ปัญหาการศึกษาชาติ : การประยุกต์ใช้ Integrated Innovation ในการจัดการ


ปัญหา : ความแตกต่างระหว่างสภาพจริงกับสภาพที่ต้องการให้เกิดขึ้น
ปัญหาการศึกษาชาติ; กับการประยุกต์ใช้ Integrated  Innovation[1] ในการจัดการ พิสุทธิ์  บุญเจริญ [2]******************ความนำ   เมื่อได้รู้จัก  Disruptive Innovation [3] ผมก็เริ่มเสาะแสวงหาองค์ความรู้  นวัตกรรมตามแนวคิดนี้               โดยเฉพาะที่ประยุกต์ใช้ในวงการศึกษาของไทยเราตลอดมาเพื่อนำมาใช้ตรวจสอบองค์ความรู้ ความเข้าใจของตนเองที่มีต่อ คำ นี้ กับทั้งเพื่อใช้ในการอ้างอิงเพื่อต่อยอด  แต่ยังไม่ได้พบ             แนวคิดของเคลย์ตัน  คริสเทนเซนต์ เจ้าของ  Disruptive Innovation นั้น  พอสรุปสาระสำคัญ ได้ว่า เป็นการใช้  วัตกรรมและเทคโนโลยี่เป็นตัวขับเคลื่อน   สามารถเกิดโดยลำพังโดยอุตสาหกรรมหรือธุรกิจ  องค์ประกอบสำคัญคือความต่อเนื่องในการพัฒนา   เป็นการวางแผนในระยะสั้น เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว   ความสามารถในการแข่งขันสามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและมีพลวัตรสูงเพราะมีการเปลี่ยนผู้นำตลาดอยู่ตลอดเวลา   ในที่นี้ผู้เขียนเองได้กำลังพยายามคิดค้น เสาะแสวงหา สิ่งนี้อยู่เสมอมาแหละต่อไปนี้ ก็จึงเป็นหนึ่งความพยายามประยุกต์แนวคิดดังกล่าว มาใช้ในวงการศึกษาไทยเราครับ.โดยเฉพาะ ในการจัดการการศึกษาลองพิจารณาติดตามดูนะครับ !! Problem  Oriented Solving  กับการจัดการปัญหาการศึกษาชาติ ในแวดวงวิชาการแล้ว น้อยท่านนักที่จักไม่รู้จัก คำ  ปัญหาการศึกษาหลายต่อหลายท่านที่มีประสบการณ์กับการ แก้ปัญหาการศึกษา มาก่อนแล้วคงตระหนักแก่ใจแล้วว่า มันหนักหนาสาหัสเอาการทีเดียวแต่ละท่าน  แต่ละหน่วยงาน แต่ละสถาบันต่างก็สรรหาสารพัดนวัตกรรม ทั้งวิธีการ  เทคนิค รูปแบบ ยุทธศาสตร์ อำนาจหน้าที่แห่งตนมาใช้เพื่อการนี้ผลที่เกิดปรากฏให้เห็นเด่นชัดก็คือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กต่ำ....ตกซ้ำซาก (ช่างเหมือนกับภาวะน้ำท่วมซ้ำซาก  ยากจนซ้ำซาก  ฝนแล้งซ้ำซากประมาณนี้ !!)บริบทจำเป็นที่ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการปัญหาการศึกษาพึงรับรู้รับทราบร่วมกัน มีมากมายสุดแต่ใครจะนำมาเป็นตัวชี้นำในการจัดการปัญหาดังกล่าวในที่นี้ผู้เขียนใคร่ขอหยิบยกเอาประเด็นที่เห็นว่า มีพลัง พอที่จะนำมาเป็นตัว นำพา ไปสู่การจัดการปัญหาการศึกษา ดังกล่าวได้  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่ำอันเป็นสภาพปัญหาที่เคยเป็นมา  เป็นอยู๋ในปัจจุบันและคงมีอยู่สืบต่อไปอีก (แน่ๆๆ หากแก้ไขไม่สำเร็จ)        อย่างเช่นจากคำบรรยายของผู้บริหารระดับสูงสุดของวงการศึกษาไทย ณ บัดนี้ ( กันยายน 2550)  ก็ยังพบว่า  คุณภาพการศึกษายังด้อย จากการติดตามเรื่องที่ สมศ. ได้ประเมินคุณภาพภายนอกโดยการประเมินโรงเรียนจำนวนกว่า ๑๐,๐๐๐ โรงเรียน รอบแรกยังเป็นเพียงการทดสอบเครื่องมือ แต่ในรอบที่ ๒ อยู่ในขั้นที่สามารถรับรอง หรือไม่รับรอง และ เป็นที่ชัดเจนว่า ผลการประเมินยังไม่ดีขึ้น   หากคุณภาพการศึกษาไม่ดี ไม่ส่งผลไปสู่การพัฒนาให้มีคุณภาพสูงขึ้น ยุทธศาสตร์การจะที่ทำให้สังคมเป็นฐานความรู้ ทำให้ประเทศชาติเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ พัฒนาได้ แข่งขันได้ ก็จะเพียงความฝันที่ไม่อาจจะทำให้เป็นความจริง[4] ต่อประเด็นการหาทางจัดการคุณภาพการศึกษาชาตินั้น ใคร่ขอหยิบยกคำ  คุณภาพการศึกษา มาอธิบายพอสังเขปเสียก่อน  ดังนี้        เมื่อเอ่ยถึงคำ คุณภาพการศึกษา ย่อมต้องทำความรู้จักและสร้างความคุ้นเคยกับคำที่เกี่ยวเนื่องเช่น   มาตรฐานคุณภาพการศึกษา  เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการศึกษา  ซึ่งต้องนำองค์ความรู้ [Body  of  knowledges] เรื่อง  ดัชนี [Indicators / PI : Performance  Indicator / KPI : Key Performance  Indicator ] ข้อมูล  สารสนเทศ [Data & Information] การวัดและประเมินผล   โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประยุกต์ใช้ นวัตกรรม [Innovotion] ที่เหมาะสมมาใช้เป็นกลไกสำคัญในการดำเนินในการพัฒนา คุณภาพการศึกษา ในลักษณะต่างๆ (ดังเช่น การใช้สูตรการจัดการปัญหาการศึกษา  P  =  C – F [5] ที่ผู้เขียนกำลังพยายามและตั้งใจให้เกิดขึ้นเป็น  Disruptive  Innovation ในวงการศึกษา       ต่อประเด็นที่จั่วหัวเรื่องไว่ว่า Problem  Oriented Solving  กับการจัดการปัญหาการศึกษาชาติ; กรณีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ นั้นเห็นว่า ภายใต้ความพยายามอย่างยิ่งยวดของผู้มีส่วนได้เสีย [Stakeholders] ทั้งในระดับหน่วยงาน องค์กร สถาบันหรือแม้แต่นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลายในการดำเนินจัดการกับ ปัญหาหารศึกษา  ที่ได้ทุ่มเทสรรพทรัพยากรทางการบริหารจัดการทั้งด้านกำลังคน งบประมาณ  เทคนิคการบริหารจัดการ  เวลา วัสดุอุปกรณ์มาตลอด แต่เราท่านก็ยังหนีห่างจาก  คุณภาพการศึกษายังด้อย ซึ่งหาก....หากคุณภาพการศึกษาไม่ดี ไม่ส่งผลไปสู่การพัฒนาให้มีคุณภาพสูงขึ้น ยุทธศาสตร์การจะที่ทำให้สังคมเป็นฐานความรู้ ทำให้ประเทศชาติเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ พัฒนาได้ แข่งขันได้ ก็จะเพียงความฝันที่ไม่อาจจะทำให้เป็นความจริง..แต่ยังไม่มีใครชี้ให้เห็นถึงสาเหตุของคุณภาพที่ตกต่ำ อันเกิดจากหลักสูตร คุณภาพครู การขาดแคลนครู การให้ชั้นเรียนมีขนาดใหญ่เกินไป หรือการไม่นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเรียนการสอน จึงมอบหมายให้ สกศ. วิเคราะห์ให้ถึงรากเหง้าของปัญหา เพื่อจะได้แก้ไขให้ถูกจุด และสามารถประเมินได้  ซึ่งเป็นคำกล่าวของผู้บริหารการศึกษาระดับสูงสุดของกระทรวงศึกษาธิการ [6]..        ณ บัดนี้ จึงนับเป็นจังหวะอันดีแล้ว  ที่ผู้เขียนใคร่ขอนำเสนอ Disruptive Innovation[นวัตกรรมเชิงปะทุ]เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการจัดการปัญหา ดังกล่าวลองติดตามดูซิครับ !!คำสำคัญและความหมาย                ก่อนอื่นใคร่ขอนำเรียนเสนอ คำสำคัญ [Keywords] และความหมายเพื่อจักได้รู้และเข้าใจความหมายที่ตรงกันหรือใกล้เคียงกันเสียก่อน        1.ปัญหา  ในที่นี่ให้หมายถึง  ความแตกต่างระหว่างสภาพจริง(สิ่งที่เป็นจริง) กับ                                               สภาพที่ต้องการให้เกิดขึ้น 

ข้อมูลเพิ่มเติม

ปัญหา : ข้อสงสัย, คำถาม, ข้อที่ต้องพิจารณาแก้ไข            ปัญหาเฉพาะหน้า : ข้อที่จะต้องแก้ไขโดยเร็ว            ปัญหารัก : ข้อที่จะต้องแก้ไขในเรื่องความรัก            ปัญหาโลกแตก : ปัญหาที่หาข้อยุตอไม่ได้( พจนานุกรม ฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ..2530 วัฒนาพานิช สำราญราษฏร์ 2531 หน้า 334-335)Problem n. a  question hard to understand; something to be worked or solved.( ปัญหา,ข้อ              ปัญหา,เรื่องที่ต้องแก้ไขหรือต้องพิจารณากัน (วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม An Advanceed Desk  English - English –Thai  Dictionary โรงพิมพ์อักษรพิจารณา กทม. 2540  หน้า 823)Problem      1.a difficulty; a matter about which it is difficult to decide what to do. (ความยุ่งยาก ปัญหา                 2.a question to be answer or solve ( คำถามที่ต้องตอบ หรือแก้ไข) (กนิษฐา นาวารัตน์และคณะ Learners,  Dictionary  English – Thai  สำนักพิมพ์ดอกหญ้า กทม. 2540   หน้า 474-475)
 
                                   ปัญหาที่เกิดขึ้นในโครงสร้างของระบบการจัดกระบวนการเรียนรู้อาจเกิดปัญหาที่ระดับปัญจัย หรือระดับกระบวนการ หรือระดับผลผลิต หรือระดับผลกระทบ        ปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว สามารถแบ่งเป็น 3 ประภท คือ                ปัญหาเชิงแก้ไขปรับปรุง (ปัญหาขัดข้อง) คือ ความแตกต่างระหว่างสภาพจริง(สิ่งที่เป็นจริง) กับสภาพที่ต้องการให้เกิดในปัจจุบันหรืออาจเป็นมาทั้งในอดีตและอาจจะยังมีต่อไปในอนาคต                 ปัญหาเชิงป้องกัน  คือ ความแตกต่างระหว่างสภาพจริงกับสภาพที่ต้องการให้เกิด ซึ่งคาดว่าอาจจะเกิดขึ้นในอนาคต  ซึ่งปัญหาดังกล่าวยังไม่เกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต แต่มีเครื่องชี้วัด [Indicators] บ่งบอกว่าจะเกิดปัญหาขึ้นในอนาคต

                ปัญหาเชิงพัฒนา คือ สภาพที่เกิดขึ้นจริงในอดีตและปัจจุบัน ไม่แตกต่างจากสภาพที่คาดหวังในปัจจุบัน แต่เกิดความต้องการเพิ่มคุณภาพ หรือเพิ่มประสิทธิภาพของงานให้ดีขึ้นกว่าเดิม

                                               รูปแบบในการศึกษาวิเคราะห์    ในการศึกษาครั้งสำคัญนี้ ผู้เขียนตั้งใจจะนำเสนอใน  6 ประเด็นหลักคือ1.   นำเสนอสภาพปัจจุบันในรูปของข้อมูลเป็นตาราง2.   จัดกระทำเป็นแผนภูมิ (GRAPH)3.   วิเคราะห์ข้อมูลในเชิงเปรียบเทียบด้วยการอธิบาย/ขยายความ  ตามสูตร  4.  ชี้ประเด็นที่เป็นปัญหา/จุดที่ยังไม่น่าพอใจ5.  ชี้โอกาสการเพิ่มศักยภาพการพัฒนาในประเด็นปัญหานั้นๆ6.  การสร้างนวัตกรรม / แนวคิด / ทฤษฏี เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวซึ่ง   ศักยภาพ   ให้หมายถึงขีดความสามารถในการลดช่องว่าง (GAP) ระหว่างเกณฑ์ (CRITERIA) กับสภาพจริง (FACT)และ  การเพิ่มศักยภาพก็ให้หมายถึงการใส่ทรัพยากรการบริหารจัดการ  (ADMIINSTRATIVE RESOURCES)  เข้าไปในระบบ  (SYSTEM  APPROACH) คือ ปัจจัย (INPUT) กระบวนการ  (PROCESS) เพื่อส่งให้เกิดผลผลิต  (OUTPUT) และผลลัพท์ (OUTCOME) ของการพัฒนาใดๆ  ได้ตามเกณฑ์หรือมาตรฐาน  (STANDARD LEVEL) ที่กำหนดไว้ ขั้นการนำเสนอ   1. นำเสนอในรูปตาราง               และ       2.แสดงในรูปกราฟเพื่อง่ายต่อการเปรียบเทียบ ( เช่น Bar Graph )        สร้างกราฟโดยใช้  PROGRAM  EXCEL หรือ POWER POINTจุดเน้น     ในการมองสภาพปัญหาจากข้อมูลในตารางและกราฟนั้น         * หากได้พิจารณาร่วมกันในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้วย FGD.Technique  แล้ว  ก็จะเกิดความถูกต้อง  สมบูรณ์ยิ่งขึ้นขั้นการสรุปสภาพปัญหา/จุดที่ยังไม่พอใจ  (ด้วยสูตร P = C – F)นั้น         * หากได้พิจารณาร่วมกันในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้วย  FGD.Technique   ก็จะเกิดความถูกต้อง  สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ขั้นการแสวงหาแนวทางการเพิ่มศักยภาพ นั้น         * หากได้พิจารณาร่วมกันในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้วย  FGD.Technique   ก็จะเกิดความถูกต้อง  สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ขั้นการกำหนด การระบุ สร้างนวัตกรรม/ทฤษฏี/แนวคิด ในการเพิ่มศักยภาพใดๆ นั้น         * หากได้พิจารณาร่วมกันด้วย  FGD.Technique   ก็จะเกิดความถูกต้อง  สมบูรณ์ยิ่งขึ้น        2.มาตรฐานคุณภาพการศึกษา 

  คำสำคัญอีกคำหนึ่งคือ  มาตรฐานการศึกษา  ที่จักต้องนำมา ศึกษา วิเคราะห์ เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ต่อไป

 

 มาตรา 4 วรรค 1

มาตรฐานการศึกษา หมายความว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ    คุณภาพ ที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล  การตรวจสอบ  การประเมินผลและการประกันคุณภาพทางการศึกษา
      
อธิบายความ            คำว่า  มาตรฐานการศึกษา  ที่กฏหมายบัญญัติความหมายเอาไว้นั้น  อาจนำมาแยกแยะออกได้เป็น  ประเด็น สำคัญๆเพื่อแจกแจงรายละเอียดเพื่อนำไปสู่การ ปฏิบัติ ในการปฏิรูปการศึกษา ได้ดังนี้ 1.ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ   ที่พึงประสงค์  2.ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณภาพ ที่พึงประสงค์ และ      3.มาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นใน  4.สถานศึกษาทุกแห่ง และ      5.เพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับ  6.การส่งเสริมและ     7.กำกับดูแล   8.การตรวจสอบ   9.การประเมินผล และ    10.การประกันคุณภาพทางการศึกษา.  นั้น        ที่นี่ใคร่ขอขยายความตามมุมมองของผู้ศึกษาวิเคราะห์(นายพิสุทธิ์  บุญเจริญ)เอง ตามลำดับไป ดังนี้           คำว่า มาตรฐานการศึกษา  ในภาคปฏิบัตินั้นให้หมายความรวมเอาว่า  

เกณฑ์ [เป็นตัวเลข] ที่  รัฐ  กำหนดไว้เป็นบรรทัดฐานในการจัดการศึกษา  เพื่อพัฒ

เขียนใน GotoKnow โดย 
 ใน km
หมายเลขบันทึก: 154162เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2007 14:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 16:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท