การทำน้ำตาลมะพร้าว


ภูมิปัญญาด้านโภชนา

การทำน้ำตาลมะพร้าว

 1.  สถานที่ตั้ง   บริเวณชุมชนชุมสายโทรศัพท์  เทศบาลเมืองสมุทรสงคราม2.ประวัติความเป็นมา            การทำน้ำตาลมะพร้าวของคุณลุงอำนวย  ศรีประพัฒน์  เป็นการทำกันมาตั้งแต่สมัยดั้งเดิม ในสมัยก่อนมีการทำกันหลายบ้านแต่ในปัจจุบันการทำน้ำตาลลดลงเหลือเพียง 2 รายเท่านั้น  เนื่องจากอยู่ในเขตชุมชนเมือง  มีการทำหมู่บ้านจัดสรรกันมาก  จึงทำให้อาชีพการทำน้ำตาลมะพร้าวลดลงอย่างต่อเนื่อง  แต่ลุงอำนวยก็ยังคงรักษาอาชีพดั้งเดิมของตังเองมาจนทุกวันนี้3. องค์ความรู้ของเรื่องที่ศึกษา            การทำน้ำตาลมะพร้าวเป็นสิ่งที่ธรรมชาติสร้างไว้ ให้กับทุกๆ คน  อยู่ที่แต่ละคนจะสามารถนำธรรมชาติมาใช้ในการดำรงชีวิตได้อย่างไร            -  ในด้านสาระและคุณค่า  เป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถมองเห็น คือ ความพยายามของคนที่จะสามารถอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติของตนเองได้อย่างลงตัว  อาศัยและพึ่งพา  ดิน น้ำ ป่า ต้นไม้            -  ในด้านการปฏิบัติ  จัดทำ  และการผลิต  ลุงอำนวยมีการเตรียมอุปกรณ์ตั้งแต่เช้าเตรียมการนำกระบอกที่บรรจุไม้พะยอม  นำไปแขวนที่ปลายงวงมะพร้าว  เพื่อรอการหยดของน้ำที่ปลายงวงมะพร้าว  เก็บหนึ่งครั้งปาดหนึ่งครั้ง   วันหนึ่งทำประมาณ 2 ครั้งน้ำที่งวงจะมีน้ำมาก  จากนั้นก็เก็บลงมานำไปใส่ในกระทะที่เตาเพื่อเคี้ยวให้เดือด  จากที่น้ำตาลสดเคี้ยวจนได้เป็นน้ำตาลที่มีความเหนี่ยวข้น  สามารถแข็งตัวอยู่ในสภาพต่าง ๆ ได้  มีรูปแบบหลากหลาย  แล้วแต่ความคิดสร้างสรรคของแต่ละคน  4.      การถ่ายทอด/สืบทอด/เผยแพร/รวมทั้งจัดเก็บความรู้ณ.  ปัจจุบันนี้การทำน้ำตาลมะพร้าวของลุงอำนวย  มีการสืบทอดมายังลูกชายของท่าน  โดยได้มีการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง  ทำเป็นอาชีพของครอบครัวมาจนทุกวันนี้แสดงถึงภูมิปัญญาที่มีการจัดเก็บอยู่ในตัวของผู้กระทำ  ที่พร้อมจะเผยแพร่ให้กับผู้ที่สนใจ  มาศึกษาดูการผลิตได้อย่างสมบูรณ์จะต้องลงมือปฏิบัติจริง      5.  ลักษณะความรู้                               ความรู้ชัดแจ้ง(Explicit Knowledge)   -  ยังไม่มีเขียนไว้ในตำรา                               ความรู้โดยนัย (Tacit   Knowledge)  -  เป็นความรู้ที่ได้มาจากความชำนาญในการช่วย พ่อ แม่  และในขณะที่ปฏิบัติงานจริง  6.  การพัฒนา/การสร้างสรรค์            ลุงอำนวยมีการพัฒนาการผลิตน้ำตาลมะพร้าวออกมาในรูปแบบต่างๆ ตามตลาดเป็นความต้องการและการรองรับการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาสม  ไม่มีการปลอมปนวัสดุอื่นๆ ที่ไม่เหมาะสม7.  ผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้ทำให้เรามองเห็นถึงความรู้ที่มีอยู่ทุกที่  มากมาย  แต่บางครั้งความรู้เหล่านี้ยังไม่ได้นำออกมาใช้ให้เป็นอย่างรูปธรรม  บางครั้งทำให้ความรู้ที่มีค่าสูญหายไปกับอดีต  ดังนั้นพวกเราทุกคนควรมีการอนุรักษ์และฟื้นฟูคุณค่าทางภูมิปัญญาให้อยู่กับอนาคตต่อไป8.      ปัญหาอุปสรรค 8.1    ความเจริญทางด้านวัตถุครอบงำความคิดของคนในปัจจุบัน8.2    ความเจริญทางด้านเทคโนโลยีไม่ได้ถูกนำมาใช้อย่างเหมาะสม8.3    ไม่มีการอนุรักษ์และฟื้นฟูความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น8.4    ไม่มีการส่งเสริมและสนับสนุนความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น8.5    คนส่วนใหญ่มองแต่ความเจริญของอนาคตที่ไม่เคยมองย้อนคุณค่าภูมิปัญญา

ในอดีตที่เป็นงากเหง้าของตัวเองอย่างแท้จริง

นายสุวัฒน์       พงศ์สิริจินดา

4930123100284

หมายเลขบันทึก: 157093เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2008 21:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 13:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากจะให้มีความละเอี่ยดมากนี่เช่นเนื้อหาของด้านการผลิต แหล่งที่มาของวัตถุดิบ ด้านการตลาด ด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้านเรื่องราวหรือตำนานของผลิตภัณฑ์และทุกท้ายด้านความเข้มแข็งของชุมชนเพราะว่าเด็กนักเรียนนักศึกษาหาข้อมูลไม่ได้หรือไม่ครบขอความกรุณาอธิบายให้เขาใจให้มากกว่านี้และต้องของอภัยด้วยที่ต้องเขียนอยากนี้เพราะว่าหาไม่เจอหรือหาข้อมูลไม่ครบ

ขอความกรุณาส่งกล้บทางอีเมลด้วยต้องการข้อมูลที่เขียนไปข้างต้นด่วนด้วยค่ะต้องการใช้ข้อมูลด่วน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท