การจัดการความรู้กับวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์


การจัดการความรู้กับวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ **
การจัดการความรู้กับวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ** จิรัชฌา วิเชียรปัญญา* สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge - based Society and Economy) เป็นสังคมที่ความรู้ได้กลายมาเป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่ง การพัฒนาความรู้ใหม่ๆ เพื่อการแข่งขันและเสริมสร้างความ เข้มแข็งจึงเป็นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งของกระบวนการพัฒนาประเทศ ในระบบเศรษฐกิจจะให้ความ สำคัญต่อการเปลี่ยนความรู้เป็นนวัตกรรมโดยอาศัยเทคโนโลยีระดับสูง การพัฒนาสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้จะทำให้สัดส่วนความรู้ที่อยู่ภายในกับภายนอกตัวบุคคลเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากมีความจำเป็นและความต้องการในการเปลี่ยนแปลงความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคล (Tacit knowledge) ให้มีสภาพกลายเป็นความรู้ที่ปรากฏชัดเจน (Explicit knowledge) ด้วยแนวคิดดังกล่าวทำให้ การบริหารจัดการ ความรู้ (Knowledge Management - KM) เป็นเรื่องที่ทุกมิติในสังคมไทยไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน หรือแม้กระทั่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับชุมชนต่างให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างมาก ในทัศนะของผู้เขียนมองว่าองค์ประกอบหลักที่สำคัญประการหนึ่งของการจัดการความรู้คือ กระบวนการจัดการความรู้”(KMProcess)ซึ่งเป็นกระบวนการที่ไม่ได้ถือว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์แต่อย่างใดในขณะที่ทุกวงการให้ความสำคัญและสนใจเป็นอย่างมากแต่วงการบรรณารักษศาสตร์ของประเทศไทยกลับมีกิจกรรมในเรื่องดังกล่าวน้อยมากและจากการสนทนาอย่าง ไม่เป็นทางการกับผู้สอนและผู้บริหารที่ปฏิบัติงานในวงการดังกล่าวทุกท่านตอบตรงกันเป็นเสียงเดียวกันว่า ยังมีความรู้ความเข้าใจที่ไม่ชัดเจน ตลอดจนไม่ทราบว่าจะนำแนวคิดดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในงานห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศได้อย่างไรนั่นคือที่มาของบทความนี้ซึ่งผู้เขียนในฐานะที่เคยบริหารงานห้องสมุดมาเป็นเวลาร่วม 8 ปี และได้ศึกษาแนวคิดการจัดการความรู้มาหลายปีจึงขอนำเสนอแนวคิดของการจัดการความรู้กับวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์โดยมีรายละเอียด ที่สำคัญสองประการคือ ประการแรก เป็นทัศนะของการปรับเปลี่ยนมุมมองในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงานห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศเพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดของการจัดการความรู้และ ประการที่สอง เป็นข้อเสนอแนะหรือแนวทางของการปรับเปลี่ยนที่ยั่งยืนสำหรับการฝังรากของการจัดการความรู้ลงในกระบวนการของงานห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศ รายละเอียดทั้งสองมิติมีดังนี้ * อาจารย์ประจำ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต  เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง บรรณารักษ์/นักสารสนเทศกับการจัดการความรู้
ของกรมสุขภาพจิต วันที่ 23 มีนาคม 2548 ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge - based Society and Economy) เป็นสังคมที่ความรู้ได้กลายมาเป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่ง การพัฒนาความรู้ใหม่ๆ เพื่อการแข่งขันและเสริมสร้างความ เข้มแข็งจึงเป็นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งของกระบวนการพัฒนาประเทศ ในระบบเศรษฐกิจจะให้ความ สำคัญต่อการเปลี่ยนความรู้เป็นนวัตกรรมโดยอาศัยเทคโนโลยีระดับสูง การพัฒนาสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้จะทำให้สัดส่วนความรู้ที่อยู่ภายในกับภายนอกตัวบุคคลเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากมีความจำเป็นและความต้องการในการเปลี่ยนแปลงความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคล (Tacit knowledge) ให้มีสภาพกลายเป็นความรู้ที่ปรากฏชัดเจน(Explicitknowledge)ด้วยแนวคิดดังกล่าวทำให้การบริหารจัดการความรู้ (Knowledge Management-KM)เป็นเรื่องที่ทุกมิติในสังคมไทยไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน หรือแม้กระทั่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับชุมชนต่างให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างมาก ในทัศนะของผู้เขียนมองว่าองค์ประกอบหลักที่สำคัญประการหนึ่งของการจัดการความรู้คือกระบวนการจัดการความรู้” (KM Process) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ไม่ได้ถือว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์แต่อย่างใด ในขณะที่ทุกวงการให้ความสำคัญและสนใจเป็นอย่างมาก แต่วงการบรรณารักษศาสตร์ของประเทศไทยกลับมีกิจกรรมในเรื่องดังกล่าวน้อยมากและจากการสนทนาอย่าง ไม่เป็นทางการกับผู้สอนและผู้บริหารที่ปฏิบัติงานในวงการดังกล่าว ทุกท่านตอบตรงกันเป็นเสียงเดียวกันว่า ยังมีความรู้ความเข้าใจที่ไม่ชัดเจนตลอดจนไม่ทราบว่าจะนำแนวคิดดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในงานห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศได้อย่างไรนั่นคือที่มาของบทความนี้ซึ่งผู้เขียนในฐานะที่เคยบริหารงานห้องสมุดมาเป็นเวลาร่วม 8 ปี และได้ศึกษาแนวคิดการจัดการความรู้มาหลายปีจึงขอนำเสนอแนวคิดของการจัดการความรู้กับวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์โดยมีรายละเอียดที่สำคัญสองประการคือ           ประการแรกเป็นทัศนะของการปรับเปลี่ยนมุมมองในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงานห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศเพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดของการจัดการความรู้และ ประการที่สองเป็นข้อเสนอแนะหรือแนวทางของการปรับเปลี่ยนที่ยั่งยืนสำหรับการฝังรากของการจัดการความรู้ลงในกระบวนการของงานห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศ รายละเอียดทั้งสองมิติมีดังนี้ * อาจารย์ประจำ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต ** เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง บรรณารักษ์/นักสารสนเทศกับการจัดการความรู้
 
ของกรมสุขภาพจิต วันที่ 23 มีนาคม 2548 ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge - based Society and Economy) เป็นสังคมที่ความรู้ได้กลายมาเป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่ง การพัฒนาความรู้ใหม่ๆ เพื่อการแข่งขันและเสริมสร้างความ เข้มแข็งจึงเป็นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งของกระบวนการพัฒนาประเทศ ในระบบเศรษฐกิจจะให้ความ สำคัญต่อการเปลี่ยนความรู้เป็นนวัตกรรมโดยอาศัยเทคโนโลยีระดับสูงการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้จะทำให้สัดส่วนความรู้ที่อยู่ภายในกับภายนอกตัวบุคคลเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากมีความจำเป็นและความต้องการในการเปลี่ยนแปลงความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคล (Tacit knowledge) ให้มีสภาพกลายเป็นความรู้ที่ปรากฏชัดเจน(Explicitknowledge)ด้วยแนวคิดดังกล่าวทำให้การบริหารจัดการความรู้ (KnowledgeManagement-KM) เป็นเรื่องที่ทุกมิติในสังคมไทยไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน หรือแม้กระทั่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับชุมชนต่างให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างมาก ในทัศนะของผู้เขียนมองว่าองค์ประกอบหลักที่สำคัญประการหนึ่งของการจัดการความรู้คือ กระบวนการจัดการความรู้” (KM Process) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ไม่ได้ถือว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์แต่อย่างใด ในขณะที่ทุกวงการให้ความสำคัญและสนใจเป็นอย่างมาก แต่วงการบรรณารักษศาสตร์ของประเทศไทยกลับมีกิจกรรมในเรื่องดังกล่าวน้อยมากและจากการสนทนาอย่าง ไม่เป็นทางการกับผู้สอนและผู้บริหารที่ปฏิบัติงานในวงการดังกล่าว ทุกท่านตอบตรงกันเป็นเสียงเดียวกันว่า ยังมีความรู้ความเข้าใจที่ไม่ชัดเจน ตลอดจนไม่ทราบว่าจะนำแนวคิดดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในงานห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศได้อย่างไรนั่นคือที่มาของบทความนี้ซึ่งผู้เขียนในฐานะที่เคยบริหารงานห้องสมุดมาเป็นเวลาร่วม 8 ปี และได้ศึกษาแนวคิดการจัดการความรู้มาหลายปีจึงขอนำเสนอแนวคิดของการจัดการความรู้กับวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์โดยมีรายละเอียดที่สำคัญสองประการคือ ประการแรก เป็นทัศนะของการปรับเปลี่ยนมุมมองในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศเพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดของการจัดการความรู้และ ประการที่สอง เป็นข้อเสนอแนะหรือแนวทางของการปรับเปลี่ยนที่ยั่งยืนสำหรับการฝังรากของการจัดการความรู้ลงในกระบวนการของงานห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศ รายละเอียดทั้งสองมิติมีดังนี้ * อาจารย์ประจำ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต ** เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง บรรณารักษ์/นักสารสนเทศกับการจัดการ ความรู้ของกรมสุขภาพจิต วันที่ 23 มีนาคม 2548 ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี      มิติแรก การปรับเปลี่ยนมุมมองในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับงานห้องสมุดหรือ ศูนย์สารสนเทศเพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดของการจัดการความรู้ การขยายหรือปรับเปลี่ยนมุมมองที่เกี่ยวข้องกับงานห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศเพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดของการจัดการความรู้ ผู้เขียนขอนำเสนอรายละเอียดที่สำคัญ 5 ประการดังนี้ ประการแรก เป็นเรื่องเกี่ยวกับทรัพยากรและกระบวนการทำงานของห้องสมุดหรือศูนย์สาร- สนเทศ ผู้เขียนมีความเห็นว่ากระบวนการทำงานของห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศมีความสอดคล้องกับกระบวนการของการจัดการความรู้หลายประการ อาทิ มีกระบวนการจัดหา (Acquisition) การเลือก (Selecting) การเก็บรวบรวม (Collection) การจัดให้เป็นระบบ (Organization) การทำดัชนี (Indexing) และการจัดเก็บและค้นคืน (Storage and Retrieval) เป็นต้น หากแต่มีความแตกต่างกันในด้านทรัพยากร (Collection / Resources) หรือสิ่งที่ดำเนินการ นั่นคือ ในงานห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศจะดำเนินการกับสิ่งที่เราเรียกว่า ความรู้ที่ชัดแจ้ง” (Explicit Knowledge) หรือ สารสนเทศ” (Information) ซึ่งส่วนมากอยู่ในรูปแบบของเอกสารสิ่งพิมพ์ คู่มือ หรือสิทธิบัตร เป็นต้น แทนที่จะเป็น ความรู้โดยนัย” (Tacit Knowledge) ซึ่งเป็นความรู้ที่ไม่ปรากฏชัดเจนและส่วนมากเป็นความรู้หรือทักษะที่อยู่ในตัวคนหรือกระบวนการทำงาน ดังนั้น บรรณารักษ์หรือนักสารสนเทศจึงจำเป็นต้องขยายขอบเขตประเภทของทรัพยากรห้องสมุดจากความรู้ที่ชัดแจ้งหรือสารสนเทศไปสู่ความรู้โดยนัยให้มากขึ้น ประการที่สอง เป็นเรื่องของ เป้าหมายการทำงานของห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศ ซึ่งแตก ต่างจากเป้าหมายของการจัดการความรู้อย่างชัดเจน นั่นคือ การจัดการความรู้มีเป้าหมายที่จะตอบ- สนองเป้าหมายขององค์กรอย่างชัดเจนเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน หรือการเอาชนะธุรกิจโดยการสร้างกำไรให้เกิดขึ้น หรือเน้นที่การพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้โดยมีกระบวนการที่เป็นหัวใจสำคัญคือ การแบ่งปันความรู้” (Knowledge sharing) และ การสร้างความรู้ใหม่” (Knowledge creation) ซึ่งแตกต่างจากห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศที่มีเป้าหมายลอยๆ ไม่ได้ผูกติดหรือตอบสนองการดำเนินงานของหน่วยงานต้นสังกัดอย่างชัดเจนจึงทำให้บทบาทของห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศไม่สำคัญในทัศนะของผู้บริหารระดับสูงขององค์กร ดังนั้นห้องสมุดหรือศูนย์สาร- สนเทศจึงควรปรับเป้าหมายการทำงานของตนให้สอดคล้องและแนบแน่นกับเป้าหมายของหน่วยงานต้นสังกัดอย่างเป็นรูปธรรม สามารถเข้าใจและสื่อสารได้ง่าย ทั้งนี้เพื่อทำให้เกิดแนวทางสำหรับผู้ที่ทำงานทุกคนจะได้รับรู้และเข้าใจถึงเป้าหมายดังกล่าวอย่างชัดเจนซึ่งจะส่งผลต่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับทิศทางขององค์กรต้นสังกัด ประการที่สาม เป็นเรื่องบทบาทของห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศและบทบาทของผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่ในห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศทั้งสองประเด็นดังกล่าวผู้เขียนขอนำเสนอแนวคิดในรายละเอียดดังนี้ บทบาทของห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศ เนื่องจากสภาพของห้องสมุดมีความแตกต่างกันในหลากหลายมิติ ทั้งในด้านประเภทของห้องสมุด เป้าหมาย ทรัพยากร หรืองบประมาณที่ได้รับ ฯลฯ ทำให้การประยุกต์ใช้แนวคิดการจัดการความรู้แตกต่างกันออกไปบ้าง ทั้งนี้ผู้เขียนมองว่า เป้าหมายของหน่วยงานต้นสังกัดจะเป็นทิศทางของห้องสมุดแต่ละประเภท ซึ่งในทัศนะดังกล่าวดูเหมือนว่าห้องสมุดเฉพาะ (Special Library) น่าจะมีความได้เปรียบอย่างมากในการนำแนวคิดการจัดการความรู้ไปใช้ได้อย่างชัดเจนที่สุด ส่วนห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษานั้น (Academic Library) ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะการเรียนการสอนของสถาบันต้นสังกัด นั่นคือ หากสถาบันต้นสังกัดยังคงอยู่ในสภาพที่มีการเรียนการสอนที่หลากหลาย (Comprehensive University) ก็คงจะมีโอกาสน้อยกว่าสถาบันที่เน้นการวิจัยเป็นหลัก (Research University) แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าห้องสมุดของสถาบันที่เป็น Comprehensive University จะไม่สามารถนำแนวคิดการจัดการความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ ส่วนห้องสมุดโรงเรียน (School Library) ก็มีโอกาสที่ดีเนื่องจากแนวคิดการจัดการความรู้สามารถตอบสนองเป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษาได้อย่างชัดเจน ซึ่งสิ่งที่ห้องสมุดโรงเรียนสามารถกระทำได้คือ การสนับสนุนครูซึ่งได้เปลี่ยนบทบาทจากที่สอนเป็นหลักมาเป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) ในการเรียนรู้ของผู้เรียนคำถามของห้องสมุดโรงเรียนก็คือทำอย่างไรที่ห้องสมุดโรงเรียนจะสนับสนุนครูผู้สอนรวมทั้งมีบทบาทในการสร้างและสนับสนุนผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่จะเป็นผู้ที่ใช้ความรู้ในการศึกษาเรียนรู้และใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเต็มศักยภาพส่วนห้องสมุดประชาชน (Public Library) ก็ต้องตอบสนองวิถีชีวิตของชุมชนให้มากขึ้น มีกรณีตัวอย่างที่ดีหลายชุมชนที่ใช้กระบวน การจัดการความรู้ในการแก้ปัญหา สร้างความเข้มแข็ง และพัฒนาชุมชนของตนให้อยู่รอดและมีศักยภาพเพิ่มมากขึ้นผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซด์ของสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) - http://www.kmi.or.th บทบาทของบรรณารักษ์หรือผู้ที่ปฏิบัติงานในห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศ ผู้เขียนมองว่าบรรณารักษ์สามารถขยายบทบาทของตนเองโดยมีฐานะที่เป็นคนกลางซึ่งทำหน้าที่เชื่อมโยงหรืออำนวยความสะดวก (Knowledge Facilitation) ให้แก่ผู้ที่ทำงานในองค์กร(Knowledge Practitioner) ผู้ที่มีความรู้หรือผู้สร้างความรู้ (Knowledge Creator) ให้มาพบปะสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และอีกบทบาทหนึ่งที่สำคัญคือ การปรับบทบาทของตนให้เป็น ผู้บริหารจัดการความรู้” (Chief Knowledge Officer - CKO) ของหน่วยงาน นั่นคือ บรรณารักษ์จำเป็นจะต้องพัฒนาตนเองเพื่อให้มีบทบาทที่สำคัญดังนี้ 1)เป็นผู้กำหนดวิสัยทัศน์และกลยุทธ์การจัดการความรู้ขององค์กร 2) สนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กร 3)พัฒนาช่องทางและเครื่องมือเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ขององค์กร 4)พัฒนาฐานความรู้ 5)พัฒนาวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันภายในองค์กร 6)สนับสนุนและผลักดันให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในกระบวนการจัดการความรู้อย่างเหมาะสมและ 7) พัฒนาระบบการประเมินคุณค่าและมูลค่าความรู้ขององค์กร เป็นต้น ประการที่สี่ เป็นเรื่อง บริการของห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศ (Library Services) ผู้เขียนมีทัศนะว่าห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศควรขยายรูปแบบหรือกิจกรรมที่จัดหรือให้บริการ คำถามที่สำคัญคือ ทำอย่างไรที่จะทำให้บริการของห้องสมุดเข้าไปแนบแน่นกับกิจกรรมของผู้ใช้บริการซึ่งอาจจะเป็นการเรียน การสอนการทำงานประจำวัน หรือแม้กระทั่งการดำเนินชีวิตในชุมชนผู้เขียนเห็นว่าสิ่งสำคัญที่ห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศจำเป็นจะต้องทำอย่างรีบด่วนคือการจัดทำแผนที่ความรู้(Knowledge Map) ขององค์กร นั่นคือ เป็นการจัดทำแผนผังที่บอกถึงขอบเขตของความรู้ แหล่งความรู้ ผู้ที่มีความรู้รวมถึงวิธีการที่จะเข้าถึงความรู้เหล่านั้น นอกจากนั้นควรพัฒนา ท่าความรู้” (Knowledge Portal หรือ Web Portal) ซงจะเป็นทางผ่านเชื่อมต่อไปยังเว็บอื่น ๆ โดยอาศัยเครื่องมือสืบค้นเพื่อการเข้าถึงความรู้ และการจัดทำ ฐานความรู้” (Knowledge Base) ซึ่งจะเป็นแหล่งที่เก็บความรู้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เก็บความรู้ไว้เป็นหมวดหมู่และเป็นระดับขั้นของความรู้ รวมทั้งมีระบบดัชนีเพื่อช่วยในการสืบค้น อนึ่งฐานความรู้ของห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศควรขยายขอบ เขตลักษณะความรู้ที่จัดเก็บออกไปเป็นกรณีศึกษา (Case Study) แนวทางการทำงานหรือการปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) หรือฐานประสบการณ์หรือบทเรียนที่ผ่านมา (Experience Base / Lesson Learned) เป็นต้น ฐานความรู้ดังกล่าวคาดว่าจะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานในองค์กรเป็นอย่างมากนอกจากบริการที่กล่าวมาแล้วข้างต้นผู้เขียนใคร่ขอเสนอแนะกิจกรรมหรือบริการที่จะทำให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงความรู้ (Knowledge Conversion) ในสองมิติคือ การเปลี่ยนแปลงความรู้โดยนัยไปเป็นความรู้โดยนัยและเป็นความรู้ที่ปรากฏชัดเจน(Tacit to Tacit and Explicit Knowledge) ได้อีกด้วยคือ การจัดเสวนาความรู้ (Knowledge Dialog) เวทีความรู้ (Knowledge Forum) ตลาดนัดความรู้ (Knowledge Market) รวมทั้งการจัดมุมความรู้ที่น่าสนใจ (Knowledge Corner) กิจกรรมดังกล่าวจะทำให้ความรู้ได้แพร่กระจายทั่วทั้งองค์กรสามารถสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นรวมทั้งสามารถกระตุ้นการเรียนรู้ขององค์กรได้ไม่มากก็น้อย ประการสุดท้าย เป็นเรื่องของ ผู้ใช้ ผู้เขียนมองเห็นว่าห้องสมุดจะให้ความสำคัญและสนใจ อยู่กับผู้ที่ใช้ห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศเท่านั้นแต่ยังไม่ค่อยให้ความสำคัญกับกลุ่มที่ไม่ใช้เท่าใดนัก นอกจากนั้นก็ยังไม่ค่อยให้ความสนใจถึงความแตกต่างระหว่างผู้ใช้กลุ่มต่างๆมากหากต้องการประยุกต์แนวคิดการจัดการความรู้เข้ามาใช้ในงานห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศผู้ปฎิบัติงานจำเป็นที่จะต้องขยายขอบเขตไปยังบุคคลที่เป็นผู้เชี่ยวชาญหรือผู้รู้ในด้านต่าง ๆ ในฐานะที่เป็น ผู้สร้างความรู้ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานของตน ทั้งนี้โดยจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการถ่ายทอด แลกเปลี่ยน และแบ่งปันความรู้ให้เกิดขึ้น ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ อาจมีหลายท่านกล่าวว่า ห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศก็ทำแล้วนะแต่ผู้เขียนมองว่า สิ่งที่ทำอยู่เป็นเพียง รูปแบบซึ่งยังไม่ได้เน้นที่ สาระหรือความรู้ซึ่งต้องตอบสนองและแนบแน่นอยู่กับวิสัยทัศน์พันธกิจหรือยุทธศาสตร์ขององค์กรและของงานที่ผู้ใช้ห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศเกี่ยวข้องด้วย มิติที่สอง ข้อเสนอแนะ / แนวทางของการปรับเปลี่ยนที่ยั่งยืน
สำหรับการฝังรากการจัดการความรู้ลงในศาสตร์และงานห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศ
ผู้เขียนมองเห็นโอกาสที่จะนำแนวคิดการจัดการความรู้เข้าไปประยุกต์ใช้ในศาสตร์และ งานห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศ ทั้งนี้ความสำเร็จดังกล่าวตั้งอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่สำคัญคือ สมองประสานใจนั่นคือ ผู้ที่อยู่ในวิชาชีพจะต้องมีทัศนะ ความคิดเห็น และความรู้สึกเชิงบวก รวมทั้งมีความมั่นใจและเชื่อมั่นว่าจะสามารถนำแนวคิดดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม สำหรับแนว ทางและข้อเสนอแนะที่จะทำให้การจัดการความรู้ฝังรากลึกลงไปในศาสตร์และงานห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศ ผู้เขียนขอเสนอแนะในเชิงโครงสร้างและการปฏิบัติดังนี้ โรงเรียนบรรณารักษ์ควรทบทวน และปรับหลักสูตรให้ตอบสนองกับแนวคิดการบริหารจัดการความรู้ให้มากขึ้น ผู้เขียนไม่คิดว่า การเปิดรายวิชา การจัดการความรู้เพียงรายวิชาเดียวจะทำให้แนวคิดการจัดการความรู้ฝังรากลึกลงไปในงานห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศได้ หากแต่ต้องบูรณาการแนวคิดดังกล่าวลงไปในหลายๆรายวิชาอาทิ การบริหารห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศ การพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด การบริการ การพัฒนาระบบการจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ รวม ทั้งรายวิชาอื่น ๆ ด้วยจึงจะทำให้การจัดการความรู้ฝังรากลึกลงไปในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และงานของห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศได้อย่างครบถ้วนในทุกมิติ โรงเรียนบรรณารักษ์ และสมาคมวิชาชีพ เช่น สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ควรมีบทบาทในการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด หลักการ และแนวปฏิบัติของการประยุกต์ใช้การจัดการความรู้กับงานห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศโดยผ่านกระบวนการฝึกอบรมสัมมนา เสวนา รวมทั้งฝึกปฏิบัติ เพื่อให้ผู้ที่ทำงานสามารถนำความรู้ดังกล่าวมาใช้ในการพัฒนาและขยายขอบเขตของงานที่ทำได้ และที่สำคัญคือการให้ภาพและมุมมองของการปรับเปลี่ยน องค์กร (Organizational Transformation) ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเชิงรูปแบบ (Form) หากแต่ไม่ได้เปลี่ยนแก่นแท้(Essence)หรือสาระของวิชาชีพและงานที่ยังคงให้ความสำคัญกับ ผู้ใช้และการบริการเป็นหลัก ห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศควรทบทวนบทบาทของตนเองและตอบให้ได้ว่า บทบาทหรืองานที่ตนทำอยู่นั้นตอบสนองต่อเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ หรือยุทธศาสตร์ใดของหน่วยงานต้นสังกัดหากห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศใดมีความพร้อมที่จะนำแนวคิดการจัดการความรู้ไปใช้ ผู้เขียนขอเสนอแนะว่าควรมีการจัดปรับโครงสร้างของการทำงาน นั่นคือ จัดให้มีหน่วยงานที่ดำเนิน งานและรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการควา
หมายเลขบันทึก: 154853เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2007 23:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท