กิจกรรม ควบคุมและตรวจปราบปราม


สภาพปัญหา
กิจกรรม ควบคุมและตรวจปราบปราม
                        สภาพปัญหา
                 จากประสบการณ์ที่ผ่านมาการลักลอบทำการประมงในเขตหวงห้าม ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทุกจังหวัดชายทะเลโดยทั่วไป มีการลักลอบของเครื่องมือประมงประเภทอวนลาก อวนรุน มีอยู่บ่อยครั้ง การออกตรวจปราบปรามเป็นไปได้ไม่ทั่วทุกจังหวัด และสิ้นเปลืองงบประมาณมาก จึงปรับยุทธวิธี โดยนำเรือออกไปจอดเฝ้าระวังในตำแหน่งที่สำคัญด้านการอนุรักษ์ ซึ่งมีการลักลอบเป็นประจำแทนการลาดตระเวน ซึ่งเคยปฏิบัติมาแต่เดิม เชื่อว่าเมื่อชาวประมงเห็นเรือตรวจของทางราชการคงไม่กล้าเข้ามาลักลอบกระทำความผิด
                    วัตถุประสงค์
             1. เป็นการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงและงบประมาณในการลาดตระเวนโดยไม่จำเป็น
             2. เป็นการป้องกันไม่ให้ชาวประมงกระทำความผิด
                       เป้าหมาย
             ประหยัดงบประมาณ โดยเฉพาะค่าน้ำมันเชื้อเพลิง และลดปัญหาการกระทำความผิด
                     วิธีดำเนินการ
            นำเรือตรวจออกไปลาดตระเวน เฝ้าระวัง คุมพื้นที่ในบริเวณที่เรือแต่ละลำรับผิดชอบ
                    หน่วยงานที่รับผิดชอบ
           - ศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลภาคใต้ตอนล่าง จังหวัดสงขลา
           - หน่วยป้องกันและปราบประมงทะเลเกาะถ้ำ จังหวัดนครศรีธรรมราช
           - หน่วยป้องกันและปราบประมงทะเลปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
           - หน่วยป้องกันและปราบประมงทะเลปัตตานี จังหวัดปัตตานี
กิจกรรม ตรวจตราปราบปรามร่วมชุมชน (CEO)
                 หลักการและเหตุผล
            ในอดีตรัฐเป็นผู้กำหนดทิศทางการบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพียงผู้เดียวจึงควบคุมดูแลได้อย่างไม่ทั่วถึงทรัพยากรธรรมชาติ ที่รัฐเข้าไปควบคุมดูแลได้ไม่ทั่วถึงเหล่านั้นก็โดนทำลายไปอย่างน่าเสียดาย ดังนั้น เพื่อปรับรูปแบบการบริหารและจัดการให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เน้นให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และให้สอดรับกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม แผนปฏิบัติงานในการควบคุมดูแลและจัดการทรัพยากรจึงเน้นการเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานของชุมชน
                      วัตถุประสงค์
            1. เพื่อให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการทรัพยากรร่วมกับภาครัฐ
            2. เพื่อให้ชุมชนเกิดความรักและหวงแหนทรัพยากรในท้องถิ่น
            3. เพื่อให้ชุมชนเกิดความรู้ความชำนาญในการบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น
                    เป้าหมาย
            จัดชุดปฏิบัติการและเรือตรวจประมงทะเลขนาด 24 ฟุต พร้อมอุปกรณ์ จำนวน 1 ลำ และอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ 3 นาย ปฏิบัติการตรวจตราปราบปรามพื้นที่ควบคุมเด็ดขาดในเขตหวงห้าม 3000มตร ท้องที่ทะเลอ่าวไทยจังหวัดนราธิวาส
                   กิจกรรม
           1.ปฏิบัติงานร่วมกับชุมชนตรวจตราปราบปรามผู้ฝ่าฝืน พ.ร.บ. การประมง พ.ศ. 2490ในพื้นที่เป้าหมายควบคุมเด็ดขาดในเขตหวงห้าม 3000เมตร
           2. ประชาสัมพันธ์เพื่อลดความขัดแย้งระหว่างประมงพื้นบ้านกับประมงพาณิชย์
           3.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

                 วิธีดำเนินการ
           1. ในการปฏบัติงานจะต้องประสานงานกับหน่วยงานในพื้นที่และชุมชนอย่างใกล้ชิด
           2. ในการปฏิบัติงานให้ประสานงานร่วมกับกลุ่มอาสาสมัครอนุรักษ์สัตว์น้ำที่ทางกรมประมงจัดฝึกอบรมขึ้นของในแต่ละพื้นที่
           3. ในการปฏิบัติงานต้องศึกษาสภาพการทำการประมงในท้องถิ่นตลอดจนสภาพเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน
           4. ในการปฏิบัติงานต้องประเมินผลตอบแทนของมูลค่าสัตว์น้ำในทางเศรษฐกิจจากพื้นที่ที่เข้าปฏิบัติงานของในแต่ละเดือน
                 ผลที่คาดว่าจะได้รับ
           1. เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและชุมชนในการจัดการและดูแลทรัพยากร
           2. ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นตนเอง
           3. ทำให้ชุมชนเกิดความรักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นตนเอง
           4. ลดปัญหาความขัดแย้งทางด้านการประมง
กิจกรรม ควบคุมและปราบปรามในฤดูปลามีไข่
                   ความเป็นมา
             จากการที่กรมประมงได้ศึกษา และติดตามชีวประวัติของสัตว์น้ำบางชนิดที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจในฝั่งทะเลอ่าวไทย พบว่าบริเวณ จังหวัดชลบุรี ระหว่างวันที่ 1 กันยายน ถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์บางส่วน ชุมพร และสุราษฏร์ธานี เป็นแหล่งวางไข่และเลี้ยงตัวในระยะวัยอ่อนของสัตว์น้ำหลายชนิดที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหลายชนิด โดยเฉพาะปลาทู ซึ่งอาศัยเลี้ยงตัวในวัยอ่อน ชุกชุมระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนพฤษภาคม ของทุกปี
                  หลักการและเหตุผล
             การอนุรักษ์ทรัพยากรประมง เป็นการรักษาสมดุลย์ทางธรรมชาติให้มีระดับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างประหยัด และชาญฉลาด กล่าวคือ การรักษาปริมาณสัตว์น้ำตามธรรมชาติให้พอเหมาะกับการใช้บริโภคจนเพียงพอกับความต้องการของประชาชนตลอดไปอย่างไม่มีวันหมดสิ้น
                   เป้าหมาย
             ประชาสัมพันธ์ชี้แจง ให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำในช่วงฤดูปลามีไข่ฯ เพื่อลดการทำลายสัตว์น้ำ และทำลายพ่อพันธุ์แม่พันธุ์สัตว์น้ำ เพื่อให้เกษตรกรชาวประมงสามารถนำสัตว์น้ำที่เจริญเติบโตได้ขนาดที่เหมาะสมจะนำมาใช้ประโยขน์อย่างถาวรและมากที่สุด
                  วิธีดำเนินการ
             1. คัดเลือกการแบ่งพื้นที่คุม
             2. จัดเรือตรวจประมงทะเล เข้าดำเนินการตามพื้นที่เป้าหมาย
             3.ประชุมชี้แจงการดำเนินงาน
             4.จัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาบริหาร
             5.ประสานงานแผนการปฏิบัติงานร่วมกันหลายหน่วยงาน ให้มีความสัมพันธ์และเหมาะสมกับการควบคุมพื้นที่
             6. จัดให้มีกิจกรรมด้านต่างๆ เพื่อการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในช่วงเวลาดังกล่าว

www.fisheries.go.th/mfp-songkhla/project3.htm

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15312เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2006 10:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2012 11:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท