|
||||
|
||||
|
||||
จังหวัดที่พนักงานเจ้าหน้าที่เฉื่อยเนือยกฎหมายก็ไม่ศักดิ์สิทธิ์
จังหวัดที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประพฤติมิชอบ
กฎหมายประมงก็ถูกเลือกใช้ไปในทางเอื้อประโยชน์กับการทำลายทะเลการที่กฎหมายศักดิ์สิทธิ์หรือไม่ขึ้นอยู่กับพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัตินี่เองที่ทำให้มีการอ้างกันว่า
กฎหมายดีแต่การปฎิบัติแย่ ซึ่งเป็นความจริงเพียงบางส่วน
ทั้งนี้เพราะปรากฎการณ์ที่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถเลือก
ปฎิบัติตามกฎหมายประมงแตกต่างกันตามความชอบของบุคคล
เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทั่วไปและเป็นประสบการณ์ ซ้ำซาก
ได้สะท้อนให้เห็นว่า กฎหมายนั่นเองที่ต้องได้รับการแก้ไข - กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทะเลและทรัพยากรชายฝั่งมีจำนวนมาก กฎหมายแต่ละฉบับต่างให้อำนาจหน่วยงาน ราชการแต่ละหน่วยงานมีอำนาจการจัดการเหนือพื้นที่ทะเล ชายฝั่งและเกาะ ตลอดจนการควบคุมจำนวนเรือและเครื่องมือการประมง เมื่อหน่วยงานราชการที่มีอำนาจต่างทำงานโดยกฎหมายต่างฉบับแต่บังคับในพื้นที่เดียวกันจึงเกิดความขัดแย้ง และซ้ำซ้อนกัน จนประชาชนโดยเฉพาะชาวประมงพื้นบ้านซึ่งต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายไม่สามารถปฏิบัติตามกฎหมายได้ นอกจากนี้ความซ้ำซ้อนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดช่องโหว่ของกฎหมาย และประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาลดลง - โครงสร้างอำนาจและกระบวนการปฏิบัติตามกฎหมาย รวมศูนย์อำนาจใหญ่อยู่ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับกรมประมง การดูแลรักษาทะเลซึ่งเป็นกิจการสาธารณะซึ่งประชาชนควรร่วมกันดำเนินการ จึงถูกทำให้เป็นกิจการของหลวงประชาชนไม่เกี่ยว ถ้าจะเกี่ยวต้องได้รับการอนุมัติหรือคำสั่งจากรัฐมนตรี สังคมไทยจึงไม่สามารถระดมพลังของคนในสังคมเข้าร่วมแก้ไขปัญหาของชาติได้อย่างเป็นจริง ประการสำคัญการรวมศูนย์อำนาจทำให้กลุ่มหรือองค์กรชุมชนที่พยายามดูแลรักษาทรัพยากรชายฝั่งและทะเล นอกจากไม่ได้รับการสนับสนุนแล้ว บางกรณีถูกตั้งข้อหาว่า ทำเกินหน้าที่ของพลเมือง บางกรณีกลายเป็นผู้กระทำผิดกฎหมาย การอาสาของประชาชนเพื่อดูแลรักษาทะเลเป็นการอาสาเพื่อทำความดีให้สังคม ระบบกฎหมายที่กีดกันและให้โทษกับผู้อาสาทำความดีจึงไม่ชอบธรรม และจะนำพาประเทศไปสู่ปัญหา |
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย สามารถ หล้าศรี ใน กฏหมายที่เกี่ยวกับประมงG.806
คำสำคัญ (Tags)#uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15419, เขียน: 15 Feb 2006 @ 11:18 (), แก้ไข: 03 May 2012 @ 15:58 (), สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ, อ่าน: คลิก
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก