การวิจัยเชิงอนาคต


การวิจัยเชิงอนาคต

วันนี้ผมได้ศึกษาบทความการวิจัยเชิงอนาคต  : ปฏิบัติการวิจัยอนาคตด้วยEDFR       ของ รศ.ดร.วิโรจน์  สารรัตนะ  พอสรุปเล่าสู่กันฟัง ได้ดังนี้ ครับ                       

                นักอนาคตนิยมเชื่อว่า อนาคตเป็นเรื่องที่สามารถทำการศึกษาได้อย่างเป็นระบบ ความเชื่อของมนุษย์จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและการตัดสินใจของมนุษย์ มนุษย์สามารถควบคุมอนาคตได้ จุดมุ่งหมายของการวิจัยอนาคต                เพื่อศึกษาแนวโน้มที่เป็นไปได้ทั้งที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้  และเพื่อที่จะหาทางทำให้แนวโน้มที่พึงประสงค์เกิดขึ้นและป้องกันแนวโน้มที่ไม่พึงประสงค์ให้หมดไป                เทคนิคการวิจัยอนาคตแบบ EDFR เป็นทั้งระเบียบวิธีในการวิจัยในการคาดการณ์อนาคต (research technique) และเป็นทั้งเทคนิคการสื่อสารระหว่างผู้เชี่ยวชาญ (communicating process) ซึ่งผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่มักไม่มีเวลาว่างที่จะมานั่งแลกเปลี่ยนประสบการณ์โดยตรง เทคนิคการวิจัยแบบ EDFR  และ Delphi จะเปิดโอกาสให้ผู้เชี่ยวชาญได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความเชี่ยวชาญระหว่างกันและกันการแบ่งช่วงเวลา                นักอนาคตนิยม แบ่งช่วงเวลา  ออกเป็น 4 เวลา  คือ ช่วงเวลา 5 ปี เป็นการทำนายหรือวางแผนระยะกระชั้นชิด เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เป็น immediate problem solving ,immediate forecasting  , immediate planning  ช่วงประมาณ 5-10 ปี เป็นการทำนายหรือการวางแผนระยะสั้น(short range forecasting ,short range planning ) ช่วงประมาณ 10-15 ปี ไปจนถึง 20 ปี  เป็นระยะปานกลาง middle range forecastingหรือ planning เป็นการศึกษาอนาคตของสังคมหรือวัฒนธรรมของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ช่วงระยะ 20 หรือ 25 ปี ขึ้นไป เป็นการวิจัยอนาคตระยะยาว ข้อมูลที่ได้หรือผลที่ได้อาจจะขาดแรงจูงใจการเลือกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ : เกณฑ์และวิธี                เหตุผลที่เลือกผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยเชิงอนาคต เพราะเชื่อว่า ผู้เชี่ยวชาญผู้เชี่ยวชาญจะเป็นกลุ่มที่มองหรือคาดการณ์อนาคตได้ชัดเจนและถูกต้องมากกว่าคนธรรมดา  และที่สำคัญการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคมบุคคลที่อยู่เบื้องหลังมักเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญนั่นเอง                เกณฑ์การคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญ  สำหรับการวิจัยอนาคต มีลักษณะเป็นแบบเจาะจงเลือก(purposive) มากกว่าการสุ่ม (random)                 วิธีการเลือกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ อาจจะเจาะจงเลือก หากรู้ว่าใครเป็นผู้เชี่ยวชาญ  หากไม่ทราบสิ่งที่ทำได้คือใช้วิธีการโยนลูก (snowball)การระบุชื่อผู้เชี่ยวชาญ                การระบุชื่อผู้เชี่ยวชาญในงานวิจัย อย่าทำให้มีผลกระทบทางร้ายต่อผู้ที่มีชื่อ ควรเป็นผลกระทบทางดี และควรขออนุญาตก่อนการเตรียมตัวกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ                การเตรียมตัวกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (preparing subjects) เพราะมีผลกระทบต่อการวิจัยตลอดเวลา เนื่องจากการวิจัยอนาคต EDFR หรือ Delphi นั้นใช้เวลามาก จึงจำเป็นต้องได้รับความร่วมมืออย่างเต็มที่จากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ  ดังนั้นจึงต้องมีการติดต่อล่วงหน้าก่อนเสมอ  จะต้องอธิบายถึงจุดหมาย ขั้นตอนและระเบียบวีวิจัย เวลาที่ใช้ในแต่ละรอบ และย้ำให้ผู้เชี่ยวชาญเห็นความสำคัญของการวิจัยว่ามีจุดมุ่งหมาย และประโยชน์อย่างไรบ้างการสัมภาษณ์แบบ EDFR                รอบที่ 1 เริ่มสัมภาษณ์จาก optimistic realistic scenario และตามด้วย pessimistic realistic scenario แล้วตามด้วย  most  probable scenario  เป็นการคิดภาพบวกก่อน ภาพลบตามมา แล้วภาพที่เป็นไปได้มากที่สุด   ที่สำคัญการสัมภาษณ์แบบ EDFR เปิดโอกาสให้ผู้วิจัยเพิ่มประเด็นแนวโน้มที่เราได้จากการสัมภาษณ์คนแรกๆผนวกเข้าไปกับการสัมภาษณ์คนต่อๆไปได้ตลอดเวลาเพราะต้องการศึกษาแนวโน้มที่มีโอกาสเกิดขึ้นมากที่สุดเท่าที่จะมากได้การเขียนแนวโน้มในแบบสอบถาม                การเขียนแนวโน้มในแบบสอบถามควรใช้ภาษาที่สั้น กะทัดรัดชัดเจน คงความหมายเดิมของผู้เชี่ยวชาญไว้ให้มากที่สุดปัญหาของแบบสอบถามและวิธีแก้                แบบสอบถามมักจะยาว วิธีแก้ไขคือ แบ่งประเด็นการศึกษาออกเป็นส่วนๆเป็นตอนๆ แล้วก็ทำการวิจัยอย่างต่อเนื่องและพยายามอธิบายให้ผู้เชี่ยวชาญเข้าใจว่าแบบสอบถามยาวเพราะอะไรการรายงานผล                การรายงานผล จะยึดเอาผลในรอบที่ 3 เป็นเกณฑ์จำนวนรอบ                จำนวนรอบ จำนวนคน ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมาย งบประมาณ เวลาและกำลังคนของการวิจัย และดูจากคำตอบที่ได้ในรอบต่างๆ มีความเป็นเอกฉันท์หรือยัง (consensus)  การเขียนรายงานการวิจัยอนาคตแบบ  EDFR                 การเลือกเขียนรายงานการวิจัยอนาคตแบบ EDFR ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการวิจัย ส่วนภาษาที่ใช้เขียนอาจเป็นภาษาที่เป็นทางการ หรือ เป็นภาษาธรรมดา ก็ได้ แต่เขียนแล้วให้อ่านราบรื่น มิใช่ภาษาวิชาการมากเกินไป คือคนทั่วไปอ่านแล้วรู้เรื่องทีมสัมภาษณ์                ควรมีทีมสัมภาษณ์อย่างน้อย 2-3 คน ซึ่งได้รับการฝึกฝนเทคนิคการสัมภาษณ์แบบ EDFR และ จะต้องมี cumulative summarization technique) เพื่อให้ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือความตรงกับความเที่ยง (validity , reliability)                การวิจัยอนาคตมีจุดมุ่งหมายต้องการแนวโน้มที่เป็นไปได้มากที่สุด มิใช่เพื่อการทำนายที่ถูกต้อง  การวิจัยต้องการให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญตอบตรงตามที่เขาตอบ ไม่ว่าจะวัดกี่ครั้ง  คำตอบก็คงเดิม รูปแบบต่างๆ ของ EDFR                รูปแบบการวิจัยอนาคตแบบ EDFR ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการวิจัย งบประมาณ และเวลา  มีรูปแบบต่างๆ ดังนี้                รูปแบบแรก  คือ สัมภาษณ์ แล้วมีแบบสอบถาม2 หรือ 3 รอบเพื่อกรองการคาการณ์ของผู้เชี่ยวชาญ                รูปแบบที่ 2 mini EDFR คือ สัมภาษณ์แบบ EDFR บวกกับการส่งแบบสอบถามอีกเพียงรอบเดียว                รูปแบบที่ 3 เป็นแบบ EDFR เต็มรูป แต่มีการปรับแบบสอบถามในรอบที่ 3 ให้สั้นลง การประยุกต์เทคนิคการวิจัย EDFR                ระเบียบวิธีวิจัยแบบ EDFR สามารถใช้กับวิจัยธรรมดาที่ไม่ใช่วิจัยอนาคตได้  สามารถจะเอาระเบียบวิธีวิจัย EDFR ไปใช้เพื่อกำหนดนโยบาย  วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาได้ และใช้ในการตัดสินปัญหาได้  เป็นต้น  นอกจากนั้น ยังสามารถใช้ระเบียบวิธีวิจัย EDFR  ศึกษาเรื่องของอดีต ได้ด้วย                ระเบียบวิธีวิจัย EDFR อาจถือเป็น appropriate technology ที่ประเทศกำลังพัฒนาสามารถทำได้โดยไม่ต้องลงทุนมาก หรือไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างปะเทศ สามารถทำเองได้และทำได้ดีที่สุด  อีกด้วย               
หมายเลขบันทึก: 152771เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2007 11:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณมากค่ะดิฉันกำลังค้นคว้าการทำรายงานเกี่ยวกับการวิจัยเชิงอนาคตพอดีเลย

สวัสดีครับ

เรียนรู้อดีต ศึกษาปัจจุบัน เพื่อสร้างอนาคต ครับ

สวัสดีครับอาจารย์ ขอบคุณมากนะครับที่มาทักทาย และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกันครับ ผมเองก็รักขอนแก่นนะครับอาจารย์ ตอนนี้กำลังเรียน ป.เอก บริหารการศึกษา กำลังทำวิจัยกะว่าเทอมหน้านี้จะพยายามให้จบครับ อาจารย์มีอะไรแนะนำผมยินดีรับข้อเสนอแนะจากอาจารย์ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท