วิวาทาธิกรณ์


 ขออนุญาต อัญเชิญ พระธรรม คำสั่งสอน ของ องค์พระศาสดา  มาให้ศึกษา  โอปนยิโก  โยนิโสมนสิการ  กันดู

ในช่วงเลือกตั้ง และ จัดรัฐบาลใหม่ 

มูลเหตุ ของการทะเลาะวิวาท

จาก พระไตรปิฎก เล่มที่ ๖ พระวินัยปิฎก

มูลแห่งวิวาทาธิกรณ์

                 [๖๓๗] อะไรเป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ รากแห่งการเถียงกัน ๖ อย่าง เป็นมูลแห่งวิวาทา

ธิกรณ์ รากแห่งอกุศลทั้ง ๓ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ รากแห่ง  กุศลทั้ง ๓ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์

                 รากแห่งการเถียงกัน ๖ อย่าง เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน

                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักโกรธ เป็นผู้ถือโกรธ  ภิกษุที่มักโกรธถือโกรธนั้น ย่อมไม่มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์อยู่ ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์ แม้ในสิกขา ภิกษุที่ไม่มีความ  เคารพ ยำเกรง ในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำ  ให้บริบูรณ์นั้น ย่อมยังวิวาทให้เกิดในสงฆ์

การวิวาทย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อความ  ไม่เกื้อกูลเพื่อทุกข์แก่เทพยดาและมนุษย์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอเล็งเห็น  รากแห่งการเถียงกันเห็นปานนี้ทั้งภายในและภายนอกได้ พวกเธอในบริษัทนั้น  พึงพยายามละรากแห่งการเถียงกันอันลามกนั้นแหละเสีย ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็น  รากแห่งการเถียงกันเห็นปานนี้ ทั้งภายในและภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้นพึง  ปฏิบัติเพื่อความยืดยาวไป แห่งรากแห่งการเถียงกันอันลามกนั้นแหละ ความละรากแห่งการเถียงกันอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ ความยืดเยื้อแห่งรากแห่งการ  เถียงกันอันลามกนั้นย่อมมีต่อไปด้วยอย่างนี้ ฯ

                 [๖๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ข้ออื่นยังมีอีก

ภิกษุเป็นผู้ลบหลู่ตีเสมอท่าน ...

                 ภิกษุเป็นผู้มีปรกติอิสสา ตระหนี่ ...

                 ภิกษุเป็นผู้อวดดี เจ้ามายา ...

                 ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด ...

                 ภิกษุเป็นผู้ถือแต่ความเห็นของตน ถืออย่างแน่นแฟ้น ปลดได้ยาก  ภิกษุผู้ที่ถือแต่ความเห็นของตน ถืออย่างแน่นแฟ้น ปลดได้ยากนั้น ย่อม ไม่มีความเคารพ ยำเกรง ในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์อยู่  ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพ ยำเกรงในพระศาสดา  ในพระธรรม ในพระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมยังวิวาทให้เกิดในสงฆ์ การวิวาทย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุข  แก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทพยดา  และมนุษย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย

               ถ้าพวกเธอเล็งเห็นรากแห่งการเถียงกันเห็นปานนี้  ทั้งภายในและภายนอกได้ พวกเธอในบริษัทนั้นพึงพยายามละรากแห่งการเถียงกัน  อันลามกนั้นแหละเสีย ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็นรากแห่งการเถียงกันเห็นปานนี้ ทั้ง  ภายในและภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้น พึงปฏิบัติเพื่อความยืดเยื้อแห่งรากแห่งการเถียงกันอันลามกนั้น  ย่อมมีด้วยอย่างนี้  ความยืดเยื้อแห่งรากแห่งการเถียงกันอันลามกนั้นย่อมมีต่อไปด้วยอย่างนี้ รากแห่งการวิวาท ๖ อย่างนี้ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ ฯ

 *************************************************************

สาธุ  สาธุ  สาธุ

สรุป   มูลเหตุแห่งการวิวาท   ประการ 

  • มักโกรธ มักผูกโกรธ   ทำให้เกิดความไม่เคารพ 
  • ลบหลู่คุณท่าน ตีเสมอ
  • ตระหนี่ ริษยา
  • โอ้อวด มารยา อวดดี  เจ้ามายา
  • ปรารถนาลามก มีความเห็นผิด
  • ยึดมั่นความคิดเห็นของตน  ปลดได้ยาก

ผมชอบคำว่า "ละ" ความโกรธ ทั้งภายใน และ ภายนอก

ทำให้นึกถึง  เรื่อง Theory U     นึกถึง  การ "ห้อยแขวน" คำพิพากษา

 

การนำเอาข้อธรรมนี้   ไปประยุกต์ใช้ กับ

  • สุนทรียสนทนา   Deep listening

  • ในอ่าน โพสต์ ในเว็ป ใน blog ต่างๆ   Deep reading   อย่างที่  อจ Handy เคยบอก

  • การประชุม การระดมสมอง ฯลฯ

หมายเลขบันทึก: 155472เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2007 08:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 21:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เรียน ท่านอาจารย์ไร้กรอบ นำอาหารเช้ามาถวายครับ

Mflu_19nov07+036

สาธุ เลือดคนดี เนาะ ชาติจะได้เจริญ

ความโกรธ มักอยู่ในวงเหล้า วงน้ำชา เป็นวิวาทสนทนา หาได้อยู่ในวงสุทรียสนทนาไม่ เพราะหากมีความโกรธแล้วก็จะไม่เคารพให้เกียรติกัน ไม่ตั้งใจฟังอย่างลึกซึ้ง ไม่เท่าทันเสียงภายในใจ และด่วนรีบร้อนตัดสินใจเพ่งโทษผู้อื่น

ต้องขจัดเหตุแห่งโกรธ 6 ประการให้หมดไปก่อน เมื่อเข้าสู่โหมดปกติ-คลื่นอัลฟ่าแล้วจึงค่อยเริ่มสนทนา

 

 

มาสาธุค่ะ 

ดิฉันโกรธเพราะผลออกมาไม่ถูกใจดิฉัน   คงตรงกับข้อที่6ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท