น้ำใจนักกีฬา อีกครั้ง


สถาบันครอบครัว

          ผมเคยเขียนเรื่องเกี่ยวกับการไม่ยอมแพ้ของคน  สรุปได้ว่าความมีน้ำใจนักกีฬา ที่รุ้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ของคนในสังคมยุคนี้ เริ่มลดน้อย ถอยลงอย่างเห็นได้ชัด ทางออกหลายคนบอกว่าต้องแก้ไข ตั้งแต่สถาบันครอบครัว เมื่อคำตอบเป็นอย่างนี้ ทำให้ผมนึกถึงเหตุการณ์ ที่พบเห็นด้วยตัวเอง เมื่อ 5 - 6 วันที่แล้ว อดไม่ได้ที่จะนำมาเล่าให้ฟัง เพราะเกี่ยวพันกับเรื่องที่เรากำลังพูดถึงขณะนี้

         ผมไปออกกำลังกาย ที่สระแก้ว สระขวัญ หลังจากที่เดินไป 3 รอบ และวิ่งอีก 2 รอบ ซึ่งก็เพียงพอแล้ว สำหรับคนแก่อย่างผม ผมมาผ่อนคลายด้วยการดัดเนื้อดัดตนที่บริเวณลานจอดรถ  ขณะดัดตัวไปมา สายตาเหลือบไปเห็น พ่อ แม่ ลูก เขามาออกกำลังกายด้วยกัน แม่ใช้ไม้พลอง ในการออกท่าบริหาร  พ่อกับลูกเล่นแบดมินตัน

         ผมเห็นแล้วอดชื่นชมไม่ได้  ครอบครัวนี้น่าจะเป็นครอบครัวตัวอย่างในการรักษาดูแลสุขภาพได้เป็นอย่างดี  เห็นแล้วอยากกลับไปมีลูกเล็กอีกครั้งหนึ่ง  เด็กผู้ชายคนนั้น กะว่าเรียนประมาณชั้น ป.1 ตีแบดกับพ่อไปก็คุยทับพ่อตลอดเวลา พ่อแกล้งตีแพ้ตลอด  ผมอดที่จะแอบชมคนเป็นพ่อ  คนอะไรก็ไม่รู้ สร้างความมั่นใจให้ลูกได้ดีเยี่ยมอะไรปานนั้น 

         และแล้วความชื่นชมทั้งหลายทั้งปวงก็มลายหายไปสิ้น  พ่อลูกคงจะเบื่อการตีแบดมินตัน ก็เลยชวนกันวิ่งแข่ง ระยะทางก็ไม่ไกลเลยครับ ประมาณ 20 เมตรคงจะได้  เริ่มต้นลูกโกยแนบเลย พ่อก้าวยาว ๆ คุมเชิง พอใกล้รถที่จอด เขาตกลงกันว่าใครแตะรถก่อนเป็นผู้ชนะ พ่อเร่งความเร็วเอามือแตะรถก่อน  ลูกไม่ยอมครับขอแข่งใหม่ พ่อบอกเหนื่อย ลูกทิ้งตัวลงพื้นร้องไห้เป็นวรรคเป็นเวร สุดท้ายพ่อต้องยอมแข่งใหม่ และแพ้ลูกไปตามฟอร์ม

        ตรงนี้มันบอกอะไรเรา ครอบครัวไทย น่าจะมีส่วนสร้างความไม่มีน้ำใจนักกีฬาให้เกิดขึ้นในสังคมหรือเปล่า  ในขณะเดียวกัน ความรักลูก มันก็เป็นเรื่องสำคัญ ด้วยมิใช่หรือ  วานท่านสาธุชนทั้งหลาย สาธยายให้เป็นบุญเป็นกุศลทีเถิด         

หมายเลขบันทึก: 151080เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2007 14:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
   .."เวลาเล่นเกมส์กับเด็กๆ ก็ปล่อยให้แกชนะไปเถิด"...(ข้อคิดในการใช้ชีวิต....พระราชดำรัสในหลวง) ผมต้องขออนุญาตยกพระราชดำรัสของพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นบทไหว้ครูเลยนะครับท่าน ผอ.ครับ ขออนุญาตวิเคราะห์ว่า ในวัยเด็กนั้น เป็นวัยที่อยากรู้อยากเห็น อยากทดลอง การได้รู้ ได้เห็น ได้สัมผัส เป็นการเรียนจากการกระทำ (Learning by doing) และการประสบความสำเร็จจากการเรียนรู้นั้น เด็กจะมีความรู้สึกที่ดีต่อตัวเอง มีความมั่นใจที่จะเรียนรู้ หรือต่อสู้ต่อไป การที่พ่อยอมแพ้ลูก จึงเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกอย่างดีเยี่ยม ดังที่ท่าน ผอ.กล่าวแล้ว และการที่พ่อชนะบ้าง ก็เป็นการให้เด็กได้รับรู้ศักยภาพที่แท้จริงของตนเอง และฝึกการยอมรับความพ่ายแพ้ไปด้วย เพราะในชีวิตจริงที่เขาจะต้องประสบในภายภาคหน้านั้น เต็มไปด้วยขวากหนามที่โรยไว้ด้วยกลีบกุหลาบ เขาจะต้องเตรียมรับให้ได้ทุกสถานะ เพื่อความแกร่งกล้า และก้าวไปสู่ความสำเร็จแห่งชีวิตอย่างมั่นคง  ส่วนการที่ให้ลูกชนะเพียงอย่างเดียวโดยตลอด ผมก็เห็นด้วยกับท่านว่า เป็นการฝึกลูกที่ผิด ไม่รู้จักแพ้ รู้แต่ชนะ ซึ่งมันผิดไปจากความเป็นจริง

 สวัสดีค่ะ ผอ. ที่ ผอ. ถามหนูว่าทำไมเขาถึงได้ชื่อว่าตำบลโคคลาน ตามที่หนูได้สอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านก็คือว่า  สมัยก่อนมีโคมันไปกินไปโคคลานที่ไล่เขา  ทางเข้าเขื่อนห้วยยางนะค่ะ เขาก็เลยตั้งชื่อตำบลที่นี้ว่าโคคลาน  พอจับใจความได้ง่ายๆๆนะคะ ผอ.

 

เรียน  ผอ.สมนึกที่เคารพ

        หนูมีเรื่องจะถาม  ผอ. ว่า ครูอาสาหรือครู ศรช. จะได้บรรจุเป็นข้าราชการจริงหรือเปล่าคือ คือหนูได้อ่านข่าวที่เว็บครูไทยนะค่ะ  ผอ.ลองอ่านดูนะคะ มีแนวโน้มจะได้บรรจุเป็นข้าราชการไหมค่ะ

 

 

ครูอาสา-ศรช.มีเฮ! กศน.เตรียมบรรจุเป็นข้าราชการครูทุกคน
 สยามรัฐ
  ประกาศข่าว : 2007-12-07 08:15:32
ชาว กศน.ตั้งตารอ พ.ร.บ.การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย ประกาศในสมัยนี้


นายสมบัติ สุวรรณพิทักษ์ ผอ.สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าของร่าง พ.ร.บ.การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย ว่าคาดว่าภายในเดือน ธ.ค.นี้ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวจะเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในวาระ 2 และ 3 เพราะได้บรรจุเป็นวาระการประชุมของ สนช.ไว้แล้ว และมั่นใจว่าจะผ่านการพิจารณาของ สนช.ได้ทันสมัยประชุมนี้ เพราะนับตั้งแต่มีการร่าง พ.ร.บ.การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัยขึ้นมา ชาว กศน.ก็ได้พยายามสร้างความเข้าใจกับผู้ที่เกี่ยวข้องและสมาชิก สนช.มาโดยตลอด จึงทำให้ทุกฝ่ายเข้าใจร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้เป็นอย่างดี และส่วนใหญ่ก็ยินดีที่จะให้การสนับสนุนเต็มที่ เพราะเห็นว่าเป็นกฎหมายที่มีประโยชน์ และจะช่วยสนับสนุนส่งเสริมการศึกษานอกระบบได้เป็นอย่างดี

“ หากร่าง พ.ร.บ.การศึกษานอกระบบฯ ผ่านการพิจารณาจาก สนช.และประกาศใช้เมื่อไหร่ เชื่อว่างานการศึกษานอกระบบฯ จะมีรูปแบบการทำงานที่ชัดเจน และเป็นระบบมากยิ่งขึ้น โดยจะมีการตั้งคณะกรรมการการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย ทั้งระดับชาติ ระดับจังหวัดและสถานศึกษา รับรองตามกฎหมายใหม่ คอยทำหน้าที่กำกับดูแล และกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการศึกษานอกระบบฯ หรือพูดง่ายๆ คือมีรูปแบบเดียวกันกับคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขณะที่เรื่องงบประมาณ จะมีกฎกระทรวงออกมารองรับซึ่งจะทำให้การบริหารงานด้านงบฯมีความคล่องตัวมาก” ผอ.กศน. กล่าว

นายสมบัติ กล่าวอีกว่า ส่วนเรื่องบุคลากรผู้สอนนั้น ยังคงเป็นไปตาม พ.ร.บ.ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยกลุ่มข้าราชการครูไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง แต่ กลุ่มครูอาสาสมัคร กศน.ซึ่งเป็นพนักงานราชการ และกลุ่มครูศูนย์การเรียนชุมชน (ศรช.)ที่เป็นอัตราจ้างนั้น เท่าที่ทราบในอนาคตจะผลักดันขึ้นเป็นข้าราชการครูให้หมด แม้ว่าในแต่ละปี กศน.จะได้อัตราเกษียณคืนมาค่อนข้างน้อยประมาณ 50 อัตราเท่านั้น


ที่มา - สยามรัฐ - วันที่ 6 ธันวาคม 2550

 

เรียน ขนิษฐาพร

         มันเป็นเรื่องของอนาคต ได้หรือไม่ได้ คงไม่มีใครตอบได้ เรื่องนี้เป็นการให้สัมภาษณ์ของ ผอ. สำนักเท่านั้น ผมเชื่อว่าสวรรค์มีตา ทำความดีเข้าไว้ คนเราเมื่อฟ้าให้เกิด  มันก็ต้องเกิด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท