้เขียนจัดแล้วมีคนเข้าร่วมด้วยมาก  มากเกินเป้าหมายที่กำหนด  ผู้เข้าร่วมโครงการอยู่กับเราค่อนข้างตลอดเวลา  หลังเลิกจัดโครงการแล้วก็ยังไม่อยากกลับบ้าน  อยากซักถาม  อยากพูดคุยและอยากที่จะอยู่ศึกษาดูงานหน่วยงานที่เราพาไปดู   โครงการที่ว่าก็คือ  โครงการประชุมวิชาการระดับภาค  ภาคเหนือตอนล่าง:  Regional Forum   และโครงการประชุมวิชาการ   การควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ     ซึ่งพอมาทบทวนและหาเหตุผลดูก็พบว่าสิ่งที่ทำให้ผู้เข้าร่วมสนใจเข้า  ร่วมโครงการเพราะสิ่งที่ได้เรียนรู้    หรือบทเรียนที่ได้จากการจัดโครงการทั้ง    2        โครงการดังกล่าวข้างต้นพอจะสรุปได้มีดังนี้คือ

 -          ประเด็นเนื้อหาที่จัดโครงการอยู่ในความสนใจของผู้เข้าร่วมโครงการ   สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้จริง

-       มีค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก   ถ้าฟรีไม่เสียค่าลงทะเบียนด้วยก็จะดี   ช่วงเวลาที่ผู้เขียนจัดโครงการ Regional Forum   บุคลากรทางวิทยาศาสตร์สุขภาพในเขตภาคเหนือตอนล่างกำลังสนใจเรื่อง HA มาก  อยากไป National  Forum  แต่ว่ามีงบประมาณจำกัด  พอ HACC: NU  จัดที่พิษณุโลก  คนเลยเข้าร่วมมากแม้จะเสียค่าลงทะเบียน   แต่ว่าไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่มอีก  เช่น ค่าที่พัก  ค่าเดินทาง เป็นต้น  -       มีการกำหนดโควตาให้เข้าร่วมแลกเปลี่ยน   หรือส่งผลงานเข้ามาร่วมจัดโครงการ   ผู้เข้าร่วมจะได้ไม่ต้องเสียค่าลงทะเบียน   ซึ่งวิธีการนี้จะได้ประโยชน์ร่วมกันทั้งผู้จัดและผู้เข้าร่วมโครงการ

-       วิทยากรที่มาเป็นระดับ  Original   ของเรื่องนั้นๆ    เจ้าพ่อของเรื่อง HA  ของประเทศไทย คือ สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล   (พรพ. )   หากเราจัดโครงการเกี่ยวกับ HA ไม่เชิญเจ้าพ่อมาก็คงไม่น่าสนใจ  ไม่น่าอยากเรียนรู้,   เรื่องการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ  (IC)   ในช่วงเวลาที่จัด ผู้บริหารของที่นี่ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานที่ประเทศสวีเดน   และก็ทึ่งกับความก้าวหน้าในเรื่อง IC เป็นอย่างมาก    กอร์ปกับมีการจัดโครงการในรูปเครือข่ายอยู่เดิมจึงมีการขยายความคิดดังกล่าวออกไปในกลุ่มเครือข่าย  จึงทำให้เกิดกระแสอยากเรียนรู้จากสวีเดนค่อนข้างมาก  ดังนั้น  เราจึงจัดโครงการดังกล่าวโดยเชิญวิทยากรบินตรงมาจากสวีเดน   ซึ่งก็ได้รับกระแสตอบรับอย่างท่วมท้น

-       รูปแบบการจัดหลายหลาก  เช่น  มีทั้งการบรรยาย  การประกวดผลงาน  การจัดนิทรรศการ  การศึกษาดูงานที่พื้นที่จริง   การจัดในรูปแบบที่สามารถให้แลกเปลี่ยนกับวิทยากรหรือผู้ประสบความสำเร็จแล้วได้อย่างเต็มที่    เป็นต้น   เพราะวิธีการที่หลากหลายดังกล่าวจะทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้เรียนรู้จากรูปแบบต่าง ๆ ได้ดีขึ้น 

-       ผู้เข้าร่วมโครงการได้ของดีราคาถูก   คือได้เนื้อหาเหมือนที่จัดที่กรุงเทพมหานคร  ได้พบวิทยากรเดียวกัน    แต่ไม่ต้องเข้าไปถึง กทม. หรือไปถึงประเทศสวีเดนด้วยตนเอง

-       ผู้เข้าร่วมมีส่วนร่วม   คือ  ได้เข้าร่วมโครงการโดยการส่งผลงานเข้าร่วมประกวด  ต้องมานำเสนอ  ต้องมาจัดนิทรรศการร่วมด้วย  ต้องมาเชียร์หรือเป็นกำลังใจให้วิทยากรที่เราเชิญมาจากหน่วยงานของเขา ได้ศึกษาดูงานในพื้นที่จริง   ได้เห็นสถานที่  อุปกรณ์เครื่องมือจริง    ทำให้เกิดความรู้สึกที่อยากเข้าร่วม    และอยู่กับผู้จัดจนเสร็จสิ้นโครงการ    รวมทั้งอยากจะอยู่ศึกษาดูพื้นที่จริงจนเลยเวลาเลิก   เนื่องจากเป็นเรื่องที่สนใจ    ต้องการนำไปใช้ในการปฏิบัติงานของตนเองต่อไป

-       การจัดโครงการต่อเนื่องกัน   ผู้เขียนจัดโครงการเครือข่ายระดับจังหวัดอยู่  แต่มีการให้รางวัลเป็นโควตาในการเข้าร่วมโครงการ Regional Forum   กับผู้ที่ร่วมกิจกรรมในโครงการเครือข่ายดี   หรือมีผลงานเด่นเป็นตัวอย่างในเรื่อง  HA   หรือ  IC   ให้มาเข้าร่วมในโครงการทั้ง  2  โครงการดังกล่าวข้างต้น-       การประชาสัมพันธ์โครงการล่วงหน้าก่อนจัดโครงการอย่างน้อยประมาณ 2 เดือน   และพยายามใช้สื่อต่าง ๆ หลากหลายรูปแบบ   เช่น   จดหมายเวียนแจ้ง   จัดทำโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์   ลง Internet หนังสือพิมพ์   วิทยุ     เป็นต้น 

บทเรียนที่ได้ของผู้เขียนดังกล่าวข้างต้น   หวังเป็นอย่างยิ่งว่ากลเม็ดเคล็ดลับที่ผู้เขียนถอดบทเรียนมาจากประสบการณ์ในการจัดโครงการดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงาน  องค์กรที่ทำหน้าที่คล้ายๆ กับผู้เขียน  หากท่านอื่นมีกลเม็ดเคล็ดลับดีๆ  นอกเหนือจากที่ผู้เขียนพยายามสรุปออกมาก็ขอเชิญแลกเปลี่ยนมาได้ที่ HACC: NU   หรือชาว HACC ได้นะคะ   จะได้ขยายวงในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันให้กว้างขวางมากยิ่ง ๆ   ขึ้นไป 

หมายเลขบันทึก: 158726เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2008 14:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับ ขออนุญาตแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยครับ

       อ่านแล้วดีมากครับ ประทับใจ 

        เพราะจากประสบการณ์ของผมเอง ทั้งในการเข้ารับการอบรม และ การเป็นผู้จัดอบรม  จะพบปัญหาเรื่องของการอบรมหลายประการ

         ที่สำคัญที่สุด คือ ได้ไม่คุมเสีย (เสียเงิน เสียเวลา แต่ไม่ค่อยได้อะไร)

        คงจะต้องขออนุญาตนำไปใช้บ้าง คงไม่หวงกันนะครับ

        ขอบคุณครับ

แสงทอง ปุระสุวรรณ์
ยินดีค่ะ  หากได้ผลเป็นอย่างไรกรุณาแจ้งให้ทราบหน่อยนะคะ  เพื่อแลกเปลี่ยนกันเพิ่มเติมไปอีก

อยากให้น้องๆเข้าใจนี่หละKMไม่ได้เพิ่มภาระงานยังเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นด้วย เห็นต้องเชิญพี่กบของน้องๆมาแชร์ในเวทีต่อๆไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท