Quality & KM


การยึดติดอยู่กับรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งอาจไม่ใช่คำตอบของการพัฒนาคุณภาพ
ช่วงนี้มีวันหยุดยาวๆ รู้สึกดีจังได้พักผ่อนเลยนึกอะไรเพลินๆเกี่ยวกับการทำงานและKM รวมถึงวันก่อนได้ไปประชุมฟังเรื่อง Quality: Beyond expectationของหน่วยงานที่ผมทำงานอยู่ เลยอยาก shareแนวคิดของผมในเรื่องนี้บ้างว่าบางทีการยึดติดอยู่กับรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งอาจไม่ใช่คำตอบของการพัฒนาคุณภาพก็ได้ ทุกสิ่งที่นำมาใช้น่าจะเป็นแค่เครื่องมือที่จะนำพาเราไปสู่เป้าหมายที่ดีที่ต้องการคือคุณภาพ ในการพัฒนาหน่วยงาน มีปัจจัยต่างๆมาเกี่ยวข้องด้วยมาก การเอาหลักการมาใช้โดยไม่ประยุกต์อาจจะไม่สำเร็จก็ได้ คนไทยเราเสียโอกาสไปมากมายที่ไม่ค่อยยอมรับความรู้ฝังลึก(Tacit knowledge)ของเรากันเอง ใครคิดอะไรมาถ้าไม่ตรงกับตำราต่างชาติก็มักถูกตำหนิหรือต่อต้านว่าผิด ผมคิดว่าTQAแบบไทยที่เป็นคนง่ายๆสบายๆอาจไม่ตรงกับของต่างประเทศก็ได้ ขอเพียงให้ผลลัพธ์ที่ได้นั้นเกิดประโยชน์ และอีกอย่างการบริหารคุณภาพส่วนใหญ่มาจากกิจกรรมของโรงงานที่อาจไม่สอดคล้องกับกิจกรรมของหน่วยงาน การเปิดกว้างให้โอกาสเรียนรู้น่าจะสอดคล้องกับแนวโน้มยุคใหม่ขององค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning organization) ซึ่งคงไม่ใช่แค่เลียนรู้ (Copy&Development) การยึดติดกรอบของทฤษฎีเกินไปอาจทำให้ความคิดสร้างสรรค์(Creative thinking)หรือความคิดนอกกรอบ(Lateral thinking)ไม่เกิดหรือเกิดได้ยากก็ได้ และการมุ่งมั่นทำ High Qualityไม่ควรมุ่งมั่นเพื่อให้ได้แค่ใบรับรองแต่ควรมุ่งมั่นเพื่อให้องค์กรมีคุณภาพซึ่งอาจไม่ต้องประชุมมาก ไม่เน้นการประชุมแบบทางการแต่เน้นการปรึกษาหารือในโอกาสต่างๆเท่าที่จะอำนวยก็ได้เพราะบางแห่งดูเหมือนประชุมมากแต่จริงๆแล้วเวลาหลบงานของเจ้าหน้าที่รวมกันอาจจะมากกว่าการประชุมเพื่อพัฒนาคุณภาพก็ได้ อยากให้มองว่าทุกศาสนาสอนให้คนทำความดี ความดีเป็นสากล ระบบริหารคุณภาพเหมือนศาสนา ที่ทุกระบบบริหารคุณภาพจะมุ่งไปสู่การมีคุณภาพ คุณภาพจึงเป็นสากล การจะใช้ระบบริหารคุณภาพใดก็ย่อมแล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละองค์กร ครับอาจจะเป็นความเห็นแตกต่าง แต่ไม่น่าจะขัดแย้งเพราะในสังคมประชาธิปไตยการมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันไม่จำเป็นต้องอยู่ฝ่ายตรงข้ามกันเสมอไป และนี่เหละคือแนวคิดหนึ่งของ KM ในการนำมาใช้พัฒนาองค์กรในมุมมองของผมครับใครมีแง่คิด ด้าน KM อะไรดีๆ ก็เขียนมาบอกกันบ้างก็ได้ครับ
คำสำคัญ (Tags): #knowledge#vision
หมายเลขบันทึก: 1579เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2005 20:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ท่านอาจารย์หมออภิรักษ์

KM การจัดการความรู้.....รู้อะไร? จะมีคุณภาพเมื่อใด?

ระดับบุคคล ต้องพึ่งตนเองได้ เป็นคนที่สมบูรณ์ ตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ประการ ไม่ต้องไปฝึก7Habit to be higher effectiveness (โปรดอ่านพระราชดำรัช ในธนบัตร๕๐๐บาทด้านหลัง ประกอบ) คือ รู้เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้ประมาณ รู้กาลเวลา รู้จักชุมชน และรู้คบคน(ปัจเจกชน)

หลักใหญ่ อยู่ที่เหตุ และผล หรือ ปัจจัยนำเข้า และ ผลลัพธ์ ต้องรู้ชัดตามภูมิปัญญา หากไม่รู้ก็ไต่ถามผู้รู้อย่างกัลยาณมิตร ร่วมแบ่งปันทั้งบทเรียนที่ผิดพลาดและที่สำเร็จ.....เพื่อเป็นแนวทางการปรับใช้

กับเหตุ-ปัจจัย ของชุมชนและทรัพยากรของตนเอง ทีมงานตนเอง ณ เวลาที่จะลงมือทำ

ได้ผลที่ทำแล้วมาแบ่งปันกันอีกนะครับ

ขออนุโมทนาในกุศลกรรมของอาจารย์ครับ

พิพัฒน์ (แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู )

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท