การประกันคุณภาพ


การประกันคุณภาพทางการศึกษา

                                                                                   

 การประกันคุณภาพที่ดีจะต้องมีลักษณะ  ดังนี้

1. เป็น " ระบบ" ซึ่งมีทั้งปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลลัพธ์ที่คาดหลังมีทั้งระบบการพัฒนาคุณภาพระบบการตรวจติดตามคุณภาพและระบบการประเมินตนเอง
          2. เป็นระบบที่สถานศึกษาพัฒนาขึ้นโดยดึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ด้วยการส่งเสริมสนับสนุนจากต้นสังกัด มิใช่การควบคุมสั่งการจากต้นสังกัด
          3. ระบบประกันคุณภาพภายในต้องผสมผสานกับงานบริหารปกติ กล่าวคือ บูรณาการเชื่อมโยงกับการปฎิรูปการเรียนรู้ การสอน การพัฒนาบุคลากรและการบริหารฐานโรงเรียน ( SBM)
          4. การประกันคุณภาพภายในเป็นเรื่องของทุกคนทั้งในสภานสึกษาและชุมชนภายใต้การนำและมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพของ "ผู้บริหาร" เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง

 

          5. ทำงานทุกภารกิจอย่างครบวงจรทั้งระดับบุคคลและหน่วยงานมีการวางแผน ดำเนินการประเมิน และปรับปรุงงานอย่างสม่ำเสมอ
          6. การทำงานของทุกคนในสถานศึกษาไม่ว่าการบริหารจัดการ การสอนและการเรียนรู้มุ่งสู่ผลประโยชน์ที่จะเกิดแก่ผู้เรียนเป็นคนดี คนเก่งมีความสุขสนุกกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต
          7. การดำเนินการประกันคุณภาพภายในที่ควบวงจร คือเมื่อถึงปีการศึกษาจะต้องมีการประเมินตนเอง เพื่อรวมสรุปยอดแล้วจัดทำเป็นรายงานประจำปี รายงานให้หน่วยงานต้นสังกัด หน่ายงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณะทราบ
          8. ผลประเมินจะนำไปสู่การปรับปรุงการบริหาร การเรียนรู้และการสอนโดยถือเป็นหน้าที่ของผู้บริหารต้องกำกับดูแลให้มีการประเมินคุณภาพอย่างต่อเนื่อง


ก้าวทัน เรื่องประกันคุณภาพการศึกษา

ทุกคนกำลังรอความหมายของคำว่า " คุณภาพการศึกษา"

          ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า สังคมไทยจะก้าวผ่านความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ หลากหลายเรื่องที่ส่งผลต่อแบบแผนการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่ทั้งในชุมชนชนบทและชุมชนเมืองคนไทย ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะอยู่แห่งหนตำบลใดจะต้องมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนองไปตามพลวัตรทางเศรษฐกิจและสังคมไทยอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในระบบเศรษฐกิจแบบเปิดกว้างที่มีการแข่งขันด้านคุณภาพสูงจะเป็นแรงผลักดันสำคัญให้เกิดความต้องการการเรียนรู้และกระบวนการการเรียนรู้แก่คนไทยแทบทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในภาคการผลิตใด

          สังคมในอนาคตยังสะท้อนให้เห้นพลังประชาชนและชุมชนในการปกครองตนเองสูงขึ้น มองเห็นการเมืองที่ถูกถ่วงดุลด้วยกลุ่มองค์กรประชาชนมากขึ้น คนไทยในท้องถิ่นต่างๆ ย่อมต้องดิ้นรนให้ได้มาซึ่งความรู้ในการปกครองตนอง และเห็นความสำคัญของการเรียนรู้ด้วยตนเอง และเห็นความสำคัญของการเรียนรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งรู้เท่าทันการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนและลดช่องว่างในการพัฒนาระหว่างเมืองกับชนบท

          ที่สำคัญและท้าท้ายที่สุดก็คือพลังการเรียนรู้และการแสดงออกของชุมชนที่ถูกโหมด้วยการเข้าถึงข่าวสารสำคัญต่างๆ อาจจะนำไปสู่การทวงคืนบทบาทในการจัดการศึกษาจากภาครัฐกลับไปสู่ภาคประชาชนอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องของการศึกษาทางเลือกและศูนย์การเรียนรู้โดยองค์กรประชาชนและกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองมากขึ้น มีการโอนกิจการศึกษาของรัฐให้องค์กรท้องถิ่นและองค์กรชุมชนบริหารจัดการแทนมากขึ้น ตลอดจนการเบ่งบานของหลักสูตรท้องถิ่นที่สะท้อนชีวิตจริงและความต้องการที่ตรงกับสภาพท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น

          แต่สิ่งเหล่านี้จะเป็นจริงไปไม่ได้เลยถ้าปราศจากการประกันว่าเด็กรุ่นใหม่และคนรุ่นใหม่ทุกคนได้รับการศึกษาที่ดีมีคุณภาพเพียงดพอที่เขาจะนำไปเป็นพลังในการเรียนรู้และวางแผนชีวิตของตนเอง

          การประกันคุณภาพจะเป็นเครื่องตัดสินว่าทั้งเด็กและทั้งผู้ใหญ่ในแต่ละท้องถิ่นจะฉกฉวยประโยชน์จากเทคโนโลยีและสภาพสังคมที่เปบลี่ยนไป เพื่อสร้างการเรียนรู้ที่ดีให้แก่ตนเอง ครอบครัว ชุมชน เพื่อความมั่นคงและความสามารถในการปรับตัวทางเศรษฐกิจและสังคมได้ดีเพียงไร

          การประกันว่าเด็กๆ ได้เรียนเรื่องใกล้ตัวในท้องถิ่นอย่างมีความสุขมากขึ้น ด้วยการมีหลักสูตรท้องถิ่นเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น ภายใต้การอุปถัมภ์ของชุมชนที่เข้ามาร่วมแรงร่วมคิดในการจัดการเรียน การสอน "วิชา ทำมาหากิน วิชาใช้ชีวิต" เพื่อลูกหลานของตนเอง

          การประกันว่าเด็กๆ ได้เรียนรู้ด้วยการนำตนเองอย่างอิสระมากขึ้น ได้ฝึกคิด ฝึกแก้ปัญหา ฝึกวิเคราะห์ฝึกวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ โดยมีครูที่มีคุณภาพ และใส่ใจนักเรียนอย่างแท้จริง

          การประกันว่าเด็กๆ ได้รับการเรียนรู้แบบปรับเหมาะตามความต้องการและความจำเป็นของแต่ละบุคคลและชุมชนมากยิ่งขึ่น ด้วยการมีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและเข้าถึงได้ง่ายยิ่งขึ้นในแต่ละท้องถิ่น รวมทั้งหลักสูตรที่ยืดหยุ่นแบบ "เสื้อตัด" มากกว่า "เสื้อโหล" ที่เด็กๆ สามารถมีทางเลือกในการเรียนได้มากยิ่งขึ้น

 

          การประกันว่าแต่ละชุมชนท้องถิ่นจะมีเครือข่ายการเรียนรู้ของตนเองมากขึ้น โดยมีการเชื่อมต่อข้อมูลข่าวสารระหว่างชุมชนและโรงเรียนและระหว่างชุมชนเพื่อการเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น มีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ระหว่างชุมชนมากขึ้น

          และท้ายที่สุดท่ามกลางการเรียนรู้อย่างมีความสุขสะท้อนความเป็นท้องถิ่นจะต้องมีการประกันว่าเด็กๆ มีมาตรฐานการเรียนรู้ที่ดีเทียบได้ในระดับสากล และสอดคล้องกับโลกของความเป็นจริงในตลาดแรงงานด้วยเช่นกัน ด้วยการพัฒนาระบบการวัดผลประเมินผลที่มีมาตรฐานรวมถึงการตั้งสำนักทดสอบแห่งชาติขึ้นเพื่อติดตามวัดมาตรฐานการเรียนรู้ในวิชาหลักๆ กับผู้เรียนทั่วประเทศ เพื่อให้การศึกษาไทยแข่งขันได้กับสากลโลก และมีการติดตามผลสถานศึกษาผ่านเครื่อข่ายสารสนเทศทางการศึกษาที่ทันสมัยอย่างต่อเนื่องด้วย

 


ที่มา : จุลสาร สมศ. สำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา ฉบับที่ 12 ประจำเดือน กรกฎาคม 2545

รายงานปฏิรูปการศึกษาไทย ปีที่4 ฉบับที่ 49 วันที่ 15 มกราคม 2545

สารสำนักงานปฏิรูปการศึกษา ฉบับที่ 42 ประจำเดือนพฤษภาคม 2545

Thailand Education Journal

 

คำสำคัญ (Tags): #การประกัน
หมายเลขบันทึก: 155636เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2007 11:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2012 09:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท