ใครเคยเห็นถังน้ำดื่ม 20 ลิตรบ้าง


ถังน้ำดื่ม 20 ลิตร ใครดูแล ใครคุมคุณภาพ
คุณภาพถังน้ำดื่ม 20 ลิตรภก.เชิดชัย  อริยานุชิตกุลผู้ประสานงาน คบ.สสจ. ภาคอีสานข้อสังเกตและข้อมูลเบื้องต้น         ภาชนะพลาสติกบรรจุน้ำดื่มฯ ขนาด 20 ลิตร มีหลากหลายสี (สีขาว, สีขาว ๆ, สีฟ้า, สีหม่น....)          การหลอมพลาสติกให้เป็นภาชนะพลาสติก : อาจจะใช้เม็ดพลาสติกใหม่ 100% หรือผสมกับพลาสติก เก่า 50% หรือ 70% หรือ 80%          ขั้นตอนการหลอมที่ใช้พลาสติกเก่าเป็นส่วนผสม  มีการใช้สี และ/หรือ สารกัดสี         อำนาจในการตรวจพิสูจน์คุณภาพภาชนะบรรจุเป็นของกระทรวงสาธารณสุข ส่วนโรงงานหลอมภาชนะ บรรจุไม่ใช่กระทรวงสาธารณสุข กฎระเบียบที่อ้างอิงประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 295) พ.ศ.2548 เรื่อง กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของภาชนะบรรจุที่ทำจากพลาสติกข้อ 3 ภาชนะบรรจุที่ทำจากพลาสติกต้องมีคุณภาพหรือมาตรฐานดังนี้                        (1) สะอาด                        (2) ไม่มีสารอื่นออกมาปนเปื้อนกับอาหาร ในปริมาณที่อาจเป็นอันตรายต่อ                              สุขภาพ                        (3) ไม่มีจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค                        (4) ไม่มีสีออกมาปนเปื้อนกับอาหารข้อ 8 ห้ามมิให้ใช้ภาชนะบรรจุที่ทำขึ้นจากพลาสติกที่ใช้แล้วบรรจุอาหาร เว้นแต่ใช้เพื่อบรรจุผลไม้ชนิดที่ไม่รับประทานเปลือก ข้อซักถาม         หน่วยงานตรวจพิสูจน์คุณภาพภาชนะบรรจุพลาสติก ?          มาตรการดำเนินการระดับประเทศ  รวมถึงการนำประกาศฯ ฉ.295 (พ.ศ.2548) ที่บังคับใช้อย่างจริงจัง ?         ชนิดของภาชนะพลาสติกที่ใส่อาหารแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร  ทั้งหมดนี้เป็นประเด็นที่ได้ตั้งคำถามในกรม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งจะประชุมในวันที่ 3 มกราคม 2551 นี้
หมายเลขบันทึก: 156497เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2007 10:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 08:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ความคืบหน้าเกี่ยวกับภาชนะบรรจุน้ำดื่ม ถัง ๒๐ ลิตร

- กรมวิทย์ฯ ยังไม่สามารถตรวจวิเคราะห์เรื่องการใช้ถังเก่ามาหลอมใหม่ (Recycle) ไม่รู้ว่าหน่วยงานอื่นใดบ้างที่มีศักยภาพบ้าง?

- อุตสาหกรรมกำลังจะออกข้อกฎหมายห้ามไม่ให้ผู้ผลิตหรือโรงงานหลอมภาชนะบรรจุพลาสติกนำถังเก่ามาหลอมใหม่?

- องค์ความรู้ในเรื่องพลาสติกที่บรรจุอาหารที่อมีอยู่ เป็นเพียงบอกกว้าง ๆ ไม่รู้จะพึ่งพิงข้อมูลที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ เช่น หยิบภาชนะบรรจุอาหารชนิดพลาสติกขึ้นมาสักชิ้นสามารถบอกได้เลยว่าเป็นพลาสติกชนิดใด และเป็นพลาสติกที่ใช้บรรจุอาหารใดได้บ้าง หรือไม่ได้เลย อย่างนี้ซิ..ยอด

นับจนถึงวันนี้ ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๑ ซึ่งผมหวังว่าปัญหาที่เป็นสูญญากาศของหน่วยงานรัฐต่าง ๆ น่าจะถูกหยิบยกขึ้นมาเพื่อหาแนวทาง/วางระบบการควบคุมป้องกันพิษภัยต่าง ๆ ที่อาจปนเปื้อนในอาหาร ซึ่งรวมถึงระบบการผลิตด้วย ไม่ว่าจะเป็นอาหารในร้านค้าทั่วไป หรือในโรงงานอาหาร เป็นต้นว่า ในร้านค้าทั่วไปมีการใช้ถ้วยชามที่ทำมาจากสารเมลามีน เรา ๆ จะรู้ได้อย่างไรว่าถ้วยชามเหล่านั้นเริ่มเสื่อม นั่นหมายความว่า สารเคลือบผิวหมดสภาพ มันเริ่มปลดปล่อยสารเคมีต่าง ๆ ออกมาใส่อาหารที่อยู่ในถ้วยชาม หรือแม้แต่หม้อต้มต่าง ๆ เรา ๆ จะรู้ได้อย่างไรว่ามันเป็นหม้อสแตนเลสที่เป็นชนิด Food grade ไม่ใช่ชนิด Industrial grade ซึ่งองค์ความรู้เหล่านี้เป็นสูญญากาศที่น่าจะก่อเกิดปัญหาเรื่อง "Food Safety" หรือ "ความปลอดภัยด้านอาหาร" ที่คณะกรรมการอาหารแห่งชาติสมควรนำมาพิจารณา และอาจจะต้องมีสัญลักษณ์บนผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นวัสดุที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิต หรือวัสดุที่ใช้ใส่/บรรจุอาหาร เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้เรียนรู้และรับรู้ว่าวัสดุ/ภาชนะบรรจุที่ใส่อาหารนั่นเป็น "Food grade"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท