เครื่องมือประมงแบบทำลายล้างในภาคใต้ที่ปรากฏอยู่ในกฎหมาย


เครื่องมือประมงแบบทำลายล้างในภาคใต้

เครื่องมือประมงแบบทำลายล้างในภาคใต้ที่ปรากฏอยู่ในกฎหมาย

 

     จากการสำรวจการศึกษาวิจัยที่ผ่านมา ยังไม่พบว่าได้มีการศึกษาเรื่องเครื่องมือประมงแบบทำลายล้างอย่างไว้เป็นระบบ เท่าที่พบส่วนมากจะเป็นการศึกษารวบรวมเครื่องมือประมงโดยไม่แยกแยะว่าเป็นเครื่องมือที่ทำลายล้างหรือไม่ เช่น สนั่น ร่วมรักษ์ และ สว่าง เจริญผล (๒๔๙๔) ได้ศึกษารวบรวมเรื่อง ภาพเครื่องมือจับสัตว์น้ำประเภทน้ำเค็มฝั่งมหาสมุทรอินเดีย หน่วยสำรวจแหล่งประมง กรมประมง (๒๕๑๒) ได้ศึกษารวบรวมเรื่อง เครื่องมือทำการประมงประเภทน้ำเค็มของประเทศไทย อาจารย์ฝ่ายฝึกสอนเครื่องมือประมงของศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ SEAFDEC (๒๕๒๙) ได้รวบรวมข้อมูลเรื่อง เครื่องมือประมงทะเลของไทย (ฉบับพิเศษ) กองประมงทะเล กรมประมง (๒๕๔๐) ได้ศึกษาเรื่อง คำนิยามและการจำแนกเครื่องมือประมงทะเลของไทย คณะกรรมการพิจารณาปัญหาประมงจังหวัดระนอง (๒๕๔๔) ได้รวบรวมข้อมูลเรื่อง เครื่องมือประมงจังหวัดระนอง เป็นต้น
     การศึกษารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือประมงดังกล่าวข้างต้น แม้จะไม่ได้แยกแยะออกมาเป็นเครื่องมือประมงแบบทำลายล้าง แต่เป็นการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะการทำงาน และมีภาพประกอบไว้อย่างชัดเจนและเป็นระบบพอสมควร ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการศึกษาเรื่องเครื่องมือประมงแบบทำลายล้างได้เป็นอย่างดี

อีกด้านหนึ่ง การศึกษานี้ได้พยายามแยกแยะเครื่องมือประมงแบบทำลายล้าง โดยรวบรวมจากที่ได้ตราเป็นข้อห้ามอยู่ในกฎหมายเกี่ยวกับการทำประมงที่เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๐ ทั้งนี้เนื่องจากเห็นว่าในการออกกฎหมายห้ามเครื่องมือประมงแต่ละชนิดจะมีเหตุผลรองรับเพื่ออธิบายว่า เครื่องมือประเภทนั้น ๆ ถูกห้ามเพราะอะไร ซึ่งก็คือการแสดงถึงลักษณะการเป็นเครื่องมือประมงแบบทำลายล้างของเครื่องมือประมงชนิดนั้น ๆ ไปด้วย ในบทนี้จึงจะรวบรวมรายชื่อกฎหมายที่เกี่ยวกับเครื่องมือประมงแบบทำลายล้างในภาคใต้ที่ยังคงบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน พร้อมกับเนื้อหาโดยย่อ ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ ๑) พระราชบัญญัติการประมง ๒) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ๓) ประกาศจังหวัด ดังรายละเอียดต่อไปนี้

 

 

 ๑) พระราชบัญญัติการประมง
     พระราชบัญญัติการประมงมี ๑ ฉบับคือ พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2590 มี 6 หมวดพร้อมด้วยบทเฉพาะกาล คือ หมวดที่ ๑ ที่จับสัตว์น้ำ หมวดที่ ๒ บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ หมวดที่ ๓ การจดทะเบียนและการขออนุญาต หมวดที่ ๔ สถิติการประมง หมวดที่ ๕ การควบคุม หมวดที่ ๖ บทกำหนดโทษ รวมทั้งสิ้น ๗๓ มาตรา พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นกฎหมายหลักที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และจังหวัดนำไปออกเป็นประกาศกระทรวงและประกาศจังหวัด รวมทั้งประกาศเกี่ยวกับการห้ามเครื่องมือประมงบางชนิด
๒) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
     ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เกี่ยวกับการประมงที่ปัจจุบันยังคงบังคับใช้อยู่มีทั้งสิ้น ๔๘ ฉบับ ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือประมงและการทำประมงแบบทำลายล้างในภาคใต้เท่าที่รวบรวมได้มีทั้งสิ้น ๓๖ ฉบับ เรียงตามลำดับเวลาการออกประกาศดังนี้
๒.๑) ประกาศกระทรวงเกษตราธิการ เรื่องห้ามมิให้ทำการประมงเต่าทะเล และกระทะเลทุกชนิด รวมทั้งไข่ของสัตว์น้ำดังกล่าวแล้ว
ลงวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๔๙๐
ชนิดเครื่องมือที่ห้าม ทุกชนิด
บริเวณที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
ช่วงเวลาที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
จำนวนเครื่องมือที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
สัตว์น้ำเป้าหมายที่ห้าม เต่าทะเลและกระทะเลทุกชนิด
เหตุผลที่ห้าม  -
๒.๒) ประกาศกระทรวงเกษตราธิการ เรื่องห้ามมิให้ทำการประมงปลาพะยูน
ลงวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๐๔
ชนิดเครื่องมือที่ห้าม ทุกชนิด
บริเวณที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
ช่วงเวลาที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
จำนวนเครื่องมือที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
สัตว์น้ำเป้าหมายที่ห้าม ปลาพะยูน
เหตุผลที่ห้าม -
๒.๓) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดเขตห้ามใช้เครื่องมืออวนลากและอวนรุนที่ใช้กับเรือยนต์ทำการประมง

ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๑๕
ชนิดเครื่องมือที่ห้าม เครื่องมืออวนลากชนิดมีถุง และเครื่องมืออวนรุน ระวะ ชิบ หรือรุนกุ้ง รุนเคย หรืออวนถุงทุกชนิดและทุกขนาดที่ใช้เรือยนต์ทุกชนิดทำการประมง ไม่ว่าวิธีการใด ๆ
บริเวณที่ห้าม ภายในเขตระยะ ๓,๐๐๐ เมตร (๗๕ เส้น) นับจากขอบน้ำตามชายฝั่งขณะทำการประมง และภายในรัศมี ๔๐๐ เมตร (๑๐ เส้น) นับออกไปจากอาณาเขตที่ตั้งเครื่องมือประจำที่ทุกชนิดที่ได้รับอนุญาตทำการประมงในทะเลหรืออ่าวในท้องที่จังหวัดชายทะเลทุกจังหวัด

ช่วงเวลาที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
จำนวนเครื่องมือที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
สัตว์น้ำเป้าหมายที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด

เหตุผลที่ห้าม

ชายฝั่งทะเลเป็นที่วางไข่และเลี้ยงตัวของสัตว์น้ำวัยอ่อน

- เครื่องมือเหล่านี้ทำลายไข่และสัตว์น้ำวัยอ่อน

เครื่องมือเหล่านี้ทำความเสียหายกับเครื่องมือประจำที่ของผู้ที่ได้รับอนุญาต

๒.๔) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่อง กำหนดห้ามใช้เครื่องมืออวนลากและอวนรุนที่ใช้กับเรือยนต์ทำการประมงในทะเลสาบจังหวัดสงขลาและจังหวัดพัทลุง

ลงวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๑๕
ชนิดเครื่องมือที่ห้าม เครื่องมืออวนลากชนิดมีถุง อวนรุน ระวะ ชิบ รุนกุ้ง รุนเคย อวนอื่น ๆ ที่มีลักษณะและวิธีการคล้ายกันที่ใช้เรือยนต์ หรือเครื่องยนต์ประกอบในการทำประมง
บริเวณที่ห้าม ทะเลสาบสงขลาทั้งหมด รวมตลอดถึงทะเลสาบตอนในและทะเลน้อยซึ่งอยู่ภายในท้องที่จังหวัดสงขลาและจังหวัดพัทลุง

ช่วงเวลาที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
จำนวนเครื่องมือที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
สัตว์น้ำเป้าหมายที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
เหตุผลที่ห้าม
- บริเวณที่ห้ามเป็นอาศัยเลี้ยงตัวของสัตว์น้ำที่มีค่าทางเศรษฐกิจหลายชนิด

๒.๕) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดเขตห้ามใช้เครื่องมือคราดที่ใช้กับเรือยนต์ทำการประมงหอยชนิดสองฝา

ลงวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๗
ชนิดเครื่องมือที่ห้าม เครื่องมือคราดหอยหรือเครื่องมืออื่นที่มีลักษณะหรือวิธีการคล้ายคลึงกันทุกชนิดและทุกขนาด ที่ใช้กับเรือยนต์ทุกชนิดทำการประมงไม่ว่าด้วยวิธีการใด
บริเวณที่ห้าม ภายในเขตระยะ ๓,๐๐๐ เมตร นับจากขอบน้ำตามแนวชายฝั่งทะเลขณะทำการประมงในท้องที่จังหวัดชายทะเลทุกจังหวัด

ช่วงเวลาที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
จำนวนเครื่องมือที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
สัตว์น้ำเป้าหมายที่ห้าม หอยลายชนิดสองฝา
เหตุผลที่ห้าม
- เครื่องมือนี้ทำลายพันธุ์หอยลายเกินสมควร
๒.๖) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องห้ามมิให้ใช้เครื่องมืออวนรังและเฝือกรังทำการประมง

ลงวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๑๗
ชนิดเครื่องมือที่ห้าม อวนรัง เฝือกรัง
บริเวณที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
ช่วงเวลาที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
จำนวนเครื่องมือที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
สัตว์น้ำเป้าหมายที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
เหตุผลที่ห้าม
- อวนรัง และเฝือกรังทำลายพันธุ์สัตว์น้ำวัยอ่อน
๒.๗) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดห้ามทำประมงในบริเวณรอบ ๆ เกาะเต่าและเกาะหางเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ลงวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๑๙
ชนิดเครื่องมือที่ห้าม ทุกชนิด นอกจากเบ็ดราว อวนลอย หรือลอบทะเล
บริเวณที่ห้าม รอบ ๆ เกาะเต่าและเกาะหางเต่า ซึ่งตั้งอยู่ในท้องที่กิ่งอำเภอเกาะพงัน อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายในระยะ ๓,๐๐๐ เมตรนับจากขอบน้ำตามแนวชายฝั่งขณะทำการประมง
ช่วงเวลาที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
จำนวนเครื่องมือที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
สัตว์น้ำเป้าหมายที่ห้าม ปะการัง หรือหินปะการังทุกชนิดและทุกขนาด และสัตว์น้ำทุกชนิด
เหตุผลที่ห้าม
- บริเวณนี้เป็นแหล่งปะการัง ปลา และสัตว์ทะเลอื่น ๆ นับเป็นที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของทะเลอ่าวไทย
- เครื่องมือประมงบางชนิดได้ทำลายปะการัง ปลา และสัตว์ทะเลอื่น ๆ ในบริเวณนี้เสียหายเป็นอันมาก
๒.๘) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องห้ามใช้เครื่องมือโพงพางทำการประมงในทะเลสาบสงขลา จังหวัดสงขลาและจังหวัดพัทลุง
ลงวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๑๙
ชนิดเครื่องมือที่ห้าม โพงพางหรือเครื่องมือที่มีลักษณะและวิธีการคล้ายคลึงกันทุกชนิด ทุกขนาด
บริเวณที่ห้าม ที่จับสัตว์น้ำบริเวณทะเลหลวง ที่จับสัตว์น้ำคลองหลวง ที่จับสัตว์น้ำลำคลองบางพลอง ที่จับสัตว์น้ำลำคลองรามสูร ตามแผนที่แนบท้าย
ช่วงเวลาที่ห้าม ๑๕ มีนาคม - ๓๑ พฤษภาคม ทุกปี
จำนวนเครื่องมือที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
สัตว์น้ำเป้าหมายที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด

เหตุผลที่ห้าม

พื้นที่นี้เป็นแหล่งอาศัยเลี้ยงตัวของสัตว์น้ำวัยอ่อนที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหลายชนิด

- บริเวณนี้มีผู้ใช้เครื่องมือโพงพางกันมากอันเป็นการทำลายพันธุ์สัตว์น้ำอย่างร้ายแรง

๒.๙) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดมิให้ทำการประมงสัตว์น้ำชนิดหนึ่งชนิดใดเด็ดขาด (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๑
ลงวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๒๑
ชนิดเครื่องมือที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
บริเวณที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
ช่วงเวลาที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
จำนวนเครื่องมือที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
สัตว์น้ำเป้าหมายที่ห้าม ปะการัง หรือหินปะการังทุกชนิดและทุกขนาด
เหตุผลที่ห้าม -
๒.๑๐) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องห้ามใช้เครื่องมือโพงพาง รั้วไซมาน หรือกั้นซู่รั่วไซมาน ลี่ หรือเครื่องมือที่มีลักษณะและวิธีการคล้ายคลึงกันทำการประมง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๒๑)
ลงวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๒๑
ชนิดเครื่องมือที่ห้าม โพงพาง รั้วไซมาน หรือกั้นซู่รั้วไซมาน ลี่ หรือเครื่องมือที่มีลักษณะและวิธีการคล้ายคลึงกัน ยกเว้นผู้ที่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
บริเวณที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
ช่วงเวลาที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
จำนวนเครื่องมือที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
สัตว์น้ำเป้าหมายที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด

เหตุผลที่ห้าม

มีผู้ทำการประมงด้วยเครื่องมือเหล่านี้โดยไม่ได้รับอนุญาตมาก

  • เครื่องมือนี้ทำลายพันธุ์สัตว์น้ำอย่างรุนแรง
  • เครื่องมือนี้กีดขวางการสัญจรทางน้ำ
  • เครื่องมือทำให้ร่องน้ำทางเดินเรือตื้นเขิน
    ๒.๑๑) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดให้ใช้เครื่องมืออวนลากหรืออวนรุนที่ใช้ประกอบกับเรือยนต์ทำการประมง ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๒๓)
    ลงวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๒๓
    ชนิดเครื่องมือที่ควบคุม เครื่องมืออวนลากและอวนรุนที่ใช้ประกอบกับเรือยนต์ทำการประมงตามขนาด ชนิดและจำนวนที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
    บริเวณที่ควบคุม ทะเลบริเวณอ่าวไทยและทะเลด้านมหาสมุทรอินเดีย
    ช่วงเวลาที่ควบคุม ควบคุมเด็ดขาด
    จำนวนเครื่องมือที่ควบคุม ตามที่อธิบดีกรมประมงกำหนด
    สัตว์น้ำเป้าหมายที่ควบคุม -

    เหตุผลที่ควบคุม

    เครื่องมือเหล่านี้มีจำนวนมากเกินควรไม่สมดุลย์กับปริมาณสัตว์น้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ทำให้สัตว์น้ำลดจำนวนลง
    ๒.๑๒) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดเขตห้ามใช้เครื่องมืออวนลากและอวนรุนที่ใช้กับเรือยนต์ทำการประมง (ฉบับที่ ๒)
    ลงวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๒๓
    เพื่ออนุญาตทำการประมงไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ โดยไม่ต้องถือปฏิบัติตาม ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดเขตห้ามใช้เครื่องมืออวนลากและอวนรุนที่ใช้กับเรือยนต์ทำการประมง ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๑๕
    ชนิดเครื่องมือที่อนุญาต เครื่องมืออวนลากชนิดมีถุง และเครื่องมืออวนรุน ระวะ ชิบ หรือรุนกุ้ง รุนเคย หรืออวนถุงทุกชนิดและทุกขนาดที่ใช้เรือยนต์ทุกชนิดทำการประมง ไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ
    บริเวณที่อนุญาต ภายในระยะพ้นจาก ๑,๐๐๐ เมตร (๒๕ เส้น) นับจากขอบน้ำตามแนวชายเกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล
    ช่วงเวลาที่อนุญาต ตลอดปี
    จำนวนเครื่องมือที่อนุญาต ไม่ระบุ
    สัตว์น้ำเป้าหมายที่อนุญาต ไม่ระบุ

    เหตุผลที่อนุญาต

    ปัจจุบันบริเวณนี้มีหมึกชุกชุมมากพอที่จะจับขึ้นมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้ภายในระยะเวลาระหว่างเดือนตุลาคม

  • กุมภาพันธ์ของทุกปีเท่านั้น และชาวบ้านได้ร้องเรียนผ่อนผันขอให้เข้าไปทำการประมงในบริเวณที่มีหมึกชุกชุมดังกล่าวได้

๒.๑๓) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดห้ามใช้อวนหรือเครื่องมือชนิดหนึ่งชนิดใด สำหรับทำการประมงหมึกโดยใช้ไฟฟ้าล่อ
ลงวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๒๔
ชนิดเครื่องมือที่ห้าม เครื่องมืออวนหรือเครื่องมือชนิดหนึ่งชนิดใดที่มีขนาดช่องตาเล็กกว่า ๓.๒ เซนติเมตร โดยวัดจากกึ่งกลางเงื่อนถึงกึ่งกลางเงื่อนเมื่อตาอวนเหยียดตรงใช้ประกอบกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ)
บริเวณที่ห้าม ทะเล หรืออ่าวในท้องที่จังหวัดชายทะเลทุกจังหวัด
ช่วงเวลาที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
จำนวนเครื่องมือที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
สัตว์น้ำเป้าหมายที่ห้าม หมึก

เหตุผลที่ห้าม

ปัจจุบันชาวประมงใช้เรือประมงบางชนิดดัดแปลงมาเป็นเรื่อปั่นไฟสำหรับล่อหมึกโดยใช้อวนหรือยอที่มีขนาดตาอวนเล็กมากทำการประมงหมึกที่มีขนาดเล็ก และยังใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่เป็นจำนวนมาก เป็นการทำลายทรัพยากรสัตว์น้ำโดยไม่สมควร
๒.๑๔) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดห้ามใช้เครื่องมือชนิดหนึ่งชนิดใดทำการประมงแมงดาทะเลในฤดูวางไข่ในบริเวณอ่าวพังงา ท้องที่อำเภอเมืองพังงา อำเภอตะกั่วทุ่ง อำเภอทับปุด และกิ่งอำเภอเกาะยาว โดยเด็ดขาด
ลงวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๒๕
ชนิดเครื่องมือที่ห้าม ทุกชนิด
บริเวณที่ห้าม บริเวณอ่าวพังงา ท้องที่อำเภอเมืองพังงา อำเภอตะกั่วทุ่ง อำเภอทับปุด และกิ่งอำเภอเกาะยาว
ช่วงเวลาที่ห้าม ๑ ธันวาคม-สิ้นกุมภาพันธ์ทุกปี
จำนวนเครื่องมือที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
สัตว์น้ำเป้าหมายที่ห้าม แมงดาทะเลทุกชนิดและทุกขนาด
เหตุผลที่ห้าม
- แมงดาทะเลเป็นสัตว์มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ
- บริเวณนี้มีแมงดาทะเลชุกชุม
- แมงดาทะเลจะมาวางไข่ในช่วงนี้

(ธันวาคม-กุมภาพันธ์)

เครื่องมือบางชนิดเป็นเหตุให้แมงดาทะเลในอ่าวพังงาถูกทำลายเป็นอันมากจนอาจสูญพันธุ์ได้

๒.๑๕) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดห้ามเครื่องมือที่ใช้สำหรับดูดแร่ หรือเครื่องมือที่มีลักษณะหรือวิธีการใช้คล้ายคลึงกันทำการประมง

ลงวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๒๕
ชนิดเครื่องมือที่ห้าม เครื่องมือที่ใช้สำหรับดูดแร่ หรือเครื่องมือที่มีลักษณะหรือวิธีการคล้ายคลึงกัน
บริเวณที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
ช่วงเวลาที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
จำนวนเครื่องมือที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
สัตว์น้ำเป้าหมายที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด

เหตุผลที่ห้าม

มีผู้ดัดแปลงเครื่องมือนี้มาดูดหรือสูบสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ในน้ำและตามผิวดินพื้นท้องทะเล เป็นการทำลายพันธุ์สัตว์น้ำอย่างรุนแรงเพราะ
- ทำลายพวกหอยที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ จนไม่เหลือสำหรับแพร่พันธุ์
- ทำลายไข่และสัตว์น้ำวัยอ่อน
- ทำลายอาหารสัตว์น้ำที่อยู่ตามผิวดินใต้ทะเล
- โคลนตมถูกดูดขึ้นมาด้วย ทำให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่สัตว์น้ำอาศัยอยู่และสิ่งซึ่งเป็นอาหารของสัตว์น้ำ

๒.๑๖) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องห้ามทำการประมงปูมีไข่นอกกระดอง
ลงวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๒๖
ชนิดเครื่องมือที่ห้าม ทุกชนิด
บริเวณที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
ช่วงเวลาที่ห้าม ตุลาคม-ธันวาคมของทุกปี
จำนวนเครื่องมือที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
สัตว์น้ำเป้าหมายที่ห้าม ปูที่มีไข่นอกกระดอง ๓ ชนิดคือ ปูทะเล ปูม้า ปูลาย

เหตุผลที่ห้าม

สัตว์เหล่านี้เป็นสัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ
- ปูที่มีไข่นอกกระดองจะวางไข่ในช่วงตุลาคม-ธันวาคม ถ้าทำการประมงในช่วงนี้จะทำลายพันธุ์ปูอย่างรุนแรง
๒.๑๗) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงบางชนิดทำการประมงในฤดูปลาที่มีไข่และวางไข่เลี้ยงลูกในท้องที่บางแห่ง ภายในระยะเวลาที่กำหนด พ.ศ. ๒๕๒๗
ลงวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๒๗
๑) ฤดูปลาที่มีไข่
ชนิดเครื่องมือที่ห้าม เครื่องมืออวนลากคู่ที่ใช้ประกอบเรือกลอวนลากเดี่ยวประกอบแผนตะเฆ่ที่ใช้ประกอบเรือกล หรืออวนล้อมจับ (ยกเว้นอวนโป๊ะ) และอวนติดตาที่มีขนาดช่องตาเล็กกว่า ๔.๗ เซนติเมตร
บริเวณที่ห้าม บริเวณทะเลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ตามแผนที่แนบท้ายประกาศ
ช่วงเวลาที่ห้าม ๑๕ กุมภาพันธ์-๓๑ มีนาคม เว้นแต่ทำการประมงในเวลากลางคืน ด้วยเครื่องมืออวนลากคานถ่างที่ใช้ประกอบกับเรือกล หรืออวนลากแผ่นตะเฆ่มีคานถ่าง (อวนลากแคระ) ที่ใช้ประกอบเรือกล
จำนวนเครื่องมือที่ห้าม ไม่ระบุ
สัตว์น้ำเป้าหมายที่ห้าม ไม่ระบุ
๒) ฤดูปลาวางไข่และอนุรักษ์ลูกปลา
ชนิดเครื่องมือที่ห้าม
เครื่องมืออวนลากคู่ที่ใช้ประกอบเรือกลอวนลากเดี่ยวประกอบแผ่นตะเฆ่ที่ใช้ประกอบเรือกล อวนล้อมจับยกเว้นอวนโป๊ะ และอวนติดตาที่มีขนาดช่องตาเล็กกว่า ๔.๗ เซนติเมตร ยกเว้นทำการประมงด้วยเครื่องมืออวนลากคานถ่างที่ใช้ประกอบเรือกลหรืออวนลากแผนตะเฆ่คานถ่าง (อวนลากแคระ) ที่ใช้ประกอบเรือกล
บริเวณที่ห้าม เช่นเดียวกับข้อ ๑)
ช่วงเวลาที่ห้าม ๑ เมษายน-๑๕ พฤษภาคม ของทุกปี
จำนวนเครื่องมือที่ห้าม ไม่ระบุ
สัตว์น้ำเป้าหมายที่ห้าม ไม่ระบุ

เหตุผลที่ห้าม

บริเวณนี้เป็นแหล่งซึ่งสัตว์น้ำบางชนิดวางไข่และอาศัยเลี้ยงตัวในวัยอ่อน ในช่วงเวลาดังกล่าวเครื่องมือประมงที่ห้ามจะทำลายพันธุ์สัตว์น้ำเหล่านี้

๒.๑๘) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงบางชนิดทำการประมงในฤดูปลาที่มีไข่ และวางไข่เลี้ยงลูกในท้องที่บางแห่ง ภายในระยะเวลาที่กำหนด พ.ศ.๒๕๒๘
ลงวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๒๘
ชนิดเครื่องมือที่ห้าม เครื่องมืออวนลากทุกประเภท ทุกขนาดที่ใช้ประกอบกับเรือกล อวนประเภทล้อมจับ และอวนติดตาที่มีขนาดช่องตาเล็กกว่า ๔.๗ เซนติเมตร ยกเว้นการทำประมงด้วยเครื่องมืออวนล้อมจับปลากะตัก เฉพาะในเวลากลางวัน ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก เครื่องมืออวนลากคานถ่างที่ใช้ประกอบกับเรือกล ซึ่งใช้เชือกเส้นใยประดิษฐ์เป็นสายลากอวน เฉพาะในเวลากลางคืน ตั้งแต่พระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น และเครื่องมืออวนโป๊ะ
บริเวณที่ห้าม ทะเลในท้องที่จังหวัดพังงาและกระบี่ ตามแผนที่ท้ายประกาศ
ช่วงเวลาที่ห้าม ฤดูปลาที่มีไข่และวางไข่เลี้ยงลูก (อนุรักษ์ลูกปลา) กำหนดตั้งแต่วันที่ ๑๕ เมษายน - ๑๕ มิถุนายน ของทุกปี
จำนวนเครื่องมือที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
สัตว์น้ำเป้าหมายที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด

เหตุผลที่ห้าม

บริเวณนี้และช่วงเวลาดังกล่าวเป็นแหล่งที่ปลาหลายชนิดอาศัยเลี้ยงตัวและวางไข่เลี้ยงลูก โดยเฉพาะปลาทู
๒.๑๙) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงบางชนิดทำการประมงในฤดูปลาที่มีไข่และวางไข่เลี้ยงลูกในท้องที่บางแห่ง ภายในระยะเวลาที่กำหนด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๑
ลงวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๓๑
     เพื่ออนุญาตให้ทำการประมงได้โดยไม่ต้องถือปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงบางชนิดทำการประมงในฤดูที่ปลาที่มีไข่และวางไข่เลี้ยงลูกในท้องที่บางแห่ง ภายในระยะเวลาที่กำหนด พ.ศ. ๒๕๒๗
ชนิดเครื่องมือที่อนุญาต เครื่องมืออวนล้อมจับปลากะตัก
บริเวณที่อนุญาต ทะเลพื้นที่ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี
ช่วงเวลาที่อนุญาต เฉพาะในเวลากลางวัน ระหว่างวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ - ๓๑ มีนาคม ของทุกปี
จำนวนเครื่องมือที่อนุญาต ไม่ระบุ
สัตว์น้ำเป้าหมายที่อนุญาต ไม่ระบุ
เหตุผลที่อนุญาต
- ในปัจจุบันปรากฏข้อมูลทางวิชาการว่า บริเวณนี้เป็นแหล่งที่มีปลากะตักอาศัยอยู่ชุกชุมมากพอที่จะจับขึ้นมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้โดยไม่มีผลกระทบต่อการทำลายพันธุ์ปลากะตัก

๒.๒๐) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดห้ามทำการประมงหอยแครง
ลงวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๒๘
ชนิดเครื่องมือที่ห้าม เครื่องมือประมงชนิดหนึ่งชนิดใดที่ใช้กับเรือกล ทำการประมงหอยแครงไม่ว่ากระทำโดยวิธีใด นอกจากจะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
บริเวณที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
ช่วงเวลาที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
จำนวนเครื่องมือที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
สัตว์น้ำเป้าหมายที่ห้าม หอยแครงขนาดยาวต่ำกว่า ๖ มิลลิเมตร โดยวัดเป็นเส้นตรงจากส่วนที่ยาวที่สุดของเปลือก

เหตุผลที่ห้าม

เป็นการอนุรักษ์หอยแครงเพื่อประโยชน์ในการเพาะเลี้ยง

๒.๒๑) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องระบุชื่อวัตถุเป็นวัตถุมีพิษตามพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐
ลงวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๓๒
ชนิดเครื่องมือที่ห้าม วัตถุมีพิษ ๑๒ รายการตามที่ระบุไว้ในท้ายประกาศ คือ DDT, Dieldrin, Aldrin, Heptachor, Heptachor epoxide, Carbofuran, Endrin, Chlopyrifos, Endosulfan, Deltamethrin, sodium cyanide, Pstassium cyanide หรือที่มีชื่อเรียกอย่างอื่นแต่มีสูตรโครงสร้างอย่างเดียวกันกับสารเหล่านี้

บริเวณที่ห้าม -
ช่วงเวลาที่ห้าม -
จำนวนเครื่องมือที่ห้าม -
สัตว์น้ำเป้าหมายที่ห้าม -
เหตุผลที่ห้าม -
๒.๒๒) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดขนาดชนิดและจำนวนเครื่องมือคราดหอยที่ใช้ประกอบกับเรือกลที่อนุญาตให้ใช้ทำการประมง และกำหนดให้ใช้เครื่องมือคราดหอยที่ใช้ประกอบกับเรือกลที่มีขนาด ชนิดและจำนวนเกินกำหนดทำการประมงโดยเด็ดขาด
ลงวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๓๓
เพื่อห้ามใช้เครื่องมือคราดหอยที่นอกเหนือไปจากที่ได้กำหนด

ชนิดเครื่องมือที่อนุญาต เครื่องมือคราดหอยที่มีความกว้างของปากไม่เกิน ๓.๕ เมตร ความห่างของช่องที่คราดแต่ละช่องไม่น้อยกว่า ๑.๒ เซนติเมตร โดยวัดจากด้านในของซี่คราดหนึ่งไปยังด้านในของซี่คราดถัดไปที่อยู่ใกล้ที่สุด ความยาวของเรือกลที่ใช้ประกอบกับเครื่องมือคราดหอยไม่เกิน ๑๘ เมตร (ความยาวตลอดลำ คือความยาวทั้งหมดวัดสุดหัวสุดท้าย)
บริเวณที่อนุญาต ไม่ระบุ
ช่วงเวลาที่อนุญาต ไม่ระบุ
จำนวนเครื่องมือที่อนุญาต เครื่องมือคราดหอยต้องไม่เกิน ๓ อัน (หน่วย) ต่อเรือกล ๑ ลำ
สัตว์น้ำเป้าหมายที่อนุญาต หอย
เหตุผลที่ควบคุม
- เครื่องมือคราดหอยได้ทำลายหอยลายขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก จนอาจสูญพันธุ์ได้
๒.๒๓) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดเขตห้ามใช้เครื่องมือบางชนิดทำการประมงในท้องที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดชุมพร เพื่อฟื้นฟูสภาวะการประมงที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากพายุไต้ฝุ่นเกย์

ลงวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๓๓
ชนิดเครื่องมือที่ห้าม อวนลากทุกชนิด อวนรุน อวนล้อมจับทุกชนิด เช่น อวนดำ อวนซั้งและอวนล้อมซั้ง อวนตังเก อวนล้อมตะเกียง อวนล้อมจับปลากะตัก เป็นต้น เครื่องมือคราดหอยที่ใช้ประกอบกับเรือกลเครื่องมืออวนหรือเครื่องมือชนิดหนึ่งชนิดใดประกอบกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ)
บริเวณที่ห้าม ภายในเขตระยะ ๓ กิโลเมตร (๓,๐๐๐ เมตร) นับจากขอบน้ำตามแนวชายฝั่งขณะทำการประมงในท้องที่อำเภอทับสะแก อำเภอบางสะพาน อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อำเภอเมืองชุมพรและอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ตามแผนที่แนบท้ายประกาศ
ช่วงเวลาที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
จำนวนเครื่องมือที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
สัตว์น้ำเป้าหมายที่ห้าม ปลาและหมึก
เหตุผลที่ห้าม
- บริเวณนี้ประสบภัยอันเนื่องมาจากพายุไต้ฝุ่นเกย์ระหว่างวันที่ ๓-๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๒ จึงกำหนดห้ามเครื่องมือประมงดังกล่าวเพื่อฟื้นฟูสภาพของทรัพยากรสัตว์น้ำให้อยู่ในสภาพเดิมโดยเร็ว

๒.๒๔) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดห้ามทำการประมงปลาโลมา
ลงวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๓๓
ชนิดเครื่องมือที่ห้าม ทุกชนิด
บริเวณที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
ช่วงเวลาที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
จำนวนเครื่องมือที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
สัตว์น้ำเป้าหมายที่ห้าม ปลาโลมา (เว้นแต่ผู้ที่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมประมง)

เหตุผลที่ห้าม

มีการจับปลาโลมามากจนอาจเป็นผลร้ายต่อประชากรปลาโลมาได้

- ถ้าจับปลาโลมาจะมีผลกระทบทางจิตใจต่อประชาชนและกลุ่มนักอนุรักษ์ โดยเฉพาะในต่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลร้ายต่อเศรษฐกิจส่งออกการประมงของประเทศไทย
๒.๒๕) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดห้ามใช้เครื่องมือล้อมจับที่มีช่องตาขนาดเล็กกว่า ๒.๕ เซนติเมตร ทำการประมงในเวลากลางคืน
ลงวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
ชนิดเครื่องมือที่ห้าม เครื่องมืออวนล้อมจับที่มีขนาดช่องตาเล็กกว่า ๒.๕ เซนติเมตร
บริเวณที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
ช่วงเวลาที่ห้าม ในเวลากลางคืน ตั้งแต่พระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น
จำนวนเครื่องมือที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด
สัตว์น้ำเป้าหมายที่ห้าม ห้ามเด็ดขาด

เหตุผลที่ห้าม

ปัจจุบันมีชาวประมงจำนวนมากการจับปลาในเวลากลางคืนด้วยเครื่องมือดังกล่าวทำให้สัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจและยังเจริญเติบโตไม่ได้ขนาดถูกจับขึ้นมาใช้ประโยชน์ในลักษณะการทำลายพันธุ์สัตว์น้ำอย่างร้ายแรง จนอาจสูญพันธุ์ได้
๒.๒๖) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงบางชนิดทำการประมงในฤดูปลาที่มีไข่ และวางไข่เลี้ยงลูกในท้องที่บางแห่ง ภายในระยะเวลาที่กำหนด (ฉบับที่ 3) พ.ศ. ๒๕๓๗
ลงวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗
เพื่อยกเลิก ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงบางชนิดทำการประมงในฤดูกาลที่มีไข่และวางไข่เลี้ยงลูกในท้องที่บางแห่ง ภายในระยะเวลาที่กำหนด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๑ ลงวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๓๑
ชนิดเครื่องมือที่ห้าม เครื่องมืออวนล้อมจับปลากะตัก
บริเวณที่ห้าม ทะเลพื้นที่ขอ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15118เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2006 00:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท