GotoKnow

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

นาย เอกชัย ชูสง
เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2548 15:28 น. ()
แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2555 13:51 น. ()

อย่างที่ทราบกันว่า การจัดการความรู้ เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพงาน เป็นกิจกรรมของผู้ปฏิบัติงานที่จะมีปฏิสัมพันธ์กันเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน แต่หลายคนอาจจะเข้าใจว่า จะต้องแลกเปลี่ยนเฉพาะแต่ความรู้เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นความรู้ที่แจ้งชัดหรือว่าเป็นความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวบุคคลเท่านั้น และบางคนอาจจะรู้สึกว่าตัวเองไม่มีความรู้เลยก็ได้ เมื่อมีการแลกเปลี่ยนกันจึงไม่อยากจะเสนอความคิดเห็นหรือพูดอะไร จริงๆ แล้ว การแลกเปลี่ยนไม่จำเป็นจะต้องความรู้หรือความสามารถที่ตัวเองมีเท่านั้น ความผิดพลาดที่เคยเกิดขึ้นจากการทำงาน ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นทั้งที่เกิดกับตนเอง หรือความผิดที่เราได้รับรู้จากการกระทำของผู้อื่น หรือประสบการณ์ต่างๆ ก็ล้วนจะเป็นความรู้ที่สามารถจะนำมาถ่ายทอดหรือแลกเปลี่ยนระหว่างกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถนำมาปรับความคิดเพื่อนำไปสู่ผลสำเร็จของงานได้ทั้งสิ้น....

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized 


ความเห็น

Mam MBA#16
เขียนเมื่อ

ขอต่อความให้ยาวอีกนิดเดียวเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนความรู้นะคะ ว่าสิ่งหนึ่งที่สำคัญตั้งแต่การเริ่มต้นที่ให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ได้ ก็คือ

ความรู้สึกมีส่วนร่วม

คือ ทั้งในการที่เป็นผู้ให้และเป็นผู้รับในครั้งเดียวกัน ส่วนการตัดสินใจหรือการเรียนรู้ที่จะนำไปปรับความคิดเพื่อผลสำเร็จของงานก็คงต้องเป็นทีหลัง การมีส่วนร่วมจะทำให้เราฟัง (หรืออ่าน) และคิดตามสิ่งที่ได้สัมผัส ซึ่งก็จะเป็นการเริ่มต้นการแลกเปลี่ยนความรู้กันได้นั่นเอง ...


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย