วางแผนจำหน่าย ผู้ป่วยเบาหวาน


วางแผนจำหน่าย

     ผู้ป่วยเบาหวานเป็นการเจ็บป่วยเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ผู้ป่วยเบาหวานต้องดำเนินชีวิตอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับภาวะสุขภาพที่เปลี่ยนไปอย่างมีความสุข สิ่งที่พยาบาลหรือทีมสุขภาพทำได้คือ การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเบาหวานให้สามารถดำเนินชีวิตอย่างปกติสุข ภายใต้บริบทของผู้ป่วยแต่ละรายและภายใต้การเป็นโรคเบาหวาน การวางแผนจำหน่ายที่ นิยมใช้กันทั่วไป คือการใช้กรอบของ METHOD ซึ่งอาจารย์หลายท่านก็ให้ความคิดเห็นว่าการวางแผนจำหน่ายที่กำหนดรายละเอียดหรือการกำหนดแนวทางที่เหมือนกันในผู้ป่วยทุกรายเหมือนกับเป็นการตัดเสื้อโหลซึ่งบางครั้งอาจไม่เหมาะกับผู้ป่วยทุกรายเสมอไป ดังนั้นการวางแผนจำหน่ายสิ่งท่สำคัญอย่างหนึ่งคือการประเมินผู้ป่วยก่อนว่า ต้องการ หรือไม่ต้องการสิ่งที่เราจะให้ 

    คำตอบของเราก็คือ เราตัดเสื้อโหลไว้ให้เป็นแบบ(Model) หลังจากท่ใส่กับผู้ป่วยแต่ละรายแล้วก็ไปปรับแต่งให้เหมาะสมกันเองตามบริบทของผู้ป่วยแต่ละราย

 

  

M-E-T-H-O-D

สอน/แนะนำ/สาธิต

เป้าหมายการดูแล

1.  FBS 80-140 mgm%

2.  มีแบบแผนการดำเนินชีวิตที่เหมาะสม (อาหาร ออกกำลังกาย การใช้ยา และการมาตรวจตามนัด)

3.  ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน

Medication การใช้ยา

ยาฉีด อินสุลิน

-   เก็บในที่เย็น ตำแหน่งการฉีดยา( หัวไหล่ สะโพกและหน้าท้อง)-   วิธีการฉีดยา(ผู้ป่วยที่ฉีดยาครั้งแรกขอแผ่นพับ ตำแหน่งและวิธีการฉีดยาที่ห้องจ่ายยา)-   ก่อนการฉีดยาควรสังเกตอาการตนเอง ถ้ามีอาการ ใจสั่น หน้ามืด เหงื่อออกตัวเย็น ควรงดฉีดยา

ยารับประทาน

-    เก็บยาที่แห้งและไม่นำไปตากแดด รับประทานยาอย่างต่อเนื่องตามเวลาที่กำหนดข้อควรระวัง

-    ถ้ามีอาการใจสั่น เหงื่อออก ตัวเย็น ต้องหยุดใช้ยา ดื่มน้ำหวาน อาการไม่ดีขึ้นให้รีบมาโรงพยาบาล
-    เมื่อไม่สบายไม่ควรหยุดยาเบาหวานควรรีบมาพบแพทย์

Environment/Economic

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม         กับผู้ป่วยและเศรษฐกิจ

-    ที่พักอาศัยควรมีอากาศถ่ายเทสะดวก หลีกเลี่ยงชุมชนแออัดและบุคคลที่เป็นโรคติดต่อ

-    ควรเก็บสิ่งของให้เป็นระเบียบเพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุและเกิดบาดแผลกับผู้ป่วยได้

-    มารับบริการทุกครั้งควรนำหลักฐานสิทธิการรักษา เช่น บัตรทอง บัตรประชาชนมาด้วย

Treatment

เป้าหมายการดูแลรักษา          และอาการที่ควรมาพบแพทย์

-    ระดับน้ำตาลในเลือดควรอยู่ระหว่าง 80 – 140 mgm%  ถ้าสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ทำให้ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ตา ไต เท้าและหัวใจ

-    อาการที่ต้องมาพบแพทย์ สถานบริการสาธารณสุข

1.     แผล

2.     ไม่สบาย

3. คลื่นไส้อาเจียน ปัสสาวะบ่อย ให้ดื่มน้ำมากๆและมาโรงพยาบาล

 4.     ใจสั่น เวียนศีรษะ เหงื่อออกตัวเย็น ให้นอนพักดื่มน้ำหวานถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้รีบมาโรงพยาบาล

Healthการดำเนินชีวิตให้เหมาะสมกับสภาวะสุขภาพ 1.     ออกกำลังกายอย่างเหมาะอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ก่อนออกกำลังกายควรรับประทาน   อาหารว่างก่อน ถ้ามีอาการใจสั่น เวียนศีรษะ เหงื่อออกตัวเย็น ควรหยุดพักและดื่มน้ำหวาน    การออกกำลังกายทำให้ร่างกายสามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้ดีขึ้นทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูง2.     สามารถทำงานและประกอบอาชีพได้ตามปกติ ถ้าเป็นอาชีพที่ต้องใช้แรงงานมากควรรับประทานอาหารก่อนไปทำงาน  ขณะทำงานรู้สึกหิวข้าว ใจสั่นให้รีบรับประทานอาหาร3.     ควรใส่รองเท้าที่นุ่มสบาย ไม่ควรเดินเท้าเปล่า ไม่ควรแช่เท้าในน้ำอุ่น ก่อนนอนควรตรวจเท้าทุกวัน ถ้ามีแผลควรรีบพบแพทย์และตัดเล็บเท้าให้สั้นอยู่เสมอโดยตัดเล็บเป็นแนวตรง4.     เมื่อมีปัญหาที่ก่อให้เกิดความเครียดในการดำเนินชีวิตควรหาวิธีผ่อนคลายอย่างเหมาะสม เช่น การออกกำลังกาย หรือการได้ระบายปัญหาให้บุคคลที่ไว้ใจเพราะความเครียดทำให้น้ำตาลสูง5.     นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6 – 8 ชั่วโมง

Outpatient /Referral

การมาตรวจตามนัดและการส่งต่อการรักษา

-    มาตรวจตามแพทย์นัดทุครั้ง งดน้ำและอาหาร 8 ชั่วโมงก่อนเจาะเลือดตอนเช้า

-    กรณีที่ยาหมดก่อนวันนัด ควรมาตรวจก่อนวันนัดและแจ้งแพทย์ว่ายาหมดก่อนวันนัด

-    นำสมุดประจำตัวผู้ป่วยเบาหวานมาด้วยทุกครั้งและลงบันทึก ผลเลือด ความดันโลหิต

 -          ต้องการตรวจรักษาที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้านให้แจ้งแพทย์ เพื่อสรุปการรักษาและ ส่งต่อไปยังโรงพยาบาลใกล้บ้านต่อไป

-  สามารถขอคำแนะนำหรือข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้านทุกแห่ง

Diet

อาหารที่เหมาะสมกับสภาวะ   สุขภาพ

1. รับประทานอาหารครบทั้ง 3 มื้อไม่ควรงดอาหารเพราะการงดอาหารบางมื้อทำให้เกิดภาวะน้ำตาลต่ำและมื้อที่รับประทานต่อไปจะรับประทานอาหารมากเพราะหิวทำให้เกิดภาวะน้ำตาลสูง

2. อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ขนมหวานทุกชนิด ผลไม้กวน อาหารเชื่อมแช่อิ่ม น้ำตาล น้ำหวาน น้ำผึ้ง น้ำอัดลม นมหวาน  เครื่องดื่มที่มี Alcohol ทุกชนิด  เบียร์ ยาดองเหล้า เครื่องดื่มบำรุงกำลัง

3. อาหารที่รับประทานได้แต่ต้องจำกัดปริมาณ ส้ม มะละกอสุก สับปะรด แตงโม เงาะ ชมพู่ มังคุด มะม่วง ฝรั่ง ข้าวและอาหารแป้งอื่นๆ ขนมปัง ขนมจีบ เผือก มัน มันฝรั่ง

 4. อาหารที่ควรรับประทาน ผักทุกชนิด แกงจืด ต้มยำ แกงป่า แกงเลียง แกงส้ม ควรดื่มน้ำเปล่า

-          การรับประทานอาหารควรรับประทานแค่พออิ่มและควรรับประทานผักมากๆ เพราะอาหารที่มีกากใยทำให้การดูดซึมน้ำตาลในกระเพราะอาหารช้าลงและช่วยในการขับถ่ายถ้าผู้ป่วยฉีดยาอินสุลิน ตอนเย็น        อาจรับประทานผลไม้หรือขนมที่ไม่หวานก่อนนอนได้เล็กน้อย เพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลต่ำในตอนเช้า

    

หมายเลขบันทึก: 150193เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2007 13:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (39)

ขออนุญาติยืมไปใช้ใน Discharge plain ตึก MED หญิง2 รพ.ชัยภูมิ หน่อยนะค่ะ

นำไปเป็นตัวอย่างวางแผนมารดาหลังคลอดหน่อยนะคะ

ยินดีค่ะ เชิญไปปรับใช้ได้เลยเพื่อประโยชน์ ในการดูแลผู้ป่วย

น่าสนใจมาก...ขอลองไปใช้ที่รพร.ธาตุพนมหน่อยนะค่ะ..ขอบคุณค่ะ

ขออนุญาตนำไปใช้ประกอบในการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยเท้าเบาหวานค่ะ ขอบคุณค่ะ

น่าสนใจมาก ขออนุญาต นำไปลองใช้นะคะ

ยินดีค่ะ

ใช้แล้วผลเป็นอย่างไรมาเล่าให้ฟังบ้างน่ะค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

วางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

ขออนุญาตินำไปใช้บ้างนะคะ discharge plan คะ

ยินดีค่ะ

ถ้ามีการพัฒนาเพิ่มเติมอย่างไร

เล่าให้ฟังบ้าง น่ะค่ะ

จะได้นำมาพัฒนาเพิ่มเติมบ้าง

ขอบคุณมากค่ะ

Somlek

สวัสดีค่ะ

ดฉันอ่าน การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย ของคุณแล้ว ขอชื่นชม ในความสามารถมากๆๆๆ อ่านเข้าใจง่ายเป็นรูปธรรมดีมาก

ขออนุญาตนำไปสอนนักศึกษา และนำไปประกอบการบรรยายต้วยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

ขออนุญาตนำไปปรับใช้กับผู้ป่วย COPD หน่อยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะคุณ อรุณี เฮงยศมาก และ น้องเอ ยินดีค่ะ ผลเป็นอย่างไรมาเล่าให้ฟังบ้างน่ะค่ะ

ขออนุญาตนำไปใช้ประกอบในการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยเบาหวานค่ะ ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณสำหรับทุกคำชม

ถ้าการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเบาหวานจะเป็นประโยชน์ต่อ การดูแลผู้ป่วยเบาหวานก็ยินดีทุกกรณี ค่ะ

น่าสนใจมากคะขออนุญาตนำไปใช้ในการพัฒนางานนะคะ

ขออนุญาตนำไปปรับใช้ที่ตึกอายุรกรรมคะ อ่านเข้าใจง่าย ผู้ป่วยน่าจะได้ประโยชน์มากขึ้น

ยินดีค่ะ ถ้าเป็นประโยชน์กับผู้ป่วยเบาหวาน ก็ดีใจมากแล้ว

ใช้แล้วได้ผลเป็นอย่างไรเล่าให้ฟังบ้างนะค่ะ

 

ขอบคุณค่ะ

สมเล็ก

วรนารถ เล้าอติมาน

วันนี้ รพ.สารภีนัดประชุม ทบทวนการวางแผนจำหน่าย ขออนุญาตเป็น ตย.แก่น้องๆ ขอบคุณค่ะ

วรนารถ

ขออนุญาตินำไปเป็นตัวอย่างในการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยหอผู้ป่วยอายุรกรรมร.พ สมุทรสาคร ขอบคุณคะ

พี่เล็กๆ ทำผู้ป่วย MI ด้วยดิ รุ่งจะได้ขอยืม อิอิอิ คิดถึงจังเลยแล้วจะเข้ามาดูใหม่นะ

น้องรุ่ง ผู้ป่วย MI เขากำลังจะทำวางแผนจำหน่ายใรดับเขต ถ้าเสร็จแล้วพี่จะนำมาลงให้อ่านค่ะ รอหน่อยน่ะ

คิดถึงน้องรุ่งเหมือนกัน

พี่เล็ก

ขอยืมไปเป้นแนวทำอวช...หน่อยนะค่ะ...ขอบคุณค่ะ

ที่ รพ แกดำ กำลังทำ วางแผนจำหน่าย 6 โรค DM HT COPD Asthma CVA HIV ทำแล้วแต่รูปแบบไม่ชัดเจน เหมือนของเบาหวานเลยค่ะ อยากได้ตัวอย่างที่มาเปรียบเทียบและเอามาปรับเข้ากับของที่ รพ ค่ะ พอจะมีตัวอย่างไหมคะ ขอบคุณมากๆๆเลยค่ะ

สวัสดีคะ

ขออนุญาติ นำบางส่วนมาปรับใช้ในบริบท ของ โรงพยาบาลหนองจิก นะคะ

ขอขอบคุณล่วงหน้า คะ

ยินดีค่ะ โดยส่วนตัวแล้ชื่มชมโรงพยาบาลหนองจิกอ่านผลงานคุณภาพพบบ่อยๆ

ขออนุญาตนำไปประยุกต์ใช้ที่ตึกชายโรงพยาบาลลาดยาว นะคะ ขอบคุณค่ะ

ดีเยี่ยมเลยค่ะ ขอบคุณค่ะ

ขออนุญิตนำไปใช้นะคะ ขอบคุณค

ขออนุญาตเรียนรู้และประยุกต์ใช้การวางแผนจำหน่ายเบาหวานนะคะ

ขออนุญาต นำไปใช้ในงานผู้ป่วยในด้วยน่ะค่ะ

ขออนุญาตนำไปใช้นะคะ

ขออนุญาตนำไปใช้กับผู้ป่วยโรคเบาหวานIPD. นะคะ

ขออนุญาตนำไปใช้กับผู้ป่วยโรคเบาหวานIPD. นะคะ

ขออนุญาตนำไปให้ใช้กับผุ้ป่วยนะคะ

ขออนุญาตินำไปใช้กับผู้ป่วยนะค่ะ

เข้าใจง่ายดี ขออนุญาตินไปใช้กับผู้ป่วยในหอนะค่ะ

อ่านแล้วสามารถนึกภาพออกเลยคะ่เป็นภาษาเข้าใจง่าย ขออนุญาตไปลองปรับใช้ในหอผู้ป่วยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท