สัตว์น้ำบ่งชี้คุณภาพน้ำในภูมิปัญญาไทย


: สัตว์แต่ละประเภท / ชนิดสามารถปรับตัวกับปริมาณออกซิเจนในน้ำได้ไม่เท่ากันคือบางประเภท / ชนิดสามารถทนอยู่ในสภาพออกซิเจนน้อยได้ ความสามารถที่หลากหลายนี้ขึ้นอยู่กับ metabolism
สัตว์น้ำบ่งชี้คุณภาพน้ำในภูมิปัญญาไทย

คนไทยไม่เพียงแต่สังเกตพฤติกรรมของสัตว์เพื่อคาดหมายลักษณะอากาศรอบตัวเท่านั้น แต่คนไทยยังสังเกตพฤติกรรมของสัตว์น้ำเป็นสัญญาณบอกถึงคุณภาพน้ำกันมาแต่ดั้งเดิมด้วย โดยดูประเภทสัตว์ที่ขึ้นมาลอยตัวหายใจบนผิวน้ำ
          กุ้ง                     ชอบน้ำสะอาด ถ้าขึ้นมามากๆแสดงว่าน้ำเริ่มไม่ดี
          ปลาซิว               ถ้าขึ้นมามากๆ แสดงว่าคุณภาพน้ำแย่ลง
          ปลาตะเพียน       ถ้าขึ้นมามากๆ แสดงว่าคุณภาพน้ำแย่ลงไปอีก
          ปลาดุก               ถ้าขึ้นมามากๆ แสดงว่าคุณภาพน้ำแย่ลงไปอีก
          ปลาไหล             ถ้าขึ้นมามากๆ แสดงว่าคุณภาพน้ำแย่ลงไปอีก
          หอยฝาเดียว       ถ้าขึ้นมามากๆ แสดงว่าน้ำเสียแล้ว
     หมายเหตุ : สัตว์แต่ละประเภท / ชนิดสามารถปรับตัวกับปริมาณออกซิเจนในน้ำได้ไม่เท่ากันคือบางประเภท / ชนิดสามารถทนอยู่ในสภาพออกซิเจนน้อยได้ ความสามารถที่หลากหลายนี้ขึ้นอยู่กับ metabolism ( กระบวนการเผาผลาญอาหารเพื่อเปลี่ยนมาเป็นพลังงานในสิ่งมีชีวิต ) ของสัตว์แต่ละประเภท / ชนิด และลักษณะทางกายภาพ ( เทคนิค / อวัยวะหายใจ ) ของพวกมันกับสิ่งเร้าเฉพาะหน้าเท่านั้นเอง เช่น เห็นกระดูกวางไว้แล้วก็ดีใจเพราะได้กิน อารมณ์เป็นเรื่องของความรู้สึก เป็นเรื่องการเรียนรู้ระยะหลัง สำหรับสัตว์นั้นสัญชาตญาณเป็นตัวคุมทุกอย่าง
     "แล้วเขามีการค้นพบด้วยว่าพฤติกรรมของสัตว์เกิดขึ้นโดยมีฮอร์โมนซึ่งสร้างจากต่อมใต้สมองเป็นตัวควบคุม คือมันจะมีตัวคอมพิวเตอร์เล็กๆกำหนดพฤติกรรมของสัตว์อยู่ในสมองแล้วจะมีฮอร์โมนตกทีละตัว เพื่อสั่งการให้สัตว์รู้ว่าถึงเวลาทำรัง ขยายพันธุ์ เลี้ยงลูก อพยพ มันจะมี
ฮอร์โมนเป็นตัวกำหนด จึงไม่ต้องมีใครมาบอกว่าถึงเวลาทำโน่น ทำนี่แล้วนะ" อาจารย์จารุจินต์อธิบายพร้อมทั้งยกตัวอย่างผลงานการทดลองที่ทำในสหรัฐอเมริกาเป็นตัวอย่างว่า
     " เขามีการทดลองกับนกที่อยู่ผัวเดียวเมียเดียวโดยลองล้างฮอร์โมนที่ควบคุมพฤติกรรมการมีคู่ของมันออก แล้วเอาฮอร์โมนของนกที่มีหลายเมียมาแปะแทน ปรากฎว่าพฤติกรรมมันเปลี่ยนไปเป็นมีเมียเต็มเลย อันนี้อเมริกาเขาทดลองมาแล้ว"
อย่างไรก็ดีพฤติกรรมของสัตว์ก็มีการเบี่ยงเบนไปเหมือนกัน โดยต้นเหตุของปัญหาคือ homone like หรือสารที่คล้ายฮอร์โมนซึ่งมีปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อมมากขึ้น อันนี้เป็นผลพวงของยาฆ่าแมลงและสารเคมีอื่นๆ อย่างจระเข้บางตัว เมื่อถึงเวลาที่ฮอร์โมนซึ่งควบคุมการสร้างไข่ควรเข้าไปจับ แต่ปรากฏว่ามี homone like ไปจับแทน จระเข้พวกนี้ก็จะไม่สร้างไข่เลย เป็นหมันกันเป็นแถว เพราะเมื่อต่อมที่จะสร้างไข่มันโดน homone like มาจับเต็มแล้ว ฮอร์โมนสร้างไข่ตัวจริงก็จะจับไม่ได้ เนื่องจากร่างกายเราส่วนใหญ่เป็นระบบล็อกกับคีย์ พอมีอะไรมาเกาะพอดีแล้วอย่างอื่นก็มาเกาะไม่ได้ แม้แต่จะเป็นฮอร์โมนตัวจริงมาก็เกาะไม่ได้ มันปิดหมดเลย
     แม้ว่าพฤติกรรมของสัตว์จะเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่สัญชาตญาณที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าธรรมชาติของพวกมันยังอยู่ครบถ้วนให้ผู้คนที่ช่างสังเกตได้ใช้ประโยชน์ ดั่งที่อาจารย์จารุจินต์ ว่า
     " คนสังเกตพฤติกรรมของสัตว์เพื่อมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันของเราเอง เราเป็นผู้ได้ประโยชน์จากสัตว์ สัตว์ไม่ได้ประโยชน์จากเราเลยอันนี้เป็นความฉลาดของคน"
แต่ถึงวันคนกำลังก้าวขึ้นสหัสวรรษใหม่ โดยปล่อยให้ความฉลาดอีกด้านหนึ่งของพวกเขาสูญหายไปด้วย

http://www.nicaonline.com/articles8/site/view_article.asp?idarticle=110

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15475เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 15:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 23:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท