การให้อภัย คือ การสร้างกัลยาณมิตร



มิตรที่เคยบาดหมาง ผิดข้อง หมองใจ หากถ้าเราเพียง “ให้อภัย”
มิตรทั้งหลายจะกลายเป็น “กัลยาณมิตร”

คนเราทุกคนมีโอกาสผิดพลาด
แต่เราอย่าผิดพลาดเพราะ “ไม่ให้อภัย”
การให้อภัยเป็นสิ่งที่ประเสริฐ บริสุทธิ์ และงดงาม

ดอกไม้ถึงจะสวยสดหรืองดงามสักแค่ไหน ก็ยังมิเทียบเทียมกับ “รอยยิ้ม” แห่งการให้อภัย
เหล่าเราสาธุชนทั้งปลาย โปรดให้อภัย ซึ่งกันและกัน

การถือโทษโกรธเคืองใครสักคน ก็เท่ากับเราได้เสียเพื่อนซึ่งเป็นมิตรไปหนึ่งคน
แผลเป็นเล็ก ๆ ในใจนี้จะเกาะเกี่ยวและกัดกินใจเราไปจนกว่าเราจะตาย หรือเมื่อใด “เราให้อภัย”

ถ้าหากเราสามารถให้อภัยแก่มิตรที่เคยบาดหมางใจกันได้เมื่อใดไซร้
ก็เท่ากับเราสามารถชนะใจของตนเองได้ในบัดดล
เพราะสามารถชนะความโกรธ ความเกลียด
นอกจากเราจะไม่เกลียดเขา เรายังให้อภัยเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราให้โอกาสตัวเรา ให้อภัยตัวเรา
ให้โอกาสตัวเราปลดปล่อยเสียซึ่งทุกข์อันคับข้องหมองใจ
ให้อภัยตัวเราที่เคยให้ความทุกข์นั้นกัดกินใจตัวเราเองแม้เพียงชั่วขณะ

การให้อภัยจะทำให้โลกนี้สวยสดและงดงาม
ตระการตาด้วยกัลยาณมิตร ซึ่งให้โอกาสต่อกัน
ผิดแล้วแก้ไข โกรธเคืองแล้วให้อภัย
ครอบครัว ชุมชน และสังคมจะสดใสด้วยกัลยาณมิตรที่ให้อภัยซึ่งกันและกัน...

หมายเลขบันทึก: 158483เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2008 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท