เตรียมความพร้อมก่อนเดินป่าแสวงหาแก่นธรรม


เตรียมความพร้อมก่อนเดินป่าแสวงหาแก่นธรรม
เตรียมความพร้อมก่อนเดินป่า แสวงหาแก่นธรรม           เหมือนมีบุญวาสนามาแต่เดิม หลังจากที่ว่างเว้นจากการเดินป่าหลายปี สัปดาห์ที่แล้วได้มีโอกาสเข้าร่วมเดินป่า ทำความดีเพื่อพ่อ กับชาว โรงพยาบาลราชบุรี ที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ โคราช ทำให้หวนนึกถึงบรรยากาศเก่า ๆ ที่ได้เตรียมการเดินป่าสำหรับพี่น้องชาวสาธารณสุขในจังหวัดตากเมื่อหลายปีก่อนร่วมกับอดีตนายแพทย์สาธารณสุขตาก (อาจารย์หมอธงชัย เติมประสิทธิ์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขตพื้นที่ภาคใต้)  เมื่อคืน เมื่อได้ยินเสียงโทรศัทพ์จาก อาจารย์หมอธงชัย เติมประสิทธิ์ ในช่วยเขียนบทความเตรียมตัว ก่อนเดินป่าแสวงหาแก่นธรรมที่จะจัดขึ้นที่อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ทำให้รู้สึกว่าคงไม่ใช่เหตุบังเอิญ แต่เป็นผลบุญที่ร่วมทำกันมา จึงรีบเขียนบทความนี้ส่งให้อาจารย์หมอธงชัย และลงในบทความ Gotoknow.com เพื่อเผยแพร่แก่สมาชิกด้วย           การเตรียมตัวเตรียมใจก่อนเดินป่า          การเตรียมใจ กล่าวกันว่าการพัฒนาสิ่งใดให้เริ่มที่ใจ เมื่อชนะใจได้ย่อมชนะสิ่งทั้งปวง การเดินป่าเช่นเดียวกันต้องทำใจเสียก่อนยอมรับสภาพความทุกข์ความลำบากร้อนไปหนาวไป ต้นไม้มีพิษสัตว์มีพิษอันตรายต่าง ๆ และกิจวัตรประจำวันที่เปลี่ยนไปแล้วจึงจะพบความสุข จากดอกไม้ และสิ่งสวยงามต่าง ๆ ผู้ที่แสวงหาความสะดวกสบายจากการเดินป่า สมควรอย่างยิ่งที่จะทบทวนความคิดเสียใหม่ การเดินป่าที่แท้ คือการปรับกายใจ ให้เป็นไปตามสิ่งแวดล้อมที่ลำบากในธรรมชาตินั้น ๆ เมื่อเกิดความทุกข์ให้พิจารณาความทุกข์นั้น เมื่อพ้นจากความทุกข์นั้นมาได้ จะเกิดความสุขสงบในที่สุด           การเตรียมตัว          การเดินป่า ถือเป็นการผจญภัยที่ให้ความสนุกสนานผ่อนคลายศึกษาธรรมชาติและได้แก่นธรรมไปในตัว สิ่งสำคัญคือร่างกายต้องพร้อมโดยเฉพาะการฝึกซ้อมกล้ามเนื้อบริเวณขา หลัง เพราะจะต้องเดินและปีนเขาเป็นระยะเวลานานเป็นชั่วโมง ๆการฝึกซ้อมที่ดี คือการเดินเร็ว ๆ ระยะเวลาตั้งแต่ 1 ชั่วโมงขึ้นในทางราบหรือเดินขึ้นเขาเตี้ย ๆ 15 นาทีขึ้นไป หรือวิ่งเหยาะ ครึ่งชั่วโมงขึ้นไป สัปดาห์ละอย่างน้อย 5 วัน ติดต่อกัน 1 เดิน เพื่อฝึกให้กล้ามเนื้อมีความอดทน อย่าลืมเคล็ดลับในการออกกำลังกายแบบแอโรบิค จะต้องยืดกล้ามเนื้อ 4 ท่า นี้ก่อน1.      ท่ายืดกล้ามเนื้อบริเวณ ข้อต่อสะโพกและหลัง  แยกเท้าออกสองข้าง หลังตรง ค่อย ๆ ก้มลง จนถึงบริเวณน่องและหลัง ค้างไว้ ครึ่งนาที ทำสามครั้ง หรือจะทำ 1 นาทีครึ่งครั้งเดียวก็ได้ 2.      ท่ายืดกล้ามเนื้อเอ็นร้อยหวาย ฝาเท้า ส้นเท้าแนบพื้นชิดกัน เอียงตัวไปที่กำแพงยันกำแพงไว้ แผ่นหลังสะโพกและขาอยู่ในแนวตรง จนรู้สึกว่าน่องตรึงค้างไว้ 1 นาที ครึ่ง (ท่ายันกำแพง)3.      ท่ายืดกล้ามเนื้อขาหนีบ ยืนขาเดียว ขาอีกข้างหนึ่งพาดบนโต๊ะหรือเก้าอี้ให้รู้สึกกล้ามเนื้อขาหนีบตรึง ค้างไว้ 1 นาทีครึ่ง 4.      ท่ายืดกล้ามเนื้อต้นขา ยืนขาเดียว ขาอีกข้างหนึ่งใช้มือดึงด้านหลังเท้าขึ้นไปด้านหลังให้รู้สึกกล้ามเนื้อขาด้านหน้าตรึง ค้างไว้ 1 นาทีครึ่ง การเตรียมสิ่งของเครื่องใช้สำหรับเดินป่า ของใช้ส่วนตัว ให้เตรียมของไปให้น้อยที่สุดเพราะจะต้องเตรียมของไว้สำหรับแบก ยาสีฟัน สบู่ หวี ลิปมันทาริมฝีปากกันปากแตก ยารักษาโรคประจำตัว เบาหวาน ความดัน หัวใจ (ถ้ายังควบคุมไม่ได้ ไม่ควรเดินป่าไกล) สำหรับยาที่สมควรจัดเพิ่มเติม พลาสเตอร์ยา เทนโซพาน ไฮโอดีน ทินเจอร์ ยาแก้ปวด ครีมทาแก้แพ้ เพล็ตนิโซโลน ยากันยุง กย 15 หรือตะไคร้หอม ช่วยป้องกันยุงและเห็บมากัด และทากมากัด          ของใช้เกี่ยวกับความปลอดภัย นกหวีด เข็มทิศ (ควรฝึกการใช้เข็มทิศของลูกเสือให้ชำนาญ หรือให้ทันสมัยอาจซื้อ GPS ติดต่อสัญณานดาวเทียมเวลาเข้าป่าก็ได้) ไฟฉายแนะนำให้ใช้ไฟฉายขนาดเล็กที่สว่างมาก ๆ เช่น หลอดไฟฮาโรเจน หรือ ถ้าราคาถูกก็ใช้ไฟฉายตราเสือชนิดสามท่อน พร้อมหลอดอะไหล่ ถ่านไฟฉาย ควรจะเป็นก้อนใหม่ 2 ก้อน กลางเก่ากลางใหม่ 2 ก้อน มิฉะนั้นหลอดจะขาดง่าย สำหรับชาวจักรยานอาจใช้ไฟหน้ารถจักรยานก็ได้ ถ้าเป็นชนิดชาร์ทไฟใหม่ได้จะดีมาก สำหรับถุงเท้ากันทาก ขณะนี้หาซื้อได้ที่อุทยานแห่งชาติต่าง ๆ คู่ละ 50 บาท สวมคล้ายถุงเท้าและเอาชายกางเกงยัดเข้าถุงเท้านี้          เครื่องป้องกันความหนาวและเครื่องนอน ควรศึกษาอุณหภูมิ หนาวสุดของที่ ที่จะไป ถ้าเป็นไปได้ควรมีถุงนอนที่ดีพอ เสื้อกันหนาวที่มั่นใจว่าให้ความอบอุ่นได้ดี หมวกกันทั้งแดดกันทั้งน้ำค้าง หรือจะเป็นหมวกไอ้โม่งที่เหลือแต่ตาไว้ดูทาง ถุงมือถุงเท้าสำหรับผู้ที่กลัวความหนาว ครีมและโลชั่นป้องกันผิวแตก เต้นท์สำหรับนอน (แนะนำให้ฝึกกางฝึกเก็บด้วยตัวเองไปก่อน ถ้าทำได้เองจะมีความประทับใจมาก)           อาหารการกิน ฉุกเฉินควรสอบถามว่าเรื่องอาหารการกินใครรับผิดชอบ หากไม่มั่นใจควรเตรียมของคบเคี้ยวไปบ้าง เช่น เมล็ดฟักทอง ถั่วอบ ลูกอมต่าง ๆ           เทคนิคการเดินป่า ให้ปลอดภัยมีความสุขได้แก่นธรรม          ควรตรงต่อเวลา ร่วมประชุมเรียนรู้เส้นทาง กติกา ตารางเวลา โดยละเอียด หากเป็นไปได้ให้มีแผ่นที่อยู่ในมือตลอดเวลา คำถามที่ต้องตอบก่อนออกเดิน คือ ทานข้าวที่ไหน เดินนานกี่ชั่วโมงระยะเวลาเท่าไหร่ น้ำดื่มอยู่ที่ใด มีโอกาสหลงป่าหรือไม่          เมื่อออกเดินป่า ให้แบ่งเป็นกลุ่ม ๆ ละ ประมาณ 2-4 คน อย่างไปที่ไหนคนเดียวเช่น แวะเข้าห้องน้ำระหว่างทาง ควรให้เพื่อนอยู่ด้วย การเดินแต่ละช่วงให้พยายามทำสัญลักษณ์เอาไว้ เช่น หักปลายกิ่งไม้เล็ก ๆ ไว้ และดูแนวเขาต้นไม้ใหญ่ ไว้เป็นสัญลักษณ์ ในระหว่างที่ศึกษาธรรมชาติไปด้วย          ช่วงที่เดินขึ้นเข้าและช่วง 15 นาที่แรกของการเดินป่า เนื่องจากหัวใจยังเต้นช้าอยู่ให้เดินช้า ๆ อย่างพยายามหยุดให้สังเกตอัตราการเต้นของหัวใจเป็นหลัก ไม่ต้องสนใจว่าเพื่อจะเดินเร็วเพียงใด เพราะต่างคนต่างมีความแข็งแรงแตกต่างกัน           ช่วงลงเขา เป็นช่วงที่อาจจะเกิดอุบัติเหตุได้อย่าวิ่งลง อย่าลงเร็ว หัวเขาจะกระแทกเส้นเอ็นฉีกขาดทำให้ปวดและไม่สามารถเดินต่อได้          สัมภาระระหว่างเดินป่าควรใช้กระเป๋าเป้เล็ก ๆ อย่าหิ้ว เพราะต้องการมือทั้งสองข้างไว้ช่วยเหลือตัวเองไม่ใช้เอาไว้หิ้วของ โดยพยายามเอาของไปให้น้อยที่สุด          ถ้าหลงทางให้หยุดนิ่งอยู่กับที่ อย่าพยายามเดินไปในจุดที่ไม่มั่นใจจะทำให้เดินหลงป่าไปไกลขึ้นอีก ส่งเสียงเป่านกหวีด ตั้งสติให้ดี และจะมีคนมาช่วย หรือทบทวนเส้นทางใหม่และเดินใหม่           แก่นธรรมที่จะได้จากการเดินป่า ให้พยายามนึกว่า สมัยพระพุทธองค์เมื่อพันปีที่แล้ว พระพุทธองค์เดินทางเผยแพร่ธรรมมะเดินผ่านเส้นทางอย่างนี้ได้อย่างไร พวกเราได้เรียนรู้อะไรเหมือนกับพระองค์ท่านบ้าง และนำมาพูดคุยกัน           ทั้งหมดนี้เป็นเพียงบางส่วนจากประสบการณ์เชื่อว่า หลาย ๆ ท่านจะมีประสบการณ์แตกต่างกัน หากมีโอกาสกรุณาติชมและให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมมาบ้างจะเป็นพระคุณ สวัสดี นายแพทย์บุญเรียง  ชูชัยแสงรัตน์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดราชบุรี5 ธันวาคม 2550081-9415586 
หมายเลขบันทึก: 151552เขียนเมื่อ 5 ธันวาคม 2007 15:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะคุณหมอบุยเรียง

  นี่คือคนที่ตามหาจนพบว่าอยู่ใน G2K ตามอ่าน ตามหาคุณหมอ จนตัวเองกลายเป็นบล็อกเกอร์ประจำไปแล้ว

  ขอบคุณแนวทางการเดินป่าที่นำเสนอ จะหาโอกาสไปเดินป่าบ้าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท