กิจกรรม 5 ส.


เรารู้ เราอยากทำ

5 ส. และ สถานที่ทำงานน่าอยู่น่าทำงาน
                        โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก

ภาพลักษณ์ของโรงพยาบาลในอดีต ต้องยอมรับว่าโรงพยาบาลเป็นสถานบริการที่ไม่น่าอยู่ ไม่น่ามาใช้บริการ ถ้าไม่ป่วยหนัก หรือมีความจำเป็นจริงๆจะไม่เข้าโรงพยาบาลเป็นเด็ดขาด ดังนั้นโรงพยาบาลจึงเป็นทางเลือกสุดท้ายของผู้ป่วยและญาติ โดยเฉพาะโรงพยาบาลภาครัฐ  เหตุผลที่ไม่ชอบมาโรงพยาบาลอาจเป็นเพราะ สถานที่ไม่สะอาด ก็รู้ๆกันอยู่ว่าเป็นแหล่งรวมเชื้อโรคสารพัดชนิดทั้งติดต่อและไม่ติดต่อ กลิ่นไม่สะอาดทั้งกลิ่นยา กลิ่นเลือด บางคนได้กลิ่นเน่าเหม็นอีกต่างหาก นอกจากสิ่งแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยแล้ว ยังจะต้องพบพฤติกรรมบริการที่ทำให้หงุดหงิดได้ตลอดเวลาของแพทย์ที่เงียบขรึมน่าเกรงขามจนชาวบ้านกลัว  หวังจะพึ่งพยาบาลก็ปากจัดอย่างกับกรรไกร จนมีการเปรียบเทียบคนด่าเก่งว่า “ปากอย่างกับกรรไกรโรงพยาบาล”  สิ่งเหล่านี้เป็นต้นเหตุหนึ่งที่ทำให้โรงพยาบาลของรัฐ รับแต่ผู้ป่วยหนักและหนักมาก  บ่อยครั้งที่แพทย์พยาบาลสงสัยและอดถามผู้ป่วยและญาติว่า “ทำไมมาจนป่านนี้”  หรือ  “ทำไมเพิ่งมา” หรือ  “ถ้าไม่หามมาจะไม่มาใช่ไหม” หรือ “มาจนป่านนี้เทวดาก็ช่วยไม่ได้” ซึ่งเป็นคำพูดที่จริงใจมากเพราะจะบอกเป็นนัยๆว่ามาช้าเกินไป ประโยคเหล่านี้เป็นคำถามที่ไม่เคยได้คำตอบจริงๆจังๆ   แต่เป็นประโยคที่ทำให้ผู้ป่วยและญาติคับข้องหมองใจยิ่งนัก ต่อมาเราจึงบอกต่อๆกันว่า.......ห้ามถามห้ามพูดแบบนั้น
.....ใช่ว่าเสียงบ่น........เสียงร่ำลือเกี่ยวกับโรงพยาบาลจะไม่มีใครสนใจ....
 ผู้บริหารโรงพยาบาลและเจ้าหน้าที่ทุกคนมีความพยายามอย่างยิ่งที่แก้ไขภาพลักษณ์ของโรงพยาบาล....และพวกเราดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง......จนวันนี้..โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก...ไม่เป็นสองรองใคร...
 ปี พ.ศ. 2540  เราดำเนินการพัฒนาสถานที่ของโรงพยาบาลอย่างเป็นรูปธรรมโดยใช้กิจกรรม 5 ส. และ สถานที่ทำงานน่าอยู่น่าทำงาน ครอบคลุมทุกพื้นที่ ของโรงพยาบาล
 ปี พ.ศ. 2542 เราดำเนินการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลตามแนวทาง TQM ISO HA HPH ย่างต่อเนื่อง
 ปี พ.ศ. 2545 เราดำเนินการพัฒนาพฤติกรรมบริการ โดยใช้ ESB OD CRM ความต้องการผู้ใช้บริการเป็นศูนย์กลาง
 ปี พ.ศ. 2547  เราปรับปรุงกระบวนการทำงานทั้งองค์กร ให้มีขั้นตอนการบริการที่สะดวก รวดเร็ว โดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้รับและผู้ให้บริการ
 
รางวัลแห่งความภูมิใจ จากภายนอกองค์กร
1. โบทองจากกรมอนามัย ในการดำเนินกิจกรรม 5 ส. และ HWP
2. โล่ หน่วยงานที่มีพฤติกรรมบริการดีเยี่ยมของจังหวัด
3. ผ่านการรับรองโรงพยาบาลคุณภาพ HA HPH
4. โล่ สุดยอดส้วม ระดับจังหวัดและเขต 2
5. โล่ หน่วยงานที่สร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรมดีเด่น
6. รางวัลเป็นงบประมาณที่มีการพัฒนาการบริการด้วยกระบวนการ
    ลดขั้นตอน ลดระยะเวลาการปฏิบัติราชการ และการประเมินความ 
    ต้องการของผู้รับบริการอย่างต่อเนื่อง

ความภูมิใจภายในองค์กร
1. มีการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วม ทั่งทั้งองค์กร
2. มีการทำงานที่คำนึงถึงผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการเป็นสำคัญ
3. มีการทำงานที่เน้นความถูกต้องตามหลักวิชาการ มีมาตรฐาน
4. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างนวัตกรรม และผลงานใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง
5. มีความรัก ความสามัคคี และเป็นหนึ่งเดียว


“เรารักโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
 เราจะสรรค์สร้างผลงานอย่างไม่หยุดยั้ง”

ประโยชน์ของกิจกรรม 5 ส. และ HWP ที่องค์กรได้รับ
ประเด็น 5 ส. ประโยชน์ ตัวชี้วัด
สะสาง
 -เพิ่มเนื้อที่ใช้สอย เช่น พื้นที่ห้อง ตู้เก็บของแฟ้มเอกสาร
-ลดการสูญเสียของใช้ที่มีอายุการใช้งาน
-ลดจำนวนวัสดุคงคลัง 
-ร้อยละหน่วยงานที่ไม่พบของใช้เกินจำเป็น
-ร้อยละหน่วยงานที่สุ่มตรวจมีแต่ของใช้ได้และพร้อมใช้
-ร้อยละของหน่วยงานที่มีวัสดุคงคลังหมุนเวียนเร็วไม่มีของใกล้หมดอายุ
สะดวก 
-ลดเวลาการค้นหาของใช้อุปกรณ์เอกสาร
- หยิบก็ง่าย หายก็รู้ ดูก็งามตา 
- ร้อยละหน่วยงานที่สามารถค้นเอกสาร ของใช้ ได้ใน 1-3 นาที (สุ่มตรวจ)
- ร้อยละหน่วยงานที่มีป้ายบอกขั้นตอนการใช้บริการ ป้ายชื่อ ป้ายแสดงสถานที่อย่างชัดเจน
- ร้อยละความพึงพอใจผู้ใช้บริการต่อขั้นตอนการบริการ
สะอาด 
-สถานที่ อุปกรณ์ เครื่องมือสะอาด ไม่มีคราบ ไม่มีฝุ่นละออง 
-ร้อยละหน่วยงานที่สะอาด โล่ง
(สุ่มตรวจตามซอก มุม)
-ร้อยละความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อสถานที่ให้บริการ
สุขลักษณะ
ปลอดภัย
ไร้มลพิษ 
-มีการจัดการความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ ผู้ใช้และผู้ให้บริการไม่เกิดอันตราย 
-ร้อยละหน่วยงานที่มีเครื่อง อุปกรณ์ป้องกันความเสี่ยงในขณะปฏิบัติงานเพียงพอ
-ร้อยละเจ้าหน้าที่ ที่สวมใส่เครื่องป้องกันอย่างถูกต้อง
-ร้อยละเจ้าหน้าที่ตรวจสุขภาพประจำปี
-ร้อยละเจ้าหน้าที่ไม่ลาป่วยที่มีสาเหตุจากการปฏิบัติงานเกิน 3 วัน
สร้างนิสัย
มีชีวิตชีวา 
-มีการจัดทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและมีความสุข 
-ร้อยละหน่วยงานที่มีคะแนนประเมินเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง (3ปี,5ปี)
-ร้อยละหน่วยงานที่มีกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ

ปี พ.ศ. 2548  เราดำเนินการพัฒนาระบบบริหารจัดการตามแนวทาง TQA PMQA
 ปี พ.ศ. 2548 เราดำเนินการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมเจ้าหน้าที่ ผู้ป่วย ญาติและประชาชน อย่างเป็นรูปธรรมและชัดเจนมากขึ้น
 ปี พ.ศ.2549  เราดำเนินการพัฒนาสุดยอดส้วม ตามแนวทางของกรมอนามัย
ภาพลักษณ์ของโรงพยาบาลในปัจจุบัน (พ.ศ.2550)  โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก    ภายใต้การบริหารจัดการของผู้อำนวยการ (นายแพทย์วิชิต บุญยวรรธนะ) และความร่วมมือร่วมใจของเจ้าหน้าที่ทุกคน ทำให้เกิดปรากฎการณ์ที่พวกเราภูมิใจ โรงพยาบาลภายในเนื้อที่กว่า 164 ไร่ มีรั้วกั้นยาวสุดตา รั้วแบ่งอนาเขตของเนื้อที่ แต่ไม่ได้แบ่งแยกความสัมพันธ์ระหว่างโรงพยาบาลกับประชาชน  บัดนี้ ผู้ที่เข้าโรงพยาบาลไม่ใช่ผู้ป่วยหนัก ไม่ใช่ผู้ที่หมดทางเลือก  แต่เป็นผู้ที่มีสุขภาพกายใจดี เป็นผู้มีความสุข เป็นผู้ที่มาแบ่งปันความรัก ความสามัคคี ความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน
กิจกรรมที่ท่านสามารถเข้ามาใช้บริการได้อย่างอิสระ เช่น
- ออกกำลังกาย ไม่ว่าจะเต้นแอโรบิค โยคะ ฟิตเนส วิ่งหรือเดินรอบสระแก้ว เตะฟุตบอล ตีแบตมินตัน เทนนิส เปตอง
- สนทนาธรรม นั่งสมาธิ อ่านหนังสือธรรมะ ได้ที่ชมรมจริยธรรม
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมเพื่อสุขภาพอีกมากมายให้คุณได้เรียนรู้ จะเห็นว่าโรงพยาบาลในปัจจุบันเป็นเพื่อนคุณได้ทั้งยามสุขและทุกข์
กิจกรรมที่พวกเราภูมิใจ  เช่น
 ทุกพื้นที่ของโรงพยาบาลสะอาด สะดวก ปลอดภัย ไร้มลพิษและมีชีวิตชีวา
 คุณภาพบริการ ถูกต้อง ปลอดภัย ต่อเนื่อง เชื่อมโยงสู่ครอบครัว และชุมชน
 พฤติกรรมบริการ ยิ้มแย้มแจ่มใส พูดจาไพเราะ กระตือรือร้นและยินดีให้บริการ
มีการบริหารจัดการที่ดี เน้นประหยัด คุ้มค่า คุ้มทุน เพื่อความสุขของเจ้าหน้าที่และประชาชนสุขภาพดี
เจ้าหน้าที่มีคุณธรรม จริยธรรมในการทำงานและดำเนินชีวิตอยู่ในกรอบประเพณีอันดีงาม
สุดยอดส้วม สะอาด สะดวก สวยงาม ปราศจากกลิ่นไม่พึงประสงค์

ณ โอกาสนี้ จะขอแลกเปลี่ยนแนวทางในการทำให้สถานที่ทำงานน่าอยู่น่าทำงาน ในส่วนของกิจกรรม 5 ส. และ HWP ดังนี้
 

ในมุมมองที่นำมาพัฒนาหน่วยงานในโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก กิจกรรม 5 ส. คือ  กิจกรรมที่ต้องสะสางจนเป็นนิสัย เพื่อให้สถานที่ทำงานสะดวก สะอาด และถูกสุขลักษณะ
วัตถุประสงค์ ของการดำเนินการ
1. เพื่อให้สถานที่บริการและสถานที่ทำงานเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด สะดวก สวยงาม ปลอดภัย
2. เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีระเบียบวินัย รักษาสถานที่ เครื่องมือ อุปกรณ์ ให้พร้อมใช้ตลอดเวลา
3. เพื่อให้เจ้าหน้าที่รู้จักประหยัด ใช้ของให้คุ้มค่าคุ้มทุน ลดการสูญเสียของใช้ที่มีวันหมดอายุ มีระบบ First in - First out ลดการเบิกจ่ายของมากเกินจำเป็น
4. สร้างวัฒนาธรรมให้รักษ์องค์กร ดังรักษ์บ้าน รักทีมงานดังรักญาติมิตร  รักที่จะมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ความเจริญ


   พอดีใช้       เกินพอดี              ใช้ได้           ใช้ไม่ได้  
(วางไว้ที่เดิม)                              
                                                                  
          
                    (เก็บเข้าคลังพัสดุ)       (ซ่อม)    (ขายเป็นขยะ)                                                                  
            
                     สะดวก

    จัดของให้ สะดวกหยิบใช้ สะดวกเก็บวาง เก็บไว้ในที่ ที่เก็บของอย่างเป็นระบบให้สะดวกหยิบ สะดวกเก็บ คัดแยกก่อนทิ้ง ขาย

                     สะอาด    

สถานที่ปฏิบัติงาน  ที่เก็บของ   รอบที่ทำงาน ทุกพื้นที่ทั้งในและนอกหน่วยงาน กำหนดวัน เวลา และผู้รับผิดชอบทำความสะอาด ให้ไม่มีฝุ่น ไม่มีคราบ ไม่มีหยากไหย่

                 สร้างนิสัย

ให้เจ้าหน้าที่ทุกคนทำกิจกรรม สะสาง สะดวก สะอาด ในทุกโอกาส ทุกเวลา และทุกสถานที่

                 สุขลักษณะ 

จัดของให้ถูกต้อง ไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บ ไม่ทำให้เสียสุขภาพจากการทำงาน ไม่เกิดความเสี่ยงจากการใช้บริการ


ให้ดำเนินกิจกรรมเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง ทุกวัน ทุกโอกาส และทุกสถานที่  และจัดกิจกรรม มหกรรมทำความสะอาดครั้งใหญ่ประจำปี (Big Cleaning day) เพื่อประกาศ กระตุ้น สร้างขวัญกำลังใจ ให้ทุกหน่วยงาน


6.  เป็นผู้ที่มีความรู้เรื่อง สถานทำงานน่าอยู่ น่าทำงาน กิจกรรม 5 ส. มาตรฐานส้วม มาตรฐานโรงอาหารพอสมควร (ความรู้และทักษะสามารถอบรมเพิ่มเติมทีหลังได้)
หน้าที่ความรับผิดชอบของกรรมการ
1.  ร่วมกำหนดแผนการดำเนินงานระยะสั้น ระยะยาว ของกรรมการ 
2.  ร่วมส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ ให้คำปรึกษาบุคลากร หน่วยงานในการดำเนินกิจกรรม
3.  ประสานงาน กระตุ้น ติดตาม เยี่ยมประเมิน การดำเนินกิจกรรม 
4.  รายงานผลการดำเนินกิจกรรม 5 ส.ให้กับผู้บริหารและผู้เกี่ยงข้อง


สะสาง


ทุกๆวัน มองไปรอบๆที่ปฏิบัติงาน แล้วหยิบของทีละชิ้นมาถามว่า                        
          ของชิ้นนี้จำเป็นหรือไม่จำเป็น


 จำเป็น (วางไว้ที่เดิม)    ไม่จำเป็น (เอาออกนอกพื้นที่ทำงาน)


หยิบของที่จำเป็นถามที่ละชิ้นว่า  หยิบของที่ไม่จำเป็นถามที่ละชิ้นว่า


   พอดีใช้หรือเกินพอดี                         ใช้ได้หรือใช้ไม่ได้


   พอดีใช้       เกินพอดี                  ใช้ได้           ใช้ไม่ได้  
(วางไว้ที่เดิม)                             (เอาออกนอกพื้นที่ ที่ทำงาน)                                                      
เส้นทางการดำเนินกิจกรรม 5 ส.และสถานที่ทำงานน่าอยู่น่าทำงาน
1. กำหนดเป็นนโยบายในการพัฒนาสถานที่ทั้งหมดของโรงพยาบาล
2.เสริมความรู้เจ้าหน้าที่ ทั้งองค์กร เพื่อให้เข้าใจวิธรการและตระหนักถึงประโยชน์ของการดำเนินกิจกรรม
3. ทุกคนดำเนินกิจกรรมในหน่วยงานตนเอง โดยให้อิสระหัวหน้าหน่วยงานในการสร้างทีมงาน กำหนดวิธีดำเนินกิจกรรมกันเอง
4. รับสมัครคณะกรรมการ 5 ส. เพื่อประสานงาน ให้คำปรึกษาและเยี่ยมประเมินกิจกรรม 5 ส. ทั้งองค์กร เพื่อเป็นแกนนำในการกำหนดแนวทางการดำเนินกิจกรรมร่วมกันและนำมาเป็นคู่มือในการประเมิน เพื่อค้นหาเรื่องที่หน่วยงานยังทำได้ไม่ดีควรปรับปรุง และเรื่อง ที่ทำได้ดีแล้วควรนำมาพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
5. ประกาศผลคะแนนและข้อเสนอแนะเป็นรายหน่วยงานเพื่อนำไปพัฒนาให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
6. สร้างขวัญกำลังใจ เป็นคำชมจากผู้บริหาร เป็นประกาศเกียรติคุณ เป็นรางวัลเสื้อ 5 ส.  เป็นเงินเล็กน้อยสำหรับผู้ที่ได้โบทองอย่างต่อเนื่อง


ความหมายและคุณค่าของกิจกรรม  5 ส.

 

            เป็นหัวใจของการดำเนินงาน

สะสาง หมายถึง การคัดแยกของให้มีแต่ของจำเป็นต้องใช้ พอดีใช้ และใช้ได้
หลักการ  แยกของที่ไม่จำเป็นออก เหลือแต่ของที่จำเป็นต้องใช้เท่านั้น ของที่ ไม่จำเป็น แยกออกเป็น ใช้ได้ เก็บเข้าที่เก็บ(Stock) ใช้ไม่ได้ นำไปซ่อม / ขาย /ทิ้งขยะ
คุณค่าที่ได้รับ สถานที่โล่ง โปร่ง สบาย มีพื้นที่ใช้สอยมากขึ้น ตู้เอกสารเก็บเอกสารได้มากขึ้น ในแฟ้มมีแต่เอกสารใช้ได้ ไม่มีวัสดุหมดอายุ เสื่อมสภาพ ลดค่าใช้จ่ายที่เปล่าประโยชน์
บริเวณที่ดำเนินการ โต๊ะทำงาน พื้นที่ส่วนตัว  พื้นที่ส่วนรวมในหน่วยงาน พื้นที่ส่วนรวมขององค์กร (ทุกพื้นที่ในองค์กร)
ความงามที่คนทำจะได้รับ ท่านจะเป็นผู้ที่สง่างามจากการปฏิบัติงานในสถานที่ ที่โอ่อ่า โล่งสบาย มีระดับภูมิฐาน

เกณฑ์การให้คะแนน
-โบทอง ผ่านเกณฑ์ สะอาด ปลอดภัย ไร้มลพิษมีชีวิตชีวา หรือ คะแนน 5 ส. อย่างน้อย 90 %-
- โบเงิน ผ่านเกณฑ์ สะอาด ปลอดภัย ไร้มลพิษ หรือ คะแนน 5 ส. อย่างน้อย 80 %-
- โบแดง ผ่านเกณฑ์ สะอาด ปลอดภัย หรือ คะแนน 5 ส. อย่างน้อย 70 %
- โบดำ ไม่ผ่านเกณฑ์ สะอาด ปลอดภัย หรือมีคะแนน 5 ส. ต่ำกว่า 70 % ต้องปรับปรุงการดำเนินกิจกรรมภายใน 1 เดือน

 

คณะกรรมการ ควรมีคุณสมบัติ ดังนี้

1.  เป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นและศรัทธาในกิจกรรม สถานทำงานน่าอยู่ น่าทำงาน กิจกรรม 5 ส. มาตรฐานส้วม และมาตรฐานโรงอาหาร ว่าจะทำให้สิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล เหมาะสม ปลอดภัย สวยงาม และเอื้อประโยชน์สุขให้บุคลากรและประชาชนที่มาใช้บริการได้
2.  เป็นผู้ที่เข้าใจ หลักการทำงานเป็นทีม สามารถร่วมกิจกรรมต่างๆของกรรมการได้
3.  เป็นผู้มีเหตุผล รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น มีมนุษยสัมพันธ์ดี
 4.  เป็นผู้มีความยุติธรรม เสียสละ อดทน มีน้ำใจ ยินดีในความสำเร็จของผู้อื่นๆ
 5.  เป็นคนช่างสังเกต มีหลักการ มีความตั้งใจจริงที่จะพัฒนากิจกรรมดังกล่าวให้ก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง

- จัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อส่งเสริมสุขภาพ เช่น ตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจเหงือก ฟัน  จัดสถานที่ มีเครื่องออกกำลังกาย กำหนดวันและเวลาออกกำลังกายที่ชัดเจน (วันพุธ 15.00 น.) 
- จัดสถานที่ให้จำหน่ายอาหารเพื่อสุขภาพ อาหารครบ 5 หมู่
- จัดสถานที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร เป็นแหล่งให้เจ้าหน้าที่และประชาชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมทั้งมีตู้ รับฟังและรับข้อเสนอความคิดเห็น
- มีการรณรงค์เพื่อสร้างเสริมสุขภาพ และเลิกสิ่งที่ทำลายสุขภาพ เช่น บุหรี่ เหล้า สารเสพติด รวมทั้งความรู้เรื่องการมีสุขภาพจิตที่ดี

สะดวก หมายถึง การจัดเรียงเครื่องมือ อุปกรณ์ของใช้ ให้เป็นระเบียบง่ายต่อการเข้าถึง สะดวกที่จะหยิบใช้ สะดวกที่จะเก็บเข้าที่
หลักการ จัดเรียง เก็บให้หยิบใช้ง่าย รวดเร็ว  ใช้แล้วเก็บเข้าที่ได้สะดวก รวดเร็ว เมื่อนำมาใช้สามารถนำมาได้ทันที หรือภายใน 1-3 นาที
คุณค่าที่ได้รับ หยิบก็ง่าย หายก็รู้ ดูก็งามตา ลดเวลาการค้นหาสะดวกหยิบ สะดวกเก็บ ลดเวลาการทำงานที่ไม่จำเป็น เพิ่มความพึงพอใจผู้ใช้บริการ
บริเวณที่ดำเนินการ โต๊ะทำงาน ตู้เอกสาร คลังพัสดุ คลังยา ตู้เย็น ชั้นวางของทั้งของผู้ใช้และผู้ให้บริการ และทุกพื้นที่ในองค์กร
ความงามที่คนทำจะได้รับ ท่านจะเป็นผู้ที่ประทับอยู่ในหัวใจผู้มาใช้บริการและผู้มาประสานงาน เพราะท่านจะปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็ว มีระบบเป็นระเบียบ

 

     เป็นหัวใจของการบริการ ที่ใช้พิชิตหัวใจลูกค้า
สะอาด หมายถึง การทำให้อาคารสถานที่ ห้องน้ำห้องส้วม อุปกรณ์สิ่งของเครื่องใช้ ไม่มีฝุ่นละออง มีมีคราบสกปรก สะอาดหมดจดน่าใช้ และหยิบจับได้อย่างสบายมือ สบายใจ
หลักการ ทำความสะอาดทุกวัน ทุกโอกาส ไม่มีผงฝุ่น ไม่มีหยากไย่ ไม่มีคราบสกปรก ไม่มีกลิ่น หรือถ้าจะมีต้องเป็นกลิ่นสะอาด สดชื่น
คุณค่าที่ได้รับ  สถานที่ น่าทำงาน น่าเข้าไปใช้บริการ  สะอาดจนผู้พบเห็น รู้สึกนับถือสถานที่และเกรงใจผู้เป็นเจ้าของ
เครื่องมือ อุปกรณ์ น่าใช้ หยิบจับได้อย่างไม่รังเกียจผู้ใช้จะใช้อย่างระมัดระวัง เอาใจใส่ และพร้อมที่จะใช้อย่างระมัดระวังเพื่อยืดอายุการใช้งาน
ความงามที่คนทำจะได้รับ ท่านจะเป็นผู้มีบุคลิกภาพดี สะอาดหมดจด ในขณะปฏิบัติงานในสถานที่สะอาด สวยงาม ผู้ใช้บริการและผู้ประสานงานจะยกย่อง เกรงใจ และให้เกียรติ 

เกณฑ์ในการประเมิน
- ไม่ก่อให้เกิดความเดือนร้อน รำคาญแก่ ส่วนรวม ชุมชน เช่น ไม่มีเสียงดังรบกวน ไม่สร้างความเดือดร้อนรำคาญ
- ไม่มีฝุ่นควัน ไม่มีกลิ่นสารเคมี กลิ่นเหม็น ไม่สร้างความเดือดร้อนรำคาญ
- มีการกำจัดขยะอย่างเหมาะสม น้ำทิ้ง สิ่งปฏิกูลที่ระบายออกนอกอาคาร ต้องมีการกำจัดอย่างถูกต้อง ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ชุมชน


เกณฑ์ในการประเมิน
- การจัดทัศนียภาพรอบๆสถานที่ทำงาน มีการจัดสวนย่อม ปลูกต้นไม้ ให้ดูร่มรื่น สวยงาม
- จัดกิจกรรมเพื่อผ่อนคลาย สมาธิ ท่องเที่ยว กิจกรรมเสริมสร้างความสามัคคี เช่น แข่งกีฬา กิจกรรมในเทศกาลต่างๆ เช่น ปีใหม่ สงกรานต์

เกณฑ์ในการประเมิน
 - มีการบันทึกข้อมูลสุขภาพ ไม่มีอุบัติเหตุที่เกิดจากการทำงาน ที่ทำให้หยุดงานเกิน 3 วัน  ตลอดระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา
 - เครื่องมือ อุปกรณ์ มีการติดตั้งอย่างมั่นคง ปลอดภัย เครื่องจักรส่วนที่เคลื่อนไหวต้องมีฝาครอบ
- อุปกรณ์ของใช้มีสภาพการทำงานที่ปลอดภัย สายไฟ ท่อต่างๆ ไม่ชำรุด วางเป็นระเบียบ กำหนดขอบเขต เส้นแบ่งเขตชัดเจน งานที่เสี่ยงอันตรายต้องกำหนดขั้นตอนการทำงานให้รับรู้ทั่วกัน และติดป้ายแจ้งเตือน อย่างชัดเจน   งานที่เสี่ยงอันตรายให้สวมใส่เครื่องป้องกันขณะปฏิบัติงาน
- สภาพแวดล้อมในการทำงาน ควรจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม สว่าง สะอาด ไม่มีเสียงดังรบกวน ไม่หนาวหรือร้อนเกินไป ไม่มีสารเคมีที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ
- มีระบบป้องกันอัคคีภัย มีเครื่องดับเพลิง 1 เครื่อง/พื้นที่ 100 ตรม.                       มีการตรวจสอบความพร้อมใช้งานอย่างสม่ำเสมอ (ลงนามผู้ตรวจสอบชัดเจน) ทางหนีไฟอยู่ในสภาพดี ไม่มีสิ่งกีดขวาง


  สุขลักษณะ หมายถึง การปฏิบัติกิจกรรม สะสาง สะดวก และสะอาดอย่างมีหลักการ และคำนึงถึงความถูกต้อง ปลอดภัยของผู้ใช้และผู้ให้บริการ เช่น หลักการบริหารความเสี่ยง หลักการประหยัด หลักของการป้องกันการติดเชื้อ การแพร่กระจายเชื้อโรค 
หลักการ ให้สำรวจและประเมินความเสี่ยงของผู้ใช้และผู้ให้บริการ แล้วนำมาแก้ไข ป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงนั้นๆ เช่น ให้ทำเครื่องหมาย หรือ สัญญาลักษณ์บอกจุด สถานที่อันตราย แจ้งขั้นตอนการทำงานให้ชัดเจน  มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายให้ครบถ้วนตามมาตรฐาน   ใส่เครื่องป้องกันอันตรายทุกครั้งที่ปฏิบัติงาน  ประเมินความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ  หลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความเสี่ยงจากการทำงาน
คุณค่าที่ได้รับ ความปลอดภัย สบายใจ เชื่อมั่นในบริการ ไม่บาดเจ็บหรือเกิดอุบัติเหตุขณะใช้บริการ ไม่เจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน
ความงามที่คนทำจะได้รับ เป็นบุคคลที่มีความพร้อมในการปฏิบัติงาน เป็นบุคคลที่มีความรู้และตั้งอยู่ในความไม่ประมาท เป็นผู้นำในอนาคต

สร้างนิสัย หมายถึง การที่ทุกคนช่วยกันปฏิบัติตามกฎระเบียบ แนวทางที่กำหนดอย่างต่อเนื่องจนติดเป็นนิสัย ทำอย่างจริงจังและคำนึงเสมอว่า“วันนี้ต้องดีกว่าเมื่อวาน” “พรุ่งนี้ต้องดีกว่าวันนี้”
หลักการ  ปฏิบัติกิจกรรม 3 ส. เป็นประจำทุกโอกาสและทุกสถานที่ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม แม้ปฏิบัติเองไม่ได้ ก็ถือเป็นธุระ(หน้าที่) ที่จะแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบ
คุณค่าที่ได้รับ  ต่อตนเอง จะทำให้เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบ มีน้ำใจ และปลอดภัยจากความเสี่ยง
ต่อผู้อื่น เป็นบุคคลตัวอย่าง ไม่เป็นภาระของผู้ร่วมงาน เป็นที่ชื่นชมต่อผู้พบเห็น 
ต่อหน่วยงาน ทำให้หน่วยงานมีประสิทธิภาพสูง เป็นหน่วยงานชั้นนำ
ความงามที่คนทำจะได้รับ เป็นบุคคลชั้นแนวหน้าขององค์กร เป็นที่นับถือ ศรัทธาของผู้พบเห็น เป็นคนมีความมั่นคงที่ทุกคนต้องการร่วมงานด้วย เป็นลูกน้องที่หัวหน้าไว้วางใจ เป็นหัวหน้าที่ลูกน้องเกรงใจ

ความหมายและคุณค่าของกิจกรรม HWP
HWP (Healthy Workplace) สถานที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงาน
หมายถึง สถานที่ทำงานที่มีการบริหารจัดการ สิ่งแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการทำงาน ทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีสุขภาพกาย ใจ สังคม อารมณ์ดี มีความสุขกับการทำงาน 
เกณฑ์การประเมิน คือ  สะอาด ปลอดภัย ไร้มลพิษ มีชีวิตชีวา

เกณฑ์ในการประเมิน
- มีนโยบายในการส่งเสริมสุขภาพ และ ความสะอาด เป็นลายลักษณ์อักษร ประกาศให้ทุกคนรับรู้ร่วมกัน กำหนดหน้าที่ของเจ้าหน้าที่แต่ละคนหรือเป็นทีมในการทำความสะอาด  มีช่วงเวลาทำความสะอาดที่แน่นอน 
- มีการดำเนินการเพื่อดูแลความสะอาด เป็นระเบียบครอบคลุมทุกหน่วยงาน ทุกพื้นที่ขององค์กร อาคารสถานที่สะอาด ไม่มีคราบฝุ่น หยากไย่ ไม่แขวนวัสดุ ป้ายโฆษณาที่ไม่จำเป็น
- พื้นที่ใช้งานมีขอบเขตแสดงอย่างชัดเจน โดยเฉพาะเขตอันตราย เขตที่เสี่ยงอันตราย สถานที่ใช้งานมีป้ายแสดง เช่น ห้องประชุม ห้องการเงิน ห้องอาหาร  ห้องน้ำชาย  ห้องน้ำหญิง   โต๊ะทำงาน   ชั้นวางของ  ตู้เก็บของสต๊อก แฟ้มเอกสารมีป้ายบอกชัดเจน
- ของที่เป็นวัตถุไวไฟ วัตถุอันตราย ต้องแยกเก็บต่างหาก
- การกำจัดของเสีย ถังขยะมีจำนวนเพียงพอ  มีฝาปิดมิดชิด  แยกประเภทขยะให้ชัดเจน ขยะสารพิษแยกจากขยะทั่วไป
- มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ปฏิบัติงาน ตู้เก็บของ ห้องน้ำ ห้องส้วมที่ได้มาตรฐาน โรงอาหารที่ผ่านมาตรฐานสุขาภิบาล
- มีระบบการจัดการ ควบคุมแมลงและสัตว์แทะ

 

คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรม 5 ส.
หมายเลขบันทึก: 150278เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2007 16:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 13:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ดีจังค่ะ   น่าสนุก แต่ที่ตึก 5 ส  ของหายหาไม่เจอค่ะ

เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจทำ  และถ้าทำจริง  ๆ  จะทำให้หน่วยงานน่าอยู่  สะอาด  น่าใช้บริการ

ขอขอบคุณ คุณนุ้มนุ่ม และคุณ jearanai ที่สนใจและแสดงความคิดเห็น 10 ปี ที่ทำ 5ส. มา คุ้มค่ามากแม้บางครั้งจะหาของไม่พบเพราะลืมเก็บเป็นหมวดหมู่และติดป้าย ถ้าผ่านมาพิษณุโลก มาเดินเล่นที่โรงพยาบาลพุทธฯได้นะคะ เรามีสระนำที่มีปลาให้เลี้ยง มีน้ำพุให้ชมและมีลานรอบสระให้วิ่งหรือเดินออกกำลังกาย ถ้าอยากพักผ่อนอ่านหนังสือเรามีมุนแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องสุขภาพเกือบทุกอาคารหรือไปอ่านหนังสือธรรมะที่ชมรมจริยธรรมก็ได้

                                 ยินดีต้อนรับนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท