ธนาคารคนจนไร้สัญชาติ


ถือว่าเป็นข่าวดีกึ่งๆ ร้ายของโครงการในช่วงทำการบ้านค่ะ เนื่องจากโครงการนี้มีเวลาเเค่ 15 ธันวาคม 2550 - 15 กุมภาพันธ์ 2551ก็เลยจำใจต้องตัดเรื่องกองทุนสุขภาพชุมชน เเละการประชุมแลกเปลี่ยนระหว่างกองทุนชุมชน โรงพยาบาล และ ผู้ที่มีความรู้เรื่องเศรษฐศาสตร์เเละงบประมาณ แต่ไม่เป็นไรค่ะ ก็จะจะเขียนเรื่องนี้ปิดท้าย แล้วหลังส่งงานเสร็จ ก็จะได้ลาไปทำวิทยานิพนธ์อีกรอบ

 

วันนี้เกิดติดใจเรื่องนักเศรษฐศาสตร์จากเอเซียตะวันออกค่ะ แถบนี้รู้สึกจะมีปริมาณนักเศรษฐศาสตร์มือรางวัลต่อประชากรเป็นอันดับต้นๆ และนักเศรษฐศาสตร์ที่นี่ค่อนข้างแปลกๆ ในสายตาของคนที่ไม่รู้เรื่องเศรษฐศาสตร์ (เป็นแบบนายว่า ขี้ข้าพลอยพยักหน้าหงึกๆ ไปด้วย)

 

 

 ที่จะเเนะนำแบบเอาขนมมาขายเชฟเบเกอรีคือ เจ้าของไอเดียนาคารกรามีน เพราะอยากจะเชียร์อาจารย์แหวว เผื่ออาจารย์อาจชักจูงนายทุนมาให้พี่บุญ พี่ใสแดง ทำธนาคารคนไร้สัญชาติบ้าง ไม่ได้โนเบลอย่างคนต้นคิด เดี๋ยวเราปริ้นท์ประกาศนียบัตรประกาศเกียรติคุณให้

 

เมื่อกรามีนแบงค์ได้รับรางวัลแล้วก็มีการตีข่าวมากมาย แต่เราจะเน้นข่าวที่ว่าเขามีกระบวนการสร้างรายได้ให้ธนาคารอย่างไร เพราะถ้าปล่อยกู้เเต่ไม่มีรายได้เข้ามามันคงไม่ยั่งยืนมาจนมีลูกค้าจำนวนมากอย่างนี้ ส่วนเรื่องการปล่อยเงินสนับสนุนให้คนจนให้ใคร ทำอย่างไรนั้น ที่อื่นนำเสนออยู่เเล้ว

 

ประการเเรก เเนวคิดนี้เชื่อว่า คนจนมีศักยภาพในการจ่ายคืนเงินกู้ได้ หากได้รับการพัฒนาอาชีพที่เหมาะสม เเละได้รับทุนให้ดำเนินการตามความเหมาะสมของเงื่อนไของเขา เช่น คนจนอยู่เเล้วย่อมไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ธนาคารนี้ก็เปิดให้กู้โดยไม่เน้นหลักทรัพย์ค้ำประกัน แทนที่จะตะบี้ตะบันแบบธนาคารธรรมดาๆ ที่เชื่อว่ายังไงๆ คนจนก็ไม่มีทางจ่ายหนี้คืน ก็เลยต้องมีการเรียกหลักทรัพย์ค้ำประกัน

 

ใมนหลักประกันสุขภาพก็เหมือนกัน ก่อนที่จะมีระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้ารัฐบาลจัดระบบประกันสุขภาพสำหรับผู้มีรายได้น้อย โดยความสมัครใจ ผู้มีรายได้น้อย รวมทั้งกลุ่มผู้ไม่มีสัญชาติไทย เช่นกลุ่มชนเผ่าบนพื้นที่สูง กลุ่มผู้ถือบัตรบุคคลไม่มีัญชาติไทย สามารถซื้อบัตรได้ ในราคา 500บาท ต่อปี ไม่ใช่ว่าพวกเขาไม่มีกำลังซื้อเลย แต่ถ้ามีหลักประกันในราคาที่เหมาะสม เขาก็ซื้อได้ อย่างน้อยก็แบ่งเบาภาระของโรงพยาบาลไปได้บ้าง และเเบ่งเบาภาระของตนเองเมื่อเจ็บป่วยได้

 

ช่วงแรก ที่มีระบบ 30 บาทนั้น กลุ่มคนเหล่านี้ก็ได้รับสิทธิด้วย แต่สิทธิอายุสั้น  พวกเขา"หลุด" จากบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าและยังไม่สามารถหวนกลับไปพึ่งพาบัตรประกันสุขภาพโดยสมัครใจ หรือบัตรประกันสุขภาพของผู้มีรายได้น้อยได้อีก เพราะโครงการถูกยกเลิกไปเเล้ว เหลือวิธีเดียวคือ ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเต็มจำนวน ถ้าจ่ายได้ หรือขอลดค่ารักษาบางส่วน ถ้าไม่มีก็ต้องเป็นผู้ป่วยภายใต้การอนุเคราะห์ของโรงพยาบาล

 

เราอาจสันนิษฐานจากหลักการเดียวกันได้ว่า ถ้าคนที่ไม่มีสัญชาติเเละไม่ได้รับความคุ้มครองจากหลักประกันใดๆ ได้มีธนาคารเพื่อสุขภาพอย่างนี้บ้าง โดยเก็บค่าใช้จ่ายค่าบำรุงตามความเหมาะสม ในระบบสหกรณ์ บริหารจัดการให้โปร่งใส เน้นการป้องกัน คัดกรอง และรักษาโรคตั้งเเต่เนิ่นๆ แทนที่จะรอจนเจ็บหนัก เพราะไม่มีสตางค์ ก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายที่สูงลงได้บ้าง คิดแล้วอยากถูกหวยค่ะ จะได้เเบ่งเงินรางวัลที่หนึ่งมาตั้งกองทุน แล้วหานักเศรษฐศาตร์ใจดีมาช่วยบริหาร (ตื่นๆๆๆ)

 

เรื่องนี้ก็เป็นบทเรียนว่า แทนที่เราจะคิดหาทางออกให้กับคนที่หล่นจากระบบโดยจับเขายัดกลับเข้าระบบเดิม อาจเป็นเพราะยังไม่มีใครคิดระบบใหม่ๆ ให้เหมาะกับเขาก็ได้

หมายเลขบันทึก: 156206เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2007 13:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท