พระราชบัญญํตส่งเสริมการเดินเรือ


พระราชบัญญัติ ส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ. 2521 ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2521 เป็นปีที่ 33 ในรัชกาลปัจจุบัน
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติส่งเสริมการ พาณิชยนาวี พ.ศ. 2521"
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
[รก.2521/143/1พ./18 ธันวาคม 2521]
มาตรา 3 ให้ยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 215 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2515
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
"การพาณิชยนาวี" หมายความว่า การขนส่งทางทะเล การประกันภัยทางทะเล การเดินเรือ กิจการอู่เรือและกิจการท่าเรือ และหมายความรวมถึงกิจการอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงหรือเป็น ส่วนประกอบกับกิจการดังกล่าวตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
"การขนส่งทางทะเล" หมายความว่า การขนส่งของโดยเรือ จากประเทศไทยไปยังต่างประเทศ หรือจากต่างประเทศมายังประเทศไทย หรือจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งนอกราชอาณาจักร
"เรือ" หมายความว่า เรือเดินทะเลที่ใช้ในการขนส่งทางทะเล
"เรือไทย" หมายความว่า เรือไทยตามกฎหมายว่าด้วยเรือไทย ที่ใช้ในการขนส่งทางทะเล
"ผู้ประกอบการขนส่งทางทะเล" หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจ การขนส่งทางทะเลซึ่งอยู่ในประเทศไทยและรับทำการขนส่งทางทะเล และ หมายความรวมถึงสาขาและตัวแทนของผู้ประกอบธุรกิจการขนส่งทางทะเล ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศและประกอบการขนส่งทางทะเลใน ประเทศไทย รวมทั้งผู้กระทำการเป็นนายหน้าเตรียมหาของในประเทศไทย เพื่อการขนส่งทางทะเล
"ผู้ส่งของ" หมายความว่า เจ้าของของหรือตัวแทนซึ่งส่งของ ไปยังหรือสั่งหรือนำของมาจากต่างประเทศโดยทางทะเล
"ของ" หมายความว่า สินค้า สิ่งของ หรือสัตว์มีชีวิต
"ท่าเรือ" หมายความว่า สถานที่สำหรับให้บริการแก่เรือในการ จอดเทียบ บรรทุกหรือขนถ่ายของ
"กิจการท่าเรือ" หมายความว่า ธุรกิจเกี่ยวกับท่าเรือ และ หมายความรวมถึงธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงหรือเป็นส่วนประกอบกับ ท่าเรือตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
"กิจการอู่เรือ" หมายความว่า ธุรกิจต่อ ซ่อม หรือซ่อมบำรุงเรือ หรือให้บริการติดตั้งหรือซ่อมเครื่องเรือหรืออุปกรณ์การเดินเรือของเรือ
"คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการส่งเสริมการ พาณิชยนาวี
"สำนักงาน" หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม การพาณิชยนาวี
"พนักงานเจ้าหน้าที่" หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งเพื่อ ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราช บัญญัตินี้
มาตรา 5 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการ ส่งเสริมการพาณิชยนาวี ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน ปลัดกระทรวงคมนาคมและปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นรอง ประธาน ปลัดกระทรวงการคลังหรือผู้แทน ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมหรือผู้แทน ผู้บัญชาการทหารเรือหรือ ผู้แทน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหรือ ผู้แทน เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือผู้แทน อธิบดี กรมการค้าต่างประเทศหรือผู้แทน อธิบดีกรมการปกครองหรือผู้แทน อธิบดีกรมศุลกากรหรือผู้แทน และประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย หรือผู้แทน เป็นกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกไม่เกินสี่คน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทยและมีความรู้หรือความจัดเจน ในการพาณิชยนาวี การเศรษฐกิจ การขนส่ง กฎหมาย การต่างประเทศ การเกษตร หรือการอุตสาหกรรม
ให้เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวีเป็นกรรมการ และเลขานุการ
มาตรา 7 ผู้มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ห้ามมิให้เป็น กรรมการผู้ทรงวุฒิ
(1) เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
(2) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(3) เป็นบุคคลล้มละลาย
(4) เป็นข้าราชการการเมือง
(5) เป็นกรรมการพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรค การเมือง
มาตรา 8 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตาม มาตรา 6 กรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) คณะรัฐมนตรีให้ออก
(4) มีลักษณะต้องห้ามตาม มาตรา 7
เมื่อกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ คณะรัฐมนตรี อาจแต่งตั้งผู้อื่นเป็นกรรมการแทนได้
กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตามวรรคสองอยู่ในตำแหน่งตามวาระ ของกรรมการที่ตนแทน
มาตรา 9 ในการประชุมของคณะกรรมการ ถ้าประธานกรรมการ ไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการซึ่งได้รับ มอบหมายจากประธานเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานและรองประธาน ไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่ง เป็นประธานในที่ประชุมแทน
มาตรา 10 การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุม ไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนของกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการ คนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธาน ในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา 11 คณะกรรมการมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) ให้คำปรึกษาต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการพาณิชยนาวีตามที่ คณะรัฐมนตรีขอให้พิจารณา
(2) เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการพัฒนา การ ส่งเสริม การควบคุม การคุ้มครอง และการประสานงานการพาณิชยนาวี โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้เสนอความเห็นเกี่ยวกับการกำหนดมาตรการ
(ก) ในการเสริมสร้างเรือไทยให้มีจำนวนและความสามารถ ในการดำเนินการขนส่งทางทะเลสูงขึ้น
(ข) เพื่อจัดให้มีและหรือส่งเสริมสถานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และ คนประจำเรือ ตลอดจนผู้ประกอบธุรกิจการพาณิชยนาวีให้เพียงพอ กับความ ต้องการของประเทศและให้เข้ามาตรฐานสากล
(ค) ในการส่งเสริมและควบคุมเกี่ยวกับการขนส่งทางทะเล การประกันภัยทางทะเล การเดินเรือ กิจการอู่เรือ และกิจการท่าเรือรวมทั้ง การสื่อสารและเครื่องช่วยในการเดินเรือ และ
(ง) เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองผู้ประกอบการขนส่งทางทะเล ซึ่งสามารถถือกรรมสิทธิ์เรือไทยได้ และผู้ส่งของซึ่งอยู่ในประเทศไทย
(3) จัดทำข้อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีโดยหารือกับส่วนราชการของ ราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ราชการบริหาร ส่วนท้องถิ่น องค์การของรัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเกี่ยวกับ การจัดตั้ง ยุบรวม แยก และเลิกท่าเรือและกิจการท่าเรือตลอดจน โครงสร้างและแผนงานในการขยายงาน การลงทุน การวางแผนพัฒนา ท่าเรือและกิจการท่าเรือของส่วนราชการของราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น องค์การของรัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ
(4) เสนอความเห็นหรือให้คำแนะนำต่อคณะรัฐมนตรีในการออก กฎหมายเพื่อการพัฒนา การส่งเสริม การควบคุม การคุ้มครอง และการ ประสานงานการพาณิชยนาวี
(5) เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีการดำเนินการ ให้เป็นไปตามความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการพาณิชยนาวี
6) เสนอความเห็นหรือให้คำแนะนำต่อรัฐมนตรีในการออก กฎกระทรวง ประกาศและคำสั่งตามพระราชบัญญัตินี้
(7) กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขให้ผู้ได้รับสิทธิและประโยชน์ ปฏิบัติ เพื่อควบคุมการใช้สิทธิและประโยชน์ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(8) ประสานโครงการและแผนงานเกี่ยวกับการพาณิชยนาวีและ การควบคุมการเดินเรือระหว่างส่วนราชการของราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น องค์การของรัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจและเอกชน
(9) ปฏิบัติการอื่นใดที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกำหนด ให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการหรือที่คณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีมอบหมาย คณะกรรมการอาจมอบหมายหน้าที่ตาม (8) และ (9) ให้ สำนักงานปฏิบัติแทนได้
มาตรา 12 คณะกรรมการอาจตั้งบุคคลใดเป็นคณะกรรมการ เฉพาะเรื่องหรือคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่ง อย่างใดตามที่คณะกรรมการจะมอบหมายก็ได้
ให้นำ มาตรา
9 และ มาตรา 10 มาใช้บังคับแก่การประชุมของ คณะกรรมการเฉพาะเรื่องและคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม
มาตรา 13 คณะกรรมการหรือสำนักงาน มีอำนาจเรียกเป็น หนังสือให้บุคคลใดมาให้ข้อเท็จจริง หรือให้ส่งเอกสารใดอันเกี่ยวกับกิจการ พาณิชยนาวีได้
มาตรา 14 ให้มีสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวี ขึ้นในกระทรวงคมนาคม มีหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานงานเกี่ยวกับการ พาณิชยนาวี
(2) ศึกษาและวิเคราะห์โครงการ แผนงาน หรือมาตรการ เกี่ยวกับการพาณิชยนาวีเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ
(3) ศึกษาและวิจัย และประสานงานในทางวิชาการเกี่ยวกับการ ขนส่งทางทะเล การประกันภัยทางทะเล การเดินเรือ การสื่อสารและ เครื่องช่วยในการเดินเรือ กิจการอู่เรือและกิจการท่าเรือ และรวบรวม ข้อมูลในทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนข้อมูลดังกล่าวกับ สถาบันทางวิชาการอื่น
(4) ปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
(5) ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระราช บัญญัตินี้ หรือปฏิบัติการตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกำหนด ให้เป็น หน้าที่ของสำนักงาน
มาตรา 15 ให้มีเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวี คนหนึ่งมีหน้าที่บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงาน และจะให้มีรองเลขาธิการเป็นผู้ช่วยปฏิบัติราชการด้วยก็ได้
มาตรา 16 ในการส่งเสริมการพาณิชยนาวี รัฐบาลอาจกำหนด มาตรการและหรือให้สิทธิและประโยชน์ดังต่อไปนี้
(1) กำหนดให้การขนส่งของทางทะเลระหว่างประเทศไทยกับ ต่างประเทศ แต่ละประเทศต้องใช้บริการขนส่งโดยเรือไทยไม่น้อยกว่า อัตราส่วนของปริมาณของและของค่าระวางที่มีการขนส่งระหว่างกันตามที่ กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
(2) ให้ผู้ถือหุ้นของนิติบุคคลที่ประกอบการขนส่งทางทะเลและที่ถือ กรรมสิทธิ์เรือไทยหรือที่ประกอบกิจการอู่เรือ ตามที่กำหนด ได้รับยกเว้นหรือ ลดอัตราภาษีเงินได้สำหรับเงินปันผลที่ได้รับจากนิติบุคคลดังกล่าว โดยตรา เป็นพระราชกฤษฎีกาตามประมวลรัษฎากร
(3) ให้ผู้ส่งของซึ่งส่งของที่เป็นผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์จากประเทศไทย ออกไปยังต่างประเทศโดยเรือไทย หรือสั่งหรือนำของจากต่างประเทศ เข้ามายังประเทศไทยโดยเรือไทย มีสิทธิหักเงินจำนวนไม่เกินร้อยละห้าสิบ ของค่าระวางและหรือเงินอย่างอื่นที่ได้เสียไปตามปกติในการขนส่งของ ดังกล่าว ออกจากเงินได้สุทธิหรือกำไรสุทธิ แล้วแต่กรณี โดยตราเป็น พระราชกฤษฎีกาตามประมวลรัษฎากร
พระราชกฤษฎีกาตาม (1) (2) และ (3) จะกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้มาตรการและการให้สิทธิและประโยชน์ ดังกล่าวไว้ด้วยก็ได้
มาตรา 17 รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวงในเรื่องดังต่อไปนี้ ทั้งหมด หรือบางเรื่องได้ คือ
(1) กำหนดของที่ทางราชการ องค์การของรัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ สั่งหรือนำเข้ามาจาก
 
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15423เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 11:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 15:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท