10 สารต้านอนุมูลอิสระ


10 สารต้านอนุมูลอิสระ
 1. สารสกัดจากเมล็ดองุ่น ได้รับการขนานนามว่าเป็นสารซุปเปอร์แอนตี้ออกซิแดนท์มานาน เนื่องจากคุณสมบัติเด่นในด้านการกำจัดอนุมูลอิสระที่สูงกว่าสารแอนตี้ออกซิแดนท์อื่น ๆ โดยสูงกว่าวิตามินซี 20 เท่า และวิตามินอี 50 เท่า ทั้งยังคงอยู่ในกระแสเลือดได้นานถึง 72 ชม. สามารถป้องกันและลดการทำลายล้างจากสารอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในร่างกายเราตลอดเวลาทั้งจากปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน อันเป็นสาเหตุของความเสื่อมและอ่อนแอของร่างกายโดยรวม โดยเฉพาะระบบหลอดเลือด หัวใจ ผิวหนัง และตา เมื่อรับประทานสารสกัดจากเมล็ดองุ่นเป็นประจำจะทำให้ได้รับสาร OPCs เข้าไปยับยั้งการเสื่อมสลายของคอลลาเจนใต้ผิวหนัง จึงช่วยชะลอการเสื่อมของผิวพรรณไม่ให้แก่ก่อนวัยอย่างตรงจุด ปริมาณการใช้ วันละ 20-60 มก.

          2. ชาเขียว ในชาเขียวประกอบด้วยสารต้านอนุมูลอิสระประเภทฟลาโวนอยด์ ที่ทรงพลังหลายชนิด โดยเฉพาะสาร EGCG ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์แรง โดยมีฤทธิ์มากกว่าวิตามินอีถึง 20 เท่า มีผลการวิจัยพบว่าชาเขียวสามารถลดอัตราการเป็นมะเร็งของอวัยวะต่าง ๆ ได้ดี โดยเฉพาะมะเร็งปอด, มะเร็งลำไส้, มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งตับ นอกจากนี้ยังช่วยลดความเป็นพิษจากการสูบบุหรี่ เช่น นิโคติน และน้ำมันทาร์ เป็นต้น ปริมาณการใช้ วันละ 300-1,000 มก.

          3. สารสกัดจากเปลือกสนฝรั่งเศส เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ออกฤทธิ์ได้ดีอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งนอกจากประโยชน์ในการแก้ปัญหาเรื่องฝ้าด้วยการควบคุมการทำงานของกระบวนการสร้างเม็ดสีในร่างกายให้อยู่ในสภาวะที่สมดุล ไม่ผลิตเม็ดสีออกมาผิดปกติจนเป็นฝ้า, กระ แล้ว ยังมีประโยชน์ต่อผิวพรรณและสุขภาพร่างกายโดยรวมอีกด้วย ปริมาณการใช้ วันละ 75 มก.

          4. โคเอ็นไซน์คิวเท็น มีหน้าที่หลักในกระบวนการสร้างพลังงานในระดับเซลล์ เพื่อให้เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างปกติ หากร่างกายขาดโคเอ็นไซม์คิวเท็นถึง 75% ก็อาจเสียชีวิตได้ ทั้งนี้เซลล์ที่ต้องการพลังงานสูงและมีความต้องการโคเอ็นไซม์คิวเท็นมากเป็นพิเศษ ได้แก่ เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ เซลล์สมอง เพื่อให้มีความตื่นตัว เพิ่มทักษะในการจดจำและผ่อนคลายจากความตึงเครียด ส่วนเซลล์ผิวหนังต้องการโคเอ็นไซม์คิวเท็นเพื่อช่วยฟื้นฟูความสดใส ปริมาณการใช้ วันละ 6-15 มก.

          5. แนทเชอรัลเบต้าคาโรทีน เป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ นอกจากประโยชน์ในการบำรุงสายตาและผิวพรรณแล้ว เบต้าแคโรทีนยังช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งที่ปอดจากการสูบบุหรี่จัด ลดการก่อเซลล์มะเร็งที่ผิวหนัง และทำให้ผิวหนังสามารถต้านทานต่อแสงแดดได้นานยิ่งขึ้น เบต้าแคโรทีนจากธรรมชาติที่สกัดได้จากสาหร่าย D.Salina จะเป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีนที่เข้มข้น และปลอดภัยกว่าชนิดทั่วไปที่เป็นเคมีสังเคราะห์ ปริมาณการใช้ วันละ 6-15 มก.

          6. ลูติน เป็นสารธรรมชาติพบได้มากในพืชผักที่มีสีเขียวเข้ม เช่น ผักกาดเขียว ใบหยิก ผักปวยเล้ง ในชีวิตประจำวันนอกจากจะต้องเผชิญกับรังสียูวีในแสงแดดที่กระทบต่อดวงตาโดยตรงแล้ว ยังต้องเจอกับแสงจ้าจากเครื่องคอมพิวเตอร์และทีวีวันละหลายชั่วโมง เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เซลล์ในตาอ่อนแอหรือเสื่อมสภาพและตาบอดได้ ซึ่งการรับประทานลูตินจะเป็นสารอาหารที่ช่วยป้องกันการเสื่อมของจุดรับภาพและจอประสาทตาได้ดี เพราะมีส่วนรวมในการทำงานของเอนไซม์ต่าง ๆ ที่สำคัญ ปริมาณการใช้ วันละ 6-20 มก.

          7. กรดอัลฟ่าไลโปอิค สารต้านอนุมูลอิสระธรรมชาตินี้ทำหน้าที่สำคัญ ๆ หลายอย่างในร่างกาย การใช้เป็นอาหารเสริมจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยปรับปรุงกระบวนการเผาผลาญน้ำตาลให้เป็นพลังงาน จึงช่วยป้องกันและบรรเทาโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานได้ดี ปริมาณการใช้ วันละ 50-200 มก.

          8. สารสกัดจากใบแปะก๊วย ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากใบแปะก๊วยเป็นผลมาจากสารในกลุ่มฟลาโวนไกลโคไซด์ ที่มีอยู่กว่า 20 ชนิดในใบแปะก๊วย ซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระในร่างกายได้ ทั้งนี้นอกจากคุณสมบัติอันโดดเด่นในการป้องกันความเสื่อมของเซลล์สมองและช่วยบำรุงสุขภาพสมองอย่างมีประสิทธิภาพจนเป็นที่ยอมรับทั่วโลกแล้วนั้น คุณสมบัติในการเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตทั่วร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่สมองยังช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตันได้อย่างตรงจุดเช่นกัน ปริมาณการใช้ วันละ 40-80 มก.

          9. วิตามินซี นอกจากประโยชน์ในการเสริมภูมิคุ้มกันร่างกาย ช่วยป้องกันโรคหวัด และบรรเทาอาการภูมิแพ้แล้ว วิตามินซียังช่วยสร้างเนื้อเยื่อคอลลาเจน เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับผิวพรรณ คลายความเครียด ความอ่อนเพลีย แก้สภาวะการเป็นหมันในผู้ชาย โดยช่วยเพิ่มความแข็งแรง และปริมาณของตัวอสุจิอีกด้วย ปริมาณการใช้ วันละ 1,000-4,000 มก.

          10. วิตามินอี ช่วยในเรื่องการบำรุงผิวพรรณ ป้องกันโรคหัวใจและการอุดตันของเส้นเลือดในหัวใจ ทั้งยังช่วยป้องกันการกลายพันธุ์ของเซลล์อันเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งต่าง ๆ การรับประทานวิตามินอีในระยะยาวยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก และลดอัตราการตายของผู้ชายที่สูบบุหรี่จัด ปริมาณการใช้ วันละ 200-400 มก

ที่มา ขอบคุณข้อมูลจาก
น.ท. น.พ. จักรพงศ์ ไพบูลย์
http://www.thaiclinic.com/antioxidant.html
http://www.thairunning.com/10antiradical.htm

คำสำคัญ (Tags): #สารอาหาร
หมายเลขบันทึก: 149854เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2007 13:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท