“ความถือตัว”


คนที่ฉลาดในการปรับตัว คือคนที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำตัวได้เหมาะสม

 ความถือตัว

                        ความถือตัว หมายถึง ความคิดเอาตัวไปเปรียบกับคนอื่น หรือเอาคนอื่นมาเปรียบกับตัว ความถือตัวมี  3 ประการ คือ  คิดว่าตัวเองเด่นกว่าคนอื่น,  คิดว่าตัวเองด้อยกว่าคนอื่น,  และคิดว่าตัวเองเสมอกับคนอื่น
                        ความคิด 3  ประการนี้ล้วนไม่ดีทั้งสิ้น  เพราะถ้าคิดว่าตัวเองเด่นกว่าคนอื่น จะทำให้เกิดความทะนงตัวว่าคนอื่นสู้ตัวไม่ได้  ทำให้เกิดความลำพองใจ ทำอะไรตามใจชอบ แสดงกิริยาท่าทางดูถูกเหยียดหยามคนที่ด้อยกว่า  กลายเป็นคนหยิ่งยโสได้ง่าย  ถ้าคิดว่าตัวเองด้อยกว่าคนอื่น จะทำให้เกิดความรู้สึกว่าคนอื่นเด่นกว่าตัว  ทำให้เกิดความห่อเหี่ยวใจ  เกิดความท้อแท้ ไม่กระตือรือร้น ปล่อยชีวิตไปตามยถากรรมเหมือนสวะลอยน้ำ  ทำให้เขาดูถูกเอาได้   ถ้าคิดว่าตัวเองเสมอกับคนอื่น จะทำให้เกิดความลำพองใจ ไม่เกรงใจใคร ไม่อ่อนน้อมให้ใคร และไม่ยอมรับฟังเสียงใครเพราะถือว่าตัวเองก็เท่าเทียมคนอื่น คนอื่นก็เหมือนกับตัว คนอื่นก็ไม่เหนือไปกว่าตัว  ความคิดทั้งหมดนี้ล้วนไม่ดีทั้งสิ้น
                        ในทางที่ถูกคนเราควรเคารพ เชื่อฟัง  อ่อนน้อม  ยินยอม  และปฏิบัติต่อกันไปตามธรรมเนียมที่เหมาะสม  ถึงคราวเคารพก็เคารพ ถึงคราวอ่อนน้อมก็อ่อนน้อม ถึงคราวยินยอม ก็ยินยอม ถึงคราวแข็งก็แข็ง ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และบุคคลเป็นดีที่สุด คนที่ฉลาดในการปรับตัว คือคนที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำตัวได้เหมาะสม ย่อมผูกใจคนรอบข้างไว้ได้

คำสำคัญ (Tags): #kmobec#kmska2#songkhla 2
หมายเลขบันทึก: 151056เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2007 12:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท