การนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ


การนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ

การนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ(Cooperative Professional Development) 
หลักการ
                               
                   
เป็นกระบวนการนิเทศซึ่งครูตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาวิชาชีพด้วยการสังเกตการณ์สอนในชั้นเรียน  การให้ข้อมูลย้อนกลับ  การอภิปรายแสดงความคิดเห็นกันใ
เรื่องเกี่ยวกับการปรับปรุงวิชาชีพด้านอื่นๆ  ซึ่งครูสามารถเลือกวิธีการพัฒนาวิชาชีพของกลุ่มได้หลายวิธี  แต่ควรยึดหลักการสำคัญ 4 ประการ คือ
                    1.  ต้องเสนอเป็นข้อตกลงหรือโครงการให้แก่ผู้บริหารทราบ
                    2. ถ้าเป็นการสังเกตการณ์สอนควรกระทำไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง/ภาคเรียน  และมีการปรึกษาหารือกันหลังการสังเกตแต่ละครั้ง
                    3.  ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและอภิปรายต้องรู้กันเฉพาะครูในกลุ่มที่ร่วมพัฒนาวิชาชีพเท่านั้น
                    4.  รูปแบบและมาตรฐานการประเมินเพื่อการนิเทศขึ้นอยู่กับกลุ่มครูนั้นๆ เท่านั้น
และจะไม่นำไปเกี่ยวข้องกับการประเมินผลความดีความชอบของครู
 
ความมุ่งหมาย
                    เพื่อให้ครูได้ทำงานร่วมกับเพื่อนโดยช่วยเหลือแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน  เป็นการยกระดับการพูดคุยเกี่ยวกับวิชาชีพ  ทำให้เกิดเจตคติที่ดีต่อการนิเทศ  รู้สึกชื่นชมในผลงานของเพื่อน  ก่อให้เกิดแรงเสริมทางบวกในการสอนของครู  และมีความเข้าใจใน
นักเรียนของตนมากขึ้น
 
ธรรมชาติและลักษณะของการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ
            
                   
1. เป็นกระบวนการที่เป็นระบบพอควร (Moderately Formatized Process) และ
ดำเนินการภายในโรงเรียน
                  
2. เป็นการตัดสินใจร่วมกันของครูที่จะปฏิบัติงานร่วมกันเพื่อความเจริญก้าวหน้า
ในอาชีพของตนเอง
                   3. มีการสังเกตการสอน ประชุมปรึกษาหารือและให้ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับการสังเกต                                
                  
4.
มีการประชุมอภิปรายเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์
                  
5. การสังเกตการสอน การวิเคราะห์ผลการสังเกตและการให้ข้อมูลย้อนกลับต้องไม่เป็นการประเมินผลการปฏิบัติงานของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด                               
                   
6. ผู้บริหารหรือผู้นิเทศเป็นเพียงผู้ควบคุมดูแล อำนวยความสะดวกในการดำเนิน
โครงการให้ประสบผลสำเร็จ7. ไม่มีการนำข้อมูลจากการดำเนินโครงการนิเทศ เช่น นำผลจากการสังเกตการสอนไปใช้ในการบริหารงานและประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อพิจารณาความดีความชอบของครู 
ข้อเสนอแนะในการดำเนินโครงการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ
                   
1.       ผู้บริหารต้องเห็นด้วยและให้การสนับสนุนส่งเสริมอย่างจริงจังและจริงใจ
(เจตคติผู้บริหาร)
                   
2.       คณะครูต้องเห็นด้วย และมองเห็นความสำคัญของการพัฒนาอาชีพของตนด้วย
 ส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ในทุกด้าน
                   
3. บรรยากาศในโรงเรียน (ระหว่างคณะครู ผู้บริหาร นักเรียน) มีความเป็นมิตรส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ในทุกด้าน
                   
4. จัดสรรทรัพยากรให้อย่างพอเพียง (เวลา เครื่องอำนวยความสะดวกและสื่อต่างๆ)                               
                   
5. โครงการกำหนดจุดมุ่งหมายชัดเจนเพื่อการติดตามผล ดูแลให้ความช่วยเหลือ
อำนวยความสะดวกได้ง่าย                                
                   
6. นำเสนอแผนการปฏิบัติและสรุปนำเสนอผลการปฏิบัติพอสังเขป
 
กระบวนการการนิเทศแบบร่วมพัฒนาอาชีพ
 
                   
1. วางแผนร่วมกันระหว่างครูที่สนใจจะร่วมพัฒนางานของตน (ใช้เวลาไม่มากนัก)

                   
2. เลือกประเด็นที่สนใจที่จะพัฒนาปรับปรุง
                 
  3. นำเสนอโครงการและขั้นตอนการปฏิบัติ
                   
4. แสวงหาความรู้ วิธีการที่เกี่ยวข้องกับการนิเทศในแบบดังกล่าว เช่น การสังเกตการสอน การวิเคราะห์การสอน การให้ข้อมูลย้อนกลับ ฯลฯ                               
                   
5. กำหนดวัน - เวลา ที่จะสังเกตการสอน ประชุมปรึกษาหารือ เพื่อการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์

                    
6. ดำเนินการตามกระบวนการในแต่ละประเด็นที่จะพัฒนาอย่างน้อย 2 ครั้ง ในแต่ละ
ประเด็นที่จะพัฒนาปรับปรุง
                    
7. สรุปผลการพัฒนา รายงานผลและความสำเร็จ
ทักษะที่จำเป็นสำหรับการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ 
                    1. สังเกตการสอนโดยไม่กำหนดประเด็น

                   
2. วิเคราะห์ข้อมูลจากการสังเกตการสอนโดยไม่กำหนดประเด็น
                   
3. ประชุมปรึกษาหารือกับเพื่อนครูเกี่ยวกับผลการสังเกตการสอน
                   
4. สังเกตการสอนโดยระบุประเด็น
                   
5. วิเคราะห์ข้อมูลจากการสังเกตการสอนโดยระบุประเด็น
                   
6. ประชุม ปรึกษาหารือกับเพื่อนครูเกี่ยวกับผลการสังเกตการสอนเพื่อเสนอแนะให้ครูปรับปรุงและพัฒนา
สรุป
                    3
ทักษะที่จำเป็นต้องฝึกปฏิบัติ คือ การสังเกตการสอน การวิเคราะห์ข้อมูลและ
การประชุมให้ข้อเสนอแนะ


ข้อดีของการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ                               
                  
1.
ครูได้แลกเปลี่ยนวิธีสอน เทคนิคการสอนซึ่งกันและกัน
                   
2. ได้กำลังใจจากการสอนของตนเอง
                  
3. เข้าใจการทำงานของเพื่อนร่วมงาน เพื่อนร่วมวิชาชีพมากขึ้น
                  
4. เข้าใจนักเรียนมากขึ้น จากการได้สังเกตการสอนในชั้นเรียนระดับต่าง ๆ
                  
5. สร้างบรรยากาศในความเป็นมิตร และเพื่อนร่วมวิชาชีพเดียวกันมากขึ้น
                 
6. กล้าที่จะให้และรับฟังข้อเสนอแนะและความคิดเห็นจากเพื่อนร่วมงานมากขึ้น 
ข้อจำกัดของการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ
                               
                  
1. ครูไม่ได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการสังเกตการสอน การวิเคราะห์การสอนและ
การให้ข้อมูลย้อนกลับอาจจะช่วยเพื่อนไม่ได้
                  
2. การสังเกตการสอนและการประชุมอภิปรายต้องใช้เวลาอาจต้องให้ครูอื่น
สอนแทน
                   
3. การสังเกตการสอนอาจทำได้ไม่ต่อเนื่อง จากปัญหาด้านเวลาที่ว่างไม่ตรงกัน
                   
4. โครงสร้างของสถาบันทำให้ครูแยกกันทำงาน มีการแข่งขันมากกว่าที่จะร่วมกันทำงานเพื่อเป้าหมายเดียวกัน
                   
5. บรรยากาศดั้งเดิมที่ต่างคนต่างฝ่ายต่างปฏิบัติงานของตนอาจจะยากต่อการประสานงาน

สรุป
                  
ผลสำเร็จของการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบสำคัญ
อย่างน้อย 3 อย่าง คือ                    
                   
- การสนับสนุนส่งเสริมจากผู้บริหารโรงเรียน
            
                  
- การร่วมมือกันปฏิบัติงานระหว่างครู และบุคลากรในโรงเรียน
                               
                  
- การร่วมปฏิบัติงานฉันท์เพื่อน
อย่างไรก็ตามการนิเทศ
ในรูปแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพอาจจะไม่ทำให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอนของครูในทันที แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ ครูจะพูดคุยปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับงานที่ปฏิบัติมากขึ้น ได้รับข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับการสอนของตนเองในส่วนของพฤติกรรมที่ควรปรับปรุงแก้ไข หรือพฤติกรรมที่เหมาะสม และเป็นแบบอย่างได้ ช่วยให้มองเห็นการปฏิบัติงานของครู ผู้ร่วมงานอื่น ๆ ที่มีเทคนิคการสอนที่แตกต่างกัน เสริมสร้างบรรยากาศการทำงานร่วมกัน
เป็นกลุ่มเป็นคณะมากขึ้น โดยที่ครูจะมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมีการสนทนากันในเชิงวิชาการมากขึ้นอันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อไป
(วัชรา เล่าเรียนดี 2544 :136)
 

 

หมายเลขบันทึก: 158458เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2008 13:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 09:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

กำลังใจหรือการช่วยเหลือซึ่งกันจะนำไปสู่การพัฒนาคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท