สินธุ์แพรทอง......พื้นที่นำร่อง(หลายโครงการ)


ประชุมคณะกรรมการเครือข่ายสินธุ์แพรทอง ประจำเดือนธันวาคม  วันที่ 7 ธค. 2550

                 การเข้าร่วมประชุมวันนี้ได้ถือโอกาสชักชวนแขกเข้าร่วมประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ กับเครือข่ายสินธุ์แพรทอง จำนวน 2 ท่าน ท่านแรกคือพี่แอ๋ว(เพลินพิศ สมพงศ์) ดูแลงานชุมชนสาธิต ม.วลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช ท่านที่สอง คือ พี่โต(เทพรัตน์ จันทพันธ์) ผู้ประสานงานโครงการวิจัยนำร่องขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมและการจัดสวัสดิการเชิงพื้นที่  ของจังหวัดพัทลุง

                การแนะนำตัวของทั้ง 2 ท่าน เป็นไปด้วยความเป็นกันเอง เนื่องจากเป็นที่คุ้นหน้าคุ้นตาของแกนนำในพื้นที่ดีอยู่แล้ว 

                ก่อนอื่นต้องขอรายงานการประชุมให้รับทราบถึงสถานการณ์ปัจจุบันของเครือข่ายกันก่อนคะ  รายละเอียดการประชุมมีดังนี้

o      เรื่องแจ้งเพื่อทราบ <p style="margin: 0in 0in 0pt 74.5pt; text-indent: -0.25in; tab-stops: list 74.5pt" class="MsoNormal">§         เรื่องเวทีเรียนรู้ การพัฒนาแกนนำ ระหว่างวันที่ 8-10 ธันวาคม 2550</p><p>ปปส. มีงบประมาณให้แกนนำจากจังหวัด สตูล ตรัง สงขลา พัทลุง รวมจำนวน 64 คน เข้าฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพการเป็นแกนนำ ณ เครือข่ายสินธุ์แพรทอง รูปแบบการให้ความรู้ในภาคกลางคืนแก่ผู้เข้าฝึกอบรม  เครือข่ายสินธุ์แพรทองจัดให้ผู้เข้าอบรมกระจายค้างคืนที่บ้านแกนนำในเครือข่าย  ครัวเรือนละ 4-5 คน เป็นการถ่ายทอดความรู้การทำงานของเครือข่ายให้รับทราบข้อมูล  สภาพจริงของพื้นที่  และเกิดการซักถามต่อแกนนำผู้รับผิดชอบถึงการทำงานเพื่อตอบสนอง แก้ปัญหาของชุมชน  (นับเป็นการใช้เวลาแห่งการพักผ่อนให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ฝึกอบรมมากที่สุด :ความเห็นส่วนตัว)</p><p>                      §         เรื่อง ความคืบหน้า พรบ.สภาองค์กรชุมชน</p><p>                              สืบเนื่องจากที่ตำบลลำสินธุ์เป็นพื้นที่ ที่ถูกเสนอชื่อให้เป็นพื้นที่ขับเคลื่อนเชิงนโยบาย เครือข่ายจึงจำเป็นต้องแจ้งความคืบหน้าของ พรบ.สภาองค์กรชุมชน ให้สมาชิกทราบเพื่อรู้ถึงสถานการณ์ และการเตรียมความพร้อมในการพิจารณาทำงานร่วมในฐานะพื้นที่ นำร่อง  เมื่อวันที่ 28 พย. 50 ร่างพ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชนผ่านการพิจารณาวาระสอง และวาระสามด้วยมติเอกฉันท์ ๘๓ เสียง ในสภานิติบัญญัติ </p><p>                      §         เงินอุดหนุนจาก อบต.นายก อบต. ลำสินธุ์ แจ้งให้ทราบถึงการดำเนินงานในการการจ่ายเบี้ยยังชีพแก่ ผู้สูงอายุ  จำนวน 182 คน  ผู้พิการ จำนวน 53 คน และผู้ป่วยโรคเอดส์  จำนวน 5 คน  ทั้งหมดได้รับเบี้ยยังชีพในอัตรา 500 บาท/คน/เดือน  นอกจากนี้ อบต.ยังมีการพิจารณาให้เงินสนับสนุนแก่ เครือข่ายเด็กและเยาวชน  จำนวนเงิน 20,000 บาท ด้วย</p><p>                     §         การจัดทำแผนชุมชน </p><p style="margin: 0in 0in 0pt; text-indent: 1in" class="MsoNormal">กำหนดนัดประชุมคณะทำงานทำแผนชุมชน กำหนดให้มีตัวแทนมาจากหมู่บ้านละ 3 คน ในวันที่  11 ธ.ค. 50</p><p style="margin: 0in 0in 0pt; text-indent: 1in" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt; text-indent: 1in" class="MsoNormal">o      ความคืบหน้าประเด็นงาน</p><p>                   §         ศูนย์เรียนรู้ชุมชน</p><p>                           รายงานการใช้ประโยชน์ของศูนย์เรียนรู้ชุมชน ประจำเดือน พฤศจิกายน 2550 มีการใช้ประโยชน์ จาก ธกส.จังหวัดพัทลุง ใช้สถานที่เพื่อจัดประชุมโครงการเศรษฐกิจพอเพียง , เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินใช้สถานที่และสื่อการเรียนรู้เพื่ออบรมหมอดินอาสาของอำเภอศรีนครินทร์  ,  แกนนำเยาวชนใช้สถานที่เป็นเวทีพัฒนาทักษะแกนนำเด็กและเยาวชน นำเสนอประวัติและแผนที่ของแต่ละหมู่บ้าน</p><p>                   §         ประเด็นสิทธิทำกิน </p><p style="margin: 0in 0in 0pt; text-indent: 1in" class="MsoNormal">คณะทำงานประเด็นสิทธิทำกินได้ร่วมมือจัดทำฐานข้อมูลผู้มีปัญหา และได้พัฒนาระบบข้อมูลมาตลอดจนสามารถนำเรื่องดังกล่าวเสนอต่ออนุกรรมการการแก้ปัญหาสิทธิทำกินจังหวัด เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2550 ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนติดตามงานที่จังหวัด  ในระดับพื้นที่กำลังเตรียมจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องปัญหาแนวเขตซ้ำซ้อนกันเป็นรายหมู่บ้าน  และเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลด้วย  กำหนดจัดเวทีปลายเดือนธันวาคม 2550</p><p>    §         การท่องเที่ยวเชิงการเรียนรู้ด้านเกษตรเครือข่ายฯได้รับเงินสนับสนุนจาก สสส. จำนวนเงิน 64,200 บาท คณะทำงานออกแบบกิจกรรมให้บรรลุเป้าหมายของโครงการ ได้วางแผนดังนี้ จัดเก็บข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว ถ่ายภาพเพื่อพิมพ์แผ่นพับ สถานที่ท่องเที่ยวที่กำหนดไว้ ประกอบด้วย อนุสรณ์สถานถังแดง  ถ้ำลำสินธุ์  กลุ่มสตรีหมู่ที่ 3  กลุ่มเครื่องแกงหมู่ที่ 5 , 6  น้ำตกโตน  ที่ทำการเครือข่ายฯ  แปลงผลไม้ต้นแบบ  น้ำตกเขาคราม  ถ้ำสุมโน  ถ้ำพุทธโคดม  กลุ่มกล้วยฉาบหนองเหรียง  สวนสัตว์นาวง  สำหรับค่าใช้จ่ายออกแบบไว้สำหรับ 1 คืน 1 วัน  ประกอบด้วย อาหารหลักและอาหารว่าง 4 มื้อ   ที่พัก  ค่าบริการนำเที่ยว  รวมเป็นเงิน 520 บาท/คน </p><p>                    แกนนำมีแนวคิดให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงการเรียนรู้ด้านการเกษตรอย่างแท้จริง  ไม่ใช่การท่องเที่ยวเพื่อความเพลิดเพลินเพียงอย่างเดียว  ให้นักท่องเที่ยวได้ความรู้เกี่ยวกับการทำการเกษตรของตำบลลำสินธุ์ตั้งแต่การผลิต  การแปรรูป  ถึงการจำหน่าย  ดังนี้จึงตั้งเป้าหมายกลุ่มนักท่องเที่ยวเป็นกลุ่มคนที่ต้องการหาความรู้และนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง               </p><p>                       เบื้องต้นพี่โต(เทพรัตน์)ได้เสนอให้เครือข่ายประสานงานกับ ททท.ของจังหวัด  เพื่อจัดทัวร์ทดลอง  ทำให้ทราบปัญหา  หรือจุดเด่นของการจัดกิจกรรม  เพื่อได้นำข้อมูลมาปรับปรุงอีกครั้งก่อนการเริ่มดำเนินการจริง  อีกทั้งเป็นการช่วยประชาสัมพันธ์กิจกรรมไปพร้อม ๆกันด้วย </p><p>                     §         สวัสดิการชุมชน   </p><p>                             ตำบลลำสินธุ์เป็น 1 ใน 5 พื้นที่(ต.ลำสินธุ์  ต.ชุมพล  ต.ทะเลน้อย  ท.ปากพะยูน  ท.ป่าบอน)  ที่ได้รับคัดเลือกจาก พมจ.พัทลุง ให้เป็นพื้นที่นำร่องการจัดสวัสดิการ ตามโครงการขับเคลื่อนกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม  สถานภาพของ กองทุนสวัสดิการชุมชน ตำบลลำสินธุ์ เป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ จึงได้เขียนโครงการเพื่อของบประมาณจาก พมจ.พัทลุง ในนาม องค์กรสาธารณประโยชน์  ในโครงการได้ระบุจำนวนเงิน 100,000 บาท  เพื่อทำกิจกรรม 4 กิจกรรม 1)เวทีทบทวนการจัดสวัสดิการชุมชนท้องถิ่น รายหมู่บ้านจำนวน 9 หมู่บ้าน  2) เวทีวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำฐานข้อมูล 3) เวทีประชุมคณะทำงาน  4) เวทีติดตามประเมินผลโครงการผ่านการอนุมัติจากอนุกรรมการบริหารกองทุนสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นจังหวัด  เป็นที่เรียบร้อยแล้ว  รอทำบันทึกความร่วมมือระหว่าง พมจ. กับ ตัวแทนคณะทำงานในพื้นที่คณะทำงานในพื้นที่ มีจำนวน  18 คน  คัดเลือกมาจากตัวแทนหมู่บ้านละ 1 คน  และตัวแทนจาก อบต., สถานีอนามัย,  อปท., ชุมชน  เพื่อเน้นให้เกิดการทำงานเชิงบูรณาการ</p><p>                     §         วิทยุชุมชน </p><p style="margin: 0in 0in 0pt 1in" class="MsoNormal">คณะทำงานได้ประชุมสรุปบทเรียนและวางแผนพัฒนาวิทยุชุมชน ต.ลำสินธุ์ </p><p style="margin: 0in 0in 0pt; text-indent: 1in" class="MsoNormal">ด้านการจัดหาทุน  มีกิจกรรม รับบริจาค จากห้างร้านต่าง ๆ ในเขตที่สามารถรับฟังวิทยุ  จำนวนเงินร้านละ 1,000 บาท  สถานีจะประชาสัมพันธ์กิจการให้เป็นเวลา 1 ปี ในฐานะผู้ร่วมก่อตั้งสถานี มีแกนนำเสนอให้มีการเขียนชื่อร้านที่ร่วมบริจาคเป็นป้ายประกาศติดไว้ที่สถานี เพื่อเป็นการแสดงการขอบคุณและระลึกถึงผู้ร่วมก่อตั้งสถานีด้วย  การขายบัตรชิงโชค  ออกบัตรชิงโชคจำนวน 1,000 ใบ  ราคาใบละ 50 บาท  ชิงรางวัลเป็นวิทยุ AM/FM จำนวน 50 เครื่อง</p><p style="margin: 0in 0in 0pt; text-indent: 1in" class="MsoNormal">ด้านการประชาสัมพันธ์  จัดทำป้ายติดริมถนนสายหลัก  ทำแผ่นพับแจกตามหมู่บ้านในอำเภอและหอกระจายข่าว  จัดการถ่ายทอดสดรายการต่าง ๆ ในตำบลปีละ 2 รายการ</p><p style="margin: 0in 0in 0pt; text-indent: 1in" class="MsoNormal">ด้านการบริหารจัดการสถานี  กิจกรรมพัฒนาเครื่องส่งและขยายพื้นที่คลื่น ด้วยการเพิ่มเสาอากาศขึ้นอีก 15 เมตร (จากเดิมมีอยู่ 35 เมตร)  และกิจกรรม เลือกคณะกรรมการชุดใหม่  </p><p style="margin: 0in 0in 0pt; text-indent: 1in" class="MsoNormal">ด้านการพัฒนาความรู้นักจัดรายการ  มีการ เพิ่มนักจัดรายการ  และพัฒนาความรู้นักจัดรายการ  ด้วยการอบรมด้านการพูด เทคนิคการจัดรายการ การเปิดเพลงและการควบคุมเครื่องส่ง</p><p style="margin: 0in 0in 0pt; text-indent: 1in" class="MsoNormal"></p><p>                      การเป็นพื้นที่นำร่องของตำบลลำสินธุ์ เท่าที่จำและจดข้อมูลของตำบลลำสินธุ์มาได้  ได้รับการยกเป็นพื้นที่นำร่อง 1)การทำแผนชุมชน จาก พอช. (เริ่มต้นเป็นที่รู้จักด้วย แผนชุมชนเข้มแข็ง ต.ลำสินธุ์ และเกิดเครือข่ายสินธุ์แพรทอง)  2) ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง  จาก ธกส.  3) พื้นที่ขับเคลื่อนเชิงนโยบาย สภาองค์กรชุมชน  4) พื้นที่นำร่องโครงการขับเคลื่อนกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม จาก พม.</p><p></p>

หมายเลขบันทึก: 153039เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2007 13:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เครือข่าย5พื้นที่ในโครงการวิจัยและพัฒนาองค์กรการเงินและสวัสดิการชุมชนประกอบด้วย
1)เครือข่ายสินแพรทอง ตำบลลำสินธ์จ.พัทลุง(รูปแบบสภาชุมชน)
2)เครือข่ายองค์กรการเงินกาญจนดิษฐ์ อำเภอกาญจนดิษฐ์จ.สุราษฎร์ธานี(รูปแบบเครือข่ายเรียนรู้ญาติมิตร)
3)สมาคมสวัสดิการวันละบาทจังหวัดสงขลา(รูปแบบขบวนสวัสดิการภาคประชาชน เครือข่ายกลุ่มเรียนรู้ จัดการร่วมกันบางส่วน)
4)กองทุนหมู่บ้าน ตำบลกะหรอ จ.นครศรีธรรมราช (เครือข่ายกลุ่มเรียนรู้ จัดการร่วมกันบางส่วน)
5)เครือข่ายสัจจะวัดป่ายาง จังหวัดนครศรีธรรมราช(เครือข่ายกลุ่มเรียนรู้ จัดการกลาง)
เราจัดเวทีเรียนรู้ไป1ครั้ง ยังไม่ค่อยชัดเจนนัก ครั้งต่อไปคงมีความก้าวหน้ามากขึ้นในแง่แนวคิดและความเป็นมา โครงสร้าง รูปแบบ/กิจกรรมการดำเนินงาน  รวมทั้งผลที่เกิดขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ เพื่อเป็นกรณีศึกษาในการขยายผลทั้งเชิงนโยบาย รูปแบบและวิธีการ

การศึกษาคงผสมผสานรูปแบบการเรียนรู้จากกันใน5พื้นที่และการขยายสู่กลุ่มที่มีแนวทางใกล้เคียงกันไปในตัวด้วย

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท