รายงานตัวค่ะ มหกรรม KM ครั้งที่ 4 : เวทีเรียนรู้ของเด็กหญิงมะเหมี่ยว


Learning Style ของเหมี่ยวคือ การเรียนรู้จากผู้คนรอบๆข้าง การเรียนรู้จากสถานที่ หรือ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เหมี่ยวอยากไปเรียนรู้และเลือกที่จะไปเอง
                การเรียนรู้จากประสบการณ์ และการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ภายนอกเป็นวิธีการเรียนรู้ของเหมี่ยวที่ดีที่สุดตลอดการเติบโตมา 20 ปีนี้ เพราะ Learning Style ของเหมี่ยวคือ การเรียนรู้จากผู้คนรอบๆข้าง การเรียนรู้จากสถานที่ หรือ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เหมี่ยวอยากไปเรียนรู้และเลือกที่จะไปเอง และจะไม่ถนัดที่สุดก็ตอนอยู่ในห้อง 4 เหลี่ยมนั่นแหละ (ทำได้เหมือนกันแต่ต้องใช้พลังสูงมาก)

                ล่าสุดเวทีการเรียนรู้ที่เหมี่ยวได้รับ คือการเข้าร่วมงานในมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ 4 ร่วมกับทีมพี่ๆ NU QA อย่าง พี่ตูน พี่ O พี่พัช พี่อ้อย ท่านอาจารย์พิชิต จาก โรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข ท่านอาจารย์มาลินี คณบดีสหเวชศาสตร์และท่านอาจารย์วิบูลย์ เรียกว่า ทีม KM ของ มน. เลย แต่ว่า ถ้าอาจารย์เทียมจันทร์กับอาจารย์อมรรัตน์ แล้วก็อาจารย์บีแมนกับอาจารย์หนึ่งมาด้วยก็จะครบทีมยิ่งกว่านี้นะคะ

               ครั้งนี้เหมี่ยวไปแบบไม่ได้ลงเบียนอีกแล้วล่ะ เพราะมันแพงมากๆๆ (ที่จริงไปทำธุระอื่นด้วย) แต่ได้เข้าไปประจำอยู่ที่ Boot ของ มน. ในส่วนนิทรรศการ ปีนี้จัดอบอุ่นดีค่ะ เค้าแบ่งเป็น Zone มี การศึกษา มีเกษตรกรรม มีเอกชน มีเครือข่าย ในส่วนเครือข่ายนี้เหมี่ยวสนใจเป็นพิเศษค่ะ เพราะเกี่ยวกับเรื่องวิทยานิพนธ์ที่กำลังทำอยู่พอดี

               แอบไปฟังอาจารย์วิบูลย์แนะนำหนังสือ "เรื่องเล่าชาว มน." ที่บนลานเสวนา ต้องไปเชียร์กันหน่อยผลงานของเราทุกคน เป็นการรวมเรื่องราวประทับใจและเทคนิคการเรียนรู้ KM แบบ มน. ไว้กว่า 20 เรื่องจาก 20 คนเขียน มีทั้งระดับ CKO คุณอำนวย คุณกิจ ที่เป็นอาจารย์ พี่เจ้าหน้าที่ และน้องนิสิต  ++ ใครอ่านบันทึกนี้แล้วยังไม่มี หน้งสือปกสีเทาแสด "เรื่องเล่าชาว มน." ก็ไปหาอ่านกันนะคะ เราภูมิใจนำเสนอค่ะ

               เดินไปเดินมาก็ตั้งใจจะไปซื้อหนังสือของ โรงเรียนเพลินพัฒนา เห็นเค้าจัด Boot อยู่ข้างๆ มน. แต่เขินค่ะเพราะได้ยินแต่ชื่อไม่เคยอ่าน คร่าวนี้เลยตรงดิ่งไปซื้อหนังสือของเพลินพัฒนามาเล่มแรกเลย เล่มนี้จะเห็นว่าการนำ KM ไปใช้ในแบบ Whole School เลยเนี่ยะ เค้าทำกันยังไง มีเทคนิคอะไรบ้าง  ขอแนะนำว่าใครยังไม่มีทั้งเล่ม ของ มน. และของเพลิน ให้ซื้ออ่านเป็นเพ็กเกจนะคะ เป็นซีรี่ วิถี KM ไท ประกอบด้วยเรื่องของ "เรื่องเล่าชาว มน." เล่มสีเทาแสด   "โรงเรียนเพลินพัฒนา" เล่มเป็นลายภาพวาดฝีมือนักเรียนสีสดใส แล้วก็อีกเล่มจำชื่อไม่ค่อยได้ค่ะ แต่เป็นเรื่องของชาว มอ. รึเปล่า(ใครรู้ช่วยเพิ่มเติมให้ด้วยนะคะ) เล่มสีน้ำเงินฟ้าสวยมาก

                เดินไปก็เดินมาจนถึงเที่ยงก็ไปทานข้าวที่ข้างล่าง โอ้แม่เจ้าคิดถึงแม่ที่สุด แม่จะรู้ไหมคะเนี่ย ว่าลูกสาวได้ทานกระเพราะปปลาที่ไม่อร่อยที่สุดในโลก แต่ก็ทานจนเกลี้ยงเพราะเสียดายแบบว่ามันแพงอ่ะ!!

                ทานเสร็จแล้วไปเดินชมนิทรรศการในหลวงที่จัดอยู่ห้องข้างๆ กัน สวยมาก ได้ความรู้เพียบเลย ซึ้งมากอยากขอบคุณสรรพสิ่งเหลือเกินที่ให้คนได้มีในหลวงภูมิพล และมีพระบรมวงศานุวงศ์ที่เสียสละพระองค์เพื่อประชาชนตลอดมา  มีอยู่ส่วนหนึ่งที่เค้าจัดเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง มีตู้คอมฯ ให้เรียนรู้และทดสอบความพอเพียงของตัวเอง พี่โอลองดู มีคำถามหนึ่งประมาณว่า ท่านทำงานนอกเวลาแม้จะไม่ได้รับคำสั่ง  มีตัวเลือกด้วยนะคะ พี่โอเร่งกดอย่างไม่รังเรเลยอ่ะ ตรงตัวเลือกที่ว่า ทำงานนอกเวลาแม้ไม่ได้สั่ง กดไปก็บ่นไป แบบว่าทำทุกวันเลย วันหยุดก็ทำ กลางวันกลางคืนก็ทำ สั่งไม่สั่งก็ทำ เอ!@ อันนี้อาจารย์วิบูลยได้ยินน่าจะดีใจนะเนี่ยะ

                 เล่าเรื่องอื่นให้ฟังตั้งนาน มาเข้าเรื่องการเรียนรู้การดีกว่า

คำถามนี้ อ.มาลินี ถามเหมี่ยวต้อนขากลับแวะทานข้าวที่แม่ลา ว่า " ครั้งนี้มะเหมี่ยวได้เรียนรู้อะไรบ้างคะ" คำถามนี้กว้างมากเลย แต่เป็นคำถามที่มีค่าที่สุด มันติดอยู่ในใจ และไม่ได้เคยถามตัวเองเลยเวลาที่ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพียงแต่บอกตัวเองว่า ความรู้อันนี้ดี อันนี้ตื่นเต้น อันนี้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้แล้วมาเล่าให้ฟัง คนที่บอกว่าเราเรียนรู้อะไรจะเป็นครู อาจารย์ พ่อ แม่ แล้วก็ผู้ใหญ่ที่ต้องทนฟังเรื่องตื่นเต้นในการเปิดโลกกว้างของเด็กมะเหมี่ยวมาตลอด 

                    คราวนี้ คำตอบว่า "ได้เรียนรู้อะไร" มาจากตัวของเหมี่ยวเองแล้ว ที่ต้องถามว่าเราไปทำอะไรบ้าง ไปเจออะไรมาบ้าง แล้วได้ความรู้อะไรบ้าง ระบบสมองลิงค์ไปที่คำถามแบบ AAR อัตโนมัติเลย แล้วทุกสิ่งที่มุ่งไปคือ อะไรที่ได้เกินคาดหวัง ซึ่งทุกอย่างคือเกินความคาดหวังทั้งหมด

                     1 คือ เรียนรู้การจัดการความรู้ภาพรวมของ ม.นเรศวร ก่อน ว่าเราทำอะไรบ้างอะไรเกี่ยวกันตรงไหนเพราะว่าเหมี่ยวทำแต่หลักสูตรท้องถิ่นแล้วก็วิจัย แต่ส่วนอื่นๆ ก็ได้แต่ฟังและอ่านเอา ข้อมูลมันก็ขาดๆ หายๆ ไปบ้าง การเรียนรู้เรื่องของ KM มน. จาก poster ที่ สคส. ทำให้ เหมี่ยวได้เห็นภาพรวมของมน.เรา เรื่องการนำ KM มาใช้ซึ่งมีหลายส่วนที่เกินความคาดหมาย อย่างเช่น KM ผู้นำนิสิต หรือเรื่องงานวิจัยท้องถิ่น แล้วยังตามมาด้วยเครือข่ายปราชญ์ชุมชนที่เกิด KM อย่างไม่ทันตั้งตัว เพราะทุกอย่างที่เกิดขึ้นแบบ KM เราไม่ได้บังคับหรือชี้ชวนให้เค้ามาทำ KM แต่เค้ามาเห็นมามีส่วนร่วมแล้วเค้าเสนออยากทำเอง อย่างพี่จ๊ะ ประสานสุข ผู้นำชุมชน วิสาหกิจชุมชนกล้วยตากบ้านไร่ อ.บางระกำ ลุงฟื้น จาก จ.อุตรดิตถ์ และอีกหลายท่านที่เกิดจากการทำ Mobile Unit ลงพื้นที่ต่างๆ ในภาคเหนือตอนล่างของชาว มน.

                             แต่หลายท่านที่เห็นว่า มน. ทำเยอะมากๆ แต่ที่นำมาใส่ Poster ยังไม่หมดนะคะ ที่จริงแล้ว KM ของคณะสหเวชศาสตร์ของ อ. มาลินี้ หายไป ซึ่งตรงนี้สำคัญมากเพราะเป็นการนำ KM ไปใช้.ในการบริหารจัดการคณะแบบ Work สุดๆ

                         2 คือการเรียนรู้จากการไปเยี่ยมชม Boot ใน Zone ต่างๆ ไปฟังโรงเรียนชาวนานครสวรรค์ ซึ่งอันนี้ตรงดิ่งไปเลยเพราะชอบการเรียนรู้และการจัดการความรู้ของโรงเรียนชาวนาไม่ว่าจะที่ไหนอยู่แล้ว ชอบแนวการเรียนรู้ตามอัธยาศัยและการเรียนรู้เพื่อพัฒนาชุมชน พัฒนาคนด้วยธรรมชาติและจิตวิญญาณมนุษย์โดยไม่ใส่กรอบแบบขังปัญญา อย่างที่บุคลากรทางการศึกษากำลังทำอย่างที่เจตนาหรือไม่รู้ตัวก็ตาม  

                                 ต่อมาไปชม NOK ค่ะ เจอทีไรก็แอบยิ้มกับความสำเร็จของเค้าทุกทีและมันก็สำเร็จขึ้นไปเรื่อยๆ 

                                 วิ่งไปดู Zone เครือข่าย ค่ะ เพื่อหาข้อมูลและความรู้มาใช้ในงานวิจัย เครือข่ายหลักสูตรท้องถิ่น และในวิทยานิพนธ์ด้วย ไปพบกับเครือข่าย KM เบาหวานค่ะ ยืนอ่านทุกตัวอักษร จำ แล้วคิดว่าจะนำมาใช้กับเครือข่ายของเราอย่างไรถึงจะเหมาะ ได้เทคนิคและความรู้มาเพียบเลย

                          3 คือการเรียนรู้จากตนเอง คือ เรียนรู้คำถามและตอบข้อซักถามของผู้มาชม Boot มน. อันนี้ได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนเยอะมากๆ จากอาจารย์และผู้สนใจหลายๆ ท่าน

                           ตอนนี้ battery มันจะหมดแล้วค่ะ เก็บไว้ก่อนนะคะ แล้วเล่าต่อใหม่

หมายเลขบันทึก: 155783เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2007 09:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท