KM กับการเรียนปริญญาเอก


การจัดการความรู้มีความสำคัญสำหรับผู้ชอบใฝ่หาความรู้ทุกระดับ แล้ว KM สำคัญอย่างไรกับการเรียนปริญญเอก

โดยปกตินักศึกษาปริญญาเอกที่นี่มักจะพบกันต่อพักทานอาหารกลางวัน ซึ่งก็มักจะไม่ใช่ข้าว แต่เป็นแซนวิช หรือกาแฟซะมากกว่า เราก็เรียกห้องที่เรามักจะทานอาหารแล้วเจอกันบ่อยๆว่า คอมมอนรูม "common room" ห้องทานอาหารเรามีชุดกาต้มน้ำ ไมโครเวฟ และตู้เย็น อีกทั้งที่ล้างช้อน จาน และคัพบอร์ด ใครไปใครมากก็ส่วนใหญ่จะแวะห้องนี้แหละ

อาจารย์เคยพูดเสมอว่า อยากให้พวกเราคุยกันบ่อยๆ เพราะบางครั้ง โปรเจกดีๆ ไอเดียบรรเจิด มักจะเกิดขึ้นในระหว่างการรับประทานอาหาร หรือการโม้แหลกกับเพื่อนๆ

เพื่อนๆ ในวงสนทนาวันนี้ก็หน้าเดิมๆ มีชาวมาเลเซีย แม็กซิโก อีหร่าน ซีเรีย จอร์แดน วันนี้เราคุยกันถึงเรื่อง KM ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคนอ่านตรงนี้เลยเอามาเขียนไว้ ในแล็ปของเราก็มีคนที่ทำงานวิจัยเกี่ยวกับ การจัดการความรู้กันหลายคน แต่เราปล่าวทำนะ ดังนั้นหากเข้าใจผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยนะ แต่เนื่องจากเราเองก็คุ้นเคยกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์มาตั้งแต่สมัยใช้ อินเทอร์เน็ตบน text based โดยผ่าน group news ซึ่งเราเห็นด้วยมากๆ ในการแลกเปลี่ยน ประสบการณ์โดยผ่านตัวอักษร แต่สมัยนั้นยังมีข้อจำกัดเรื่องภาษาอยู่มาก

ปัจจุบันเรามี mega application ที่สามารถรวม multimedia ต่างๆ มาไว้บนเว็บไซต์เดียว โดย สามารถแลกเปลี่ยนสื่อทุกแบบ เช่น ภาพ ข้อความ วิดีโอ อื่นๆ มีบริการมากมายให้เลือกใช้ และขณะนี้ ตอนนี้ มัน ฟรี จะเห็นได้ว่าชุมชนเหล่านี้กว้างใหญ่ไพศาลทีเดียว

แต่หากจะมองว่า สื่ออิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภทเหล่านี้ มีส่วนหนึ่งที่มีประโยชน์เชิงวิชาการ ซึ่งหากเรามีการจัดการที่ดีแล้ว ก็สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีได้ ไอเดีย วิกกี้ และ บล็อก จึงเกิด

มีใครคนหนึ่งแย้งว่า "เธอรู้ไม๊ว่าชาวญี่ปุ่นน่ะ เค้าไม่เชื่อเรื่อง KM นะ"

"เหรอๆ ทำไมล่ะ" เราถาม

"เค้าคิดว่า Knowledge นี้น่ะ เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล ซึ่งไม่สามารถนำไปสร้างเป็นความรู้สำหรับมวลชนได้"

"เหอๆ จริงเหอ" เราถามอีก

เพื่อนยังต่ออีกว่า "เค้าไม่เชื่อว่า จะสามารถนำ Knowledge มาอ้างอิงหรือนำมาจัดการให้สามารถนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพได้"

เราก็แซวว่า "มีงานวิจัยรองรับไม๊ล่ะ"

เพื่อนเราว่า " ... อืม มันเป็นลักษณะของ Culture น่ะ ซึ่งเป็นการเข้าใจต่อๆ กันไป ซึ่งก็น่าจะศึกษานะ"

ถึงแม้ว่าการสนทนาวันนี้จะดูจบไม่ค่อยสวยเท่าไร่ เพราะเราก็ยังไม่เชื่อสนิทใจดี ว่ามันจะจริงอย่างที่เพื่อนเราพูดรึเปล่า หรือหากเราจะค้านเราก็ต้องมีความรู้มากพอที่จะไปแสดงความคิดเห็นเชิงคัดค้านได้ ยังไม่สามารถหักล้างได้ว่างั้นเหอะ แต่ใจจริงก็ยังไม่ค่อยเห็นด้วยซักเท่าไร่ และก็น่าศึกษา 

แต่หากมองในบริบทของประเทศไทย หากเราสามารถสร้างชุมชนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้ครอบคลุมและกว้างขวาง การที่เรามีข้อมูลจำนวนมาก มันก็ทำให้มีโอกาสที่จะมีสารสนเทศที่สามารถนำไปอ้างอิงได้มากเช่นกัน ดังนั้นสิ่งที่ควรจะเป็นก็คือ สนับสนุนให้ทุกคนแลกเปลี่ยนประสบการณ์โดยผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้มากที่สุด เพราะการจัดการความรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากผู้ส่งสารไม่ถ่ายทอด ตัว "สาร" ลงใน "สื่อ" ซะก่อน  ไหนเลยผู้รับสารจะได้รับ ...

วันนี้การสนทนาจึงจบลงที่เราบอกว่า "ไงๆ เธอก็เข้าไปเขียน comment ใน blog ph.d. บ้างก็แล้วกัน อย่าปล่อยให้ blog ร้างล่ะ แหมทำเอาญี่ปุ่นมาอ้าง ขี้เกียจเขียน blog ก็บอกมาเหอะ !"

หมายเลขบันทึก: 152266เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2007 18:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท