เมื่อครอบครัวตกเป็นจำเลยของสังคม


เมื่อครอบครัวตกเป็นจำเลยของสังคม

ไม่ว่าจะเกิดความขัดแย้งร้าวฉานในครอบครัวหรืออาชญากรรมรุนแรงในสังคม   ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสัมพันธภาพของครอบครัวเครือญาติหรือบทบาทหน้าที่ระหว่างพ่อแม่ลูก สังคมมักเพ่งเล็งกล่าวโทษว่าเป็นความบกพร่องย่อหย่อนของสถาบันครอบครัว  แนวทางป้องกันแก้ไขจึงควรเริ่มจากการที่ครอบครัวต้องให้ความสำคัญเรื่องการใช้เวลาที่มีคุณภาพร่วมกัน   การสร้างภูมิคุ้มกันด้านอารมณ์จิตใจระหว่างกัน   การใช้ชีวิตตามหลักคุณธรรมและแนวคิดความพอเพียง    โดยที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางสังคมให้เหมาะสมและมีดุลยภาพด้วย 

 

ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัว  มักมีสาเหตุสำคัญหรือจุดเริ่มต้นมาจากปัญหาเรื่องสัมพันธภาพที่เสื่อมทรามร้าวฉานระหว่างสามีภรรยา ในบางกรณีก็รุนแรงแตกหักถึงขั้นเป็นตายไม่นับญาติเผาผีกันเลยทีเดียว

 

ครอบครัวย่อมเป็นเสมือนปราการป้อมค่ายที่มั่นคงปลอดภัยที่สุดสำหรับคนในครอบครัว หากวันใดที่ต้องเดือดร้อนลำบากก็มั่นใจได้ว่ายังมีครอบครัวที่รักใคร่ห่วงใย มีความปรารถนาดีต่อกัน และพร้อมจะยืนหยัดเคียงข้าง  กันตลอดไป เหมือนกับเนื้อเพลงประจำทีมสโมสรฟุตบอลชื่อดังของประเทศอังกฤษ ซึ่งให้กำลังใจต่อกันว่า ...You’ll  never  walk  alone”

 แม้ว่าครอบครัวส่วนใหญ่ ไม่อาจหาเวลาที่จะทำกิจกรรมสร้างความสุขพร้อมหน้ากันทุกวันคืน แต่อย่างน้อยเมื่อมีโอกาสได้ใช้เวลาร่วมกันก็ต้องพยายามบริหารจัดการให้ทุกเวลานาที เป็นช่วงที่คนในครอบครัวได้มี เวลาคุณภาพ  ที่ดีร่วมกัน  นอกเหนือจากเวลาที่มีร่วมกันแล้ว สัมพันธภาพที่แน่นแฟ้นมั่นคงและความรักใคร่ผูกพันห่วงใยกันในครอบครัว นับเป็น ปัจจัยสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะช่วยต่อเติมเสริมสร้าง วัคซีนใจ ให้เกิดเป็นภูมิคุ้มกันทุกชีวิตในครอบครัวได้อย่างแท้จริง                     

                                                                        

สนใจอ่านรายละเอียดบทความ คลิกที่นี่ 

  • บทความด้านสังคมนี้ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์บริการวิชาการ ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 ( กค.-กย.2550)
  • ผู้เขียนบทความ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปิ่นปินัทธ์  เผือกพันธ์  สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น E-mail : [email protected]  โทรศัพท์  :  043-202861  ต่อ  2210 หรือ 2220
  
หมายเลขบันทึก: 151020เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2007 10:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2015 12:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท