กลไกการพัฒนาสะอาด (Clean Development Mechanism)


 

กลไกการพัฒนาสะอาด (Clean Development Mechanism) เรียกชื่อย่อว่า CDM เป็นกลไกตามมาตรา 12 ของพิธีสารเกียวโต กำหนดขึ้นเพื่อช่วยให้ประเทศในกลุ่ม Annex I สามารถลดต้นทุนการลดก๊าซเรือนกระจก โดยดำเนินโครงการพัฒนาที่สะอาดในประเทศกำลังพัฒนาโดยที่โครงการดังกล่าวจะต้องนำมาซึ่งการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศเจ้าบ้าน

 CDM

  1. การเข้าร่วมในการดำเนินโครงการ CDM จะต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจ (voluntary) ของทุกฝ่าย
  2. ประเทศที่จะเข้าร่วมในการดำเนินโครงการ CDM ได้จะต้องเป็นภาคีพิธีสารเกียวโต
  3. การดำเนินโครงการ CDM ต้องเกิดผลประโยชน์ระยะยาว แท้จริง และตรวจสอบได้
  4. การดำเนินโครงการต้องสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศเจ้าบ้าน (ประเทศกำลังพัฒนา ) กล่าวคือเป็นการพัฒนาแบบมีผลดีต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ
  5. การดำเนินโครงการนำไปสู่การลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นการเพิ่มเติม (มี Additionalities ไม่ใช่ Business – as - Usual) นอกเหนือไปจากที่มีการลดอยู่แล้วในโครงการอื่นๆ ก่อนหน้าที่จะมีโครงการ CDM และไม่ใช่โครงการที่ดำเนินการภายใต้แผนภาคบังคับ หรือ Policy Regulation
  6. ปริมาณก๊าซที่ลดได้ต้องมีการตรวจสอบ ยืนยัน และรับรองความถูกต้อง (Validation & Verification ) โดยองค์กรอิสระหรือ OE (Operational Entity) และจะต้องผ่านการรับรอง (Certified) โดย CDM Executive Board หรือ EB จึงนิยมเรียก “ CERs (Certified Emission Reductions

CDM ได้

  1. โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตและจัดส่งพลังงาน
  2. โครงการพลังงานหมุนเวียน
  3. โครงการปรับเปลี่ยนการใช้เชื้อเพลิง (fuel switching)
  4. โครงการด้านการเกษตร (เช่น ที่มุ่งลด N2O และ CH4)
  5. โครงการปรับปรุงกระบวนการด้านอุตสาหกรรม (CO2 จากปูนซีเมนต์ และก๊าซ เรือนกระจกอื่นๆ ในกลุ่ม HFCs, PFCs, SF6)
  6. โครงการประเภทดูดซับต่างๆ (จำกัดเฉพาะโครงการปลูกป่าในพื้นที่ใหม่ หรือ afforestation และโครงการปลูกป่าในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม หรือ reforestation)

ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันต่อพิธีสารเกียวโตเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2545 และในการประชุมคณะรัฐมนตรี ได้มีมติให้โครงการที่มีการลงทุนร่วมกับประเทศพัฒนาแล้วในลักษณะ คาร์บอนเครดิตหรือการดำเนินงานภายใต้กลไก CDM ต้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาเป็น กรณีๆ ไป

ปัจจุบันได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (NCCC) คณะทำงานกำกับการดำเนินงานตามกลไก CDM (NCCDM) และคณะทำงานย่อย CDM สาขาพลังงานและอุตสาหกรรมแล้ว ส่วนสาขาป่าไม้และเกษตรกรรม อยู่ระหว่างการเตรียมการ โดยมีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานกลางประสานการดำเนินงานเกี่ยวกับ CDM (NACDM) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการกำหนดนโยบาย มาตรการ และแนวทางการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนยกร่างหลักเกณฑ์ขั้นตอนการพิจารณาโครงการที่เกี่ยวกับ CDM

เนื่องจาก CDM เป็นกลไกเดียว ที่เกี่ยวข้องกับไทย

- หากเราเตรียมพร้อม และเลือกทำโครงการอย่างชาญฉลาด CDM ก็จะเป็น โอกาส
- แต่ถ้าเราไม่ฉลาดพอ ขาดข้อมูล ขาดการเตรียมพร้อมด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ในการเจรจาต่อรองCDM ก็อาจเป็นวิกฤติ

ภาครัฐและเอกชน จะต้องช่วยกันคิด ช่วยกันทำเพื่อเปลี่ยนวิกฤตภาวะโลกร้อนให้เป็นโอกาสของประเทศ

รูปแบบโครงการ CDM

Unilateral
ประเทศไทย ทั้งภาครัฐ และ/หรือ เอกชน ลงทุนทำโครงการเองแล้วขาย CERs ให้ประเทศ Annex I หรือขายให้ Brokers

Bilateral
ประเทศ Annex I ลงทุนทำโครงการลด GHGs ร่วมกับประเทศไทยแล้วแบ่ง CERs กันตามข้อตกลง

Multilateral
Annex I หลายประเทศลงขันร่วมกันเป็นเงินกองกลางแล้วทำโครงการผ่าน Multilateral Agencies เช่น
WB, ADB

CDM ในประเทศไทย

  1. โครงการโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงชีวมวล รวมทั้งโครงการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานด้วยระบบ COGEN
  2. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของ EGAT รวมทั้งโครงการ Re-powering + Fuel Substitution
  3. โครงการติดตั้งระบบเซลล์ไฟฟ้าแสงอาทิตย์ในชนบท
  4. โครงการ NGV ในภาคขนส่ง
  5. โครงการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ (Biogas) ที่ได้จากระบบบำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรม ฟาร์มปศุสัตว์ และหลุมฝังกลบขยะ
  6. โครงการปลูกป่าเพื่อดูดซับ CO2 รวมทั้งปลูกป่าเพื่อเป็นเชื้อเพลิง
  7. อื่น ๆ โดยเฉพาะโครงการภายใต้แผนกลยุทธ์กระทรวงพลังงาน

สืบเนื่องจากโครงการ CDM จะต้องเป็นโครงการที่นำมาซึ่งการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศเจ้าบ้าน ฉะนั้นโครงการ CDM จะต้องสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย นั่นคือจะต้องมีผลดีต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ตัวอย่างเช่นโครงการ CDM ประเภทโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงชีวมวล นอกจากประเทศจะมีรายได้จากคาร์บอนเครดิต หรือ CERs แล้ว ยังสามารถลดการนำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิงไฟฟ้า เป็นการลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศ ขณะเดียวกันมลภาวะอันเนื่องมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลก็ลดลง สิ่งแวดล้อมดีขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถสร้างอาชีพ เสริมรายได้เกษตรกร และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนบริเวณใกล้เคียง จึ่งเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เนื่องจากสามารถพัฒนาไปได้พร้อมๆ กัน

หมายเลขบันทึก: 152400เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2007 17:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

 

การให้สัตยาบันในพิธีสารเกียวโต

พิธีสารเกียวโตได้ผ่านการรับร่างในการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ สมัยที่ 3 (COP-3) ณ กรุงเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น และได้เปิดให้มีการลงนาม ระหว่างวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2541 ถึ่งวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2542 มีประเทศลงนามรับรองรวม 84 ประเทศ
เพื่อให้พิธีสารเกียวโตมีผลบังคับใช้ จะต้องมีประเทศภาคีอนุสัญญา ฯ ให้สัตยาบัน (Ratify) หรือให้การยอมรับ (Approval) หรือภาคยานุวัติ (Accession) ไม่น้อยกว่า 55 ประเทศ ซึ่งในจำนวนนั้นจะต้องมีประเทศในภาคผนวกที่ I ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี พ.ศ. 2533 รวมกันไม่ต่ำกว่า 55%

พิธีสารเกียวโตมีความสำคัญอย่างไร

ความล้มเหลวในการอนุวัติตามอนุสัญญาฯ สะท้อนให้เห็นถึงความซับซ้อนในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้เนื่องจากแต่ละประเทศพยายามที่จะรักษาผลประโยชน์ของประเทศตนโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อผู้อื่น การดำเนินการตามพันธกรณีโดยไม่มีผลบังคับตามกฎหมายจึงเป็นไปได้ยาก นอกจากนี้ ความล้มเหลวของการดำเนินการยังสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มของผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมที่อาจเกิดขึ้นจากนโยบายและมาตรการในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในแต่ละประเทศ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างประเทศที่ร่ำรวยและประเทศที่ยากจนให้มาก หากประเทศร่ำรวยยังไม่สามารถแบกรับภาระในการดำเนินการตามมาตรการเพื่อให้เกิดการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้แล้ว ประเทศที่ยากจนจะสามารถดำเนินการได้อย่างไร
            ในขณะเดียวกัน ผลการศึกษาในรายงานการประเมินฉบับที่ 2 (The Second Assessment Report) ของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ได้ยืนยันอีกครั้งว่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยมนุษย์เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และมีความจำเป็นที่จะต้องลดการปล่อยโดยเร็วและในปริมาณที่มากพอที่จะทำให้สภาพภูมิอากาศของโลก ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงจนก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อมนุษย์

สาเหตุที่ต้องมีพิธีสารเกียวโต

จากรายงานแห่งชาติของประเทศภาคีอนุสัญญาฯในภาคผนวกที่ I ซึ่งเสนอต่อที่ประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ พบว่า ประเทศเหล่านี้ไม่สามารถดำเนินการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้อยู่ในระดับการปล่อย ณ ปี พ.ศ. 2533 ได้ภายในปี พ.ศ. 2553 ตามที่กำหนดพันธกรณีไว้ในอนุสัญญาฯ ที่ประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯสมัยแรก COP - 1 ณ กรุงเบอร์ลิน จึงตัดสินใจว่าประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ในภาคผนวกที่ I ไม่สามารถดำเนินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามพันธกรณี และปริมาณการลดก๊าซตามพันธกรณีไม่เพียงพอที่จะช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์สูงสุดของอนุสัญญาฯได้ จึงต้องทบทวนพันธกรณีและกำหนดมาตรการที่เข้มข้นมากกว่าที่เป็นอยู่ ดังนั้น ที่ประชุม COP - 1 จึงให้มีการเจรจารอบใหม่ โดยมีเป้าหมายให้กำหนดพันธกรณีที่ละเอียดมากขึ้น โดยแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจที่เรียกว่า Ad Hoc Group on Berlin Mandate (AGBM) ซึ่งมี มิสเตอร์ ราอูล เอสตราดา โอยุเอลา ( Mr. Raul Estrada- Oyuela ) จากสาธารณรัฐอาร์เจนตินา เป็นประธานในการยกร่างพิธีสารเพื่อใช้ในการเจรจาในการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญา ฯ สมัยที่ 3 (COP-3) ณ กรุงเกียวโต

พิธีสารเกียวโตเกิดขึ้นได้อย่างไร

อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้จัดทำขึ้นในลักษณะที่เป็นกรอบการอนุวัติของประเทศภาคี ภายใต้หลักการของอนุสัญญาฯ โดยเปิดโอกาสให้มีการปรับปรุงพันธกรณีตามที่เหมาะสม จากมาตรา 4 ของอนุสัญญาฯ ที่ระบุถึงพันธกรณีของประเทศภาคีอนุสัญญาฯ สมัยแรก (Conference of the Parties, COP-1) ซึ่งจัดขึ้นที่ กรุงเบอร์ลิน ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เมื่อ ปี พ.ศ. 2538

กว่าจะได้มาซึ่งพิธีสารเกียวโต

คณะกรรมการเฉพาะกิจ AGBM ได้ทำงานตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากการ COP - 1 โดยจัดการประชุมคณะกรรมการทั้งหมด 8 ครั้ง การประชุม 4 ครั้งอยู่ในช่วงก่อนการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสมัยที่ 2 (COP-2) อีก 3 ครั้งอยู่ในช่วงก่อน COP-3 และครั้งสุดท้ายได้จัดประชุมในช่วงของการประชุม COP-3 ในปี พ.ศ. 2540 ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้
* ตกลงกำหนดการและแนวทางในการทำงานทั้งหมด
*วิเคราะห์และประเมินนโยบายและมาตรการที่ประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ที่พัฒนาแล้วจะสามารถดำเนินการได้หลังจากปี พ.ศ. 2543 เป็นพันธกรณีเพิ่มเติม
* กำหนดเป้าหมายของพิธีสารที่มีความเป็นไปได้ บนพื้นฐานของการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้อง
*พิจารณาร่างพิธีสาร โดยมีกลุ่มประเทศต่างๆ เสนอกรอบพิธีสาร เช่น สหภาพยุโรป (Europena Union) และแนวร่วมประเทศหมู่เกาะเล็ก ๆ (Alliance of Small Island States, AOSIS, G77 , China) เป็นต้น
การยกร่างพิธีสารเพื่อใช้ในการเจรจานั้น ได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์สูงสุดของอนุสัญญาฯ คือ เพื่อให้บรรลุถึงการรักษาระดับความหนาแน่นของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศให้คงที่ในระดับไม่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมมนุษยชาติ เช่น ควรบรรลุได้ภายในระยะเวลาที่รวดเร็วพอที่จะให้ระบบนิเวศน์ปรับตัวได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้การพัฒนาทางเศรษฐกิจสามารถดำเนินการได้อย่างยั่งยืน และภายใต้หลักการของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ระบุในมาตรา 3 โดยเฉพาะด้านความเสมอภาคและความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่างกัน ( Common but Differentiate Responsibilities )

ประเด็นสำคัญภายใต้พิธีสารเกียวโต

พันธกรณีการลดก๊าซเรือนกระจก พิธีสารเกียวโตกำหนดพันธกรณีให้ประเทศในกลุ่ม Annex I ต้องดำเนินการลดประมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 6 ชนิด คือ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) ไนตรัสออกไซด์ (N2O) ไฮโดรฟลูโรคาร์บอน (HFCs) เปอร์ฟลูโอโรคาร์บอน(PFCs) และ ซัลเฟอร์เฮกซ่าฟลูโอไรด์ (SF6) เฉลี่ยรวมกันไม่ต่ำกว่า 5.2% ของปริมาณการปล่อยเมื่อปี ค.ศ. 1990 ภายในช่วงปี ค.ศ. 2008 - 2012 ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 3
กลไกยืดหยุ่น (Flexibility Mechanisms) พิธีสารเกียวโตกำหนดกลไกยืดหยุ่น 3 กลไกขึ้นเพื่อให้ประเทศในกลุ่ม Annex I สามารถบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกได้ง่ายขึ้น

กลไกยืดหยุ่น (Flexibility Mechanisms) ภายใต้พิธีสารเกียวโต มีด้วยกัน 3 กลไกดังนี้

1.กลไกการทำโครงการร่วม (Joint Implementation, JI) ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 6 ซึ่งกำหนดให้ประเทศพัฒนาแล้ว สามารถดำเนินโครงการลดประมาณการปล่อยก๊าซเรือกระจกร่วมกันเองระหว่างประเทศในกลุ่ม Annex I ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้เรียกว่า ERUs (Emission Reduction Units)

2.กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism, CDM) ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 12 ซึ่งกำหนดให้ประเทศพัฒนาแล้ว (กลุ่ม Annex I) สามารถดำเนินโครงการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร่วมกับประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศในกลุ่ม Non-Annex I ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้จะต้องผ่านการรับรอง จึงเรียกว่า CERs (Certified Emission Reduction)

3.กลไกการซื้อขายสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission tranding, ET) ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 17 ซึ่งกำหนดให้ประเทศพัฒนาแล้ว ที่ไม่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศได้ สามารถซึ้อสิทธิ์การปล่อยจากประเทศในกลุ่ม Annex I ด้วยกันเอง ที่มีสิทธิ์การปล่อยเหลือ (อาจเป็นเครดิตที่หลือจากการทำโครงการ JI และ CDM หรือ สิทธิ์การปล่อยที่เหลือเนื่องจากระบบเศรษฐกิจทำให้ปริมาณการปล่อยในปัจจุบันน้อยกว่าปริมาณการปล่อยเมื่อปีค.ศ. 1990 จึงมีสิทธิ์การปล่อยเหลือพร้อมที่จะขายได้) เรียกสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่จะซื้อขายกันนี้ว่า AAus (Assigned Amount Units)

ประเทศไทยกับพิธีสารเกียวโต

ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคพิธีสารเกียวโตเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2545 ในกลุ่มประเทศนอกภาคผนวกที่ 1 ของอนุสัญญาฯ จึงไม่มีพันธกรณีการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามพิธีสารโตเกียว อย่างไรก็ตามประเทศไทยถือได้ว่าเป็นประเทศหนึ่งที่มีความล่อแหลมต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศค่อนข้างสูง ดังนั้น การที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีพิธีสารเกียวโตก็จะทำให้ประเทศไทยมีโอกาสที่จะให้ความร่วมมือกับนานาประเทศ ในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนมีโอกาสที่จะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี และการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยใช้เทคโนโลยีที่สะอาด การเรียนรู้ด้านการวิจัยและพัฒนา จากประเทศในกลุ่มภาคผนวกที่ 1 รวมทั้งมีโอกาสในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเพื่อดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอีกด้วย นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีโอกาสในการเข้าร่วมดำเนินโครงการต่างๆ ภายใต้กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism : CDM) หากได้มีการพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วว่าการดำเนินโครงการเหล่านั้นจะก่อให้เกิดประโยชน์ที่แท้จริงกับประเทศชาติ

ความคืบหน้าของพิธีสารเกียวโต

สืบเนื่องจากพิธีสารเกียวโตจะมีผลบังคับใช้ (Entry into Force) ต่อเมื่อมีประเทศต่างๆ ลงนามให้สัตยาบัน (Ratification) ไม่ต่ำกว่า 55 ประเทศ และในบรรดาประเทศที่ลงนามให้สัตยาบัน จะต้องประกอบด้วยประเทศในกลุ่มภาคผนวกที่ 1 ซึ่งมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ณ ปี ค.ศ. 1990 รวมกันแล้วไม่ต่ำกว่า 55% แต่เนื่องจากสหรัฐอเมริกาซึ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจก ณ. ปี ค.ศ. 1990 ประมาณ 36% ของปริมาณการปล่อยทั่วโลก ปฏิเสธการลงนามให้สัตยาบัน ส่งผลให้การมีผลบังคับใช้ของพิธีสารเกียวโตล่าช้าจนกระทั่ง ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2547 สหภาพโซเวียตซึ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจก ณ ปีค.ศ. 1990 17.4% ได้ลงนามให้สัตยาบันพิธีสารเกียวโต ส่งผลให้พิธีสารเกียวโตมีผลบังคับใช้ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2548 นี้ขณะเดียวกันการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในตลาดโลกเริ่มคึกคักขึ้นมาก สำหรับประเทศไทยก็จะมีโอกาสเข้าร่วมทำโครงการ CDM มากขึ้นเนื่องจากเริ่มมีตลาดคาร์บอนเครดิตที่แท้จริงแล้ว

 

อนุสัญญา UNFCCC (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC)

สืบเนื่องมาจากประชาคมโลกตระหนักถึงปัญหาภาวะโลกร้อน หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ซึ่งอาจเป็นภัยอันตรายอย่างใหญ่หลวงต่อมวลมนุษยชาติในอนาคต การลดปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องร่วมมือกันระหว่างประเทศต่างๆทั่วโลก ไม่สามารถดำเนินการโดยประเทศใด ประเทศหนึ่ง กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้โดยลำพัง ดังนั้นผู้แทนประเทศต่างๆ จากทั่วโลกกว่า 150 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยจึงได้ร่วมกันลงนามรับรองอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ณ กรุงริโอ เดอ จาเนโร ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล เมื่อเดือนมิถุนายน ปีพ.ศ.2535 (ค.ศ. 1992) โดยมีผู้แทนรัฐบาล 154 ประเทศ รวมทั้งสหภาพยุโรปได้ร่วมลงนามรับรองอนุสัญญาฯดังกล่าว จนกระทั่งกำหนดวันสุดท้ายของการลงนามมีประเทศลงนามรับรองรวมทั้งสิ้น 165 ประเทศ
มีเป้าหมายสูงสุดอนุสัญญาฯ คือ เพื่อรักษาระดับความหนาแน่นของก๊าซเรือนกระจกที่สะสมอยู่ในบรรยากาศ ให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อชีวิตมนุษย์และระบบภูมิอากาศของโลก และกำหนดให้ประเทศพัฒนาแล้วหรือประเทศในกลุ่ม Annex I (กลุ่มประเทศภาคผนวก 1 ของอนุสัญญาฯ) ทำการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กลับอยู่ในระดับการปล่อยเมื่อปี ค.ศ. 1990

 

การมีผลบังคับใช้ของอนุสัญญา UNTCCC

อนุสัญญาฯ กำหนดไว้ว่าให้มีผลบังคับใช้ภายใน 90 วันหลังจากประเทศที่ 50 ให้สัตยาบัน ยอมรับ เห็นชอบหรือเข้าร่วมเป็นประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2536 เป็นวันที่มีประเทศต่างๆ ให้สัตยาบันครบ 50 ประเทศ ส่งผลให้อนุสัญญา ฯ มีผลบังคับใช้ในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2537 และหลังจากนั้นอีก 6 เดือน ประเทศภาคีอนุสัญญาฯที่เป็นประเทศ ในกลุ่ม Annex I จะต้องเริ่มส่งรายงานแห่งชาติ (National Communication) เพื่อแสดงถึงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและกลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในขณะเดียวกัน โดย INC/FCCC ได้จัดประชุมพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับการอนุวัติตามอนุสัญญาฯ เช่น การจัดเตรียมกลไกทางการเงิน การสนับสนุนด้านเทคนิคและการเงินให้กับประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งขั้นตอนและสถาบันที่เกี่ยวข้อง INC/FCCC ได้ยุบเลิกไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 และให้ที่ประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ เป็นองค์กรสูงสุดของอนุสัญญา จวบจนวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2543 มีประเทศต่าง ๆ ให้สัตยาบันอนุสัญญาฯ แล้ว 186 ประเทศ

 

ประชาคมโลกตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างไร

พ.ศ. 2441 นักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดนชื่อ สวานท์ อาเรนเนียส (Svante Ahrrenius) ได้เตือนว่าการ
ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อาจทำให้เกิดภาวะโลกร้อนขึ้นได้ แต่ในขณะนั้นไม่มีคนให้ความสนใจในความคิดเห็นดังกล่าว

พ.ศ. 2521 มีการประชุมสภาพภูมิอากาศครั้งแรก นักวิทยาศาสตร์เริ่มตื่นตัวสนใจอย่างจริงจัง และ
ตระหนักว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกเป็นปัญหาใหญ่ และมีผลต่อมนุษย์
ที่ประชุมได้มีปฏิญญาเรียกร้องให้รัฐบาลประเทศต่าง ๆพินิจพิเคราะห์และป้องกันการกระทำของมนุษยชาติที่ก่อให้เกิดเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของมนุษยชาติโดยได้กำหนดจัดตั้ง แผนสภาพภูมิอากาศ (World Climate Program) ภายใต้ความรับผิดชอบร่วมกันของ องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization) โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations environmental Programme) และคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์นานาชาติ (International Council of Scientfic Unions)

พ.ศ.2523 – 2533 มีการจัดประชุมระหว่างประเทศในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อช่วยกระตุ้นให้นานาประเทศตระหนักถึงประเด็นปัญหานี้ ผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหลาย รวมถึงผู้กำหนดนโยบาย นักวิทยาศาสตร์ และนักสิ่งแวดล้อม ได้ประชุมพิจารณาประเด็นทั้งด้านวิทยาศาสตร์ และนโยบายตลอดจนเรียกร้องให้ทั้งโลกดำเนินการร่วมกัน

พ.ศ. 2531 โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ร่วมกับองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก จัดตั้ง
คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change หรือ IPCC) เพื่อประเมินความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศและผลกระทบต่าง ๆ ตลอดจนกลยุทธ์ในการตอบสนองต่อปัญหาดังกล่าว

พ.ศ. 2533 IPCC ได้เสนอรายงานการประเมินครั้งที่หนึ่ง (The First Assessment Report)” ซึ่งรายงานนี้ได้ย้ำถึงปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยมนุษย์นั้น คาดว่าเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างรวดเร็ว และมีผลต่อผู้กำหนดนโยบายและสาธารณชนเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ยังเป็นพื้นฐานในการเจรจาภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเวลาต่อมาด้วย

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2533 ที่ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติมีมติให้เริ่มดำเนินการเจรจา
ร่างอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) และได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อการเจรจาระหว่างรัฐบาลเรียกว่า Intergovernmental Negotiation Committee for Framework Convention on Climate Change (INC/FCCC) ขึ้นมาเพื่อดำเนินการเจรจาร่างอนุสัญญาฯ คณะกรรมการ INC/FCCC ได้ประชุมกัน 5 ครั้งระหว่างกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ถึง พฤษภาคม 2535

 

 

คาร์บอนเครดิต​...​กำ​ไรอีกต่อของการพัฒนาพลังงานทดแทน
          ​ณ​ ​วันนี้​ “​ภาวะ​โลกร้อน​” ​หรือ​“Global Warming” ​ถูกโจษขาน​กัน​อย่างหนาหู​ ​เพราะ​เป็น​ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิ​เวศวิทยา​และ​การดำ​รงชีวิตของประชากร​ทั่ว​ทั้ง​โลก​ ​และ​ทุกฝ่ายก็กำ​ลังหาทางบรรเทาปัญหานี้​ให้​เบาบางลง​ ​รวม​ถึง​กรมพัฒนาพลังงานทดแทน​และ​อนุรักษ์พลังงาน​ (พพ​.) ​เช่น​กัน​ที่พยายามเร่งส่งเสริม​ให้​เกิดการอนุรักษ์พลังงาน​และ​พัฒนาพลังงานทดแทนอย่างต่อ​เนื่อง​มากว่า​ 50 ​ปี​
          ​ภาวะ​โลกร้อน​เป็น​ปัญหาที่ทุกประ​เทศกำ​ลังสนับสนุนกิจกรรมที่​สามารถ​ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม​ใน​รูปแบบของการสนับสนุนทางการเงิน​ ​หรือ​ที่รู้จัก​กัน​ใน​นามของ​ “​คาร์บอนเครดิต​” ​เพื่อ​ให้​การดำ​เนินงานด้านสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นจริง​และ​เกิดผลทางธุรกิจมากยิ่งขึ้น​ ​ซึ่ง​การผลิต​และ​ใช้​พลังงานทดแทนก็ถือ​เป็น​ส่วน​หนึ่งของกิจกรรมที่​ได้​รับประ​โยชน์​จาก​คาร์บอนเครดิต​ด้วย​
          ​งั้น​...​เรามาทำ​ความ​รู้จัก​กับ​ ​คาร์บอนเครดิต​ ​กัน​ซักหน่อย​แล้ว​กัน​นะคะ​ ​คาร์บอนเครดิต​ ​นั้น​ก็คือ​ ​ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่​สามารถ​ลด​ได้​จาก​การดำ​เนินโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด​ ​หรือ​ที่​เรียกสั้นว่าๆ​ CDM (Clean Development Mechanism) ​ซึ่ง​คุณๆ​รู้​กัน​มั้ยคะว่า​ ​กลุ่มประ​เทศพัฒนา​แล้ว​เป็น​ตลาดที่​ต้อง​การคาร์บอนเครดิตสูงมาก​ ​เนื่อง​จาก​มีพันธกรณีที่​จะ​ต้อง​ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก​ใน​ระหว่างปี​ 2551 – 2555 ​ตามที่ระบุ​ไว้​ใน​พิธีสารเกียวโต​
          ​แล้ว​เรา​จะ​ได้​ประ​โยชน์อะ​ไร​?...​สำ​หรับประ​เทศไทย​ได้​ร่วม​ให้​สัตยาบัน​ใน​พิธีสารเกียวโต​ ​โดย​อยู่​ใน​กลุ่มประ​เทศกำ​ลังพัฒนาที่​ไม่​ถูกบังคับ​ให้​มีพันธกรณีลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก​ ​แต่​สามารถ​เข้า​ร่วม​ใน​ตลาดคาร์บอนเครดิต​ได้​ใน​ฐานะ​ผู้​ผลิตคาร์บอนเครดิต​จาก​การดำ​เนินโครงการ​ CDM ​สำ​หรับราคาซื้อขาย​นั้น​ตามแต่ตกลงระหว่าง​ผู้​ซื้อ​ - ​ขาย​ ​โดย​จะ​ดู​จาก​ความ​แน่นอนของปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลด​ได้​ ​และ​ต้นทุนของเทคโนโลยีที่​ใช้​ใน​การดำ​เนินโครงการ​
          ​และ​ใน​ขณะนี้​ ​พพ​. ​ได้​ให้​การสนับสนุนโครงการผลิต​และ​ใช้​พลังงานทดแทน​ ​ซึ่ง​เข้า​ข่ายประ​เภทของโครงการ​ CDM ​แล้ว​ ​โดย​ได้​รับการรับรอง​จาก​รัฐบาลไทย​แล้ว​จำ​นวน​ 7 ​โครงการ​ ​และ​ยัง​มีอีกหลายโครงการที่​อยู่​ระหว่างการพิจารณา​ ​จึง​นับว่า​เป็น​โอกาสดีของประ​เทศที่​จะ​ได้​รับผลประ​โยชน์​จาก​การลดก๊าซเรือนกระจก​ ​และ​ยัง​สร้างราย​ได้​เข้า​ประ​เทศ​จาก​การขายคาร์บอนเครดิตของ​ผู้​ดำ​เนินโครงการด้านพลังงานอีก​ด้วย​ ​หากสนใจรายละ​เอียดเพิ่มเติม​ ​สามารถ​สอบถาม​ได้​ที่​ ​สำ​นักวิจัย​ ​ค้น​คว้าพลังงาน​ (พพ​.) ​โทร​. 0 2211 1853

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท