เหตุเกิดจากข่าว


เหนือการควบคุม คือ ยาต้านพิษ แม้แต่ รพ.ต้นสังกัด ยังไม่มียาสต๊อค ทั้ง ๆ ที่เป็นแหล่งปลูกแท้ ๆ งานนี้สงสัยต้องพึ่ง สส. ผลักดันเรื่องนี้หรือเปล่าหนอ

             จากการรายงานข่าวของโทรทัศน์สถานีหนึ่ง    (ที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง)และหนังสือพิมพ์วันนี้ มีการพาดพิงถึง รพ.ที่เราอยู่

    เหตุจากวันที่ 23 ธ.ค 50 เวรเช้า พบเด็กหญิง วัย 3 ขวบ กินมันสำปะหลังเผา รู้เท่าไม่ถึงการณ์ มีอาการหมดสติ น้ำฟูมปาก มีคลื่นไส้อาเจียน ซึมลง จึงรีบนำส่ง รพ.

   พบเด็กที่ รพ.แพทย์เวร (หมอพิชานัน) ใส่ท่อช่วยหายใจ และสวนล้างกระเพาะอาหารและให้ยาลดการดูดซึมพิษ และส่งต่อ รพ.กาฬสินธุ์ แต่ยังไม่ได้ไป เพราะเราประสานทางโทรศัพท์ก่อนส่งต่อ รพ.ต้นสังกัดแจ้งว่าไม่มียาแก้พิษ เราจึงส่งต่อ รพศ.ขอนแก่น ผู้ป่วยเสียชีวิตที่ จ.ขอนแก่น "จากการตรวจสอบสารพิษที่อยู่ในตัวเด็ก พบว่ามีสารพิษจากมันสำปะหลังที่มีชื่อว่า "ไซยาไนด์" ซึ่งสารพิษนี้เป็นสารพิษอันตรายมาก ถ้าหากคนหรือสัตว์กินเข้าไปมาก ๆ จะเกิดอาการแน่นหน้าอก น้ำลายฟูมปาก ชักและเสียชีวิตได้ แม้แต่วัวหรือควายตัวโต ๆ ก็ตายมาแล้ว "

       แพทย์เวรถูกนักข่าวหลายสำนักซักถามอาการมากยิ่งกว่ามารดาเด็กเสียอีก

       ทีมงานระบาดออกควบคุมติดตามหาข้อเท็จจริง ผลปรากฏว่า ชาวบ้านทั้งหมู่บ้านต่างผูกฝ้ายข้อมือสีเหลืองทุกคน เพราะเขามีความเชื่อว่าผีจะมาเอาเขาไปเหมือนเด็ก นี่ก็สะท้อนให้เห็นเรื่อง ความรู้ การศึกษาอย่างหนึ่ง

       ถามว่า เราแก้ไขได้ดีหรือยังกับระบบนี้ ?

      หากเราทบทวนคงได้ผลว่า เราดูแลเต็มที่ ทีมพร้อม แต่ขาดเรื่องยา แล้วความผิดนี้เกิดกับใคร

      ทีมระบาดจังหวัดให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ

1.อาชีพทางการเกษตรให้ผลกำไรทางด้านการค้า แต่ผลด้านสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมผู้ปลูก ยังไม่มีการศึกษา ติดตาม ควบคุมอย่างต่อเนื่องในการได้รับอันตรายต่อประชาชนกลุ่มเสี่ยงในการได้รับไซยาไนด์

2.ในด้านการศึกษาและการให้ข่าวสารควรโน้มน้าวผู้มีอำนาจของประเทศ ตระหนักในเรื่องการศึกษา ควรบรรจุในองค์ความรู้ในโรงเรียนถึงอันตรายในพิษมันสำปะหลัง โดยเฉพาะ การใช้อย่างไร ระดับพิษ การป้องกัน

3.หน่วยงาน อปท. ควรมีมาตรการในการทำให้สุขภาพของชุมชนมีมาตรฐาน ป้องกันการเป็นพิษจากมันสำปะหลัง โดยทำงานประสานระหว่างหน่วยสุขภาพของราชการอย่างต่อเนื่อง

4.ควรระวังในการสัมผัสมันสำปะหลังดิบจำนวนมากที่เก็บในโกดัง เพราะอาจมีแก๊สไซยาไนด์ การปนเปื้อนจากพิษตรงส่วนผิวเมื่อเผลอรับประทาน

    หากจะกินควรปรุงโดยลอกผิวออก และต้มอย่างน้อย 30-40 นาที

    พิษจะอยู่มากบริเวณใบและราก ถ้าพิษมากจะขม

5.ประเทศไทยปลูกมันสำปะหลังมากเป็นอันดับ 2 ของโลก ผู้สัมผัสส่วนมากอยู่ห่างไกลจากตัวเมืองกว่าจะได้รับยาก็ไกล ดังนั้นการส่งเสริมความรู้ การป้องกัน ระวังพิษจากการสัมผัส และข้อควรระวังในการเตรียมปรุงให้มากขึ้นก่อนการรับประทาน

ข้อสรุปของทีม

   ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์เชิงรุกด้านสุขภาพในชุมชน

      เหนือการควบคุม คือ ยาต้านพิษ แม้แต่ รพ.ต้นสังกัด ยังไม่มียาสต๊อค ทั้ง ๆ ที่เป็นแหล่งปลูกแท้ ๆ งานนี้สงสัยต้องพึ่ง สส. ผลักดันเรื่องนี้หรือเปล่าหนอ

 ............................................

แหล่งข้อมูล

หนังสือพิมพ์ข่าวสด และ TV. 7

หมายเลขบันทึก: 156016เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2007 14:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับ

น่าสนใจมากครับ

ได้ความรู้ครับ...

  • เป็นข้อมมูลที่ควรจะได้รับการเผยแพร่มากๆค่ะ ชาวบ้านน่าจะได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องมากๆ
  • เป็นประโยชน์โดยแท้เมื่อกี้ก็นำเรื่องนี้เล่าให้คนในที่ทำงานฟัง

สวัสดีคะท่าน kmsabai

 ขอบคุณที่ท่านให้ความสนใจและเล็งเห็นปัญหาสุขภาพ งานนี้ไม่รู้ใครผิดใครถูก แล้วแต่ละเหตุผลแต่ละท่านค่ะ

"""""""""""""""""""""""

สวัสดีท่านพิชชาค่ะ

-สมัยก่อนเคยพบเมื่อตอนเข้าไปศูนย์ HACC สงสัยท่านจะจำเราไม่ได้  ดูรูปลักษณ์จะเปลี่ยนไป แต่ยังคงความสดใสไว้เหมือนเดิมค่ะ

- หลังการทบทวน คงหนีไม่พ้นประเด็นยุทธศาสตร์ในนั้น ที่ว่า เรื่อง การเน้นการให้ความรู้ด้านสุขภาพในเชิงรุก เพราะจากการวิเคราะห์ปัญหา Streakholder needs เขาก็ต้องการความรู้ในเรื่องสุขภาพ การดูแลและป้องกันตัว ก่อนจะสายเกินแก้เหมือนกัน เพราะหนึ่งในสถานที่ที่เขาไม่อยากไปคือ โรงพยาบาลและสถานีตำรวจ ไม่รู้เป็นไงคุณหมอ (มุขฝืดไปเลย)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท