สปสช.ชงของบฯ เป็นของขวัญปีใหม่ให้คนชายขอบเข้า ครม.


ข่าวตัดนี้เจอตอนสิ้นรัฐบาลขิงเเก่พอดี ไม่ทราบว่ารัฐบาลชมพู่จัดันต่อหรือไม่

สปสช.ชงของบฯ เป็นของขวัญปีใหม่ให้คนชายขอบเข้า ครม.

สปสช.ชงของบฯ เป็นของขวัญปีใหม่ให้คนชายขอบเข้า ครม.

บอร์ดสปสช.มีมติชงเข้าครม.ของบให้คนชายขอบหรือผู้ยากไร้ที่ขาดหลักประกัน ที่กำลังพิสูจน์ความเป็นไทย และยังไม่มีหลักประกันสุขภาพใดๆ ให้ได้รับบัตรทอง เป็นของขัวญวันปีใหม่ สรุปขอเพิ่มงบภายในธันวาคมนี้ ระบุยังมีคนชายขอบกว่า 1 ล้านคนที่ไม่มีบัตรทองและเป็นภาระค่าใช้จ่ายของรพ.ในชายแดน

วันนี้ (27 พ.ย.) นพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และประธานคณะกรรมการหลักประกัน
สุขภาพแห่งชาติ กล่าวภายหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติซึ่งประชุมร่วมกันนานกว่า3 ชั่วโมงว่า มติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเห็นควรเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบหลักการดูแลการสร้างหลักประกันสุขภาพแก่กลุ่มบุคคลที่มีปัญหาด้านสิทธิและสถานะจากทั้งหมดประมาณ 1.4 ล้านคน แต่จะให้สิทธิ์เฉพาะผู้ที่อยู่ระหว่างการพิสูจน์สัญชาติ ประมาณ 700,000 คน โดยบางส่วนได้รับบัตรสีชมพู หรือบัตรสีฟ้าแต่ยังไม่เป็นคนชาติไทย 100% ในการตั้งงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวรองรับให้กลุ่มบุคคลกลุ่มนี้ บางครอบครัวยังไร้หลักประกันด้านสุขภาพ เช่น แรงงานใต้สะพาน หรือชนกลุ่มน้อย รวมทั้งกลุ่มคนต่างด้าวที่อยู่ในประเทศไทยมานาน ซึ่งบางคนเสียภาษีให้รัฐบาลมาตลอดสามารถใช้สิทธิในการรักษาพยาบาลในโครงการบัตรทองและให้จัดสรรงบประมาณรายหัวให้กับคน กลุ่มนี้

นพ.มงคล กล่าวอีกว่า การที่กลุ่มคนดังกล่าวซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่รอยต่อหรือบริเวณชายแดนรวมทั้งชุมชนแออัดยังไม่ได้รับสิทธิบัตรทอง เมื่อไปรับการรักษาพยาบาลจะไม่สามารถใช้สิทธิบัตรทองได้ ซึ่งคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะไม่มีเงินเพียงพอสำหรับค่ารักษาพยาบาล ทำให้รพ.ที่รักษาส่วนมากเป็นรพ.ของรัฐให้การรักษาพยาบาลแก่บุคคลดังกล่าวโดยไม่ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก หากมีบัตรทองซึ่งจะไดรับงบเหมาจ่ายรายหัวจะเป็นการลดภาระทางด้านค่าใช้จ่ายให้กับรพ.ที่ทำการรักษาได้อีกทางหนึ่งด้วย

สำหรับงบประมาณที่จะเพิ่มขึ้นนั้นจะนำมาจากที่ไหนนั้น ได้มอบให้นายอัมมาร สยามวาลานักวิชาการเกียรติคุณสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เป็นประธาน รับผิดชอบหาแนวทางว่าจะนำงบประมาณมาจากแหล่งใด ก่อนจะส่งให้สำนักงบประมาณพิจารณา เบื้องต้นอาจจะนำงบประมาณเพิ่มจากภาษีเหล้า บุหรี่ โดยจะเสนอต่อที่ประชุมครม.เร็วๆนี้ และจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคมนี้

นอกจากนี้ นพ.มงคล กล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังมีการเสนอให้เพิ่มงบประมาณในโครงการการบริการการแพทย์ฉุกเฉินหรือ EMS จากเดิมที่ให้จัดสรรงบประมาณในส่วนนี้ 6 บาทต่อหัว จะเพิ่มเป็น 10 บาทต่อหัว ซึ่งจากการศึกษาพบว่า งบประมาณที่เพียงพอควรอยู่ที่ 10 บาท แต่เบื้องต้นเพื่อบรรเทาปัญหาก็จะเสนอใน แนวทางนี้ก่อน ส่วนการจัดส่งผู้ป่วย จะใช้งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้จัดหารถนำส่งผู้ป่วย โดยจะมีการฝึกเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติงานแทนแพทย์ พยาบาล ในการออกพื้นที่เพื่อเสริมกำลังเจ้าหน้าที่ส่วนที่ขาดแคลน

ด้านนพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเด็นที่เตรียมนำเสนอครม.โดยครอบคลุมกลุ่มนักเรียน นักศึกษาที่ได้รับสิทธิเรียนฟรีจากกระทรวงศึกษาธิการแล้ว จำนวนประมาณ 60,000 คน กลุ่มบุคคลที่มีประวัติและเลขทะเบียนตามกฎหมายทะเบียนราษฎร์ประมาณ 360,000 คน กลุ่มบุคคลต่างด้าวที่มีใบต่างด้าวที่มีถิ่นฐานอยู่ถาวรในประเทศไทยประมาณจำนวน 250,000 คน กลุ่มคนรากเหง้าและเด็กกำพร้าในสถานสงเคราะห์ประมาณ 30,000 คนซึ่งรวมทั้งหมดแล้ว 700,000 คน แต่ได้รับบัตรทองต่อเนื่องจากบัตร สปร. และบัตรประกันสุขภาพแล้วประมาณ 400,000 คน คงเหลือที่ต้องตั้งงบประมาณใหม่ประมาณ 300,000 คน

นายบารมี ชัยรัตน์ กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในฐานะตัวแทนเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนด้านชนกลุ่มน้อย เปิดเผยว่า สมาชิกเครือข่ายต่างเห็นพ้องกันว่า ปัญหาที่สำคัญที่สุดคือเรื่องฐานข้อมูลประชากร ที่ทำให้กลุ่มบุคคลบนพื้นที่สูงที่ตกหล่นจากการสำรวจทะเบียนที่ยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก จึงเสนอให้ภาครัฐจัดทำโครงการและแผนงานงบประมาณ เพื่อสำรวจข้อมูลกลุ่มชนเผ่าและชาติพันธุ์ไร้สัญชาติทั้งหมดให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนโดยเร็ว นอกจากนี้ยังต้องมีการพิจารณาระเบียบข้อบังคับหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มการเข้าถึงหลักประกันสุขภาพของกลุ่มชนเผ่าและชาติพันธุ์ไร้สัญชาติและชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ โดยทบทวนระบบการขึ้นทะเบียนบัตรทอง สำหรับคนที่คนที่ยังไม่เคยมีบัตรและที่เคยได้รับบัตรแต่ใช้สิทธิไม่ได้

นพ.มงคล กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลกระทบหลักยกเลิกเก็บ 30 บาทนั้น จากการที่ได้ติดตามอย่างใกล้ชิดมาตลอด พบว่าส่วนที่ได้รับผลกระทบจะเป็นสถานีอนามัยมากกว่า เพราะมีรายได้ส่วนมากมาจากการจัดเก็บค่าบริการ ส่วนสถานพยาบาลระดับจังหวัดจะสัดส่วนงบประมาณจากกองทุนอื่น มากเพียงพอต่อการดำเนินงานอยู่แล้ ว แต่โดยรวมทั้งระบบถือว่าได้รับผลกระทบน้อยมากเพียง 1% ของกองทุน เท่านั้น ซึ่งในส่วนที่ได้รับผลกระทบจะมีการศึกษาหาแนวทางช่วยเหลือต่อไป

 

ผู้จัดการออนไลน์ 11/27/2006

หมายเลขบันทึก: 155702เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2007 19:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท