ไปดูวิถีชีวิตของชาวเวียดนามกัน


ชาวเวียดนาม

      มาตามสัญญาค่ะ เมื่อวันที่ 8  ธันวาคม 2550  เวลา 03.00 น.  ออกเดินทางจากอุบลสู่จังหวัดมุกดาหาร เพื่อเดินทางไปเที่ยวเวียดนาม  ถึงมุกดาหารเวลา 06.45 น.  ทำเอกสารการเดินทางโดยบริษัทเขียงมูล ที่สุวรรณเขต  มีสมาชิกร่วมเดินทาง 19 ราย ทริปนี้ไปนอน 3 คืน กับ4  วัน  โรงพยาบาลขุขันธ์ 13 ราย โรงพยาบาลศรีสะเกษ 5 ราย และตัวข้าพเจ้า เป็นเจ้าหน้าที่ศูนย์อนามัยที่ 7 อุบลราชธานี พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ของเขียงมูล 2 ราย

      หลังจากเดินเอกสารเสร็จแล้วก็เริ่มเดินทางไปทานข้าวเที่ยงที่ประเทศลาว ชื่อร้านแฟนต้ารสชาติอาหารก็คล้ายบ้านเราคะพอทานได้วันนี้ทานอาหารไปแล้ว 2 ประเทศคือ

      1. ประเทศไทย

      2.  ประเทศลาว

และประเทศที่ 3 ก็คือ ประเทศเวียดนาม  พอไปถึงด่านเข้าประเทศเวียดนาม  คณะทัวร์ของเราก็ได้รู้จักกับไกด์เวียดนามชื่อ ลุงมินห์  อายุ 64 ปี เป็นแพทย์ทหารซึ่งได้เดินทางสู่ถนนสาย 61 มาแล้ว 3 ปี  และสามารถพูดไทยได้ชัดแจ๋วมากเลยคะ  ก่อนอื่นเรามารู้จักประเทศเวียดนามกันก่อนนะคะ

ประเทศเวียดนาม
• อาณาเขต เวียดนามมีพื้นที่ประมาณ 327,500 ตารางกิโลเมตร ความยาวจากเหนือจรดใต้ 1,650 กิโลเมตร ขนานไปตามแนวยาวของคาบสมุทรอินโดจีน นอกจากนี้ยังมีไหล่เขาและหมู่เกาะต่างๆ อีกนับพันเกาะเรียงรายตั้งแต่อ่าวตังเกี๋ยไปจนถึงอ่าวไทย
ทิศเหนือ ติดกับ ประเทศจีน
ทิศใต้ ติดกับทะเลจีนใต้
ทิศตะวันออก ติดกับ อ่าวตังเกี๋ยและทะเลจีนใต้
ทิศตะวันตก ติดกับอ่าวไทย ประเทศกัมพูชา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ลักษณะภูมิอากาศ เนื่องจากแผ่นดินของเวียดนามมีความยาวมาก ทำให้ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศแตกต่างกันค่อนข้างมาก โดยอาจแบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้
ภาคเหนือ ภูมิประเทศเวียดนามประกอบด้วยภูเขาสูงมากมาย โดยเฉพาะเทือกเขาฟานสีปัน สูงถึง 3,143 เมตร สูงที่สุดในอินโดจีน มีแม่น้ำสายสำคัญคือ แม่น้ำกุง ซึ่งไหลไปบรรจบกับแม่น้ำแดงเป็นดินดอนสามเหลี่ยมที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูกและยังเป็นที่ตั้งของเมืองฮานอยอัน ซึ่งเป็นเมืองหลวงของเวียตนาม มีที่ราบลุ่ม Cao Bang และ Vinh Yen ตลอดจนเกาะแก่งกว่า 3,000 เกาะ อ่าวฮาลอง และเนื่องจากพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตอากาศหนาว ซึ่งได้รับอิทธิพลกระแสลมแรงพัดจากขั้วโลก ทำให้มีสภาพภูมิอากาศหนาวเย็น
ภูมิอากาศในเขตภาคเหนือแบ่งออกได้เป็น 4 ฤดู
1.ฤดูใบไม้ผลิ (มีนาคม-เมษายน) มีฝนตกปรอยๆ และความชื้นสูง อุณหภูมิประมาณ 17 องศา – 23 องศา
2.ฤดูร้อน (พฤษภาคม-สิงหาคม) อากาศร้อนและมีฝน อุณหภูมิประมาณ 30 – 39 องศา เดือนที่ร้อนที่สุดคือเดือนมิถุนายน
3.ฤดูใบไม้ร่วง (กันยายน-พฤศจิกายน) อุณหภูมิ 23 – 28 องศา
4.ฤดูหนาว (ธันวาคม-กุมภาพันธ์) อากาศจะหนาวเย็นที่สุดในรอบปี คือ ประมาณ 7 – 20 องศา แต่ในบางครั้งอาจลดลงถึง 0 องศา เดือนที่อากาศหนาวที่สุดคือ มกราคม
ภาคกลาง ภาคกลางของเวียตนามยังมีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่มากมาย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงซึ่งเต็มไปด้วยหินภูเขาไฟ หาดทราย เนินทราย และทะเลสาบ
ภูมิอากาศในเขตภาคภาคกลาง 2 ฤดู
1.ฤดูฝน (พฤษภาคม-ตุลาคม) เดือนที่อากาศร้อนที่สุดคือ มิถุนายน-กรกฎาคม อุณหภูมิเกือบ 40 องศา
2.ฤดูแล้ง (ตุลาคม-เมษายน) เดือนที่อากาศเย็นที่สุด คือ มกราคม อุณหภูมิเกือบ 20 องศา
ภาคใต้ แม้ว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ของเวียตนามเป็นที่ราบสูง แต่ก็มีที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง หรือชื่อที่รู้จักคือ กู๋ลอง (Cuu Long) อันเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งเพาะปลูกที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเวียตนาม และเป็นที่ตั้งของกรุงโฮจิมินห์ซิตี้ หรือ ไซ่ง่อน ภูมิอากาศค่อนข้างร้อน อุณหภูมิประมาณ 27 องศา มี 2 ฤดู คือ
1.ฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม-พฤศจิกายน) เดือนที่ร้อนที่สุดคือ เดือนเมษายน อุณหภูมิประมาณ 39 องศา
2.ฤดูแล้ง (เดือนพฤศจิกายน-เมษายน) เดือนที่อากาศเย็นที่สุดคือ มกราคม อุณหภูมิประมาณ 26 องศา

ขอมูลทั่วไปประเทศเวียตนาม
เมืองหลวง คือ ฮานอย ตั้งอยู่ทางภาคเหนือ เป็นเมืองศูนย์กลางด้านการค้าและอุตสาหกรรม
นอกจากนี้ยังมีเมืองสำคัญต่างๆ ดังนี้
1.โฮจิมินห์ซิตี้ (ไซ่ง่อน) ตั้งอยู่ทางภาคใต้ เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดและเป็นศูนย์กลางทางการค้าด้วย
2.ไฮฟอง เป็นเมืองท่าอยู่ทางชายฝั่งตอนเหนือใกล้เมืองฮานอย
3.ดานัง เป็นเมืองท่าและเป็นเมืองด้านการท่องเที่ยว ติดทะเลจีนใต้อยู่ทางภาคกลางของเวียตนาม
4.เว้ เป็นเมืองประวัติศาสตร์ใกล้เมืองดานัง
พื้นที่ เวียตนามมีพื้นที่ 327,500 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 81.4 ล้านคน
ศาสนา ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ นับถือศาสนาคริสต์ ประมาณ 7 เปอร์เซ็นต์ และที่เหนือนับถือศาสนาอื่นๆ อีก 3 เปอร์เซ็นต์
ภาษา ภาษาทางการคือ ภาษาเวียตนาม ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ คือ ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และจีน
สกุลเงิน สกุลเงินของเวียตนามคือ ดอง อัตราแลกเปลี่ยน 420-460 ดอง ต่อ 1 บาท
ระบบการปกครอง เวียตนามปกครองแบบระบอบคอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นการปกครองโดยกองกำลังของรัฐ มีการแบ่งเขตการปกครอง แบ่งออกเป็น 59 จังหวัด และ 5 เทศบาลนคร
วัฒนธรรม
  
เวียตนามมีการผสมผสานด้านวัฒนธรรม จากหลายชนชาติ เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 432 เวียตนามได้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลจากจักรพรรดิจีนนานกว่าพันปี ดังนั้น สิ่งก่อสร้าง อาหารการกิน จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับวัฒนธรรมของจีนมาก และยังมีความหลากหลายของผู้คนของชาวเขาหลากหลายชนเผ่าทางภาคเหนือของเวียตนาม และเมื่อสมัยที่ฝรั่งเศสเข้ามาปกครอง เวียตนามก็ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมฝรั่งเศสด้วย ได้แก่ ตึกที่อยู่อาศัยที่ดูทันสมัย เป็นตึกสีเหลืองสไตล์โคโลเนียลที่มีให้พบเห็นมากมาย ดังนั้นวัฒนธรรมต่างๆ ของเวียตนามจึงมีการผสมผสานกันเป็นอย่างมาก ทั้งด้านที่อยู่อาศัย เทศกาล อาหาร เป็นต้น
เทศกาลเต็ด (Tet)
   โดยปกติแล้ว ชาวเวียตนามจะเฉลิมฉลองเทศกาลต่างๆ อย่างน้อย 3-7 วัน ติดต่อกัน โดยมีเทศกาลทางศาสนาที่สำคัญที่สุด คือ “เต็ดเหวียนดาน” (Tet Nguyen Dan) มีความหมายว่าเทศกาลแห่งรุ่งอรุณแรกของปี ที่ชาวบ้านนิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า เทศกาลเต็ด เทสกาลจะเริ่มต้นขึ้น 1 สัปดาห์ก่อนจะมีวันขึ้นปีใหม่ตามจันทรคติ คือ ระหว่างปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ในวันขึ้น 15 ค่ำ ของวันที่ดวงอาทิตย์อยู่ไกลเส้นศูนย์สูตรมากที่สุดในฤดูหนาว กับวันที่กลางวันยาวเท่ากับกลางคืน ในฤดูใบไม้ผลิ เทศกาลนี้เป็นการเฉลิมฉลองในภาพรวมทั้งหมดของความเชื่อในเทพเจ้า ลัทธิเต๋า ขงจื๊อ และศาสนาพุทธ รวมถึงการเคารพบรรพบุรุษ
เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง
   สำหรับเทศกาลฤดูใบไม้ร่วง นับตามจันทรคติตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ชาวบ้านจัดประกวด “ขนมบันตรังทู” หรือ ขนมเปี๊ยะโก๋ญวน ทีมีรูปร่างกลม มีไส้ถั่วและไส้ผลไม้ พร้อมทั้งจัดขบวนแห่เชิดมังกร เพื่อแสดงความเคารพต่อพระจันทร์ ซึ่งในบางหมู่บ้านอาจประดับโคมไฟพร้อมทั้งจัดงานขับร้องเพลงพื้นบ้าน
เวลาทำการของขององค์กรรัฐและเอกชน
1.หน่วยงานราชการ สำนักงาน และองค์กรให้บริการสาธารณสุข 8.00 – 16.30 น. ซึ่งจะเปิดให้บริการตั้งแต่วันจันทร์ - วันศุกร์ พิพิธภัณฑ์จะเปิดให้บริการวันเสาร์อีกครึ่งวัน
2.ร้านค้าเอกชนทั่วไปให้บริการระหว่าง 6.00 – 18.30 น.
3.ธนาคารพาณิชย์ ให้บริการตั้งแต่วันจันทร์ – วันศุกร์ ระหว่างเวลา 8.00 – 16.00 น. (หยุดพักเวลา 12.00 – 13.00 น.)
4.สำนักงานไปรษณีย์โทรเลข ให้บริการ ตั้งแต่ 7.00 – 20.00 น.
5.โรงงานอุตสาหกรรม ทำงานวันจันทร์ – วันศุกร์ และวันเสาร์อีกครึ่งวัน โดยเวลาทำงานรวมไม่เกิน 48 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ หากเกินจากนี้ต้องจ่ายค่าล่วงเวลา สำหรับวันหยุดประจำสัปดาห์ต้องจ่ายค่าจ้างเพิ่ม 2 เท่า และวันหยุดนักขัตฤกษ์จ่ายเพิ่ม 3 เท่า

      และลุงมินห์ก็ทำให้ทราบว่าคำว่า "แกว" ภาษาเวียดนามแปลว่าอะไร แม้แต่สองขาก้าวเดินยังอึ้งคะ มีเรื่องเล่าว่าชาวเวียดนามอพยพมาอยู่ที่ประเทศไทย...ชาวเวียดนามนี้ก็เคยอยู่อย่างอด ๆ อยาก ๆ เพราะว่าชีวิตมีแต่สงคราม จึงกินหรือทำอะไรก็จะประหยัด   คนไทยก็เรียกว่า"ขี้เหนียว"  ชาวเวียดนามก็ฟังไม่รู้เรื่องก็มีแต่ยิ้มค่ะ 

     ก็มีคนไทยเกิดการสงสัยและไม่สนุกก็เลยไปถามชาวเวียดนามที่รู้ภาษาไทย  ก็เลยถามว่า "ขี้เหนียว"ของภาษาเวียดนามแปลว่าอะไร  เขาก็เลยบอกว่า "แกว" ชาวไทยก็เลยพากันเรียกว่า"แกว"        ตั้งแต่นั้นมาค่ะ  เป็นไงคะประวัติความเป็นมาของคำว่าแกว

     ชาวคณะเดินทางถึงเวียดนามเวลา 14.00 น. อากาศทางบ้านเขายังมีหมอกอยู่เลยค่ะ เหมือนกับจังหวัดเชียงใหม่เรายังไงยังงั้นเลยค่ะ สถานที่ ที่ลุงมินห์พาคณะเราไปสัมผัสก็คือ ถ้ำมินห์ม็อก เป็นวิถีชีวิตของชาวถ้ำของเวียดนาม มีประชากร 95 คู่ มีคู่หนึ่งที่ไม่คู่ชีวิตเพราะหากันไม่เจอ แต่ตอนนี้เขาก็ได้ย้ายมาอยู่ข้างบนเหมือนคนธรรมดาทั่วไปเหลือแต่ร่องรอยไว้ให้ดูคะ

    แล้วคณะเราก็เดินทางกลับเข้าสู่ที่พักโรงแรมเอเชีย ระดับ 3 ดาวค่ะ ไปทานอาหารเวียดนามมื้อแรก คือ

    1. ปลาซามอล

    2. ขนมเบื้อง

    3. ผัดผักรวมมิตร

    4. แกงจืด

    5. ข้าวสวย

ตบท้ายด้วยขนมหวานที่ทำด้วยแป้งไส้ถั่วเหลือง รสชาติจืดชืดมาก ๆ เลยคะ  เขาใช้ตะเกียบแทนช้อน จานใส่ข้าวก็เป็นจานที่บ้านเราใช้รองถ้วยกาแฟ ทัพพีตักข้าวเขาก็ช้อนที่เราใช้ทานข้าวคะ   หลังจากทานข้าวเย็นกันแล้วก็เข้าสู่ห้องพัก

   พี่ตุ๋มที่เป็นไกด์ไทย   พานั่งสามล้อเวียดนามชมเมืองไปดูสะพานสีรุ้งเขาจะเปิดเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ คืนนั้นนั่งสามล้อเป็นแสนค้า.........แต่แสนดองนะจ้ะ เพราะว่า 1 บาทไทยเท่ากับ 450 ดอง

     วันแรกแห่งการท่องเที่ยวเวียดนามก็สิ้นสุดค่ะ เอาไว้จะมาเล่าให้ฟังต่อนะคะ อากาศเริ่มเลี่ยนแปลงแล้วดูแลสุขภาพให้ดีนคะ

หมายเลขบันทึก: 153308เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2007 12:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาเที่ยวค่ะ
  • Stardust ก็เพิ่งไปมา
  • เขียนเล่าไว้ใน Blog ตัวเอง เหมือนกัน
  • เรื่องที่เขียน ออกไปในแนว ไร้สาระค่ะ
  • อิอิ

สวัสดีครับคุณ ต้อมแต้ม

  • บันทึกเล่าได้ละเอียดดีมากครับ
  • อยากได้ชมภาพบ้าง คงสวยงาม นะครับ
  • หากบันทึกยาวไปแบ่งเป็นตอนๆ ก็ได้นะครับ
  • แล้วอย่าลืมลงภาพประกอบให้ชมด้วยนะครับ
  • จะรออ่านและชม

ขอบคุณมากครับ

สวัสดีค่ะ

เขียนได้ดีมากเลยค่ะ

ให้กำลังใจนะคะ

ขอบคุณสำหรับของฝากค่ะ

สู้สยามประเทศของหมู่เฮา ไทยๆๆๆๆของเราได้ไหมคะหรือน่ากลัว  หรือกำลังพัฒนาแบบลาวคะ

กำลังคิดจะไปเที่ยว  แต่ไม่ค่อยกล้าคะ

สู้สยามประเทศของหมู่เฮา ไทยๆๆๆๆของเราได้ไหมคะหรือน่ากลัว  หรือกำลังพัฒนาแบบลาวคะ

กำลังคิดจะไปเที่ยว  แต่ไม่ค่อยกล้าคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท