EQ กับผู้บริหาร


หากเราไร้สติ อย่างอื่นไม่ต้องพูดถึง เพราะนั้นคือ ความพังพินาศ

           เคยบ้างไหมที่ผู้บริหารไม่ค่อยเห็นด้วยกับการแสดงแนวความคิด และไม่เห็นดีเห็นงาม สุดท้ายคุณคิดอย่างไง?

  "ก็ไม่มีความสุขในการทำงานนะซิ" มีเสียงแว่วมา

   "ไม่อยากคิด ไม่อยากทำ" เสียงดังตามมาอีก

    ผลสุดท้ายงานไม่เดิน ไม่มีแนวความคิดสร้างสรรค์ พัฒนางานในองค์กร ๆ ก็ไม่เจริญ ผลเสียมหาศาล

       ทำอย่างไรไม่ให้ผู้บริหารคิดอย่างนี้ นั้นก็คือการพัฒนา EQ แล้วเราจะทำอย่างไร ?

      อันนี้ตอบไม่ได้ เพราะไม้แก่ดัดยาก ไม้อ่อนดัดง่าย เราก็คงนั่งภาวนาแล้วแต่บุญแต่กรรมที่ทำมา ส่วนเราในฐานะหนึ่งในทีมผู้บริหารก็มาพัฒนา EQ กันดีกว่า

Goleman (1995) ชี้ให้เห็นแนวคิดพื้นฐานของความสามารถด้านความฉลาดทางอารมณ์ ที่ผู้บริหารควรมีดังนี้

   ความสามารถในการตระหนักถึงตนเอง (self-awareness)

      - การตระหนักถึงอารมณ์ของตนเอง (emotion awareness) คือ ทราบอารมณ์ตนเอง รู้สาเหตุ เชื่อมโยงความรู้สึกของตน กับสิ่งที่ตนทำ พูด

      - การประเมินตนเองที่ถูกต้อง (accurate selfassessment) คือ ทราบข้อจำกัด จุดแข็งของตน ยอมรับมุมมองใหม่ ๆ เสมอ

      - ความเชื่อมั่นในตนเอง (self-confidence) คือ แน่ใจในคุณค่าและความสามารถของตนเอง สามารถตัดสินใจได้แม้นถูกกดดัน

     ความสามารถในการควบคุมตนเอง (self-regulation)

    - การควบคุมตนเอง (self-control)  คือ การจัดการอารมณ์ที่ยุ่งยากและหุนหันพลันแล่น คิดได้อย่างชัดเจน แน่วแน่ แม้ในสถานการณ์ที่กดดัน

   - ความไว้วางใจ (trustworthiness) การรักษามาตรฐานของความซื่อสัตย์ รักษาคำพูดและสัญญา รับผิดชอบ

  - ความสามารถในการปรับตัว (adaptability)  ความยืดหยุ่นในการรับมือต่อการเปลียนแปลง

  - ความสามารถในการริเริ่ม (innovativeness)  คือ การค้นหาแนวคิดใหม่ ๆ จากแหล่งต่างๆ สร้างสรรค์แนวคิดใหม่ ๆ อยู่เสมอ

 ความสามารถในการสร้างแรงจูงใจให้แก่ตนเอง (self-motivation)

   - ความสามารถที่จะบรรลุจุดมุ่งหมาย (achievement drive) คือ พยายามปรับปรุงให้บรรลุตามมาตรฐานที่ยอดเยี่ยม ตั้งเป้าหมาย ขับเคลื่อน ค้นหาความเสี่ยง

  - การให้คำมั่นสัญญา (commitment)  คือ การวางเป้าหมายของกลุ่ม พร้อมจะเสียสละ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์องค์กร

  - ความคิดริเริ่ม (initiative)  พร้อมเมื่อโอกาสมาถึง สามารถลดอุปสรรคความล่าช้า

  - มองโลกในแง่ดี (optimism) คือ ความไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค แน่วแน่แก้ไข เดินหน้าให้บรรลุเป้าหมาย

       ผู้บริหารจะพัฒนาอย่างไร ?

salovey (1990) ได้แนะนำไว้ 5 ด้าน ดังนี้

1. รู้อารมณ์ตนเอง หมั่นฝึกและพัฒนาให้ตนตระหนักรู้

2. รู้จักควบคุมอารมณ์ ให้รู้จักเผชิญอารมณ์นั้น ๆ

3. รู้การจูงใจอารมณ์ให้ถึงเป้าหมาย ตั้งจัดระเบียบตนเอง

4. รู้และเข้าใจอารมณ์ผู้ร่วมงาน ในสถานการณ์ที่เขาเผชิญ

5. รู้จักตอบสนองต่อสัมพันธภาพของคนอื่น

สุดท้าย ถ้าหากเราฝึกฝนและรู้จักตน  ย่อมสามารถเผชิญปัญหานั้นได้ และแก้ไขแน่วแน่ แต่หากวันใด เรา "ไร้สติ" อย่างอื่น คงไม่ต้องพูดถึง

 

..............

เอกสารอ้างอิง

ชัยเสฎฐ์  พรหมศรี. Q ที่คุณควรมี - -กรุงเทพฯ :เอ๊กซเปอร์เน๊ท,2548.

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 155908เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2007 22:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2013 14:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ

  มาอ่านหนังสือครับ..^_^

  ขอบคุณที่สรุปมาให้นะครับ

สวัสดีค่ะท่าน kmsabai

สงสัยต่อไปจะสรุปเรื่อง "พยาบาลไร้หมวก" ที่ท่านนำมาให้ ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ

- เขาบอกว่ากว่าจะมาพบและพูดกันสักครั้งต้องทำบุญด้วยกันมาก่อนไม่น้อยกว่าหมื่นชาติ ไม่รู้จะจริงหรือเปล่า

- และอีกอย่างหนึ่งไม่รู้เป็นไง ชอบบทความหนังสือให้เพื่อนสมัยเรียนรามฯ มาก่อน (รับจ้างแลกข้าวแลกน้ำ ตอนปิดเรียนพยาบาล) ได้แนวความคิด การสะท้อนความคิด โดยไม่รู้ตัว

ขอบคุณที่ยังมีเพื่อนร่วมอุดมการณ์ค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท