CQI


CQI = Continuous Quality Improvement

                เป็นการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เราจะพบว่าคุณภาพที่เป็นที่พึงพอใจและเป็นความต้องการของลูกค้าในเวลาหนึ่ง เมื่อเวลาผ่านไปอาจไม่ได้เป็นความพึงพอใจของลูกค้าอีกต่อไปก็ได้ เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป สังคมเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไป ความต้องการของคนก็เปลี่ยนตามไปด้วย ทำให้การพัฒนาคุณภาพไม่หยุดอยู่กับที่ หากต้องการมีคุณภาพก็ต้องปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการของลูกค้า แนวคิดหนึ่งที่จะช่วยให้เราพัฒนาคุณภาพไปอย่างไม่หยุดนิ่งก็คือ CQI

                การปรับปรุง อย่างต่อเนื่อง มีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

1.     ตรวจสอบสภาพปัจจุบันที่เป็นอยู่

2.     กำหนดเป้าหมายที่ดีมากขึ้นกว่าเดิม

3.     กำหนด
4.     แผนกิจกรรม
5.     เพื่อการปรับปรุง

6.     ลงมือ
7.     ดำเนินการ
8.     ตามแผน
                ยกตัวอย่างเช่น เรามีวิธีปฏิบัติในการทำแผลปลอดเชื้อ โดยทำตามวิธีที่เขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อประกันกับลูกค้าว่าการทำแผลของเราจะมีอัตราการไม่ติดเชื้อ ร้อยละ 90 ในปีที่ผ่านมาเราทำได้ร้อยละ 90 ก็ถือว่าได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือประกันไว้ แต่ถ้าคนไข้ได้รับแบบเดิมอีกในปีต่อไปเขาจะเริ่มรู้สึกชินและเริ่มรู้สึกไม่ค่อยพอใจ เราเองก็ยังรู้สึกว่า เราจะทำแผลให้ไม่ติดเชื้อได้มากกว่านี้อีกไหม เราก็ร่วมกับทีมลองวิเคราะห์ดูว่า ทำอย่างนี้ได้ 90 ส่วนอีก 10 ที่ยังติดเชื้ออยู่เกิดจากอะไร เก็บข้อมูลแล้วมาวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงของการติดเชื้อ แล้วนำมาปรับวิธีปฏิบัติในการทำแผลปลอดเชื้อใหม่ เราก็ได้เอกสารที่ดีกว่าเดิมเป็นเวอร์ชั่นที่สอง กระบวนการที่ทำให้ได้วิธีการทำงานใหม่นี้คือCQI
                การยกตัวอย่างอัตราการเกิดแผลติดเชื้อกับความพึงพอใจของผู้ป่วยอาจดูไม่ชัด แต่ถ้าเป็นเวลารอคอยที่เราตั้งไว้ว่าภายใน 30 นาทีได้รับยา จากเดิม 1 ชั่วโมง แต่พอคนไข้ได้รับยาภายใน 30 นาทีไปนานๆ เขาจะเริ่มรู้สึกว่าช้าเพราะเริ่มชิน ดังนั้นเราจึงต้องพยายามปรับปรุงให้เร็วขึ้นเป็น 25,20,15 นาที อย่างนี้จะเห็นความเปลี่ยนแปลงความต้องการของลูกค้าได้ชัด
                ในการทำCQIในหน่วยงาน อาจเริ่มจากเรื่องที่เราสนใจแล้วนำเอาเรื่องนั้นมาทำ แต่อาจมีปัญหาว่าเรื่องที่เราสนใจไม่ได้ช่วยปรับปรุงการทำงานมากนักและหลุดออกไปจากงานประจำ หากเรานำเรื่องที่เป็นปัญหาสำคัญ/ความเสี่ยงสำคัญ/เรื่องที่เป็นกระบวนการหลักมาทำจะช่วยในการพัฒนางานประจำได้ดีกว่า หากจะพิจารณาขั้นตอนในการทำ CQI ง่ายๆ ไม่ต้องทำแบบยาว 9 ขั้นตอนก็ได้ ในบางแห่งทำCQIในกระดาษแผ่งเดียว สั้นๆ เขียนง่ายๆก็ได้ แต่หากเขียนยาวๆ มีวิธีการขั้นตอนที่ละเอียดก็จะคล้ายๆงานวิจัยเลย

                 หากจะทำCQIง่ายๆ ก็เริ่มจากตั้งปัญหาและเลือกปัญหา เสร็จแล้ววิเคราะห์ปัญหาหาสาเหตุที่อาจเป็นไปได้มากที่สุดแล้ววิเคราะห์เลือกสาเหตุที่คิดว่าเป็นสาเหตุหลักที่แท้จริงหรือเป็นRoot cause เมื่อสรุปสาเหตุได้แล้ว ก็มาหาวิธีแก้ไข วิธีทำโดยระดมสมองให้ได้วิธีแก้ที่อจเป็นไปได้ให้มากที่สุด หลังจากนั้นก็มาวิเคราะห์ทางเลือกและเลือกทางเลือกที่เป็นไปได้มากที่สุด สรุปเป็นทางเลือกที่นำมาปรับแก้วิธีการทำงานในเรื่องนั้นๆ ดังนั้นการทำCQIที่มีประโยชน์จึงต้องนำเอาผลที่ได้ไปปรับแก้วิธีการทำงานด้วย

                 การจะดูว่ามีCQIในงานประจำหรือไม่ ก็ดูจากว่ามีการปรับเปลี่ยนเวอร์ชั่นเอกสารหรือไม่ และเอกสารที่ปรับเปลี่ยนนั้นได้มากจากกระบวนการอะไร ใช่จากCQIหรือไม่

คำสำคัญ (Tags): #kmกับคุณภาพ
หมายเลขบันทึก: 14985เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2006 09:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 23:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท