Link 2 the Past - พิพิธภัณฑ์ที่ตลาดสามชุก จ.สุพรรณบุรี


คืนชีวิตให้อดีตที่พิพิธภัณฑ์สามชุก

ตลาดมีชีวิต พิพิธภัณฑ์มีชีวามิใช่คำนิยมหรือคำชวนเชื่อที่กล่าวชมจนเกินความเป็นจริงเลย หากใครได้มีโอกาสแวะเวียนไปที่ตลาดสามชุก ในตัวอำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนาจนกลายเป็นชุมชนน่าอยู่ และเป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น วิถีแห่งชีวิต และสถาปัตยกรรมที่สะท้อนความเก่าแก่ของชุมชน ไม่ว่าใครที่ได้ไปเยือนคงสัมผัสได้ถึงบรรยากาศแห่งความทรงจำที่อบอวลอยู่ทุกซอกทุกมุมรอบตัวเรา มีเสียงกระซิบเล่าเรื่องอดีตให้ฟังตลอดทุกย่างก้าวในตลาดสามชุก <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์รึยัง คำถามที่เจือน้ำเสียงกระตือรือร้นของชาวตลาดเจ้าของพื้นที่ พร้อมคำเชิญชวนให้เข้าไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์อยู่บ่อยๆ กระตุ้นให้เราต้องเร่งไปค้นหาคำตอบว่าเหตุใดผู้คนที่นี่จึงอยากให้นักท่องเที่ยวไปชมพิพิธภัณฑ์ก่อนเดินชมตลาด หรือจับจ่ายซื้อของฝากที่ล้วนน่าสนใจ </p><table border="0"><tbody>

   อาคารตึกสามชั้นกลางตลาดสามชุก คือที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์สามชุกซึ่งเดิมเป็นบ้านของขุนจำนงจีนารักษ์ นายอากรสุรา-ฝิ่นในสมัยรัชกาลที่ 7 และเจ้าสัวคนสำคัญของชุมชน ตัวบ้านเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2459 ปัจจุบันทายาทได้อนุญาตให้อนุรักษ์ซ่อมแซมจนสวยสมบูรณ์ตรงตามรูปแบบสมัยนิยมและปรับปรุงให้เป็นพิพิธภัณฑ์

การจัดแสดงแบ่งเป็นบริเวณชั้น 1 แสดงนิทรรศการบอกเล่าประวัติอันยาวนานของสามชุก เริ่มจากหลักฐานเก่าสุดที่พบชื่อเรียก สามชุกในนิราศสุพรรณของสุนทรภู่ที่แต่งขึ้นในปี พ.ศ. 2379 ว่าเป็นชุมชนใหญ่และเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนสินค้าทางเรือริมแม่น้ำท่าจีน มีการแลกเปลี่ยนค้าขายกันอย่างคึกคักระหว่างชาวเรือ ชาวบ้าน และชาวกะเหรี่ยง ลาว ละว้า ทำให้ชุมชนเติบโตมีการขยายตั้งบ้านเรือนหนาแน่นขึ้น และเป็นชุมทางเชื่อมต่อการคมนาคมทางน้ำที่สำคัญของจังหวัด คือสามารถขึ้นเหนือไปยังชัยนาทและล่องใต้มากรุงเทพ

 

 

</tbody></table> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> ชั้นที่ 2 จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้และเรื่องราวของครอบครัวเจ้าของบ้าน และชั้นที่ 3 จัดเป็นพื้นที่สำหรับการประชุมและจัดนิทรรศการชั่วคราว หลักจากชมนิทรรศการแล้วเราไม่แปลกใจเลยที่ชุมชนและตลาดแห่งนี้จึงใหญ่โตและมีพื้นที่กว้างขวาง กระทั่งเมื่อบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงจากกระแสโลกยุคใหม่ที่รุกคืบเข้ามา เครื่องใช้ไม้สอยที่มีอายุ 30 – 50 ปีกลายเป็นของเก่าขึ้นหิ้งขณะเดียวกับที่การค้าและการสัญจรทางน้ำลดความสำคัญลง ตลาดสามชุก ชุมชนการค้าใหญ่บนเส้นทางแม่น้ำสุพรรณจึงซบเซาลง </p>

   
 

</span><p>เมื่อชุมชนรู้จักเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เกิดสมดุลตามสภาวะความเปลี่ยนแปลง ตลาด 100 ปีแห่งนี้จึงฟื้นตัวและทำหน้าที่เป็นแหล่งจับจ่ายสินค้าของชุมชนได้อย่างต่อเนื่องจนถึงวันนี้ ควบคู่ไปกับบทบาทใหม่ที่ทำให้ตลาดสามชุกเป็นเสมือน พิพิธภัณฑ์พูดได้ คือเป็นทั้งแหล่งเรียนรู้เติมเต็มอดีตที่คอยเตือนให้เยาวชนรุ่นใหม่ของชุมชนตระหนักถึงถิ่นกำเนิดและเกิดความภาคภูมิใจในตัวตน ไม่หลงเพลินกับสังคมสมัยใหม่จนลืมรากเหง้าและเป็นศูนย์รวมใจทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง เกิดความพร้อมใจร่วมมือกันอย่างจริงจังในการดูแลรักษาความสะอาดเรียบร้อย ความปลอดภัย ผู้คนมีอัธยาศัยยิ้มแย้มและเป็นมิตร นอกจากนี้รูปแบบวิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชน อาคารสถาปัตยกรรมสวยงามที่คงเอกลักษณ์ รวมถึงมีแหล่งอาหารอร่อย นับเป็นองค์ประกอบสำคัญที่มีส่วนเสริมให้เกิดบรรยากาศอันรื่นรมย์และสัมผัสได้ถึงความมีชีวิตชีวาของชุมชน นำไปสู่ความประทับใจที่พร้อมจะเปิดประสบการณ์เรียนรู้สิ่งใหม่ ทั้งผู้คนและสังคมที่กว้างขึ้น  </p>

หมายเลขบันทึก: 156685เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2007 23:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท