บทความเรื่องตลกอีสาน : ภาพสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย (ตอนที่ ๒)


ติดตามตลกอีสานกันต่อ...มาดู "เพชรพิณทอง" กันบ้าง ยังจำกันได้ไหม

เพชรพิณทอง : ตำนานแห่งตลกอีสาน                      

             ส่วนวงดนตรีลูกทุ่งเพชรพิณทองนั้น เป็นวงดนตรีลูกทุ่งพูดอีสานวงแรกของประเทศไทย ทั่วถิ่นภาคอีสานไม่มีใครไม่เคยได้ยินชื่อวงดนตรีที่อยู่ยาวนานถึง 31 ปี วงนี้นพดล ดวงพรตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.. 2514 (เนตรนภา แก้วแสงธรรม,  2545:  13) หลังจากที่ลาออกจากวงดนตรีคณะจุฬารัตน์ของครูมงคล  อมาตยกุล (มะลิ สำโรง,  2543:  3) วงเพชรพิณทองมีสำนักงานอยู่ที่ นิคมสายกลาง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี                     

             ในปี  .. 2519 “ลุงแนบหรือ ณรงค์ โกษาผล ได้เข้ามาร่วมงานกับนพดล ทำให้นพดลกับลุงแนบกลายเป็นคู่หูร่วมกันสร้างชื่อเสียงให้วงเพชรพิณทองโด่งดังทั่วภาคอีสานในช่วงปี พ.. 2527-2528 ถือว่าเป็นยุคทองของวงเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเปิดการแสดงที่ไหน ก็ได้รับการต้อนรับจากแฟนเพลงอย่างล้นหลาม โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสาน คิวการแสดงยาวเหยียด เรียกว่า ตลอดเดือนหนึ่งแทบไม่มีวันพัก บางปีเจ้าภาพต้องจองล่วงหน้าข้ามปี แต่ปัจจุบันนี้ วงเพชรพิณทองมีงานแสดงไม่ครบเดือนเหมือนเก่า   มีผู้ชมจำนวนไม่มากนักในแต่ละคืนที่เปิดทำการแสดง แต่พวกเขาก็ยังหยัดยืนสืบสานการแสดงหน้าเวทีด้วยคอนเซ็ปท์เดิมคือดูสนุก ฮาสนั่น ชุดเต้นสยิวเพื่อรับใช้ชาวอีสานทั่วไทยไปอีกนานแสนนาน (คมชัดลึก,  2545:  7)                     

              เพชรพิณทองเป็นวงดนตรีที่ตั้งมายาวนานที่สุดในประเทศไทย  (เนตรนภา แก้วแสงธรรม,  2545:  13)    และเป็นวงดนตรีที่ใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน ซึ่งประกอบด้วยพิณและแคน มีรูปแบบการแสดงด้วยการร้องเพลงลูกทุ่ง   มีหางเครื่องเต้นประกอบจังหวะและแสดงตลกสลับฉาก  การแสดงตลกได้รับความนิยมจากผู้ชมมาก จนกลายเป็นจุดเด่นของคณะมากกว่าการร้องเพลง จุดขายของวงนี้คือ การขายหัวเราะราคาถูก หัวเราะทุก 4 นาทีโดยช่วงแรกมี  นพดลกับลุงแนบ เป็นตัวชูโรง ต่อมามี  หนิงหน่อง แท็กซี่  จ่อย จุกจิก และใหญ่ หน้ายาน มาเสริมทีมตลก ทำให้เพชรพิณทองได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว การแสดงจะเน้นบรรยากาศของภาคอีสาน  สะท้อนสภาพสังคมและวัฒนธรรมอีสานได้อย่างชัดเจน จนสามารถยืนหยัดมาจนถึงทุกวันนี้ 

เสียงอีสาน - เพชรพิณทอง : กระจกสะท้อนความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย

             การแสดงตลกของทั้งสองวงต่างเป็นจุดเด่นและจุดขายที่ทำให้วงได้รับความนิยมจากประชาชน สำหรับวงเพชรพิณทองที่เคยโด่งดังที่สุดในอีสานนั้น ถึงแม้ว่าจะไม่ค่อยมีงานแสดงมากเหมือนในอดีต แต่ก็ยังคงได้รับความนิยมจากผู้ชมอยู่ไม่เสื่อมคลาย ส่วนเสียงอีสาน ก็เปรียบเสมือนคลื่นลูกใหม่ที่เข้ามาแทนที่ ดังนั้น จึงน่าสนใจว่า ทั้งสองวงนำเสนอเนื้อหาในการแสดงตลกอย่างไร จึงทำให้ทั้งสองวงเป็นที่นิยมของประชาชนมาโดยตลอด เนื้อหาดังกล่าวสามารถอธิบายเกี่ยวกับสภาพสังคมไทยอย่างไร ความเปลี่ยนแปลงนั้นบอกอะไรเกี่ยวกับบริบททางสังคมในปัจจุบัน

เมื่อเรื่องเพศ ไม่ใช่เรื่องปกปิดอีกต่อไป                   

           หากวิเคราะห์เนื้อหาการแสดงของทั้งสองคณะแล้ว มุขตลกเรื่องเพศเป็นเรื่องที่ถูกนำเสนอมากในอันดับใกล้เคียงกัน ทั้งคู่ต่างนำเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องเพศมาแสดง ลักษณะการนำเสนอมุขตลกเช่นนี้ สะท้อนให้เห็นว่า ไม่ว่าจะเป็นในอดีตหรือปัจจุบัน สังคมไทยก็ยังคงเป็นสังคมที่เคร่งครัดในเรื่องเพศพอสมควร   การพูดถึงเรื่องเพศในที่สาธารณะ ถูกจำกัดให้พูดกันได้น้อยมาก ด้วยเหตุนี้   จึงส่งผลให้มีการแสดงออกในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อลดความตึงเครียดของสัญชาตญาณทางเพศ (ขจรเกียรติ มะกรทัต,  2539:  1) ดังที่โทมัส ฮอบบส์ได้กล่าวไว้ว่า การพูดถึงเรื่องเพศทำให้เรียกเสียงหัวเราะได้ ทั้งยังเป็นการผ่อนคลายและหลุดพ้นจากความยับยั้งชั่งใจที่ถูกเก็บกดไว้ โดยเฉพาะในเรื่องเพศที่สังคมมักหลีกเลี่ยงหรือปกปิดเอาไว้ให้เป็นเรื่องราวของมารยาท แต่เมื่อตลกนำมาเล่น ก็ทำให้ผู้ชมสามารถปลดปล่อยความรู้สึกได้อย่างเต็มที่    (วีระ แก่นเพชร,  2539:  75)                       

                ศิราพร ฐิตะฐาน ณ ถลาง (2544:  20) ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า เนื้อหาของมุขตลกมักเป็นการพาดพิงมาตรฐานหรือกฎระเบียบบางอย่างในสังคม ยิ่งสังคมเคร่งครัดเรื่องใด เรื่องนั้นมักจะเป็นเนื้อหาของมุขตลก ในทางคติชนวิทยา มุขตลกมี 2 ประเภท คือ มุขตลกแบบหยาบโลน (obscene jokes) และมุขตลกแบบไม่หยาบโลน มุขตลกแบบหยาบโลนมักจะเป็นเรื่องเพศ เพราะการแสดงออกทางเพศเป็นเรื่องที่เคร่งครัดมากในสังคมไทย                      

            เมื่อพิจารณาถึงการนำเสนอเนื้อหาของคณะเสียงอีสานและคณะเพชรพิณทองแล้ว ปรากฏว่า ทั้งสองคณะต่างใช้มุขตลก 2 ประเภทดังกล่าว หากแต่นำเสนอมุขตลกแบบหยาบโลนในเรื่องเพศกันมาก มุขตลกเช่นนี้ได้รับความนิยมอยู่ในทุกยุคทุกสมัย บางเรื่องนำเสนอเนื้อหาด้วยการใช้คำสองแง่สองง่ามที่สื่อความหมายถึงเรื่องเพศ ทำให้เรียกเสียงหัวเราะจากผู้ชมได้มาก (ตัวอย่างบทสนทนาในการแสดงนั้น ฉันไม่สามารถจะจัดลงในบันทึกนี้ได้ ตัวหนังสือมันโยกไปหมดเลย ดังนั้นจะขอสรุปเนื้อหาไปเลยนะคะ) 

               จากบทสนทนาหนึ่งในการแสดงของคณะเสียงอีสาน สื่อให้เห็นถึงเรื่องการร่วมเพศของหญิงชาย  โดยยายจื้นทำท่าจะสอดขาใส่ผ้าถุง แต่เอาขาเข้าไม่ได้สักที ปอยฝ้ายจึงบอกให้กางรูผ้าถุงออกให้กว้าง ๆ แล้วปอยฝ้ายก็จับกางออกเป็นรูปสามเหลี่ยม ซึ่งสื่อถึงอวัยวะเพศหญิง ส่วนขาของจื้นที่สอดเข้าไป สื่อถึงอวัยวะเพศชาย พอยายจื้นเห็นว่ารูใหญ่แล้วก็ถามถึงวิธีใส่ว่าจะใส่อย่างไร นกน้อยจึงแนะนำให้กางผ้าถุงออกอีก แล้วให้จื้นเอาขาใส่เข้าไป แต่จื้นก็ยังเอาเข้าไม่ได้ อยากให้มีคนจับใส่ให้ นกน้อยจึงบอกว่า มีคนจับใส่ให้จื้นอยู่แล้ว คือ ต๋อม ภรรยาของจื้น สื่อให้เห็นถึงการร่วมเพศว่า หากอวัยวะเพศชายไม่สามารถสอดใส่เข้าไปในอวัยวะเพศหญิงได้ ฝ่ายหญิงจะจับใส่ให้              

                    ส่วนบทสนทนาในการแสดงของเพชรพิณทอง สื่อถึงเรื่องเพศคือ เจ้าบ่าวเข้ามาจับตัวเจ้าสาว พอมือเจ้าบ่าวจับมาถึงหัวเข่า เจ้าสาวยังไม่รู้สึกอะไร แต่พอเลยหัวเข่าขึ้นมา ก็รู้สึกมีอารมณ์ได้

             
หมายเลขบันทึก: 155471เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2007 08:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 22:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท