สรุปรายงานKM


PRESENT KM
1.  คณะแพทย์โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
KM
-          ชุมชนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (COP) เป็น WEB BOARD เข้าใช้ได้เฉพาะนักศึกษาแพทย์ มอ.   เท่านั้น
-          ทำ  KM  เพื่อให้นักศึกษา SHARE  ความรู้ที่เกี่ยวกับปัญหา  ข้อสงสัยต่างๆ หรือ ความรู้ที่เกี่ยวกับการแพทย์
-          เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เพื่อไปใช้ในการเรียนการปฏิบัติ
-          บุคลากรที่ใช้  ได้แก่   นักศึกษาแพทย์   พยาบาล   บุคลากรที่เกี่ยวกับการแพทย์
2.  TRUE
            เป็นผู้ให้บริการรายใหญ่ในกรุงเทพมหานคร  ในการให้บริการด้าน Internet และเป็นรายใหญ่ของประเทศไทย
            VISION    การเป็นผู้ให้บริการการสื่อสารครบวงจร และมุ่งสนองลูกค้าเป็นหลัก
KM
-          การปรับเปลี่ยนและจัดการพฤติกรรม
-          การพัฒนากระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
Tools

3.  เกษตร
VISION           มีการทำ COP เพื่อให้เกษตรกรพึ่งตนเองได้อย่างยืน
KM
1.  ขั้นตอนการเตรียมการ ให้ทุกระดับเข้าใจตรงกัน
      -     การสื่อสาร
      -     การให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างองค์กร เพื่อให้เข้าใจแนวคิดแนวทางของ                              องค์กร
      -     ประเมินศักยภาพขององค์กร
      -     กำหนดแนวทางการบริหารองค์กร
2.   ขั้นตอนการดำเนินงาน
      -     จัดทำเป้าหมาย
      -     ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์กร
      -     จัดหารวบรวมและสร้างองค์กรความรู้
3.   ขั้นตอนการติดตามและประเมินผล ทราบผลการดำเนินงาน และปรับปรุงเพื่อพัฒนา
     
4.  ปูนซีเมนต์ไทย
VISION           การเปลี่ยนแปลง         การปรับปรุง
อุดมการณ์       1.  ตั้งมั่นในความเป็นธรรม
                                    -  ผู้ถือหุ้น
                                    -  ลูกค้า
                                    -  พนักงาน
                        2.  มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ
                                    -  เน้นการอบรมและการพัฒนา
                                    -  ส่งคนไปดูงาน
                        3.  เชื่อมั่นในคุณภาพของคน
                                    -  ให้ความสำคัญต่อพนักงาน
                        4.  ตั้งมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม
                                    -  ไม่มีการ  Lay off พนักงาน
กลยุทธ์                        1.  ระบบคุณธรรม
                        2.  มีความเป็นธรรม   มีเหตุผล
                        3.  กระบวนการสรรหา
                        4.  อบรมและพัฒนา
KM                 
-    เน้นความเชื่อมั่นว่าพนักงานมีความสำคัญต่อองค์กร
-    ส่งเสริมสิ่งแวดล้อม
-    สร้างจิตสำนึกความปลอดภัย
-    ให้พนักงานเรียนรู้ด้าน  KM
ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ให้ตนเอง    พนักงานเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้
5.  TOYOTA
หลักการ
-          พัฒนาตนเอง KAIZEN
-          การปฏิบัติงาน   5 WAY   ให้ผู้ปฏิบัติช่วยกันวิเคราะห์ปัญหา  และตั้งคำถาม  5  ข้อ  เพื่อแก้ปัญหาโดยใช้ระบบการแลกเปลี่ยน TK  ระหว่างกัน  โดยจะวิเคราะห์โดยยึดหลัก  GENCHI-GENBATSU
-          การแลกเปลี่ยน TK  ยึดหลัก  GENCHI-GENBATSU (GO&SEE)
-          PDCA, QCC  การนำเอา TK  มาแลกเปลี่ยน
-          การวิเคราะห์ปัญหา
การนำเสนองาน
-          เจ้าหน้าที่ระดับหน้างาน  สะท้อนคุณภาพและการพัฒนาคุณภาพ
-          ผู้บริหารหน้าที่ย่อย  หาผลงานเป็นเลิศ
-          ผู้บริหารระดับร่างแบบ    นำเสนอผลงานที่ดีที่สุด
6.  GOTOKNOW.ORG
      เป็น WEB ที่ใช้แลกเปลี่ยนความรู้หรือเป็น STORY TELLING ที่ผู้ที่เป็นสมาชิกสามารถที่จะใส่ข้อความ ข่าวสาร ที่เป็นความรู้ลงไปได้ โดยมีบล็อกให้ผู้ใช้งานได้เขียนข้อความลงไปอาจจะแสดงให้ผู้อื่นทราบด้วยหรือเป็นบันทึกส่วนตัวก็ได้ทั้งนั้น ใน WEB นี้มีชุมชนที่เราสามารถสมัครเป็นสมาชิกได้เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้อื่นที่อยู่ในชุมชนเดียวกัน WEB นี้ จัดทำโดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ใน WEB จะบอกลักษณะการใช้งานอยู่แล้วจึงทำให้ง่ายต่อการใช้งานและในนี้จะเป็นแหล่งความรู้ที่ใหญ่  จะสามารถทำให้เราสามารถที่จะเข้าใจเรื่องการจัดการความรู้ได้มากขึ้นอีกด้วย 
วิธีการใช้งาน WEB
1.    เลือกสมัครสมาชิก  สมัครสมาชิกเหมือน WEB ทั่วไป
2.    เลือกเข้าสู่ระบบเพื่อใช้งาน WEB
3.    เลือกแผงควบคุมเพื่อสร้างบล็อก  และเขียนข้อความลงในบล็อก  และสามารถที่เก็บข้อความ               นั้นเป็นไดอารี่หรือจะโชว์ที่หน้าหลักเพื่อให้ผู้อื่นได้รับรู้ก็ได้
4.   สมัครเข้าชุมชนเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้อื่น  ซึ่งจะมีหลายชุมชนมากแล้วแต่เราจะเลือก
5.   เข้าอ่านข้อความต่างๆที่แสดงไว้หน้าหลักหรือในชุมชนได้  และเขียนบันทึกเพิ่มเติมได้  แต่       เน้นนิดเดียวว่า  ข้อความนั้นจะต้องเป็นความรู้  แต่ถ้าเป็นไดอารี่จะเป็นความรู้สึกก็ได้
7.  ไม้เรียง
ชุมชนไม้เรียง
      ชุมชนไม้เรียงอยู่ที่อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ชุมชนนี้มีปัญหาเรื่องราคายางพารา  และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับยางพารา   จึงมีความคิดที่จะทำอย่างไรให้ยางพารามีราคาสูงและมีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาด ภายใต้การนำของประยงค์ รณรงค์
KM
1.   ชาวบ้านเข้าร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น
2.   ส่งกลุ่มผู้นำไปเรียนรู้ดูงานจากที่อื่น
3.   สร้างโรงงานเอง บริหารจัดการกันเอง ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น ทำในขนาดที่พอดีกับไม้เรียง         พอดีกับทรัพยากร ผลผลิตคน ขีดความสามารถในการบริหารจัดการ   ความรู้ตัวตระหนักว่า    "พอดี" อยู่ตรงไหนสำคัญอย่างยิ่ง
4.   สร้าง "ยุทธศาสตร์" นั่นคือที่มาของ “แผนแม่บทยางพาราไทย"
5.   มีการวิจัยของชาวบ้าน
6.   นำประสบการณ์ของชุมชนเองนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์หาแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหา           อย่างบูรณาการ
7.   เสนอแนวทางแก้ปัญหายางพาราเป็นสองส่วน  ส่วนหนึ่งคือด้านนโยบาย ซึ่งรัฐต้องดูแล            รับผิดชอบ   อีกส่วนหนึ่งคือด้านการปฏิบัติของชุมชนที่ต้องดูแลตัวเอง
มหาวิทยาลัยชีวิต
      กระบวนทัศน์พัฒนาพื้นฐาน  (LD111)  และวิชาการจัดการความรู้ การวางแผนชีวิต (LD141)
กระบวนทัศน์พัฒนาเป็นเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนา  เพียงแต่ไม่ได้หมายถึงรูปแบบหรือวิธีการ แต่
หมายถึง  "วิธีคิด วิธีปฏิบัติ วิธีให้คุณค่า   ซึ่งตั้งอยู่บนฐานการมองโลกความเป็นจริงแบบหนึ่ง" 
ของสิ่งที่เรียกกันว่า "การพัฒนา"   พูดง่ายๆ วิชานี้ว่าด้วยกรอบคิด ว่าด้วยฐานคิด   ว่าด้วยปรัชญา
การพัฒนานั่นเอง   การเรียนการสอนจะถูกบรรจุในรายวิชาคณะรัฐศาสตร์รามคำแหง  เมื่อเรียน
สองวิชานี้จบก็จบหลักสูตรมหาวิทยาลัยชีวิตหลักสูตรปริญญาตรี  และตอนนี้มหาวิทยาลัยชีวิต
ยังบรรจุในมหาวิทยาลัยของรัฐบาลตามภูมิภาคต่างๆทั่วประเทศ
ชุมชนเข้มแข็ง
๑. ชุมชนเข้มแข็งเพราะเป็นชุมชนเรียนรู้ 
    ชุมชนเช่นนี้ไม่มีวันอ่อนแอไม่มีวันนั่งรอความช่วยเหลือจากรัฐหรือภายนอกแต่จะขวนขวายหาทางแก้ไขปัญหาด้วยสติปัญญาของตนเองชุมชนใดมีความรู้ มีปัญญาแม้ว่ามีทรัพยากรน้อยก็จะมีมากขึ้นเรื่อยๆมีเงินน้อยก็จะมีเงินมาก ตรงกันข้าม ชุมชนใดไม่มีความรู้  ไม่มีปัญญา แม้ว่ามีทรัพยากรมากก็จะหมด   แม้มีเงินมากก็จะไม่เหลือและเป็นหนี้
๒. ชุมชนเข้มแข็งตัดสินใจอย่างเป็นอิสระ
   ไม่ใช่คิดอะไรไม่ออกไปบอกไปถามนักการเมือง ข้าราชการ  พ่อค้า นักวิชาการ เอ็นจีโอ ซึ่งให้แนะนำได้เสมอ ดีๆ   ทั้งนั้น แต่เมื่อเอาไปทำแล้วเจ๊ง คนเสียหายคือชาวบ้าน ไม่ใช่คนที่แนะนำ ชาวบ้านต้องมีข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ  มีเป้าหมายการพึ่งตนเองอย่างมั่นคง ไม่ใช่คิดแต่จะรวย มืดบอดไปเพราะความโลภ ไม่เป็นตัวของตัวเอง ใครบอกว่าทำอะไรรวยก็รีบทำ
๓. ชุมชนเข้มแข็งจัดการ "ทุน" ของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ
ทุนซึ่งไม่ได้หมายถึงแต่เพียงเงิน แต่หมายถึงทรัพยากร  ความรู้ภูมิปัญญา ทุนทางสังคมวัฒนธรรม และอื่นๆ  โดยการค้นหาทุนเหล่านั้นให้พบให้มากที่สุด  เรียนรู้ว่าจะจัดการอย่างไรจึงจะพึ่งตนเองได้อย่างมั่นคง
๔. ชุมชนเข้มแข็งมีธรรมาภิบาล มีการบริหารจัดการที่ดีโปร่งใส ตรวจสอบได้ กระจายอำนาจ
ผู้ใหญ่โชคชัย ลิ้มประดิษฐ์ บ้านหนองกลางดง สามร้อยยอด  ประจวบคีรีขันธ์บอกว่า
"การรวมตัวกันต่อเนื่องเป็นตัวชี้วัดความเข้มแข็งของชุมชน ทำให้มั่นใจว่าเราแก้ปัญหาในหมู่บ้านได้  ที่เกินกำลังค่อยบอกข้างนอกมาช่วย พูดง่ายๆ  คำตอบอยู่ที่หนองกลางดง ไม่ได้อยู่ที่แหล่งงบประมาณเงินเป็นเรื่องเล็กแต่ความรู้สึกมั่นใจของคนในชุมชนเป็นเรื่องใหญ่กว่า"เขาย้ำอีกว่า
"ผมไม่เชื่อว่าคนข้างนอกจะไปสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนได้ ชุมชนต้องสร้างเองเหมือนผลึกที่มันต้องเกิดตรงนั้นแล้วก็โตขึ้นโดยธรรมชาติ"
ส.ค.ส
แนวทางการทำงาน
1.   สร้างขีดความสามารถในด้านการจัดการความรู้
2.   สร้างกระแสการจัดการความรู้ในสังคมไทย
ปัจจัย
1.   การเตรียมงานก่อนการจัดการความรู้
2.   การเตรียมสถานที่
3    การเตรียมห้องการออกแบบการประชุม
4.   ระยะเวลาที่จัดควรจะมี 2 วัน
Tools
      ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดโครงการพัฒนาและวิจัย
องค์การอนามัย
หน้าที่
1.   แลกเปลี่ยนความรู้  และสืบทอดความรู้
2.   เชื่อมต่อศูนย์ความรู้
วัตถุประสงค์
1.   เป็นแหล่งรวบรวม   ประมวลความรู้
2.   เป็นศูนย์กลางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของความรู้
3.   สนับสนุนเผยแพร่ความรู้
4.   พัฒนาและเผยแพร่ความรู้  ประสบการณ์
Tools
1.   ฐานความรู้และแนวทางปฏิบัติ   (Share ความรู้) [EK]
2.   แหล่งสืบค้นสู่ฐานความรู้    (WEB BOARD) [EK]
3.   เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ของชุมชนแนวปฏิบัติ (การเชื่อมโยง WEB SITE) [TK]
KM
      เป็นศูนย์กลางความรู้ด้านอนามัย   เพื่อบุคคลภายในและนอกองค์กร
โรงเรียนชาวนา
วัตถุประสงค์
      ดูแลกระบวนการปลูกข้าวของชาวนา   จังหวัดสุพรรณบุรี
KM
1.   หลักสูตรประถม  ใช้สมุนไพรกำจัดศัตรูพืช
2.   หลักสูตรมัธยม   ปรับปรุงดิน , และโครงสร้างต่างๆของดิน
3.   หลักสูตรอุดมศึกษา  วิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวต่างๆ
โรงพยาบาลศิริราช
      เป็นรุ่นแรกที่บุกเบิกเรื่อง KM
ทำ KM ทำไม
      โรงพยาบาลศิริราช  ทำเพื่อเรียนรู้การจัดการความรู้  เพื่อคนในองค์กรจะได้มีความรู้ที่ดีพอ  นำไปพัฒนาองค์กร  และนำการจัดการความรู้ในองค์กรไปปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมไทย
KM
แผนปฏิบัติการ
1.   Transition & Behavior Management
2.   Communication
3.   Process & Tools
      -     CQI
      -     COP
      -     มีการแลกเปลี่ยนในกลุ่ม
      -     สารสนเทศ
4.   Learning
5.   Measurements
6.   Recognition & Reword
เป้าหมาย
      สร้างเครือข่ายการจัดการความรู้ทั้งหน่วยงานภายในและภายนอก
ปัจจัย
1.   ผู้บริหาร
2.   มอบหมายผู้รับผิดชอบตามเวลา
3.   มีการพัฒนา
4.   คาดการณ์สถานการณ์ล่วงหน้า
5.   สื่อสารคนในองค์กรการจัดการความรู้
6.   จัดช่างถ่ายโอนการจัดความรู้
7.   จัดตั้ง COP
AIS
KM
ใช้   SECI   Model
1.   มีการสร้างวิทยากรภายในมีการถ่ายทอดความรู้ให้พนักงานที่เข้ารับการอบรม (TK ไป TK)
2.   มีการรวบรวมความรู้ลงในเอกสาร หนังสือ และInternet เพื่อให้พนักงานได้ศึกษา
       (TK ไป EK)
3.   วิทยาการนำความรู้ที่มีการจัดการแล้วที่อยู่ในรูปแบบ EK มาอบรมพนักงาน (EKไปEK)
4.   พนักงานที่ได้อ่านเอกสาร  หนังสือ  และInternet จะนำความรู้ไปสู่รูปแบบ TK (EKไปTK)
7-ELEVEN
KM
ใช้ Knowledge Access
INPUT             PROCESS       OUTPUT 
เป้าหมาย
      เพื่อการปรับปรุงการให้บริการภายในองค์กร


คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15079เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2006 17:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท