กิจกรรมการอ่านแบบกว้างขวาง(Extensive Reading)


กิจกรรมการอ่านแบบกว้างขวาง(Extensive Reading)

ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้สอนวิชาภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  เป็นเวลากว่า  20  ปี  ปัญหาที่พบจากการสอนในทุกปีจะเป็นปัญหาที่เหมือนๆกันคือนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนตั้งไว้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ ข้าพเจ้าได้ทำการวิจัย พบว่าสาเหตุที่นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในสองทักษะนี้ต่ำกว่าเกณฑ์ มีสาเหตุจากปัจจัยหลายปัจจัย  ซึ่งพอสรุปได้  ดังนี้คือ นักเรียนไม่ชอบเรียนภาษาอังกฤษเพราะว่ายาก  นักเรียนมีความรู้ด้านคำศัพท์น้อย และสาเหตุที่สำคัญและส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ คือ นักเรียนไม่ชอบอ่านหนังสือหรือไม่มีนิสัยรักการอ่านนั่นเอง ซึ่งข้าพเจ้าได้สอบถามจากเพื่อนครูที่สอนวิชาอื่นๆว่าเกิดปัญหาเช่นเดียวกันหรือไม่ พบว่ามีปัญหาเช่นเดียวกันนอกจากนั้นข้าพเจ้าได้พบว่าการไม่มีนิสัยรักการอ่านยังเป็นปัญหาระดับประเทศด้วย เนื่องจากมีผลสำรวจการอ่านหนังสือของประชากรไทย เมื่อ พ.ศ.2549 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ  พบว่า ประชากรไทยที่มีอายุ  6 ปีขึ้นไป จำนวน  57.8  ล้านคน อ่านหนังสือ 35.4 ล้านคน  คิดเป็นร้อยละ 61.20  ผู้ไม่อ่านหนังสือ 22.4  ล้านคน  คิดเป็นร้อยละ 38.80   ประชากรในกรุงเทพมหานครอ่านหนังสือสูงสุดคือร้อยละ81.50 รองลงมาคือภาคกลางร้อยละ63.50 ภาคเหนือร้อยละ59.20  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราการอ่านต่ำสุด คือร้อยละ 52.60  ข้าพเจ้าจึงหาวิธีการแก้ปัญหานี้ เนื่องจากการอ่านเป็นวิธีการเข้าถึงความรู้ที่ทำได้ง่ายที่สุดสามารถอ่านได้ด้วยตนเองทุกเวลาแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นนักเรียนต้องมีนิสัยรักการอ่านก่อนดังนั้นในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 ข้าพเจ้าจึงได้ค้นคว้าหาวิธีการที่จะแก้ปัญหานี้ โดยได้ศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่มีผู้ทำไว้จนได้พบว่า มีกิจกรรมหนึ่งที่คิดว่าน่าจะฝึกให้นักเรียนเป็นผู้ที่มีนิสัยรักการอ่านได้ และเป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยของนักเรียน        นั่นคือ  กิจกรรมการอ่านแบบกว้างขวาง(Extensive Reading) ก่อนที่ข้าพเจ้าจะใช้นวัตกรรมนี้ ข้าพเจ้าได้ทำการสำรวจความสนใจและความต้องการในการอ่านหนังสือของนักเรียนว่าชอบอ่านหนังสือประเภทใด ผลการสำรวจพบว่า นักเรียนชอบอ่านหนังสือนิทานมากที่สุด  ข้าพเจ้าจึงจัดหาหนังสือนิทานและให้นักเรียนมีส่วนร่วมโดยการนำหนังสือนิทานที่มีอยู่มาแลกกันอ่านกับเพื่อน ก่อนการทดลองนวัตกรรมข้าพเจ้าได้สร้างความเข้าใจ และขอความร่วมมือกับนักเรียนโดยอธิบายรายละเอียด ขั้นตอนลักษณะของกิจกรรมที่ต้องทำและประโยชน์ของการทำกิจกรรมการอ่านแบบกว้างขวางให้นักเรียนทราบ  ดังนี้   การอ่านแบบกว้างขวาง  เป็นการอ่านภาษาอังกฤษด้วยความเต็มใจของนักเรียน เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษและพัฒนานิสัยรักการอ่าน  กิจกรรมการอ่านแบบกว้างขวางมี  2  ลักษณะ  คือ  1) การอ่านในชั้นเรียน (In Class  Reading) มีจุดประสงค์ให้นักเรียนเรียนรู้วิธีการอ่านและส่งเสริม  กระตุ้น  รวมทั้งจูงใจให้นักเรียนต้องการอ่านหนังสือ ซึ่งมีขั้นตอน  ดังนี้  ขั้นที่  1  การสนทนาเกี่ยวกับหนังสือ (Booktalk) ครูเป็นผู้นำการสนทนา ขั้นที่  2 การอ่านออกเสียง                   (Read  Aloud) เป็นการอ่านเรื่องเดียวทั้งชั้น  ขั้นที่  3  การอ่านในใจด้วยตนเอง (Sustained Silent Reading) นักเรียนอ่านเรื่องที่แตกต่างกันตามความสนใจ ขั้นที่  4 การอภิปรายเกี่ยวกับวรรณคดี (Litrature  Circle) ขั้นนี้เป็นขั้นที่นักเรียนที่อ่านเรื่องเดียวกันมานั่งล้อมวง แล้วเล่าสิ่งที่ตนอ่านให้เพื่อนฟัง เพื่อตรวจสอบความเข้าใจเนื้อหาจากเรื่องที่อ่าน อภิปรายหรือวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน โดยแต่ละคนในกลุ่มจะมีบทบาทที่แตกต่างกันไป ดังนี้ ผู้นำการอภิปราย (Discussion Director)ผู้วาดภาพเกี่ยวกับสิ่งที่ฟัง(Illustrator) ผู้รู้เกี่ยวกับคำศัพท์ยาก(Word Wizard)ผู้ย่อความเรื่องที่อ่าน(Summarizer)และผู้โยงเรื่องที่อ่านกับประเด็นอื่นๆ (Connector) ขั้นที่  5  การเล่าทวนเรื่อง (Story  Retelling) ในขั้นนี้นักเรียนแต่ละกลุ่มจะเล่าเรื่องให้เพื่อนกลุ่มอื่นฟัง  โดยใช้วิธีการที่หลากหลาย  อาจเป็นการแสดงบทบาทสมมติ  แสดงละครสั้นๆ  หุ่นมือ   หรือวิธีการอื่นๆตามที่กลุ่ม          ตกลงกัน ลักษณะที่  2) การอ่านนอกชั้นเรียน (Out  of Class  Reading)  มีจุดประสงค์เพื่อให้นักเรียนฝึกอ่านด้วยตนเองนอกชั้นเรียน โดยนักเรียนเลือกเรื่องที่สนใจและบันทึกการอ่านลงในแบบที่ครูกำหนดให้ขั้นตอนนี้นักเรียนได้ตกลงว่าจะอ่านและบันทึกสัปดาห์ละ1  เรื่อง เป็นเวลาอย่างน้อย   6 สัปดาห์และนักเรียนเลือกเรื่องที่อ่านแล้วประทับใจ 1 เรื่อง จัดทำเป็นหนังสือนิทานเล่มเล็กคนละ 1  เรื่อง เมื่อสร้างความเข้าใจให้นักเรียนทราบแล้วทุกขั้นตอน ข้าพเจ้าจึงเริ่มดำเนินการทดลองนวัตกรรมตามขั้นตอนที่กล่าวมา  โดยใช้นักเรียนกลุ่มทดลองทด 1  ห้อง  คือ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1/1  จำนวน  41  คน ใช้เวลาในการทดลองนวัตกรรม 6 สัปดาห์   เมื่อทดลองเสร็จสิ้น  พบว่านักเรียนมีทักษะในการอ่านภาษาอังกฤษมากขึ้นและมีนิสัยรักการอ่านมากขึ้น  ซึ่งดูได้จากผลการอ่านนิทานแล้วสามารถตอบคำถาม เขียนย่อความและเล่านิทานให้เพื่อนฟังได้เข้าใจ นอกจากนั้นยังส่งผลให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านมากขึ้น ดูได้ผลการตอบแบบสอบถามก่อนและหลังการใช้นวัตกรรมที่ครูสร้างขึ้นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจจากการใช้นวัตกรรมกิจกรรมการอ่านแบบกว้างขวางอีกประการหนึ่ง คือ  นักเรียน  41  คน  จัดทำนิทานเล่มเล็กได้อย่างสร้างสรรค์ น่าสนใจมีความประณีต แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจและการรู้จักใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ไปกับการอ่านและการเขียน  ซึ่งนิทานเล่มเล็กเหล่านี้  ครูจะใช้เป็นสื่อการสอนต่อไป  นับว่าเป็นสื่อการสอนที่เกิดจากนักเรียนเป็นผู้สรรค์สร้างขึ้น ทั้งหมดที่เล่ามา คือความสำเร็จที่เกิดจากครูเป็น       ผู้วางแผนการจัดการเรียนรู้  นักเรียนคือผู้ลงมือปฏิบัติ  ผลที่ดีเกิดขึ้นกับนักเรียน ซึ่งถือเป็นหัวใจของการ         จัดการศึกษาโดยตรง 

คำสำคัญ (Tags): #cps
หมายเลขบันทึก: 154983เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2007 15:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 23:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อาจารย์ นพรัตน์ นามสกุลเดียวกับผมเลย ผมเป็นครูอยู่ กทม. ถ้ายังไงติดต่อกลับหน่อยนะคับ เมล์นี้นะ [email protected]

อำไพ เจริญรัตน์ ( มะลิงาม )

หวัดดีค่ะ พี่นาง

พี่นางยังจำอำไพได้หรือป่าวคะ สงสัยจะลืมน้องสาวคนนี้ไปแล้วละมั้ง หนูเคยโทรไปหาพี่นางที่บ้านหลายครั้ง มีคนรับสายแต่คุยกันไม่รู้เรื่อง หนูก็เลยเลิกโทร พี่นางคะไม่เจอกันนานพี่นางสบายดีหรือป่าวคะ หนูหวังว่าพี่นางคงสบายดีนะคะ ส่วนหนูก็เรื่อยๆ

ผลงานของพี่นางชิ้นนี้น่าสนใจนะคะ

สวัสดีค่ะ คือตอนนี้หนูเรียนอยู่ที่นิวซีแลนเอกภาษาอังกฤษ กำลังทำธีสิสเรื่องการอ่านของนร.ที่อังกฤษไม่ใช่ภาษาแรกโดยเน้นไปที่นร.ไทยกับจีนค่ะ อยากถามว่าที่คุณครูบอกว่า ทำการสำรวจพบว่านร.ชอบอ่านนิทาน คุณครูทำการสำรวจยังไง แบบไหน กับ นร.กี่คนคะ อยากถามด้วยว่าโปรเจคนี้ของคุณครูก้าวหน้าไปถึงขั้นไหนแล้ว กรุณาช่วยตอบด้วยนะคะ รู้ว่านร.ไทยและจีนอิงไปทางintensive readingมากว่าextensiveในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ แต่หาแหล่งข้อมูลที่จะมาทำเป็นreferenceที่น่าเชื่อถือไม่ได้เลยค่ะ คุณครูพอจะช่วยได้ไหมคะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

สวัสดีครับอาจารย์ อาจารย์สฤษดิ์หล่ะ คิดถืงอาจารย์ทั้งสองคนจัง ศิษเก่าสมัยลานทรายครับ ไม่ได้เห็น 20ปีแล้วมั้ง อาจารย์สบายดีกันใหมครับยังสวยยังหล่อเหมือนเดิมเลยน้อ อาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดีของพวกผมเสมอ ขอให้รักกันมากๆนะครับ มีความสุขและสุขภาพแข็งแรงทั้งสองคนนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท