หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

เข้าใจคนไข้ก็จะคุยได้ผล


เราสามารถทำให้ผู้ป่วยมีความสุขแม้จะต้องสูญเสีย ด้วยการเอาใจเขามาใส่ใจเรา ในการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนให้บริการที่ aggressive เช่น การตัดขา นี่แหละคือ การให้บริการที่มีหัวใจเป็นมนุษย์

น้องตา RN หอศัลยกรรมหญิงร.พ.กระบี่ เล่าเรื่อง คนไข้ของเธอให้ฟังว่า คนไข้ที่เธอพบส่วนใหญ่จะมีน้ำตาลในเลือดสูง ไม่ควบคุมการรับประทานอาหาร ไม่ออกกำลังกาย ไม่สนใจปรับพฤติกรรมตนเอง จึงต้องมานอนที่หอผู้ป่วยที่เธอทำงานอยู่ เพื่อตัดนิ้ว บางคนถูกตัดหลายนิ้ว บางคนถูกตัดนิ้วเดียว บางคนต้องตัดขา  คนไข้ที่จะถูกตัดขาส่วนใหญ่จะไม่ยินยอมให้ตัด วันหนึ่งเธอได้เข้ารับการอบรมเรื่อง การพูดเพื่อให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หลังการอบรม เธอได้รับคนไข้ที่มีน้ำตาลสูงและแพทย์วางแผนจะตัดขาระดับใต้เข่าไว้ดูแล  คนไข้ไม่ยินยอมให้ตัดขาเหมือนคนอื่นๆที่ผ่านมา  เธอฉุกคิดถึงความรู้ที่เรียนมาว่า แท้จริงที่คนไข้ปฏิเสธนั้น ไม่ใช่เพราะปฏิเสธความปรารถนาดีของแพทย์ แต่เพราะส่วนลึกในใจของคนไข้ปฏิเสธการถูกมัดมือชกจากคำตัดสินการรักษาของทีมรักษาต่างหาก  เธอจึงให้เวลาพูดคุยกับคนไข้ ให้เวลาคนไข้ได้เรียนรู้ทำความเข้าใจกับตัวเองว่า ผลที่เกิดขึ้นเกิดจากพฤติกรรมของตัวเขาเอง  ให้คนไข้ตัดสินใจเลือกวิธีรักษาเอง เธอบอกว่า สิ่งที่เธอได้จากคนไข้เป็นสิ่งเดียวกันกับที่ทีมรักษาอยากได้ คือ การยินยอมตัดขา แต่ครั้งนี้เธอว่ามันต่างไป เพราะคนไข้สมัครใจที่จะให้ตัดขาเอง เธอกล่าวว่ายังได้การปรับพฤติกรรมตนเองของคนไข้จนสามารถคุมระดับน้ำตาลในเลือดแถมมาอีกด้วย 

 

 

หมายเลขบันทึก: 156699เขียนเมื่อ 31 ธันวาคม 2007 00:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:10 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดูแลดุจญาติมิตร ครอบคลุมทั้งบริบท เข้าใจ และเข้าถึง ขอบคุณทีมงานกระบี่ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท