ภาพที่เห็นไม่ใช่เสมอไป


บ่อยครั้ง ที่เราเห็นภาพไม่ใช่เสมอไป หากเราด่วนตัดสินใจ แต่หากเราใส่ใจเรื่องเล็ก ๆน้อย ๆ หากเราผิด สิ่งที่สำคัญ คือ การขอโทษ

       มุมมองคนเราแต่ละด้านในแตกต่างกันไป ตามภูมิปัญญา ประสบการณ์การเรียนรู้ มีบ่อยครั้งที่เราไม่ค่อยเข้าใจในการกระทำของคนอื่น หากเราคิด อาจไม่ใช่เสมอไป

     การเรียนรู้พฤติกรรมของเด็ก กับการเรียนการสอนทั้งในห้องเรียน และที่บ้าน เราเองทั้งในฐานะผู้ปกครอง ก็มองเด็กผิดไป เพราะคิดว่าสิ่งที่ทำนั้นไม่ต้องกับเราบ้าง หรือเราได้ยินได้ฟัง ได้เห็นแค่เศษเสี้ยว ก็จับตีความกันไป

   "ลูกแก ทำจักรยานพังอีกแล้ว" ยายฟ้องแต่เช้า

   "ผมไม่ผิด ก็มันพัง" เด็กตอบ

   "ก็กูเห็นมึงทำเมื่อวาน เอาฝาน้ำอัดลมมาใส่เบาะรถ" ยายพูด

  " น้องไม่ได้ใส่ " เด็กเถียงเสียงดัง

  "ไหนดูสิ" แม่ขอดูจักรยาน "ที่แท้ก็เบาะเลื่อนลงมา เป็นรูของเหล็กที่กำลังจะทะลุเบาะ"

  "ทำไมไม่บอกยายละลูก" แม่แนะ

  "ก็ยายมันไม่เชื่อน้อง" เด็กตอบ ท่าทางเสียใจ

    นี่ก็อีกประเด็นหนึ่งที่โรงเรียน

  "ทำไมยางลบน้องหายทุกวันครับ"แม่ถาม

  "เพื่อนมาเอาไปครับ" เด็กตอบ

  "ทำไมไม่เก็บดี ๆ หรือ หากเพื่อนมาเอาก็บอกเขา ให้ยืมแล้วอย่าลืมคืนให้นะ" แม่แนะ

  "ผมบอกแล้ว เพื่อนไม่เชื่อ" เด็กพูดต่อ

 " ทำไมไม่บอกครูล่ะลูก ขโมยของคนอื่นไม่ดีนะ" แม่แนะต่อ

 " ผมบอกแล้ว แต่ครูไม่เชื่อ เขาว่าผมขี้ฟ้อง ทีหลังอย่าฟ้องครูอีกนะ" เด็กน้อยใจ

  บ่อยครั้ง ที่เราเห็นภาพไม่ใช่เสมอไป หากเราด่วนตัดสินใจ แต่หากเราใส่ใจเรื่องเล็ก ๆน้อย ๆ หากเราผิด สิ่งที่สำคัญ คือ การขอโทษ

    เพราะไม่มีใครที่จะเหนือกว่ากันได้ การที่เราคิดก่อนพูดด้วยความโกรธ อาจมีอารมณ์ต่อต้านไม่น่าฟัง ควรเริ่มพุดเชิงบวก พูดสั้น ๆ เข้าใจง่าย พูดดี ๆ ในความเป็นจริง ก็จะเป็นการส่งเสริมความวินัยกับเด็ก เมื่อเด็กโตขึ้นจะได้ไม่สับสนในการกระทำของผู้ใหญ่

 

หมายเลขบันทึก: 156989เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2008 12:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2013 14:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท