พัดชา
สุภัสตรา เก้าประดิษฐ์ ทรัพย์ชุกุล

ครูชบ สวัสดิการชุมชน


                จากการประชุมวิชาการที่จัดโดย TDRI เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2550 ครูชบ ยอดแก้ว ได้มาเล่าถึงชีวิตตนเองที่เดินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง และมีลักษณะของสวัสดิการชุมชน ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ ครูชบ  ยอดแก้ว ผู้ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพัฒนาชุมชน จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้เริ่มการคุยโดยประโยคอมตะที่ว่า จะปลูกพืชต้องเตรียมดิน จะกินต้องเตรียมอาหาร จะพัฒนางาน ต้องพัฒนาคน จะพัฒนาคน ให้พัฒนาที่จิตใจ จะพัฒนาอะไร ให้พัฒนาที่ตนเองก่อน  ครูชบได้เล่าถึงชีวิตตนกับการแก้ปัญหาความยากจน  ครูชบทำงานมา 29 ปี 1 เดือน โดย พ่อและแม่เป็นชาวนา เป็นคนจน มีที่ดิน 5 ไร่เศษสำหรับทำนาและเลี้ยงวัว พ่อแม่ครชบมีลูก 4 คน ตัวครูชบเป็นพี่คนโต ตอนแรกครูชบก็ไม่อยากเรียนมาก แต่พ่อเป็นบุคคลที่มีวิสัยทัศน์  พ่อบอกว่า การเป็นชาวนา จน ควรเปลี่ยนวิถีชีวิตไปทำอย่างอื่น พอครูชบจบป.4 ตอนแรกไม่อยากเรียนต่อ พ่อเลยบอกว่า ให้มาช่วยทำนา ถ้าพ่อไม่หยุด ลูกก็ต้องไม่หยุด ครูชบช่วยทำได้ 30 นาที จนเลือดออกจึงเปลี่ยนใจคิดมาเรียนหนังสือ            

            ครูชบได้มาอยู่ที่อ.นาทวี มาอยู่กับหลวงตา ไปช่วยบิณฑบาต เดินไปโรงเรียน ไม่มีรองเท้า จบจนม.3 ชิงทุนได้เป็นครูโรงเรียนรัฐบาลเป็นโรงเรียนประจำ กินนอน อยู่ 3 ปี เป็นครูมูลได้เงินเดือน 450 บาท ครูชบภูมิใจมากที่ได้รับราชการ ตามความฝันของพ่อ จนได้เป็นชั้นจัตวา   พ่อ แม่จึงให้ส่งน้องเรียนจนน้องจบม.6 จึงแนะให้ไปสมัครตำรวจ ซึ่งสามารถทำงานได้เงินเดือนเลย  น้องคนที่ 3 จบม.6 ก็สอบตำรวจอีก น้องคนที่ 4 ก็เป็นเช่นกัน ทุกคนเป็นตำรวจ ยกเว้นตน             ครูชบได้พยายามสอบจนจบปริญญาตรี มีความเพียรพยายามจนจบเป็นไปตามระบบ คนรับราชการ ก็มีสวัสดิการ ได้ช่วยพ่อ แม่ ครอบครัว พ่อต้องการให้เป็นข้าราชการมากกว่า ทำนา  ครูชบเป็นครูอยู่ 27 ปี และชอบคิดนอกกรอบ             

          5 ธค. 2520 ได้เริ่มคิดโครงการจากพระราชดำรัสของในหลวง โดยคำนึงว่า การศึกษาคือ การพัฒนาคน มิใช่สอนหนังสืออย่างเด็ก ต้องพัฒนาคนให้คิด ช่วยเหลือตนเองได้              พัฒนาอย่างไร คือ 1. ให้มีสุขภาพดี และอนามัย สิ่งแวดล้อม  2. มั่นคงทางเศรษฐกิจ  3. ให้มีประชาธิปไตย โดยมีกษัตริย์เป็นประมุข            ดังนั้นการพัฒนาเด็กได้ต้องพัฒนาเด็กโดยให้พึ่งตนเอง เห็นประโยชน์ส่วนรวม มีวินัย  ขยัน หมั่นเพียร ซื่อสัตย์  คิดตัดสินใจได้ มีขันติธรรม  มีน้ำใจเป็นนักกีฬาจากคำขวัญข้างบนเลยจัดทำโครงการ ได้แก่

        1.      โครงการอาหารกลางวัน ตอนเรียนหนังสือไม่ได้กินข้าว กินแต่น้ำ

        2.      โครงการประชาธิปไตยในโรงเรียน  สร้างกระบวนการในโรงเรียนให้เป็นประชาธิปไตย

           3.      โครงการออมเงินวันละบาท มาจากการคิดว่า จะทำอย่างไรให้เด็กมีเงินให้ได้ ให้ทุกคนปลูกแปลงผัก กว้าง 1 เมตร สอนเด็ก ขายน้ำ ช่วยซื้อ เอาเงินไปให้พ่อแม่ และมาฝากก็ได้เงิน 225 บาท ก็เลยซื้อลูกไก่ 2 ตัวให้เด็ก มาขาย    

            4.      กองทุนวิชาชีพ  50 ให้ครู  50 ให้ครอบครัว  ตั้งธนาคารเอง

            5.      ครูเป็นหนี้ ปลดหนี้ให้ แต่ต้องเสียค่าบำรุง จัดสวัสดิการให้เบิกได้   

           6.      มีคนจะมาขอกู้  ครูชบเลยบอกว่า จะไปช่วยทำให้ที่  ปี 2525  ก็กลายเป็นออกชุมชน พัฒนาชุมชน ทำ 11 หมู่บ้าน ทั้งตำบลน้ำขาว ไปเยี่ยม โดยสอนให้คนมีคุณธรรม ตามกษัตริย์ ไปสอนชาวบ้าน -         การมีความสัตย์ จริงใจต่อตนเอง-         การข่มใจตนเองที่ประพฤติ-         การอดทน อดกลั้น อดออม-         การรู้จัก ละวาง ความชั่ว ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ของตนเอง จะช่วยให้ประเทศชาติอยู่ร่มเย็นเป็นสุข ให้มั่นคง และก้าวหน้า

          7.      กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ สอนให้พระสุบิน พระมนัสเพื่อไปขยายต่อ

         8.      ออกจากราชการปี 2535 ออมทรัพย์มาจากรายได้ รายจ่าย(ลดรายจ่าย) 1 กองทุน 1 เทศบาล

         9.      มูลนิธิดร.ชบ  ยอดแก้ว ทำสวัสดิการภาคจังหวัด  เกิด แก่ เจ็บตาย จ่ายสวัสดิการหลังจาก 15 ปี ไม่ต้องรอให้รัฐบาลจัดให้ ชาวบ้านทำเองได้ เสนอ กม.สวัสดิการสังคม  มีสวัสดิการชุมชนด้วย     

         ครูชบได้เสนอแนะเพิ่มเติมอีกว่า ครูชบเลือกทั้ง 3 ทาง เศรษฐกิจ เป็นเศรษฐกิจพอเพียง  รัฐสวัสดิการเป็นการซ่อมคน ซ่อมสุขภาพ การศึกษา เป็นการป้องกัน  ประชา  เป็นสวัสดิการชุมชน รัฐต้อง 1:1 การทำสวัสดิการชุมชนนั้น ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ขึ้นกับภูมิภาค ขึ้นกับความมั่นใจของชุมชน บางชุมชนอาจเน้นผู้สูงอายุ หรือคนพิการ แล้วแต่ชุมชน  และถ้ากิจกรรมใดทำมา 10 ปี แล้วถือได้ว่าเป็นวัฒนธรรม เช่น กลุ่มออมทรัพย์ แต่อย่างไรก็ตามชุมชนช่วยตนเองไม่ได้ทั้งหมด  ถ้าเกิดพายุพัดทั้งหมู่บ้าน ต้องอาศัยภาครัฐ จะใช้ชุมชนไม่ได้ทั้งหมด รัฐและชุมชนต้องเสริมกัน ใครเป็นผู้แบกภาระ ณ ตอนนี้ ใครช่วยในชุมชนก็ได้เงินจากชุมชนไปซื้อสวัสดิการของรัฐ

หมายเหตุ: หากมีจุดใดผิดพลาดไปบ้าง ผู้สรุปขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย

หมายเลขบันทึก: 153783เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2007 16:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2012 11:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท